สอบถามเรื่องอาการเจ็บเอ็นร้อยหวายกับส้นเท้าค่ะ

เห็นเพื่อนเค้าเป็นปีๆแล้วค่ะสงสารเค้า หมอแต่ละที่ก็วินิจฉัยไม่ค่อยเหมือนกัน อะไรมีให้ทำก็ทำมาหมดแทบทุกอย่างแล้วแต่อาการก็ไม่ค่อยดีขึ้นเท่าไหร่ เลยสอบถามว่าใครมีอะไรแนะนำบ้างไหมคะท่าบริหารดีๆก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1


การดูแลรักษาด้วยตัวเอง
1. หยุดกิจกรรมที่ต้องใช้เท้านาน ๆ หากเป็นการเล่นกีฬา ออกกำลังกาย ควรเลือกกีฬาที่ไม่ต้อง
ลงน้ำหนักที่เท้ามากนัก เช่น การว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยง
การเล่นกีฬาบนพื้นแข็ง
2. สวมรองเท้าส้นนิ่มขณะออกกำลังกาย โดยอาจใช้แผ่นรองเสริมอุ้งเท้า เพื่อลดแรงกระแทก
ที่ฝ่าเท้าที่กระทำกับพื้นรองเท้า และช่วยกระจายน้ำหนักขณะเดิน
3. ออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อน่อง และยืดพังผืดใต้ฝ่าเท้าบ่อย ๆ
4. ไม่ควรเดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าที่มีพื้นนุ่มส้นสูงกว่าส่วนหน้าเล็กน้อย อย่าเกิน 1-2 นิ้ว
และไม่ควรใส่รองเท้าที่แบนราบเสมอกัน
5. ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป เพราะหากน้ำหนักมาก เส้นเอ็นฝ่าเท้าก็ต้องรับน้ำหนักมาก
ทำให้รักษาหายช้า
6. ประคบด้วยความร้อน หรือความเย็น เพื่อรักษาการอักเสบของเอ็น โดยอาจใช้ยานวด
นวดฝ่าเท้า หรือใช้ผ้าพันที่ฝ่าเท้าและส้นเท้า

แนวทางการรักษาโดยแพทย์
1.รับประทานยา หากวิธีบำบัดเท้าข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์อาจจะให้รับประทานยา เช่น
ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้ปวด
2. ฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ บริเวณส้นเท้าจุดที่ปวด แต่ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน
เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นฝ่าเท้าเปื่อยและขาดได้
3.ทำกายภาพบำบัด โดยใช้ความร้อนลึก (อัลตร้าซาวด์) ดัดยืดเส้นเอ็นฝ่าเท้า ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน
4.ใส่เฝือกชั่วคราวให้ข้อเท้ากระดกขึ้น ในตอนกลางคืน หรือถ้าเป็นมาก อาจต้องใส่เฝือกตลอดทั้งวัน
5.ผ่าตัดเลาะพังผืด จะทำต่อเมื่อรักษาวิธีอื่นไม่ได้ผล แต่แพทย์ไม่ค่อยแนะนำวิธีนี้ เพราะมีโอกาส
ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้
6. ใช้แผ่นรองเท้าที่รองรับแรงกดทับ แผ่นรองแก้รองช้ำ ช่วยพยุงอุ้งเท้าเวลาเดินหรือวิ่ง

บอกว่าเป็นมาเป็นปีแล้ว ถ้ารักษาตามแนวนี้มาแล้วไม่ดีขึ้น แสดงว่ามีปัจจัยอื่นที่ทำให้เป็นเรื้อรัง
อาจต้องพิจารณาโครงสร้างร่างกายว่ามีส่วนที่ทำให้กล้ามเนื้อน่องทำงานมากขึ้นหรือตึงง่ายขึ้นหรือเปล่า เช่น
ถ้ากล้ามเนื้องอสะโพกหดรั้ง กล้ามเนื้อเหยียดสะโพกอ่อนแรง จะทำให้ต้องใช้กล้ามเนื้อน่องในการถีบตัวไป
ข้างหน้ามากขึ้นแทนกล้ามเนื้อเหยียดสะโพก ก็ต้องแก้ที่กล้ามเนื้อสะโพกด้วย เป็นต้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่