อาวุธ ศาสนสัญลักษณ์ และ การใช้กำลัง ในสมัย (239ปี) ของ คุรุศาสดาทั้ง 10 พระองค์ (1469 - 1708) ของศาสนาซิกข์
สวัสดีครับ,
ผมจะพยายามอธิบายการใช้กำลัง ในสมัย (239 ปี) ของคุรุศาสดา นิดนึงก่อนครับ ตามด้วยความหมายของอาวุธ และ ศาสนสัญลักษณ์ ของซิกข์ในปัจจุบัน ขอบคุณที่สละเวลามาอ่านครับ
1. การใช้กำลัง / สงคราม
"นานักขอตรัส ผู้ใดไม่ทำให้ใครเกรงกลัว และไม่เกรงกลัวใครเช่นกัน โอ้จิตของข้าฯ ผู้นั้นมีสติปัญญารอบรู้อย่างเที่ยงแท้"
- คุรุ เตข บหาดูร์ (องค์ที่ 9)
เหล่าคุรุศาสดา ไม่เชื่อในการใช้กำลังข่มขู่ บุกรุก โจมตี ล้างแค้น (แม้จะโดนหักหลัง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ตาม - เพราะเชื่อในการปล่อยวาง) ลอบสังหาร ก่อการร้าย และ/หรือ ลงโทษใคร..
แต่เชื่อในการใช้กำลังเพื่อ ป้องกันตัวเอง และคนรอบข้าง เมื่อจำเป็นในสถานการณ์นั้นๆ เท่านั้น - เพราะทุกสิ่งมีชีวิต มีสิทธิป้องกันตัว หากทำได้
จะสังเกตได้ในสมัยของคุรุศาสดาทั้ง 10 องค์ เช่นกัน ว่า แรกๆ ชาวซิกข์ไม่ได้เป็นนักรบ แม้จะโดนกลั่นแกล้งเป็นช่วงๆ บ้าง - เนื่องจากบางฝ่ายไม่สามารถรับวิถีชีวิตของคุรุศาสดาได้ ซึ่งยึดเหนี่ยวใน 'ความเสมอภาคอย่างเที่ยงแท้ของมนุษย์' ที่ไม่แบ่งแยกระหว่างเพศ วรรณะ ศาสนา เชื้อชาติ และ ผิวพั้นช์
พอเริ่มมีประชากรชาวซิกข์มากขึ้น เริ่มมีพระคัมภีร์ และ วิหารของตน กระแสที่ต่อต้านจึงเริ่มแรงขึ้น จนถึงขั้นยกกองกำลังมาโจมตี ผ่านการใช้เส้นสายทางการเมือง คุรุศาสดาและชาวซิกข์จึงจำเป็นต้องยกระดับในการป้องกันตัว ด้วยการฝึกเป็นทหาร หลังจากที่พระศาสดาศิริคุรุ อรชน (องค์ที่ 5) โดนประหารชีวิตอย่างไม่ยุติธรรม
ในสนามรบก็เช่นกัน คุรุศาสดาจะให้ฝ่ายตรงข้าม โจมตีก่อนทุกครั้ง ในสมัยของพระองค์ หลังทุกชัยชนะ ก็จะไม่มีการจับฝ่ายที่แพ้มาขังหรือมาเป็นทาส ไม่มีการไปปล้นทรัพย์สินและบ้านเมืองของเค้า ไม่มีการข่มขืนสตรีของเค้า คุรุศาสดาไม่เชื่อในการเป็นกบฏต่อชาติ ท่านจ่ายภาษีเหมือนทุกคนเช่นกัน ยกเว้นเมื่อรัฐบาลกดขี่ให้ปชช จ่ายภาษีมากกว่าที่จะจ่ายได้ (เพราะสงคราม 20 ปี ภาคใต้ของราชอาณาจักรโมกุล Aurangzeb ซึ่งทำให้รัฐบาลขาดเงินในการรบต่อเนื่อง) แล้วเมื่อปชช ปฏิเสธการจ่าย จึงบุกโจมตี ปชช.จึงขอความช่วยเหลือจากคุรุศาสดาและ คุรุท่าน เนื่องจากเห็นว่าปชช ลำบากจริง จึงอยู่เคียงข้างปชชในการป้องกันตัวในสถานการณ์นั้น
=====
2. ความหมายของ "อาวุธ" ในเชิง symbolism
ในเชิง symbolism, อาวุธ/ดาบ/พระขรรค์ เป็นสัญลักษณ์ ของ 'สติปัญญาความรอบรู้' เพราะ 'ความรู้' เสมือน 'แสง/อาวุธ' ที่ 'ทำลาย/กำจัด' 'ความมืดบอด'
