หน้าแรก
คอมมูนิตี้
ห้อง
แท็ก
คลับ
ห้อง
แก้ไขปักหมุด
ดูทั้งหมด
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
แท็ก
แก้ไขปักหมุด
ดูเพิ่มเติม
เกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง
ลองใหม่
{room_name}
{name}
{description}
กิจกรรม
แลกพอยต์
อื่นๆ
ตั้งกระทู้
เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก
เว็บไซต์ในเครือ
Bloggang
Pantown
PantipMarket
Maggang
ติดตามพันทิป
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้
เกี่ยวกับเรา
กฎ กติกา และมารยาท
คำแนะนำการโพสต์แสดงความเห็น
นโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
สิทธิ์การใช้งานของสมาชิก
ติดต่อทีมงาน Pantip
ติดต่อลงโฆษณา
ร่วมงานกับ Pantip
Download App Pantip
Pantip Certified Developer
[CR] ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ชาวไอนุ อาซาฮีคาวา
กระทู้รีวิว
รถไฟ
บันทึกนักเดินทาง
เที่ยวต่างประเทศ
Backpack
........ ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด
ตอนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ชาวไอนุ อาซาฮีคาวา
เรากินอาหารเช้าบนรถไฟเป็นขนมปังไส้ถั่วแดง กับรังผึ้งกรอบที่ซื้อจากซัปโปโร รถไปถึง Asahikawa ตามเวลา
ขอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่เดินเที่ยวได้จาก Information มีพิพิธภัณฑ์ชนพื้นเมืองชาว Ainu เดินออกหลังสถานีไปทางขวา ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำที่ริมสองด้านกลายเป็นน้ำแข็ง จำชื่อแม่น้ำไม่ได้ แล้วเดินฝ่าหิมะอุณหภูมิ -7 องศาเซลเซียส ตรงไปเรื่อยๆ เกือบ 1 กม. พิพิธภัณฑ์อยู่ซ้ายมือ ค่าเข้าชมคนละ 300 เยน มี 2 ชั้น ชั้น 1 เป็นภาพกว้างตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นทรงกระโจม ติดดินมุงด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายใบหมากหรือใบมะพร้าวซ้อนให้หนาเพื่อกันลม และให้ความอบอุ่น
กลางบ้านมีเตาผิง แขวนหม้อหุงต้มเหนือเตาผิงที่ใช้ไม้กั้นขอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม พวกเขาประกอบอาชีพประมง ปลูกข้าวฟ่าง และข้าวที่เราเรียกว่าข้าวญี่ปุ่น มีภาชนะเป็นเครื่องปั้นดินเผาแล้วพัฒนาเป็นเซรามิค พวกเขามีเลื่อยที่ตีเองใช้ด้วย ดูเหมือนจะหนักมาก ผู้ใช้ต้องแข็งแรง จึงจะพกพาและใช้งานได้ เสื้อ ผ้าทำจากเส้นใยที่คล้ายใยกันชง รองเท้าทำจากหนังสัตว์เช่นกวาง กรือ หนังปลา ใช้สุนัขช่วยล่าสัตว์ สัตว์เป็นอันตราย คือ จิ้งจอก ชั้นใต้ดินเป็นรายละเอียดของชั้น 1 จัดแสดงอารยธรรมของชาวไอนุ
ชาวไอนุ (ญี่ปุ่น: アイヌ ?) บ้างเรียก ไอโนะ (ญี่ปุ่น: アイノ ?) ในญี่ปุ่นจะเรียกชาวไอนุโดยไม่จำแนกกลุ่มว่า อุตะริ (ญี่ปุ่น: ウタリ ?) เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น นักค้นคว้าเชื่อว่าชาวไอนุมีเชื้อสายคอเคซอย หรือชาวผิวขาว ซึ่งเป็นคนละเชื้อสายกับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ทฤษฏีที่ว่านี้มาจากรูปลักษณ์ของชาวไอนุที่เป็นแบบผสมระหว่างชาวยุโรปและชาวเอเซีย แต่หลังจากการทดสอบทางดีเอ็นเอแล้วพบว่า ชาวไอนุไม่มีเชื้อสายชาวคอเคซอย
