หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า หัวมุมถนนศรีอยุธยา มุ่งหน้าสู่ลานพระบรมรูปทรงม้า มีสถานที่ที่บอกเล่าเรื่องราวการทำงานของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ พิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย วังปารุสกวัน
วันนี้เลยอยากจะพาทุกคน ไปเที่ยวชมวังปารุสฯ ส่วนตำหนักจิตรลดา (ตำหนักปารุสกวันยังไม่เปิดให้เข้าชม) และ พิพิธภัณฑ์ตำรวจกันค่ะ
วังปารุสกวัน เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับพระราชทานพระโอรส 2 พระองค์ คือ ตำหนักจิตรลดา พระราชทานให้กับรัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศมกุฎราชกุมาร และ ตำหนักปารุสกวัน พระราชทานให้กับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายไปประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระบรมมหาราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำหนักสวนจิตรลดา แลกเปลี่ยนกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และโปรดฯ ให้รื้อกำแพงที่คั่นกลางระหว่างตำหนักจิตรลดาและตำหนักปารุสกวัน และรวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ดังนั้นบริเวณนี้ทั้งหมดจึงเรียกว่าวังปารุสกวัน
วังปารุสกวัน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ตำหนักปารุสกวัน เป็นพื้นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งยังไม่เปิดให้เข้าชม ตำหนักจิตรลดา จัดแสดงนิทรรศการเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อข้าราชการตำรวจ และอาคารกระจก จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และพื้นที่ด้านหลังเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ส่วนตำหนักจิตรลดา
ชั้นบนของตำหนักจิตรลดาจัดแสดงพระนิรันตราย (จำลอง) ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อประดิษฐานเป็นพระประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากนั้นยังจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการตำรวจไทย เช่น พระราชทานแนวพระราชดำริ ในการประดิษฐ์แท่นติดตั้งปืนกลสำหรับติดเฮลิคอปเตอร์ตำรวจ พระราชทานความช่วยเหลือกิจการตำรวจในด้านการสื่อสาร อีกทั้งพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจร
ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของตำหนักจิตรลดาอยู่ภายในห้องประชุมชั้นล่าง โดยเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้ามาใช้พื้นที่ภายในตำหนักปารุสกวันแห่งนี้เป็นกองบัญชาการ และใช้ห้องนี้เป็นห้องประชุมใหญ่ของคณะราษฎร ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมเนียบรัฐบาลที่แรกของประเทศไทย
ที่สำคัญตำหนักจิตรลดายังเคยเป็นที่ตั้งพระโกศพระศพเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ณ บริเวณห้องท้องพระโรงด้านบน และถือว่าเป็นตำหนักแรกๆ ที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปซึ่งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายช่างเอกตามาญโญ่ชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งนายช่างท่านนี้ยังเป็นผู้ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม วังบางขุนพรหม และทำเนียบรัฐบาล
ส่วนอาคารกระจก
โถงอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย หรือที่เรียกว่า อาคารกระจก เดิมเป็นอาคารตำรวจสื่อสารที่สร้างขึ้นในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
ภายในอาคารกระจกแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และบทบาทของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และประวัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สถานที่บ่มเพาะจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ส่วนชั้นล่าง แสดงให้เห็นบทบาทของตำรวจแต่ละหน่วยที่คอยดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในทุกที่และทุกเวลา รวมทั้งให้ผู้เข้าชมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้โดยสวมบทบาทพลเมืองดี ชี้เบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีช่องหน้าต่างให้ชมตำหนักปารุสกวัน พื้นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ที่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมด้วย
บรรยากาศข้างนอกก็น่าพักผ่อนหย่อนใจ
*** ก่อนที่รัชกาลที่ 6 จะสร้างดุสิตธานีที่พระราชวังพญาไท พระองค์ได้จำลองเมืองตุ๊กตาเล็กๆ ที่วังปารุสกวัน โดยให้มหาดเล็กสร้างเรือนแถว อาศัยได้ห้องละ 2 คน มีการปกครองแบบเทศาภิบาลและการเลือกตั้ง รวมถึงสร้างธนาคารลีฟอเทียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารออมสิน เพื่อให้ประชาชนรู้จักการเก็บออม โดยเรียกชื่อเมืองจำลองแห่งนี้ว่า “เมืองมัง” เหตุที่ชื่อนี้เนื่องจากเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณวังปารุสกวัน เป็นสวนมะม่วง และ มะม่วงในภาษาอังกฤษคือ mango แทนที่จะตั้งว่าเมืองแมง ซึ่งอาจจะออกเสียงแปลกๆ จึงตั้งชื่อเป็นเมืองมังแทน
สำหรับใครที่หาที่เที่ยวในวันหยุดง่ายๆ ในเมืองกรุง ผู้คนไม่พลุกพล่าน แถมสนุกและได้ความรู้ แนะนำวังปารุสกวันเลยค่ะ
ที่นี่เหมาะกับการพาเด็กๆ มาเที่ยวและเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ สร้างช่วงเวลาที่ดีในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน เปิด วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 16.00 น.
