บิ๊กรับเหมาไทย แห่ชิงดำเค้กเฟส 2 สนามบินสุวรรณภูมิมูลค่า 1.67 หมื่นล้าน เปิดขายซองประกวดราคาแค่ 4 วันแรก 2 สัญญา ซื้อแล้ว 4 รายทั้ง ไอทีดี วิจิตรภัณฑ์ ซิโน-ไทย นภาก่อสร้าง ส่วนรับเหมาต่างชาติที่สนใจต้องไปจับคู่กับรับเหมาไทย กำหนดเดตไลน์ยื่นซองราคาเดือนมิถุนายน 59 พร้อมจ่อเปิดขายซองประมูลอีก 2 สัญญาในเร็วนี้
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. ซึ่งอยู่ระหว่างการขายเอกสารประมูล หาผู้รับจ้างก่อสร้างใน 2 สัญญา จากทั้งหมด 7 สัญญา คือ 1.งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก) 2.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ขณะนี้ได้รับความสนใจจากผู้รับเหมารายใหญ่ของไทยเป็นอย่างมาก โดยในช่วง 4 วันแรกของการขายเอกสารประมูล (วันที่ 22 มีนาคม-4 เมษายน 2559) พบว่ามีผู้รับเหมารายใหญ่จำนวน 4 ราย ได้เข้ามาซื้อซองประกวดราคาแล้ว ได้แก่ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด หรือไอทีดี ,บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดนภาก่อสร้าง
โดยทอท.จะเปิดการยื่นซองราคาสำหรับงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ฯ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2559 ประกาศผลการประมูลภายในวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ ส่วนงานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จะเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาในวันที่ 21 มิถุนายน 2559 และประกาศผลการประมูลภายในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ และคาดว่าทั้ง 2 งาน จะเริ่มการก่อสร้างได้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2559
” โครงการนี้ไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจของผู้รับเหมาไทยเท่านั้น แต่ทราบว่าบริษัทก่อสร้างของต่างชาติ อาทิ จีน อินโดนีเซีย ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างสนามบินมาก่อน ก็แสดงความสนใจในโครงการนี้เช่นกัน ซึ่งบริษัทต่างชาติที่สนใจ จะต้องไปจับคู่กับบริษัทของคนไทย เพราะในการยื่นประกวดราคาต้องมีบริษัทของคนไทยจะต้องเป็นผู้นำหลัก”
แหล่งข่าวยังกล่าวต่อว่า นอกจากการเปิดขายซองประกวดราคาใน 2 สัญญาดังกล่าวแล้ว ทอท.ยังเตรียมจะขายเอกสารประมูล เพิ่มเติมได้อีก 2 สัญญา คือ งานจัดงานที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (CSC) กรอบวงเงิน 900 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดขายภายในสัปดาห์นี้ และงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) กรอบวงเงิน 3 พันล้านบาท ที่น่าจะขายซองประกวดราคาได้ในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากทั้ง 2 สัญญานี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)แล้ว
ส่วนอีก 3 สัญญาที่เหลือ คือ งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น 2-4) และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานระบบย่อย) , งานจ้างก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก อาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก, งานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) (ขาออก) จะต้องนำเสนอให้ทาง คตร.พิจารณา คาดว่า จะเริ่มทยอยกระบวนการประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 แล้วเสร็จในปี 2562
ทั้งนี้กรอบงบประมาณในการขยายการลงทุนสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 กรอบงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2553 อยู่ที่ วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท เป็นงบที่ใช้เป็นค่าก่อสร้างอยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท และก่อนหน้านี้ทอท.สามารถลดงบลงทุนก่อสร้างไปได้อีก 6 พันล้านบาท ทำให้งบก่อสร้างที่ใช้ในโครงการนี้จะอยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลง 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง)
ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. เผยว่า สำหรับ 2 สัญญาที่อยู่ระหว่างการประกาศประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) งบประมาณกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1.งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก) งบประมาณ 14,164.41 ล้านบาท และ 2.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค งบประมาณ 2,564.97 ล้านบาทนั้น ทอท.ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้รับจ้างใน 2 งานดังกล่าว
โดยคุณสมบัติของผู้รับจ้างงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ฯ จะต้องมีผลงานได้แก่ ผลงานการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หรืออาคารเทียบเครื่องบิน หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.1พันล้านบาท ผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 630 ล้านบาท และผลงานการก่อสร้างทางวิ่ง และ/หรือทางขับ และ/หรือลานจอดอากาศยานที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 490 ล้านบาท
