มือใหม่หัดเขียนนะคร๊าบ... ผมมีเรื่องอยากเล่าให้เพื่อนๆ ฟังครับ เป็นเรื่องจริงจากพระไตรปิฎก
ที่ผมอ่านแล้วฉุกคิด ถึงสังคมปัจจุบัน... (เห็นมีข่าวพระกันเยอะครับ)
เผื่อว่าจะได้เป็นข้อคิด สะกิดใจ ในการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบันนี้ครับ
(เป็นความย่อ เขียนตามแนวของผมนะครับ)
ในสมัยพุทธกาล พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นนางเปรตโผล่ขึ้นจากหลุมคูถ(อุจจาระ)
ท่านจึงถามถึงกรรมชั่วที่นางเปรตได้กระทำครั้งยังเป็นมนุษย์
นางเปรต: ได้มีภิกษุทุศีล ผู้กล่าวว่าร้ายภิกษุอื่น
ดิฉันเชื่อคำภิกษุทุศีลนั้น
ด่าว่าภิกษุทั้งหลาย
เพราะกรรมชั่วนั้น ดิฉันจึงเป็นเปรต...
พระมหาโมคคัลลานเถระ: ภิกษุทุศีลรูปนั้น มรณภาพแล้วไปไหนหนอ?
นางเปรต: ภิกษุทุศีลรูปน้ั้นเกิดเป็นเปรต... อยู่ใต้เท้าของดิฉัน
ดิฉันยืนอยู่บนศีรษะของเปรต(อดีตภิกษุทุศีล)ตนนั้น
ดิฉันอาศัยอุจจาระของคนที่ขับถ่ายเป็นอาหาร
ส่วนเปรต(อดีตภิกษุทุศีล)... อาศัยอุจจาระของดิฉัน(นางเปรต) เป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง
หญิงคนนี้ ฟังความข้างเดียว... แล้วเชื่อ... แล้วด่า... จึงไปเกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ
หญิงคนนี้ ไม่ใช่คนแรกที่เริ่มด่า แต่เธอเชื่อ... เธอด่า... จึงไปเกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ
ภิกษุทุศีล ผู้เริ่มต้นกล่าวว่าร้าย เพราะ ยอมตามอำนาจความชั่วในใจตน จึงด่า... และ ชวนคนอื่นด่า...
จึงไปเกิดเป็นเปรตที่กินอุจจาระจากเปรตที่อยู่บนหัวของตัวเอง
การด่าว่าร้าย...มีโทษมิใช่น้อยเลย
หากด่าว่าร้ายด้วยแล้ว ชวนคนอื่นด่าด้วย.... บาปกรรมก็ยิ่งทวีความรุนแรง
ทุกวันนี้การว่าร้ายกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ... ได้ยินแทบทุกวัน
หากเราฟัง แล้วรับเชื่อ... ร่วมด่าว่าร้าย... บาปกรรมย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แม้เรื่องนั้นจะจริง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวเกิดขึ้นทันทีเป็นอย่างน้อย
แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง..ล่ะ แล้วเราไปว่าร้าย ผลบาปจะขนาดไหน?
และหากผู้ที่เราว่าร้าย เป็นผู้มีศีล มีธรรม..ล่ะ คงแบกบาปหนักๆกันไปอีกนานโขทีเดียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ อย่างชัดเจน ท่อนหนึ่งว่า
"...อนูปวาโท.." แปลว่า การไม่กล่าวร้าย
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้ว เราน่าจะต้องมาทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์อย่างจริงจัง...
เพื่อตัวเราจะได้มีมาตรฐานในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยทั้งปัจจุบันและอนาคตครับ...