อาวุธ (สติปัญญา/การรู้แจ้ง) จึงเป็น สัญลักษณ์ ของ อำนาจ บารมี อธิปไตย และ กฎหมาย อย่างเที่ยงแท้ ซึ่งจะสังเกต สัญลักษณ์นี้ได้ในหลาย สถาบัน/องค์กร ต่างๆ ของโลก
เนื่องจากมีความหมายเดียวกันในศาสนาซิกข์ พระขรรค์/ดาบ/อาวุธ จึงเป็น สัญลักษณ์แห่งธรรม แห่งบารมี หรือ พระแสง ของเอก พระเจ้า (ผู้เป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง และ องค์ความรู้ทั้งปวง) ผู้เป็น "สัจจะคุรุ" อย่างเที่ยงแท้
ในเชิง symbolism ศิริคุรุ โควินท์ สิงห์ (พ.ศ. 2251) ตรัสพระนามของพระเจ้าเป็น "Sarb Loh" (พระสรรพโลหะ) พระผู้ทรงมีคุณสมบัติ ของโลหะทุกชนิดในพระองค์เอง - หมายความว่า - ไม่มีสิ่งใดทำลายพระเจ้าได้ พระองค์อยู่ยงคงกระพัน.. อีกความหมายหนึ่งของ Sarb Loh คือ พระองค์เสมือน เหล็กกล้า ที่ใครๆ ก็มีได้ (เพราะถูก ไม่แพง) หมายความว่า พระองค์ แม้เป็นพระเจ้าอย่างเที่ยงแท้ ทรงถ่อมตน เพราะไม่มีใครเทียบเท่าพระองค์ หรือ มาเป็นศัตรูกับพระองค์ได้ ทุกคนรับใช้พระองค์ทั้งสิ้น และ ด้วยพระเมตตากรุณาของพระองค์ ด้วยใจรักใจจริง สามารถเข้าหาพระองค์โดยตรงได้
"การละทิ้งอหังการ โมหะ และ ความหลงไหลในของเรา ของเธอ คือการดำเนินชีวิตบนเส้นทางของดาบสองคม"
- ศรีคุรุ อรชุน เทพ (องค์ที่ 5), ศ.ค.ค.ซ 53
"ด้วยพระขรรค์แห่งสติปัญญา จงกำจัด (ควบคุม) อสูร (กิเลส) ทั้ง 5 (กาม โกรธ โลภ โมหะ อหังการ) และรู้แจ้งในพระธรรมเถิด"
- ศรีคุรุ อมร ทาส (องค์ที่ 3), ศ.ค.ค.ซ. 1413
"ธนูแห่งความรัก ของพระเจ้า ได้แทงทะลุ จิตและกายของเรา"
- ศิริคุรุ รามทาส (องค์ที่ 4) ศ.ค.ค.ซ. 175
"อำนาจ ก็ไม่อยากได้ พิโมกษ์ ก็ไม่อยากเอา เพียงขอให้จิตของเราอยู่ใต้พระบาทของพระองค์เท่านั้น"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 534
"โอ้ นานัก เขาคือนักรบผู้กล้าหาญยิ่ง ผู้ใดที่ครอบครองและกำจัดอหังการของตน"
- ศิริคุรุ อมรทาส (องค์ที่ 3) ศ.ค.ค.ซ 86
"ผู้ที่กำจัดความชั่วของตน คือนักรบที่กล้าหาญยิ่ง"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 258
"ผู้ใดยึดเหนี่ยวในความรักของพระองค์ในยุคนี้ คือนักรบที่แท้จริง"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 679
ในเชิงของสัญลักษณ์ คุรุโควินท์ สิงห์ (องค์ที่ 10) ตรัสว่า "แรกเริ่ม พระเจ้าสถาปนา พระขรรค์/ดาบสองคม ตามด้วยสรรพสิ่งทั้งมวล" ซึ่งหมายความว่า แรกเริ่มพระองค์สถาปนาความเป็นเจ้าของพระองค์เอง (ปรากฎอิทธิพลของพระองค์) โดยโองการพระคำเดียว (พระศัพท์ เดียว - Shabad) ซึ่งเป็นพระแสง หรือ รัศมี หรือ อาทิศักดิ์ ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างตามมา
การสวม 'กิรปาน' Kirpan โดยชาวซิกข์