ขณะที่คุณสมบัติของผู้รับจ้างงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคจะต้องมีผลงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทั้งระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล คือ ผลงานด้านการก่อสร้างระบบไฟฟ้า ได้แก่ ผลงานก่อสร้างระบบไฟฟ้า แรงสูงระบบสายใต้ดินที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 115 kV งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 115 kV งานก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าระบบสายใต้ดินที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 24 kV ซึ่งผลงานด้านการก่อสร้างระบบไฟฟ้าจะต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท ส่วนผลงานด้านการก่อสร้างระบบสุขาภิบาล ได้แก่ งานก่อสร้างสถานีสูบจ่ายน้ำประปาหรือท่อส่งน้ำประปาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร งานก่อสร้างท่อจ่ายน้ำประปาหรือท่อรวบรวมน้ำเสียชนิดแรงดัน และงานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ ตะกอนเร่งขนาดไม่น้อยกว่า 9,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยผลงานด้านการก่อสร้างระบบสุขาภิบาลจะต้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 130 ล้านบาท
“ในโครงการเฟส 2 หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องแยกสัญญางานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น 2-4) และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานระบบย่อย) และงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก)ออกมาเป็น 2 สัญญาทั้งๆที่เป็นเรื่องของงานก่อสร้างอาคารเทียบบินรองหลังที่ 1 ที่ทำเช่นนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาหลายรายสามารถเข้ามายื่นประกวดราคาได้ เพราะหากรวมกันเป็นสัญญาเดียว มูลค่าจะสูงมาก
ทำให้จะเหลือผู้รับเหมาเพียงรายเดียว คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า ITO ซึ่งมีทางอิตาเลียนไทย เป็นกลุ่มนำ ที่จะมีคุณสมบัติที่จะเข้าประมูลได้ เพราะเคยมีผลงานการก่อสร้างโครงการใหญ่อย่างสนามบินสุวรรณภูมิในเฟสแรกที่เปิดให้บริการอยู่มาก่อน ส่วนข้อเสีย คือ ความยุ่งยากบ้างในส่งการส่งมอบงานระหว่าง 2 สัญญานี้ ที่ต้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทอท.ต้องดูแลเรื่องของการส่งมอบงานอย่างใกล้ชิด แต่หากประมูลออกมาไว้ผู้รับเหมาเป็นรายเดียวกัน ไม่น่ามีปัญหา” นายนิตินัย กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
4 บิ๊กรับเหมา ชิง 1.6 หมื่นล้านสุวรรณภูมิ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ของบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. ซึ่งอยู่ระหว่างการขายเอกสารประมูล หาผู้รับจ้างก่อสร้างใน 2 สัญญา จากทั้งหมด 7 สัญญา คือ 1.งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก) 2.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ขณะนี้ได้รับความสนใจจากผู้รับเหมารายใหญ่ของไทยเป็นอย่างมาก โดยในช่วง 4 วันแรกของการขายเอกสารประมูล (วันที่ 22 มีนาคม-4 เมษายน 2559) พบว่ามีผู้รับเหมารายใหญ่จำนวน 4 ราย ได้เข้ามาซื้อซองประกวดราคาแล้ว ได้แก่ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด หรือไอทีดี ,บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด, บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และห้างหุ้นส่วนจำกัดนภาก่อสร้าง
โดยทอท.จะเปิดการยื่นซองราคาสำหรับงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ฯ ในวันที่ 20 มิถุนายน 2559 ประกาศผลการประมูลภายในวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ ส่วนงานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จะเปิดให้ยื่นซองเสนอราคาในวันที่ 21 มิถุนายน 2559 และประกาศผลการประมูลภายในวันที่ 22 กรกฎาคมนี้ และคาดว่าทั้ง 2 งาน จะเริ่มการก่อสร้างได้ในวันที่ 15 สิงหาคม 2559
” โครงการนี้ไม่เพียงแต่ได้รับความสนใจของผู้รับเหมาไทยเท่านั้น แต่ทราบว่าบริษัทก่อสร้างของต่างชาติ อาทิ จีน อินโดนีเซีย ที่มีประสบการณ์ในการก่อสร้างสนามบินมาก่อน ก็แสดงความสนใจในโครงการนี้เช่นกัน ซึ่งบริษัทต่างชาติที่สนใจ จะต้องไปจับคู่กับบริษัทของคนไทย เพราะในการยื่นประกวดราคาต้องมีบริษัทของคนไทยจะต้องเป็นผู้นำหลัก”
แหล่งข่าวยังกล่าวต่อว่า นอกจากการเปิดขายซองประกวดราคาใน 2 สัญญาดังกล่าวแล้ว ทอท.ยังเตรียมจะขายเอกสารประมูล เพิ่มเติมได้อีก 2 สัญญา คือ งานจัดงานที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง (CSC) กรอบวงเงิน 900 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดขายภายในสัปดาห์นี้ และงานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) กรอบวงเงิน 3 พันล้านบาท ที่น่าจะขายซองประกวดราคาได้ในเดือนเมษายนนี้ เนื่องจากทั้ง 2 สัญญานี้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ(คตร.)แล้ว