ั่ชาวไอนุอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าชาวญี่ปุ่น และในตำนานของชาวไอนุ อยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา บอกไม่ได้ว่าชาวไอนุมาจากไหน อยู่ที่ฮกไกโดตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือสืบเชื้อสายมาจากใคร
ปัจจุบันชาวไอนุเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีชาวไอนุเพียงร้อยละ 17 ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ และรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2551
วันนี้ครูพาเด็กๆ เข้าชมจึงมีเสียงเจี๊ยวจ๊าว ช่วยให้บรรยากาศคึกคัก
กลับมารับประทานอาหารกลางวัน แล้วเดินทางต่อไปอ่าวเนมูโร (Nemuro) ตะวันออกสุดของญี่ปุ่น
เวลา 13.44 น. ออกจากสถานี Asahikawaไป Furono ที่ฟูโรโนะ เราเจอคนที่สื่อสารได้ช่วยเราเขียนสถานีและเวลาที่จะต่อรถไปยังสถานี Nemuro ตะวันออกสุดของเกาะฮ็อกไกโด ทำให้เราได้รายการที่จะขอตั๋วที่นั่ง ซึ่งกว่าจะสื่อสารกันรู้เรื่อง ว่าชั้นกรีนมีที่นั่งว่างแค่ที่เดียว ถ้าไม่เอาชั้นกรีนจะได้ 2 ที่นั่ง และต้องสำรองแค่ขบวนเดียวเพราะเป็นรถด่วน นอกนั้นเป็นรถท้องถิ่น เราคงต้องไปเสี่ยงภัย ลุ้นว่าจะมีโรงแรมแบบเมื่อคืนรับเราหรือไม่
ที่สถานีฟูราโนะ (Furano) เราได้เห็นบรรยากาศตอนหิมะตกหนัก และการจัดการขจัดหิมะบนรางรถไฟ เจ้าหน้าที่ขับรถบนรางแล้วโกยหิมะขึ้นมาพ่นผ่านความร้อน ทำให้หิมะกลายเป็นน้ำจะได้ไม่เกาะบนราง ขณะที่นั่งรอรถอยู่ในห้องที่มีเครื่องทำความร้อน ก็มีนักเรียนเข้ามาเป็นกลุ่มชาย 1 กลุ่ม หญิง.1 กลุ่ม เราไม่รู้ว่าเป็นเวลาเลิกเรียนหรือนักเรียนไปทำกิจกรรม แต่ดูว่าพวกเขาอายุต่างกัน
นักเรียนชายใส่กางเกงขายาวแบบสแล็คสีดำ ส่วนเสื้อเป็นเสื้อกันหนาวสีทึบ ส่วนนักเรียนหญิง ใส่กระโปรงจีบรอบสีดำยาวคลุมเข่า เสื้อกันหนาวสีสุภาพ รองเท้ากันหนาวตามสะดวก เราได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้ขึ้นรถขบวนเดียวกับเราเลย เพราะขบวนที่ผ่านมาก็ยืนเกินครึ่งทาง
เวลา 17.30 น. มีรถท้องถิ่นเข้าสถานีและมีคนลงเราลุกไปถามจนท.ที่ยืนเช็คตั๋วตรงทางออกว่าเป็นรถไป Shintoku หรือเปล่า เพราะตอนขึ้นบนจอเห็นเป็นชานชาลาที่ 1 แต่รถขบวนนั้นเข้าชานชาลาที่ 3 หนุ่มนักเดินทางที่เขียนรายการต่อรถให้เรายืนอยู่ตรงนั้นพอดี เขาหันมาแล้วบอกว่า ใช่แล้วรถไปชินโตกุ
เด็กจำนวนหนึ่งขึ้นไปก่อนแล้ว โชคดีที่เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ไปขบวนเดียวกับเรา นั่งรถมองหิมะด้วยความเห็นใจคนที่ใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่ได้น่ารื่นรมณ์เลย สงสัยว่าพวกสัตว์ป่าไปอยู่ที่ไหนในยามที่หิมะตกแบบนี้ เพราะแม้แต่ต้นไม้ก็สลัดใบรับหิมะ ยกเว้นต้นสนที่มีใบให้หิมะเกาะตัว ยังไม่ทันจะ 17.30 น. ความมืดก็เริ่มโรยตัวไปทุกที่ เราไปถึงชินโตกุเวลา 18.10 น. มองไปรอบตัวเห็นแต่ความมืดกับหิมะ เจอหนุ่มโตเกียวได้คุยกัน เราบอกว่าเราจะเข้าไปรอรถเที่ยว 19.45 น. เพื่อไป Kushino เขาบอกว่า มีรถ 18.21 กำลังจะเข้าจะมัวรอทำไม