การสวมพระขรรค์/ดาบ/อาวุธ/กิรปาน (มีดโค้ง สั้น) โดยชาวซิกข์ จึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็น อธิปไตยทางจิตของตน:
ว่า จะเอาธรรมนำหน้าในทุกสถานการณ์ของชีวิต
ว่า ด้วยพระเมตตาของพระองค์ เราสามารถเข้าหาพระองค์ได้โดยตรง (ในจิตใจและเรือนกายของเรา) โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่ 3
ว่า ไม่มีใครมีสิทธิบังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา
ว่า เราได้รับรู้ในความเป็นเจ้าอย่างเที่ยงแท้ของพระองค์แล้ว ว่าทุกอย่างล้วนเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น
ว่าแท้จริง ในสายตาของพระองค์ (และในสายตาของเรา) ไม่มีใครดีหรือชั่ว สูงหรือตำ่ ฉลาดหรือโง่ จึงไม่มีใครเป็นศัตรู เพราะทุกคนล้วนประพฤติตน (กระทำ/กรรม) ตามสันดานที่พระองค์ได้ลิขิตไว้ให้เรา
การสวมอาวุธโดยชาวซิกข์จึงเป็นการแสดงออกถึงจิตที่เข้าใจในธรรม และในละครแห่งมายาของพระเจ้า
กิรปาน Kirpan แปลว่า 'มือแห่งความเมตตา' / 'พระเมตตา (ของพระเจ้า)' เพราะได้ตาสว่างในธรรม จิตที่สงบ และเข้าใจ คือจิตที่ไม่ทุกข์ (นี่คือพระเมตตาของพระเจ้า)
ในพิธีการรับเข้าเป็นซิกข์ก็เช่นกัน จะใช้พระขรรค์คนน้ำมนต์
ครั้งหนึ่ง เคยมีข้าราชสำนัก ท่านหนึ่ง ของจักรพรรดิโมกุล Bahadur Shah เนื่องจากเห็น คุรุศาสดา ศิริ โควินท์ สิงห์ เป็นองค์ศักดิ์สิทธ์ จึงขอให้ท่านแสดงพลังปาฏิหาริย์ เพื่อพิสูจน์ในความ ศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างแท้จริง คุรุท่านจึงชูดาบโค้งของท่านขึ้นเป็นคำตอบ ผู้ที่ถามนึกว่าคุรุศาสดาท่านไม่เข้าใจคำถาม จึงถามซ้ำ แล้วคุรุท่านชูดาบของพระองค์ขึ้นอีกครั้ง ผู้ที่ถามก็ยังนึกว่าคุรุท่านไม่เข้าใจคำถาม จึงถามท่านครั้งที่ 3 แล้วคุรุท่านก็ชูดาบของพระองค์ขึ้นอีก ครั้งที่ 3 จนผู้ที่ทามยอมแพ้ แล้วเลิกถามพระองค์.. การที่คุรุท่านชูดาบขึ้น หมายความว่า พลังปาฏิหาริย์ ล้วนเป็นของพระเจ้าทั้งสิ้น และการที่เรามีสติปัญญาความรอบรู้ในธรรม ด้วยพระเมตตากรุณาของพระเจ้านั้น คือพลังปาฏิหาริย์ที่แท้จริง การแสดงพลังปาฏิหาริย์อื่นๆ (ที่บางคนสามารถแสดงได้) นั้น จึงไม่มีความสำคันในธรรมรรคของพระเจ้า เราจึงควรหยุดให้ความสำคันกับสิ่งเหล่านี้ และ ให้จิตของเรายึดเหนี่ยวอยู่ใต้พระบาทและพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ด้วยใจจริง อย่างมีสติ ในทุกช่วง ทุกลมหายใจ
======
3. Khanda คันดา [ศาสนสัญลักษณ์]
คันดา (Khanda) ศาสนสัญลักษณ์ของซิกข์ ซึ่งเห็นๆ กันบ่อย ประกอบด้วย พระขรรค์/ดาบสองคม ตรงกลาง ในวงจักร (Chakra) และ ดาบโค้ง มีรี-ปีรี (Miri & Piri) ซ้าย 1 ขวา 1 ถูกออกแบบมาในศตวรรษที่แล้ว (ราว ค.ศ. 1922?)