ส่วนอีก 3 สัญญาที่เหลือ คือ งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น 2-4) และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานระบบย่อย) , งานจ้างก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก อาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก, งานจัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า (BHS) และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) (ขาออก) จะต้องนำเสนอให้ทาง คตร.พิจารณา คาดว่า จะเริ่มทยอยกระบวนการประกาศประกวดราคาได้ในช่วงปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 แล้วเสร็จในปี 2562
ทั้งนี้กรอบงบประมาณในการขยายการลงทุนสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 กรอบงบประมาณที่ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2553 อยู่ที่ วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท เป็นงบที่ใช้เป็นค่าก่อสร้างอยู่ที่ 4.8 หมื่นล้านบาท และก่อนหน้านี้ทอท.สามารถลดงบลงทุนก่อสร้างไปได้อีก 6 พันล้านบาท ทำให้งบก่อสร้างที่ใช้ในโครงการนี้จะอยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท (ไม่รวมสำรองราคาเปลี่ยนแปลง 10% ภาษีมูลค่าเพิ่ม ดอกเบี้ยระหว่างก่อสร้าง)
ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)หรือทอท. เผยว่า สำหรับ 2 สัญญาที่อยู่ระหว่างการประกาศประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 – 2560) งบประมาณกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ได้แก่ 1.งานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก) งบประมาณ 14,164.41 ล้านบาท และ 2.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค งบประมาณ 2,564.97 ล้านบาทนั้น ทอท.ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้รับจ้างใน 2 งานดังกล่าว
โดยคุณสมบัติของผู้รับจ้างงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ฯ จะต้องมีผลงานได้แก่ ผลงานการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หรืออาคารเทียบเครื่องบิน หรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 1.1พันล้านบาท ผลงานการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 630 ล้านบาท และผลงานการก่อสร้างทางวิ่ง และ/หรือทางขับ และ/หรือลานจอดอากาศยานที่เป็นสัญญาฉบับเดียวมูลค่าไม่น้อยกว่า 490 ล้านบาท
ขณะที่คุณสมบัติของผู้รับจ้างงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคจะต้องมีผลงานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ทั้งระบบไฟฟ้า และระบบสุขาภิบาล คือ ผลงานด้านการก่อสร้างระบบไฟฟ้า ได้แก่ ผลงานก่อสร้างระบบไฟฟ้า แรงสูงระบบสายใต้ดินที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 115 kV งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 115 kV งานก่อสร้างระบบจำหน่ายไฟฟ้าระบบสายใต้ดินที่มีขนาดแรงดันไม่ต่ำกว่า 24 kV ซึ่งผลงานด้านการก่อสร้างระบบไฟฟ้าจะต้องมีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท ส่วนผลงานด้านการก่อสร้างระบบสุขาภิบาล ได้แก่ งานก่อสร้างสถานีสูบจ่ายน้ำประปาหรือท่อส่งน้ำประปาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 800 มิลลิเมตร งานก่อสร้างท่อจ่ายน้ำประปาหรือท่อรวบรวมน้ำเสียชนิดแรงดัน และงานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียแบบ ตะกอนเร่งขนาดไม่น้อยกว่า 9,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยผลงานด้านการก่อสร้างระบบสุขาภิบาลจะต้อง มีมูลค่ารวมกันไม่น้อยกว่า 130 ล้านบาท
“ในโครงการเฟส 2 หลายคนสงสัยว่าทำไมต้องแยกสัญญางานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (ชั้น 2-4) และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานระบบย่อย) และงานจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 1 (ชั้น B2 ชั้น B1 และชั้น G) ลานจอดอากาศยานประชิดอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (งานโครงสร้างและงานระบบหลัก)ออกมาเป็น 2 สัญญาทั้งๆที่เป็นเรื่องของงานก่อสร้างอาคารเทียบบินรองหลังที่ 1 ที่ทำเช่นนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมาหลายรายสามารถเข้ามายื่นประกวดราคาได้ เพราะหากรวมกันเป็นสัญญาเดียว มูลค่าจะสูงมาก
ทำให้จะเหลือผู้รับเหมาเพียงรายเดียว คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า ITO ซึ่งมีทางอิตาเลียนไทย เป็นกลุ่มนำ ที่จะมีคุณสมบัติที่จะเข้าประมูลได้ เพราะเคยมีผลงานการก่อสร้างโครงการใหญ่อย่างสนามบินสุวรรณภูมิในเฟสแรกที่เปิดให้บริการอยู่มาก่อน ส่วนข้อเสีย คือ ความยุ่งยากบ้างในส่งการส่งมอบงานระหว่าง 2 สัญญานี้ ที่ต้องสัมพันธ์กัน ซึ่งทอท.ต้องดูแลเรื่องของการส่งมอบงานอย่างใกล้ชิด แต่หากประมูลออกมาไว้ผู้รับเหมาเป็นรายเดียวกัน ไม่น่ามีปัญหา” นายนิตินัย กล่าวทิ้งท้าย
ที่มาจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