----------------
(ความจาก เฟสบุค tsangsinchai)
ผมก็อยากให้ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ ได้เป็นสังฆราชครับ-พูดไปทำไมมี
วัดปากน้ำเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของวัดมหาธาตุ ราชบุรี อันเป็นสำนักของผมมาตลอด เนื่องเพราะท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำเป็นกัลยาณมิตรในชุดที่เรียกกันว่า “เบญจภาคี” กับพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี (ช้อย ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุที่ล่วงลับไป
พระธรรมปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปปัจจุบันก็เป็นศิษย์แท้ๆ ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ (หลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำเป็นคู่สวด)
พระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี ช้อย เป็นทั้งพระอุปัชฌาย์ เป็นทั้งพระอาจารย์สอนบาลีของผม
พูดภาษาชาวบ้าน หลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำเป็นเพื่อนรักกับพระอุปัชฌาย์ผม ทำไมผมจะไม่อยากให้ท่านได้เป็นใหญ่เป็นโต
ผมก็อยาก แต่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับวิธีการ โดยเฉพาะการเรียกร้องหรือกดดัน
ฐานันดรยศศักดิ์ ก็มีสถานะอย่างเดียวกับคำยกย่องคำชม
จะให้ใครยกย่องเราชมเรา ควรให้เขายกย่องหรือชมโดยบริสุทธิ์ใจ
ไม่ใช่ไปเที่ยวสะกิดบอกว่า ยกย่องฉันหน่อยซี ชมฉันหน่อยซี
การเรียกร้องหรือกดดันไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดๆ มีความหมายเท่ากับไปเที่ยวสะกิดบอกว่า ยกย่องฉันหน่อยซี ชมฉันหน่อยซี นั่นเอง
เป็นวิธีที่วิปริต บัณฑิตไม่ทำครับ
----------------
การชุมนุมพระสงฆ์ที่พุทธมณฑลเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ธรรมกายสนับสนุนนั้น เจตนาที่แท้จริงก็เพื่อเรียกร้องกดดันให้สถาปนาท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นวัตถุประสงค์หลัก
แต่ได้พ่วงเอาการเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเข้าไปด้วยเป็นข้อสุดท้าย
แล้วเลยกลายเป็นผลพลอยเสียไปโดยคาดไม่ถึง
นั่นก็คือ คนทั้งหลายเลยเข้าใจผิดไปว่า การเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นแผนการของธรรมกาย
ดังที่เกิดกระแสความคิดเห็นออกมาว่า-นี่ขนาดยังไม่ได้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ธรรมกายยังกร่างได้ถึงเพียงนี้ ถ้าบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ธรรมกายจะวางอำนาจขึ้นไปอีกสักเพียงไหน
เลยกลายเป็นสร้างภูเขาอีกลูกหนึ่งขวางหน้าการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
----------------
ผมได้เสนอความคิดไปแล้วว่า ถ้าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ ประกาศสละสิทธิ์เสีย ก็จะเป็นการยุติปัญหา ทั้งเปิดทางให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างปลอดโปร่งใจ
มีเสียงแย้งว่า เมื่อมันเป็นสิทธิ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปสละสิทธิ์ ด้วยเหตุผลนั่นนี่โน่น
ไม่สละ ผมก็ไม่ว่าอะไร เพราะท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำท่านก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะสละสิทธิ์หรือไม่สละสิทธิ์ก็ได้
แต่ผมมีความเชื่อว่า การเคลื่อนไหวเพื่อกดดันหรือเรียกร้องไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดๆ หรือโดยอ้างสิทธิใดๆ ก็ตาม มีแต่จะทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชห่างไกลออกไปทุกที
และพร้อมกันนั้นก็ขยายภาพที่น่าเกลียดน่าชังให้ใหญ่ขึ้นและชัดขึ้นไปทุกที โดยที่ผู้กระทำการหาได้รู้สึกหรือมองเห็นไม่
เมื่อความปรารถนาเข้าครอบงำ คำเตือนก็ไร้ค่า
ผมรู้สึกว่า พูดอะไรไปก็เหนื่อยเปล่า
----------------
ในพระไตรปิฎกมีชาดกเรื่องหนึ่งชื่อ คิชฌชาดก ว่าด้วยเรื่องแร้งติดบ่วง เล่าเรื่องพญาแร้งโพธิสัตว์หลงไปติดบ่วงเข้า นายพรานถามว่า ธรรมดาแร้งมีสายตาดี มองเห็นเหยื่อที่อยู่ไกลเป็นร้อยโยชน์ นี่บ่วงอยู่ใกล้แค่ปลายเท้าทำไมจึงมองไม่เห็น
พญาแร้งโพธิสัตว์ตอบว่า -
ยทา ปราภโว โหติ
โปโส ชีวิตสงฺขเย
อถ ชาลญฺจ ปาสญฺจ
อาสชฺชาปิ น พุชฺฌติ.
(คิชฌชาดก ทุกะนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ ๑๗๘)
เมื่อใด ถึงคราวจะหายนะ
ถึงวาระที่จะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้น ข่ายและบ่วงอยู่เฉียดชิด
ก็ไม่รู้สึกตัว
........