พระขรรค์/ดาบสองคม ตรงกลาง - บ่งถึงความเป็นหนึ่งของพระเจ้า ความเป็นเอกภาพของธรรมชาติ ว่าทุกข์กับสุขล้วนพระองค์ทรงบันดาล ว่าทุกอย่างและทุกคนอยู่ภายใต้พระบัญชาของพระองค์ทั้งสิ้น
วงจักร - บ่งถึงความสมดุลของธรรมชาติ ความสมบูรณ์ และ ความไร้ขอบเขตของพระองค์ (ชาวซิกข์มักสวมเป็นกำไลมือ เป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันกับพระองค์เสมือนแหวนหมั้น ให้กระทำความดี)
ดาบโค้งซ้าย กับ ขวา "มีรี กับ ปีรี" -
มีรี - บ่งถึงวิถีแห่งโลก หรือ สถาบันชาติ
และปีรี - บ่งถึงวิถีแห่งธรรม หรือ สถาบันศาสนา
ซึ่งหมายความว่า ทั้ง 2 สถาบันควรรับใช้พระองค์/ความเป็นธรรมเสมอ ว่าเราควรเอาธรรมนำหน้าในทุกสถานการณ์ของชีวิต
หากสถาบันใด/องค์กรใดไม่ชอบธรรม เราไม่ควรยึดเหนี่ยวกับสถาบัน/องค์กรนั้นๆ แต่ยึดเหนี่ยวกับพระองค์เท่านั้น
- ซึ่ง มิได้หมายความว่าเราควรไปเป็น ปรปักษ์กับใคร หรือ ไปเกลียดแค้นใคร หรือไปลงโทษใคร หรือไปบังคับสังคมให้มานับถือศาสนาเรา หรือไปเป็นกบฎต่อชาติบ้านเมือง
แต่เราควรเป็นแรงบันดาลใจให้สังคมเห็น ด้วยการรับใช้พระองค์ (ด้วยการกระทำความดี รับใช้เพื่อนมนุษย์) แล้วด้วยพระเมตตากรุณาของพระองค์ ชนะใจทีละคน ให้ตาสว่างในความรักและความป็นสากลอย่างแท้จริงของพระเจ้า
ศาสนสัญลักษณ์ คันดา โดยย่อ จึงหมายความว่า เราควรยึดเหนี่ยวใน จริยธรรม (morals, character-building) ในความเป็นสัจจะ (ความเป็นเอกภาพ) ของพระองค์ เพราะปราศจาก ศิลธรรม ในบุคคลแล้ว ระบบ/ระบอบ/องค์กร/อุดมการณ์/คตินิยม/system/ideology/beliefs จะดีแค่ไหนก็ได้ ก็ไร้ประโยชน์ หากขาดบุคคล (ที่มีจริยธรรม) นำมาปฏิบัติให้เป็นจริง
ขออภัย หากผิดพลาด
ขอบคุณครับ
อาวุธ ศาสนสัญลักษณ์ และ การใช้กำลัง ในสมัย (239ปี) ของ คุรุศาสดาทั้ง 10 พระองค์ (1469 - 1708) ของศาสนาซิกข์ [คำอธิบาย]
สวัสดีครับ,
ผมจะพยายามอธิบายการใช้กำลัง ในสมัย (239 ปี) ของคุรุศาสดา นิดนึงก่อนครับ ตามด้วยความหมายของอาวุธ และ ศาสนสัญลักษณ์ ของซิกข์ในปัจจุบัน ขอบคุณที่สละเวลามาอ่านครับ
1. การใช้กำลัง / สงคราม
"นานักขอตรัส ผู้ใดไม่ทำให้ใครเกรงกลัว และไม่เกรงกลัวใครเช่นกัน โอ้จิตของข้าฯ ผู้นั้นมีสติปัญญารอบรู้อย่างเที่ยงแท้"
- คุรุ เตข บหาดูร์ (องค์ที่ 9)
เหล่าคุรุศาสดา ไม่เชื่อในการใช้กำลังข่มขู่ บุกรุก โจมตี ล้างแค้น (แม้จะโดนหักหลัง ซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ตาม - เพราะเชื่อในการปล่อยวาง) ลอบสังหาร ก่อการร้าย และ/หรือ ลงโทษใคร..