เราบอกว่าเรามีตั๋วมาจาก Furano เขาก็ถามว่าทำไมเขาไม่ออกตั๋วเวลานั่นให้ เราก็เลยบอกว่าเขาคงกลัวเราไปไม่ทัน แล้วเราก็คิดว่าลองไปขอเปลี่ยนตั๋วอาจจะทัน พอเข้าไปในสถานีเจอจนท.พูดไม่รู้เรื่องทั้ง 2 คน เราก็เลยเปลี่ยนใจรอดีกว่า แต่ตอนหลังรู้ว่าขบวนที่เราไม่ได้ไปเป็นรถท้องถิ่นออกเร็วกว่า 1 ชม. แต่ถึงก่อนแค่ 6 นาที ขณะที่นั่งรอจนท.หนุ่มวิ่งมาบอกว่ารถเสียเวลา 6 นาที
เราคิดว่าจะไปต่อรถที่ Kushiro ไม่ทันแต่กลายเป็นว่า รถขบวนที่ไปก่อนจอดรอให้ขบวนเราเข้าสถานีก่อนเพราะรถเราเป็นรถเร็ว และเข้าสถานีก่อนเวลาเล็กน้อย เราวิ่งไปถามชานชาลาที่จะต่อรถ เขาบอกว่าชานชาลาที่ 3 ต้องวิ่งลงอุโมงค์ไปขึ้นบันไดไปชานชาลาที่ 3 ซึ่งรถจอดรออยู่แล้ว จาก Kushiro ไป Nemuro ผ่านอุโมงค์ ซอกเขา ทะเล หิมะหยุดตกแล้ว คงเหลือแต่ลานหิมะกว้างใหญ่ กองหิมะที่ผ่านการโกยให้พ้นเส้นทางรถ และโคลนหิมะที่มีสีดินปนบ้างแล้ว และบางแห่งก็เป็นแผ่นแน่นยากแก่การละลาย
ชื่อสินค้า:
พิพิธภัณฑ์ชาวไอนุ อาซาฮีคาวา
คะแนน:
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
แก้ไขข้อความเมื่อ
▼
กำลังโหลดข้อมูล...
▼
แสดงความคิดเห็น
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
ทำไมไทยไม่ใช้ ขบวนรถไฟฟ้า ที่มันกว้างๆ
เหมือนที่ไต้หวัน หรือฮ่องกง ขบวนค่อนข้างกว้างกว่าบ้านเรา ที่ช่องไว้กระเป๋าเดินทาง(ฮ่องกง) เป็นที่นั่งแบบ สลับหน้าหลัง (ใต้หวัน) มันเพิ่มผู้โดยสารได้มากกว่า หรือน้อยกว่ากันครับ สถานีไม่มีแอร์ด้วย หรือ
สมาชิกหมายเลข 2740750
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอน21 ฮิเมจิ มรดกโลก ญี่ปุ่น Himeji, Japan
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 21 Himeji มรดกโลก จาก อ่าว Kobe เรานั่งรถไฟท้องถิ่นไปปราสาท Himeji ที่เมือง Himeji เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งของญี่ป
ป้ากับลุง
สอบถามเรื่องการขึ้นรถไฟหน่อยค่าา
---------------
สมาชิกหมายเลข 6542377
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน เหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 30 ร่องรอยระเบิดปรมณู Nangasaki, Japan
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 30 ร่องรอยระเบิดปรมณู นางาซากิ อังคาร 15 มีนาคม 2559 อากาศแจ่มใส เดินออกจากที่พักเบปปุ ออกด้านตรงข้ามกับที่เดิน
ป้ากับลุง
Rap:t ไปกลับสนามบินคันไซรวดเร็วทันใจแบบมีสไตล์
Rap:t ไปกลับสนามบินคันไซรวดเร็วทันใจแบบมีสไตล์ ขากลับกรุงเทพ เรามีเที่ยวบินตอน 10.50 น. ดังนั้นจึงต้องรีบออกจากที่พักซึ่งอยู่แถวสถานีโอซาก้าแต่เช้าเพราะอยากนั่งเจ้ารถไฟ Rap:t ที่มีต้นสายอยู่ที่สถานีน
en vacance
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ15วัน เหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 15 Ogaki Castle, Osaka
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 15 ชมสวนซากุระและปราสาท Ogaki, Osaka จาก Iseshi บนรถเร็วที่กลับนาโงย่า จนท.พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ แต่เปิดให้ดูในพาส ว