ที่สำคัญ เข้าชมฟรี! นะคะ
[CR] รื่นรมย์ ชมวัง เที่ยววังปารุสกวันและพิพิธภัณฑ์ตำรวจ
วันนี้เลยอยากจะพาทุกคน ไปเที่ยวชมวังปารุสฯ ส่วนตำหนักจิตรลดา (ตำหนักปารุสกวันยังไม่เปิดให้เข้าชม) และ พิพิธภัณฑ์ตำรวจกันค่ะ
วังปารุสกวัน เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 เป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักที่ประทับพระราชทานพระโอรส 2 พระองค์ คือ ตำหนักจิตรลดา พระราชทานให้กับรัชกาลที่ 6 ขณะดำรงพระยศมกุฎราชกุมาร และ ตำหนักปารุสกวัน พระราชทานให้กับเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงย้ายไปประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระบรมมหาราชวังดุสิต ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตำหนักสวนจิตรลดา แลกเปลี่ยนกับที่ดินบริเวณท่าวาสุกรี ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ และโปรดฯ ให้รื้อกำแพงที่คั่นกลางระหว่างตำหนักจิตรลดาและตำหนักปารุสกวัน และรวมตำหนักทั้งสองเข้าด้วยกัน ดังนั้นบริเวณนี้ทั้งหมดจึงเรียกว่าวังปารุสกวัน
วังปารุสกวัน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ตำหนักปารุสกวัน เป็นพื้นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งยังไม่เปิดให้เข้าชม ตำหนักจิตรลดา จัดแสดงนิทรรศการเรื่องพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีต่อข้าราชการตำรวจ และอาคารกระจก จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และพื้นที่ด้านหลังเป็นกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ส่วนตำหนักจิตรลดา
ชั้นบนของตำหนักจิตรลดาจัดแสดงพระนิรันตราย (จำลอง) ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อ ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อประดิษฐานเป็นพระประจำสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากนั้นยังจัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการตำรวจไทย เช่น พระราชทานแนวพระราชดำริ ในการประดิษฐ์แท่นติดตั้งปืนกลสำหรับติดเฮลิคอปเตอร์ตำรวจ พระราชทานความช่วยเหลือกิจการตำรวจในด้านการสื่อสาร อีกทั้งพระราชทานแนวทางการแก้ไขปัญหาการจราจร
ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของตำหนักจิตรลดาอยู่ภายในห้องประชุมชั้นล่าง โดยเมื่อครั้งเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้เข้ามาใช้พื้นที่ภายในตำหนักปารุสกวันแห่งนี้เป็นกองบัญชาการ และใช้ห้องนี้เป็นห้องประชุมใหญ่ของคณะราษฎร ที่นี่จึงได้ชื่อว่าเป็นธรรมเนียบรัฐบาลที่แรกของประเทศไทย
ที่สำคัญตำหนักจิตรลดายังเคยเป็นที่ตั้งพระโกศพระศพเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ณ บริเวณห้องท้องพระโรงด้านบน และถือว่าเป็นตำหนักแรกๆ ที่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปซึ่งเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในประเทศไทยปลายสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนายช่างเอกตามาญโญ่ชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ ซึ่งนายช่างท่านนี้ยังเป็นผู้ออกแบบพระที่นั่งอนันตสมาคม วังบางขุนพรหม และทำเนียบรัฐบาล
ส่วนอาคารกระจก
โถงอาคารพิพิธภัณฑ์ตำรวจไทย หรือที่เรียกว่า อาคารกระจก เดิมเป็นอาคารตำรวจสื่อสารที่สร้างขึ้นในสมัย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ
ภายในอาคารกระจกแบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นบนจัดแสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์และบทบาทของตำรวจไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และประวัติโรงเรียนนายร้อยตำรวจ สถานที่บ่มเพาะจิตวิญญาณของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ส่วนชั้นล่าง แสดงให้เห็นบทบาทของตำรวจแต่ละหน่วยที่คอยดูแลความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในทุกที่และทุกเวลา รวมทั้งให้ผู้เข้าชมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้โดยสวมบทบาทพลเมืองดี ชี้เบาะแสของคนร้ายให้ตำรวจสามารถปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มีช่องหน้าต่างให้ชมตำหนักปารุสกวัน พื้นที่ทำการของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ที่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมด้วย
บรรยากาศข้างนอกก็น่าพักผ่อนหย่อนใจ
*** ก่อนที่รัชกาลที่ 6 จะสร้างดุสิตธานีที่พระราชวังพญาไท พระองค์ได้จำลองเมืองตุ๊กตาเล็กๆ ที่วังปารุสกวัน โดยให้มหาดเล็กสร้างเรือนแถว อาศัยได้ห้องละ 2 คน มีการปกครองแบบเทศาภิบาลและการเลือกตั้ง รวมถึงสร้างธนาคารลีฟอเทียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารออมสิน เพื่อให้ประชาชนรู้จักการเก็บออม โดยเรียกชื่อเมืองจำลองแห่งนี้ว่า “เมืองมัง” เหตุที่ชื่อนี้เนื่องจากเมื่อก่อนพื้นที่บริเวณวังปารุสกวัน เป็นสวนมะม่วง และ มะม่วงในภาษาอังกฤษคือ mango แทนที่จะตั้งว่าเมืองแมง ซึ่งอาจจะออกเสียงแปลกๆ จึงตั้งชื่อเป็นเมืองมังแทน
สำหรับใครที่หาที่เที่ยวในวันหยุดง่ายๆ ในเมืองกรุง ผู้คนไม่พลุกพล่าน แถมสนุกและได้ความรู้ แนะนำวังปารุสกวันเลยค่ะ
ที่นี่เหมาะกับการพาเด็กๆ มาเที่ยวและเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ สร้างช่วงเวลาที่ดีในครอบครัวได้เป็นอย่างดี
พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน เปิด วันพุธ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 16.00 น.
ที่สำคัญ เข้าชมฟรี! นะคะ
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น