แต่เชื่อในการใช้กำลังเพื่อ ป้องกันตัวเอง และคนรอบข้าง เมื่อจำเป็นในสถานการณ์นั้นๆ เท่านั้น - เพราะทุกสิ่งมีชีวิต มีสิทธิป้องกันตัว หากทำได้
จะสังเกตได้ในสมัยของคุรุศาสดาทั้ง 10 องค์ เช่นกัน ว่า แรกๆ ชาวซิกข์ไม่ได้เป็นนักรบ แม้จะโดนกลั่นแกล้งเป็นช่วงๆ บ้าง - เนื่องจากบางฝ่ายไม่สามารถรับวิถีชีวิตของคุรุศาสดาได้ ซึ่งยึดเหนี่ยวใน 'ความเสมอภาคอย่างเที่ยงแท้ของมนุษย์' ที่ไม่แบ่งแยกระหว่างเพศ วรรณะ ศาสนา เชื้อชาติ และ ผิวพั้นช์
พอเริ่มมีประชากรชาวซิกข์มากขึ้น เริ่มมีพระคัมภีร์ และ วิหารของตน กระแสที่ต่อต้านจึงเริ่มแรงขึ้น จนถึงขั้นยกกองกำลังมาโจมตี ผ่านการใช้เส้นสายทางการเมือง คุรุศาสดาและชาวซิกข์จึงจำเป็นต้องยกระดับในการป้องกันตัว ด้วยการฝึกเป็นทหาร หลังจากที่พระศาสดาศิริคุรุ อรชน (องค์ที่ 5) โดนประหารชีวิตอย่างไม่ยุติธรรม
ในสนามรบก็เช่นกัน คุรุศาสดาจะให้ฝ่ายตรงข้าม โจมตีก่อนทุกครั้ง ในสมัยของพระองค์ หลังทุกชัยชนะ ก็จะไม่มีการจับฝ่ายที่แพ้มาขังหรือมาเป็นทาส ไม่มีการไปปล้นทรัพย์สินและบ้านเมืองของเค้า ไม่มีการข่มขืนสตรีของเค้า คุรุศาสดาไม่เชื่อในการเป็นกบฏต่อชาติ ท่านจ่ายภาษีเหมือนทุกคนเช่นกัน ยกเว้นเมื่อรัฐบาลกดขี่ให้ปชช จ่ายภาษีมากกว่าที่จะจ่ายได้ (เพราะสงคราม 20 ปี ภาคใต้ของราชอาณาจักรโมกุล Aurangzeb ซึ่งทำให้รัฐบาลขาดเงินในการรบต่อเนื่อง) แล้วเมื่อปชช ปฏิเสธการจ่าย จึงบุกโจมตี ปชช.จึงขอความช่วยเหลือจากคุรุศาสดาและ คุรุท่าน เนื่องจากเห็นว่าปชช ลำบากจริง จึงอยู่เคียงข้างปชชในการป้องกันตัวในสถานการณ์นั้น
=====
2. ความหมายของ "อาวุธ" ในเชิง symbolism
ในเชิง symbolism, อาวุธ/ดาบ/พระขรรค์ เป็นสัญลักษณ์ ของ 'สติปัญญาความรอบรู้' เพราะ 'ความรู้' เสมือน 'แสง/อาวุธ' ที่ 'ทำลาย/กำจัด' 'ความมืดบอด'
อาวุธ (สติปัญญา/การรู้แจ้ง) จึงเป็น สัญลักษณ์ ของ อำนาจ บารมี อธิปไตย และ กฎหมาย อย่างเที่ยงแท้ ซึ่งจะสังเกต สัญลักษณ์นี้ได้ในหลาย สถาบัน/องค์กร ต่างๆ ของโลก
เนื่องจากมีความหมายเดียวกันในศาสนาซิกข์ พระขรรค์/ดาบ/อาวุธ จึงเป็น สัญลักษณ์แห่งธรรม แห่งบารมี หรือ พระแสง ของเอก พระเจ้า (ผู้เป็นแหล่งกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง และ องค์ความรู้ทั้งปวง) ผู้เป็น "สัจจะคุรุ" อย่างเที่ยงแท้