ป้ากับลุง
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 13 ภูเขาไฟ Fuji
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 13 ภูเขาไฟ Fuji ที่โยโกฮามา ไปชานชาลาที่ 4 นั่งรถสาย Sobu สีน้ำเงินไปโตเกียว 45 นาที ถึงโตเกียวต่อสายสีส้ม Ch
ป้ากับลุง
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 4 อ่าวเนมูโร ตะวันออกสุดของญี่ปุ่น
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 4 อ่าวเนมูโร ตะวันออกสุดของญี่ปุ่น เราไปถึง Nemuro หลังเที่ยงคืนเล็กน้อย จนท.หนุ่มน่ารักมากเอาแผนที่โรงแรมมาให้
ป้ากับลุง
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 23 ฮิโรชิมา Hiroshima, Japan
ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 23 ร่องรอยระเบิดปรมณู Hiroshima โชคไม่ได้เลวร้ายเกินไป บนรถไฟจากเกียวโตไปฮิโรชิมา มีปลั๊กให้เสียบชาร์จแบ็ตเตอรี่
ป้ากับลุง
Review เที่ยวฝรั่งเศสด้วยตัวเอง ตอนที่ 3 (AVIGNON)
วันที่สามของการเดินทางแล้วครับ วันนี้ผมออกเดินทางจากเมือง Nice ยาวขึ้นเหนือไปเมือง Avignon ซึ่งเป็นเมืองที่จะพักในคืนนี้ครับ ตอนที่ 1 (NICE): https://ppantip.com/topic/42370592ตอนที่&nbs
NavigatorH
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
รถไฟ
บันทึกนักเดินทาง
เที่ยวต่างประเทศ
Backpack
บนสุด
ล่างสุด
อ่านเฉพาะข้อความเจ้าของกระทู้
หน้า:
หน้า
จาก
แชร์ : 102
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ยอมรับ
[CR] ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยหิมะญี่ปุ่น นั่งรถไฟ 15 วัน จากเหนือสุดถึงใต้สุด ตอนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ชาวไอนุ อาซาฮีคาวา
ตอนที่ 3 พิพิธภัณฑ์ชาวไอนุ อาซาฮีคาวา
เรากินอาหารเช้าบนรถไฟเป็นขนมปังไส้ถั่วแดง กับรังผึ้งกรอบที่ซื้อจากซัปโปโร รถไปถึง Asahikawa ตามเวลา
ขอข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่เดินเที่ยวได้จาก Information มีพิพิธภัณฑ์ชนพื้นเมืองชาว Ainu เดินออกหลังสถานีไปทางขวา ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำที่ริมสองด้านกลายเป็นน้ำแข็ง จำชื่อแม่น้ำไม่ได้ แล้วเดินฝ่าหิมะอุณหภูมิ -7 องศาเซลเซียส ตรงไปเรื่อยๆ เกือบ 1 กม. พิพิธภัณฑ์อยู่ซ้ายมือ ค่าเข้าชมคนละ 300 เยน มี 2 ชั้น ชั้น 1 เป็นภาพกว้างตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่เป็นทรงกระโจม ติดดินมุงด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง คล้ายใบหมากหรือใบมะพร้าวซ้อนให้หนาเพื่อกันลม และให้ความอบอุ่น
กลางบ้านมีเตาผิง แขวนหม้อหุงต้มเหนือเตาผิงที่ใช้ไม้กั้นขอบเป็นรูปสี่เหลี่ยม พวกเขาประกอบอาชีพประมง ปลูกข้าวฟ่าง และข้าวที่เราเรียกว่าข้าวญี่ปุ่น มีภาชนะเป็นเครื่องปั้นดินเผาแล้วพัฒนาเป็นเซรามิค พวกเขามีเลื่อยที่ตีเองใช้ด้วย ดูเหมือนจะหนักมาก ผู้ใช้ต้องแข็งแรง จึงจะพกพาและใช้งานได้ เสื้อ ผ้าทำจากเส้นใยที่คล้ายใยกันชง รองเท้าทำจากหนังสัตว์เช่นกวาง กรือ หนังปลา ใช้สุนัขช่วยล่าสัตว์ สัตว์เป็นอันตราย คือ จิ้งจอก ชั้นใต้ดินเป็นรายละเอียดของชั้น 1 จัดแสดงอารยธรรมของชาวไอนุ
