สืบเนื่องจากการอ่านข่าว "ด.ช.คะนองถีบ2ด.ญ.ตกน้ำ ปีนขึ้นแต่ทืบมือซ้ำจมดับคู่"
http://www.dailynews.co.th/crime/387703
อ่านแล้วสลดใจกับข่าว แต่พอเห็นภาพการช่วยชีวิตที่ลงในข่าวแล้ว อยากจะเตือนภัยให้เห็นว่าการช่วยโดนการปั้มหัวใจโดยหน่วยกู้ชีพนั้นทำไม่ถูกวิธี
สังเกตผู้สวมชุดกู้ชีพสีขาว ตำแหน่งมือที่ใช้นวดหัวใจวางผิดตำแหน่ง (อาสาเสื้อแดงเห็นไม่ชัดแต่ก็น่าจะผิดเช่นกัน) ที่ถูกต้องต้องวางส้นมือบนกระดูกกลางอก ไม่ใช่วางลงตำแหน่งหัวใจเช่นนี้ หากวางลงตำแหน่งนี้เวลากดจะทำให้กระดูกซี่โครงหัก อาจทิ่มปอดได้ นี่ขนาดผู้ฝึกน่าจะได้รับการอบรมมาพอสมควรในเรื่องการกู้ชีพก็ยังพบว่ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องอยู่ จึงอยากจะแนะนำวิธีที่ถูกต้อง เผื่อเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น เวลาเพียงวินาทีอาจมีความหมาย
วิธีนวดหัวใจ (มีการช่วยหายใจโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ หากไม่มีการช่วยหายใจ ให้สลับกับฝายปอดในอัตราส่วนการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจ 30:2 หากมีผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแนะนำให้ใช้อัตราส่วน 15:2)
1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว
2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสอง และลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วย ในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก
4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.urnurse.net/nurse-basic-CPR.html
การช่วยเหลือด้วยการปั้มหัวใจ
อ่านแล้วสลดใจกับข่าว แต่พอเห็นภาพการช่วยชีวิตที่ลงในข่าวแล้ว อยากจะเตือนภัยให้เห็นว่าการช่วยโดนการปั้มหัวใจโดยหน่วยกู้ชีพนั้นทำไม่ถูกวิธี
สังเกตผู้สวมชุดกู้ชีพสีขาว ตำแหน่งมือที่ใช้นวดหัวใจวางผิดตำแหน่ง (อาสาเสื้อแดงเห็นไม่ชัดแต่ก็น่าจะผิดเช่นกัน) ที่ถูกต้องต้องวางส้นมือบนกระดูกกลางอก ไม่ใช่วางลงตำแหน่งหัวใจเช่นนี้ หากวางลงตำแหน่งนี้เวลากดจะทำให้กระดูกซี่โครงหัก อาจทิ่มปอดได้ นี่ขนาดผู้ฝึกน่าจะได้รับการอบรมมาพอสมควรในเรื่องการกู้ชีพก็ยังพบว่ามีการกระทำที่ไม่ถูกต้องอยู่ จึงอยากจะแนะนำวิธีที่ถูกต้อง เผื่อเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น เวลาเพียงวินาทีอาจมีความหมาย
วิธีนวดหัวใจ (มีการช่วยหายใจโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ หากไม่มีการช่วยหายใจ ให้สลับกับฝายปอดในอัตราส่วนการกดหน้าอกต่อการช่วยหายใจ 30:2 หากมีผู้ช่วยเหลือตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปแนะนำให้ใช้อัตราส่วน 15:2)
1. จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ บนพื้นแข็ง ถ้าพื้นอ่อนนุ่มให้สอดไม้กระดานแข็งใต้ลำตัว
2. วัดตำแหน่งที่เหมาะสำหรับการนวดหัวใจ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางข้างที่ถนัด วาดจากขอบชายโครงล่างของผู้ป่วยขึ้นไป จนถึง ปลายกระดูกหน้าอก วัดเหนือปลายกระดูกหน้าอกขึ้นมา 2 นิ้วมือ แล้วใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัดวางบนตำแหน่งดังกล่าว และใช้สันมือข้างที่ถนัดวางทับลงไป และเกี่ยวนิ้วมือให้นิ้วมือที่วางทับแนบชิดในร่องนิ้วมือของมือข้างล่าง (interlocked fingers) ยกปลายนิ้วขึ้นจากหน้าอก
3. ผู้ช่วยเหลือยืดไหล่และแขนเหยียดตรง จากนั้นปล่อยน้ำหนักตัวผ่านจากไหล่ไปสู่ลำแขนทั้งสอง และลงไปสู่กระดูกหน้าอกในแนวตั้งฉากกับลำตัวของผู้เจ็บป่วย ในผู้ใหญ่และเด็กโต กดลงไปลึกประมาณ 1.5 - 2 นิ้ว ให้กดลงไปในแนวดิ่ง และอย่ากระแทก
4. ผ่อนมือที่กดขึ้นให้เต็มที่เพื่อให้ทรวงอกมีการขยายตัว และหัวใจได้รับเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจน ขณะที่ผ่อนมือไม่จำเป็นต้องยกมือขึ้นสูง มือยังคงสัมผัสอยู่ที่กระดูกหน้าอก อย่ายกมือออกจากหน้าอก จะทำให้มีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ในร่างกาย และมีเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทำให้มีการไหลเวียนเลือดในร่างกาย
5. การกดนวดหัวใจจะนวดเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในอัตราเร็ว 100 ครั้ง/นาที ถ้าน้อยกว่านี้จะไม่ได้ผล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.urnurse.net/nurse-basic-CPR.html