ในเชิง symbolism ศิริคุรุ โควินท์ สิงห์ (พ.ศ. 2251) ตรัสพระนามของพระเจ้าเป็น "Sarb Loh" (พระสรรพโลหะ) พระผู้ทรงมีคุณสมบัติ ของโลหะทุกชนิดในพระองค์เอง - หมายความว่า - ไม่มีสิ่งใดทำลายพระเจ้าได้ พระองค์อยู่ยงคงกระพัน.. อีกความหมายหนึ่งของ Sarb Loh คือ พระองค์เสมือน เหล็กกล้า ที่ใครๆ ก็มีได้ (เพราะถูก ไม่แพง) หมายความว่า พระองค์ แม้เป็นพระเจ้าอย่างเที่ยงแท้ ทรงถ่อมตน เพราะไม่มีใครเทียบเท่าพระองค์ หรือ มาเป็นศัตรูกับพระองค์ได้ ทุกคนรับใช้พระองค์ทั้งสิ้น และ ด้วยพระเมตตากรุณาของพระองค์ ด้วยใจรักใจจริง สามารถเข้าหาพระองค์โดยตรงได้
"การละทิ้งอหังการ โมหะ และ ความหลงไหลในของเรา ของเธอ คือการดำเนินชีวิตบนเส้นทางของดาบสองคม"
- ศรีคุรุ อรชุน เทพ (องค์ที่ 5), ศ.ค.ค.ซ 53
"ด้วยพระขรรค์แห่งสติปัญญา จงกำจัด (ควบคุม) อสูร (กิเลส) ทั้ง 5 (กาม โกรธ โลภ โมหะ อหังการ) และรู้แจ้งในพระธรรมเถิด"
- ศรีคุรุ อมร ทาส (องค์ที่ 3), ศ.ค.ค.ซ. 1413
"ธนูแห่งความรัก ของพระเจ้า ได้แทงทะลุ จิตและกายของเรา"
- ศิริคุรุ รามทาส (องค์ที่ 4) ศ.ค.ค.ซ. 175
"อำนาจ ก็ไม่อยากได้ พิโมกษ์ ก็ไม่อยากเอา เพียงขอให้จิตของเราอยู่ใต้พระบาทของพระองค์เท่านั้น"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 534
"โอ้ นานัก เขาคือนักรบผู้กล้าหาญยิ่ง ผู้ใดที่ครอบครองและกำจัดอหังการของตน"
- ศิริคุรุ อมรทาส (องค์ที่ 3) ศ.ค.ค.ซ 86
"ผู้ที่กำจัดความชั่วของตน คือนักรบที่กล้าหาญยิ่ง"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 258
"ผู้ใดยึดเหนี่ยวในความรักของพระองค์ในยุคนี้ คือนักรบที่แท้จริง"
- ศิริคุรุ อรชน เทพ (องค์ที่ 5) ศ.ค.ค.ซ. 679
ในเชิงของสัญลักษณ์ คุรุโควินท์ สิงห์ (องค์ที่ 10) ตรัสว่า "แรกเริ่ม พระเจ้าสถาปนา พระขรรค์/ดาบสองคม ตามด้วยสรรพสิ่งทั้งมวล" ซึ่งหมายความว่า แรกเริ่มพระองค์สถาปนาความเป็นเจ้าของพระองค์เอง (ปรากฎอิทธิพลของพระองค์) โดยโองการพระคำเดียว (พระศัพท์ เดียว - Shabad) ซึ่งเป็นพระแสง หรือ รัศมี หรือ อาทิศักดิ์ ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างตามมา
การสวม 'กิรปาน' Kirpan โดยชาวซิกข์
การสวมพระขรรค์/ดาบ/อาวุธ/กิรปาน (มีดโค้ง สั้น) โดยชาวซิกข์ จึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็น อธิปไตยทางจิตของตน:
ว่า จะเอาธรรมนำหน้าในทุกสถานการณ์ของชีวิต