ความข้อนี้คล้ายกับภาษิตในฝ่ายสันสกฤตที่ว่า
วินาศกาเล วิปรีตพุทฺธิ
เมื่อถึงคราวจะพินาศ
ความคิดก็วิปลาสไปหมด
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
๑๖:๒๖
ผมก็อยากให้ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ ได้เป็นสังฆราชครับ
ผมก็อยากให้ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ ได้เป็นสังฆราชครับ-พูดไปทำไมมี
วัดปากน้ำเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของวัดมหาธาตุ ราชบุรี อันเป็นสำนักของผมมาตลอด เนื่องเพราะท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำเป็นกัลยาณมิตรในชุดที่เรียกกันว่า “เบญจภาคี” กับพระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี (ช้อย ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุที่ล่วงลับไป
พระธรรมปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุรูปปัจจุบันก็เป็นศิษย์แท้ๆ ของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ (หลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำเป็นคู่สวด)
พระเดชพระคุณพระเทพวิสุทธิโมลี ช้อย เป็นทั้งพระอุปัชฌาย์ เป็นทั้งพระอาจารย์สอนบาลีของผม
พูดภาษาชาวบ้าน หลวงพ่อสมเด็จวัดปากน้ำเป็นเพื่อนรักกับพระอุปัชฌาย์ผม ทำไมผมจะไม่อยากให้ท่านได้เป็นใหญ่เป็นโต
ผมก็อยาก แต่ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับวิธีการ โดยเฉพาะการเรียกร้องหรือกดดัน
ฐานันดรยศศักดิ์ ก็มีสถานะอย่างเดียวกับคำยกย่องคำชม
จะให้ใครยกย่องเราชมเรา ควรให้เขายกย่องหรือชมโดยบริสุทธิ์ใจ
ไม่ใช่ไปเที่ยวสะกิดบอกว่า ยกย่องฉันหน่อยซี ชมฉันหน่อยซี
การเรียกร้องหรือกดดันไม่ว่าจะด้วยรูปแบบใดๆ มีความหมายเท่ากับไปเที่ยวสะกิดบอกว่า ยกย่องฉันหน่อยซี ชมฉันหน่อยซี นั่นเอง
เป็นวิธีที่วิปริต บัณฑิตไม่ทำครับ
----------------
การชุมนุมพระสงฆ์ที่พุทธมณฑลเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ธรรมกายสนับสนุนนั้น เจตนาที่แท้จริงก็เพื่อเรียกร้องกดดันให้สถาปนาท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำเป็นสมเด็จพระสังฆราชเป็นวัตถุประสงค์หลัก
แต่ได้พ่วงเอาการเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติเข้าไปด้วยเป็นข้อสุดท้าย
แล้วเลยกลายเป็นผลพลอยเสียไปโดยคาดไม่ถึง
นั่นก็คือ คนทั้งหลายเลยเข้าใจผิดไปว่า การเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินั้นเป็นแผนการของธรรมกาย
ดังที่เกิดกระแสความคิดเห็นออกมาว่า-นี่ขนาดยังไม่ได้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ธรรมกายยังกร่างได้ถึงเพียงนี้ ถ้าบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ธรรมกายจะวางอำนาจขึ้นไปอีกสักเพียงไหน
เลยกลายเป็นสร้างภูเขาอีกลูกหนึ่งขวางหน้าการบัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
----------------
ผมได้เสนอความคิดไปแล้วว่า ถ้าท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำ ประกาศสละสิทธิ์เสีย ก็จะเป็นการยุติปัญหา ทั้งเปิดทางให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างปลอดโปร่งใจ
มีเสียงแย้งว่า เมื่อมันเป็นสิทธิ ก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องไปสละสิทธิ์ ด้วยเหตุผลนั่นนี่โน่น
ไม่สละ ผมก็ไม่ว่าอะไร เพราะท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ วัดปากน้ำท่านก็ย่อมมีสิทธิ์ที่จะสละสิทธิ์หรือไม่สละสิทธิ์ก็ได้
แต่ผมมีความเชื่อว่า การเคลื่อนไหวเพื่อกดดันหรือเรียกร้องไม่ว่าจะโดยรูปแบบใดๆ หรือโดยอ้างสิทธิใดๆ ก็ตาม มีแต่จะทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชห่างไกลออกไปทุกที
และพร้อมกันนั้นก็ขยายภาพที่น่าเกลียดน่าชังให้ใหญ่ขึ้นและชัดขึ้นไปทุกที โดยที่ผู้กระทำการหาได้รู้สึกหรือมองเห็นไม่
เมื่อความปรารถนาเข้าครอบงำ คำเตือนก็ไร้ค่า
ผมรู้สึกว่า พูดอะไรไปก็เหนื่อยเปล่า
----------------
ในพระไตรปิฎกมีชาดกเรื่องหนึ่งชื่อ คิชฌชาดก ว่าด้วยเรื่องแร้งติดบ่วง เล่าเรื่องพญาแร้งโพธิสัตว์หลงไปติดบ่วงเข้า นายพรานถามว่า ธรรมดาแร้งมีสายตาดี มองเห็นเหยื่อที่อยู่ไกลเป็นร้อยโยชน์ นี่บ่วงอยู่ใกล้แค่ปลายเท้าทำไมจึงมองไม่เห็น
พญาแร้งโพธิสัตว์ตอบว่า -
ยทา ปราภโว โหติ
โปโส ชีวิตสงฺขเย
อถ ชาลญฺจ ปาสญฺจ
อาสชฺชาปิ น พุชฺฌติ.
(คิชฌชาดก ทุกะนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม ๒๗ ข้อ ๑๗๘)
เมื่อใด ถึงคราวจะหายนะ
ถึงวาระที่จะสิ้นชีวิต
เมื่อนั้น ข่ายและบ่วงอยู่เฉียดชิด
ก็ไม่รู้สึกตัว
........
ความข้อนี้คล้ายกับภาษิตในฝ่ายสันสกฤตที่ว่า
วินาศกาเล วิปรีตพุทฺธิ
เมื่อถึงคราวจะพินาศ
ความคิดก็วิปลาสไปหมด
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๒๘ มีนาคม ๒๕๕๙
๑๖:๒๖