(เพิ่งหัดเขียนเป็นครั้งแรก ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ )
(ที่มา : คูถขาทกเปติวัตถุ เรื่อง นางเปรตกินคูถ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่26 หน้า294-295)
อีกมุมมอง... ตัวเราเอง กับ ข่าวพาดพิงผู้อื่นในแง่ร้าย
ที่ผมอ่านแล้วฉุกคิด ถึงสังคมปัจจุบัน... (เห็นมีข่าวพระกันเยอะครับ)
เผื่อว่าจะได้เป็นข้อคิด สะกิดใจ ในการดำเนินชีวิตยุคปัจจุบันนี้ครับ
(เป็นความย่อ เขียนตามแนวของผมนะครับ)
ในสมัยพุทธกาล พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นนางเปรตโผล่ขึ้นจากหลุมคูถ(อุจจาระ)
ท่านจึงถามถึงกรรมชั่วที่นางเปรตได้กระทำครั้งยังเป็นมนุษย์
นางเปรต: ได้มีภิกษุทุศีล ผู้กล่าวว่าร้ายภิกษุอื่น
ดิฉันเชื่อคำภิกษุทุศีลนั้น
ด่าว่าภิกษุทั้งหลาย
เพราะกรรมชั่วนั้น ดิฉันจึงเป็นเปรต...
พระมหาโมคคัลลานเถระ: ภิกษุทุศีลรูปนั้น มรณภาพแล้วไปไหนหนอ?
นางเปรต: ภิกษุทุศีลรูปน้ั้นเกิดเป็นเปรต... อยู่ใต้เท้าของดิฉัน
ดิฉันยืนอยู่บนศีรษะของเปรต(อดีตภิกษุทุศีล)ตนนั้น
ดิฉันอาศัยอุจจาระของคนที่ขับถ่ายเป็นอาหาร
ส่วนเปรต(อดีตภิกษุทุศีล)... อาศัยอุจจาระของดิฉัน(นางเปรต) เป็นอาหารอีกทอดหนึ่ง
หญิงคนนี้ ฟังความข้างเดียว... แล้วเชื่อ... แล้วด่า... จึงไปเกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ
หญิงคนนี้ ไม่ใช่คนแรกที่เริ่มด่า แต่เธอเชื่อ... เธอด่า... จึงไปเกิดเป็นเปรตกินอุจจาระ
ภิกษุทุศีล ผู้เริ่มต้นกล่าวว่าร้าย เพราะ ยอมตามอำนาจความชั่วในใจตน จึงด่า... และ ชวนคนอื่นด่า...
จึงไปเกิดเป็นเปรตที่กินอุจจาระจากเปรตที่อยู่บนหัวของตัวเอง
การด่าว่าร้าย...มีโทษมิใช่น้อยเลย
หากด่าว่าร้ายด้วยแล้ว ชวนคนอื่นด่าด้วย.... บาปกรรมก็ยิ่งทวีความรุนแรง
ทุกวันนี้การว่าร้ายกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ... ได้ยินแทบทุกวัน
หากเราฟัง แล้วรับเชื่อ... ร่วมด่าว่าร้าย... บาปกรรมย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แม้เรื่องนั้นจะจริง 100 เปอร์เซ็นต์ ก็ทำให้อารมณ์ขุ่นมัวเกิดขึ้นทันทีเป็นอย่างน้อย
แต่ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง..ล่ะ แล้วเราไปว่าร้าย ผลบาปจะขนาดไหน?
และหากผู้ที่เราว่าร้าย เป็นผู้มีศีล มีธรรม..ล่ะ คงแบกบาปหนักๆกันไปอีกนานโขทีเดียว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ อย่างชัดเจน ท่อนหนึ่งว่า
"...อนูปวาโท.." แปลว่า การไม่กล่าวร้าย
ผมคิดว่าถึงเวลาแล้ว เราน่าจะต้องมาทบทวนคำสอนของพระพุทธองค์อย่างจริงจัง...
เพื่อตัวเราจะได้มีมาตรฐานในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยทั้งปัจจุบันและอนาคตครับ...
(เพิ่งหัดเขียนเป็นครั้งแรก ผิดพลาดอย่างไรขออภัยด้วยครับ )
(ที่มา : คูถขาทกเปติวัตถุ เรื่อง นางเปรตกินคูถ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่26 หน้า294-295)