ว่า ด้วยพระเมตตาของพระองค์ เราสามารถเข้าหาพระองค์ได้โดยตรง (ในจิตใจและเรือนกายของเรา) โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลที่ 3
ว่า ไม่มีใครมีสิทธิบังคับใครให้เปลี่ยนศาสนา
ว่า เราได้รับรู้ในความเป็นเจ้าอย่างเที่ยงแท้ของพระองค์แล้ว ว่าทุกอย่างล้วนเป็นไปตามพระประสงค์ของพระองค์ทั้งสิ้น
ว่าแท้จริง ในสายตาของพระองค์ (และในสายตาของเรา) ไม่มีใครดีหรือชั่ว สูงหรือตำ่ ฉลาดหรือโง่ จึงไม่มีใครเป็นศัตรู เพราะทุกคนล้วนประพฤติตน (กระทำ/กรรม) ตามสันดานที่พระองค์ได้ลิขิตไว้ให้เรา
การสวมอาวุธโดยชาวซิกข์จึงเป็นการแสดงออกถึงจิตที่เข้าใจในธรรม และในละครแห่งมายาของพระเจ้า
กิรปาน Kirpan แปลว่า 'มือแห่งความเมตตา' / 'พระเมตตา (ของพระเจ้า)' เพราะได้ตาสว่างในธรรม จิตที่สงบ และเข้าใจ คือจิตที่ไม่ทุกข์ (นี่คือพระเมตตาของพระเจ้า)
ในพิธีการรับเข้าเป็นซิกข์ก็เช่นกัน จะใช้พระขรรค์คนน้ำมนต์
ครั้งหนึ่ง เคยมีข้าราชสำนัก ท่านหนึ่ง ของจักรพรรดิโมกุล Bahadur Shah เนื่องจากเห็น คุรุศาสดา ศิริ โควินท์ สิงห์ เป็นองค์ศักดิ์สิทธ์ จึงขอให้ท่านแสดงพลังปาฏิหาริย์ เพื่อพิสูจน์ในความ ศักดิ์สิทธิ์ของท่านอย่างแท้จริง คุรุท่านจึงชูดาบโค้งของท่านขึ้นเป็นคำตอบ ผู้ที่ถามนึกว่าคุรุศาสดาท่านไม่เข้าใจคำถาม จึงถามซ้ำ แล้วคุรุท่านชูดาบของพระองค์ขึ้นอีกครั้ง ผู้ที่ถามก็ยังนึกว่าคุรุท่านไม่เข้าใจคำถาม จึงถามท่านครั้งที่ 3 แล้วคุรุท่านก็ชูดาบของพระองค์ขึ้นอีก ครั้งที่ 3 จนผู้ที่ทามยอมแพ้ แล้วเลิกถามพระองค์.. การที่คุรุท่านชูดาบขึ้น หมายความว่า พลังปาฏิหาริย์ ล้วนเป็นของพระเจ้าทั้งสิ้น และการที่เรามีสติปัญญาความรอบรู้ในธรรม ด้วยพระเมตตากรุณาของพระเจ้านั้น คือพลังปาฏิหาริย์ที่แท้จริง การแสดงพลังปาฏิหาริย์อื่นๆ (ที่บางคนสามารถแสดงได้) นั้น จึงไม่มีความสำคันในธรรมรรคของพระเจ้า เราจึงควรหยุดให้ความสำคันกับสิ่งเหล่านี้ และ ให้จิตของเรายึดเหนี่ยวอยู่ใต้พระบาทและพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียว ด้วยใจจริง อย่างมีสติ ในทุกช่วง ทุกลมหายใจ
======
3. Khanda คันดา [ศาสนสัญลักษณ์]
คันดา (Khanda) ศาสนสัญลักษณ์ของซิกข์ ซึ่งเห็นๆ กันบ่อย ประกอบด้วย พระขรรค์/ดาบสองคม ตรงกลาง ในวงจักร (Chakra) และ ดาบโค้ง มีรี-ปีรี (Miri & Piri) ซ้าย 1 ขวา 1 ถูกออกแบบมาในศตวรรษที่แล้ว (ราว ค.ศ. 1922?)
พระขรรค์/ดาบสองคม ตรงกลาง - บ่งถึงความเป็นหนึ่งของพระเจ้า ความเป็นเอกภาพของธรรมชาติ ว่าทุกข์กับสุขล้วนพระองค์ทรงบันดาล ว่าทุกอย่างและทุกคนอยู่ภายใต้พระบัญชาของพระองค์ทั้งสิ้น
วงจักร - บ่งถึงความสมดุลของธรรมชาติ ความสมบูรณ์ และ ความไร้ขอบเขตของพระองค์ (ชาวซิกข์มักสวมเป็นกำไลมือ เป็นสัญลักษณ์แห่งความผูกพันกับพระองค์เสมือนแหวนหมั้น ให้กระทำความดี)
ดาบโค้งซ้าย กับ ขวา "มีรี กับ ปีรี" -
มีรี - บ่งถึงวิถีแห่งโลก หรือ สถาบันชาติ
และปีรี - บ่งถึงวิถีแห่งธรรม หรือ สถาบันศาสนา
ซึ่งหมายความว่า ทั้ง 2 สถาบันควรรับใช้พระองค์/ความเป็นธรรมเสมอ ว่าเราควรเอาธรรมนำหน้าในทุกสถานการณ์ของชีวิต
หากสถาบันใด/องค์กรใดไม่ชอบธรรม เราไม่ควรยึดเหนี่ยวกับสถาบัน/องค์กรนั้นๆ แต่ยึดเหนี่ยวกับพระองค์เท่านั้น
- ซึ่ง มิได้หมายความว่าเราควรไปเป็น ปรปักษ์กับใคร หรือ ไปเกลียดแค้นใคร หรือไปลงโทษใคร หรือไปบังคับสังคมให้มานับถือศาสนาเรา หรือไปเป็นกบฎต่อชาติบ้านเมือง
แต่เราควรเป็นแรงบันดาลใจให้สังคมเห็น ด้วยการรับใช้พระองค์ (ด้วยการกระทำความดี รับใช้เพื่อนมนุษย์) แล้วด้วยพระเมตตากรุณาของพระองค์ ชนะใจทีละคน ให้ตาสว่างในความรักและความป็นสากลอย่างแท้จริงของพระเจ้า
ศาสนสัญลักษณ์ คันดา โดยย่อ จึงหมายความว่า เราควรยึดเหนี่ยวใน จริยธรรม (morals, character-building) ในความเป็นสัจจะ (ความเป็นเอกภาพ) ของพระองค์ เพราะปราศจาก ศิลธรรม ในบุคคลแล้ว ระบบ/ระบอบ/องค์กร/อุดมการณ์/คตินิยม/system/ideology/beliefs จะดีแค่ไหนก็ได้ ก็ไร้ประโยชน์ หากขาดบุคคล (ที่มีจริยธรรม) นำมาปฏิบัติให้เป็นจริง
ขออภัย หากผิดพลาด
ขอบคุณครับ