ชาวไอนุ (ญี่ปุ่น: アイヌ ?) บ้างเรียก ไอโนะ (ญี่ปุ่น: アイノ ?) ในญี่ปุ่นจะเรียกชาวไอนุโดยไม่จำแนกกลุ่มว่า อุตะริ (ญี่ปุ่น: ウタリ ?) เป็นชนพื้นเมืองบนเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น นักค้นคว้าเชื่อว่าชาวไอนุมีเชื้อสายคอเคซอย หรือชาวผิวขาว ซึ่งเป็นคนละเชื้อสายกับชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ทฤษฏีที่ว่านี้มาจากรูปลักษณ์ของชาวไอนุที่เป็นแบบผสมระหว่างชาวยุโรปและชาวเอเซีย แต่หลังจากการทดสอบทางดีเอ็นเอแล้วพบว่า ชาวไอนุไม่มีเชื้อสายชาวคอเคซอย
ั่ชาวไอนุอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมานานกว่าชาวญี่ปุ่น และในตำนานของชาวไอนุ อยู่ที่นี่หลายแสนปีก่อนที่บุตรแห่งพระอาทิตย์จะมา บอกไม่ได้ว่าชาวไอนุมาจากไหน อยู่ที่ฮกไกโดตั้งแต่เมื่อไหร่ หรือสืบเชื้อสายมาจากใคร
ปัจจุบันชาวไอนุเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่มีฐานะยากจนมากที่สุดในญี่ปุ่น โดยมีชาวไอนุเพียงร้อยละ 17 ที่จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งที่จบจากมหาวิทยาลัยในระดับประเทศ และรัฐบาลญี่ปุ่นได้รับรองว่าชาวไอนุเป็นชนพื้นเมืองของญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2551
วันนี้ครูพาเด็กๆ เข้าชมจึงมีเสียงเจี๊ยวจ๊าว ช่วยให้บรรยากาศคึกคัก
กลับมารับประทานอาหารกลางวัน แล้วเดินทางต่อไปอ่าวเนมูโร (Nemuro) ตะวันออกสุดของญี่ปุ่น
เวลา 13.44 น. ออกจากสถานี Asahikawaไป Furono ที่ฟูโรโนะ เราเจอคนที่สื่อสารได้ช่วยเราเขียนสถานีและเวลาที่จะต่อรถไปยังสถานี Nemuro ตะวันออกสุดของเกาะฮ็อกไกโด ทำให้เราได้รายการที่จะขอตั๋วที่นั่ง ซึ่งกว่าจะสื่อสารกันรู้เรื่อง ว่าชั้นกรีนมีที่นั่งว่างแค่ที่เดียว ถ้าไม่เอาชั้นกรีนจะได้ 2 ที่นั่ง และต้องสำรองแค่ขบวนเดียวเพราะเป็นรถด่วน นอกนั้นเป็นรถท้องถิ่น เราคงต้องไปเสี่ยงภัย ลุ้นว่าจะมีโรงแรมแบบเมื่อคืนรับเราหรือไม่
ที่สถานีฟูราโนะ (Furano) เราได้เห็นบรรยากาศตอนหิมะตกหนัก และการจัดการขจัดหิมะบนรางรถไฟ เจ้าหน้าที่ขับรถบนรางแล้วโกยหิมะขึ้นมาพ่นผ่านความร้อน ทำให้หิมะกลายเป็นน้ำจะได้ไม่เกาะบนราง ขณะที่นั่งรอรถอยู่ในห้องที่มีเครื่องทำความร้อน ก็มีนักเรียนเข้ามาเป็นกลุ่มชาย 1 กลุ่ม หญิง.1 กลุ่ม เราไม่รู้ว่าเป็นเวลาเลิกเรียนหรือนักเรียนไปทำกิจกรรม แต่ดูว่าพวกเขาอายุต่างกัน
นักเรียนชายใส่กางเกงขายาวแบบสแล็คสีดำ ส่วนเสื้อเป็นเสื้อกันหนาวสีทึบ ส่วนนักเรียนหญิง ใส่กระโปรงจีบรอบสีดำยาวคลุมเข่า เสื้อกันหนาวสีสุภาพ รองเท้ากันหนาวตามสะดวก เราได้แต่ภาวนาว่า ขออย่าให้ขึ้นรถขบวนเดียวกับเราเลย เพราะขบวนที่ผ่านมาก็ยืนเกินครึ่งทาง
เวลา 17.30 น. มีรถท้องถิ่นเข้าสถานีและมีคนลงเราลุกไปถามจนท.ที่ยืนเช็คตั๋วตรงทางออกว่าเป็นรถไป Shintoku หรือเปล่า เพราะตอนขึ้นบนจอเห็นเป็นชานชาลาที่ 1 แต่รถขบวนนั้นเข้าชานชาลาที่ 3 หนุ่มนักเดินทางที่เขียนรายการต่อรถให้เรายืนอยู่ตรงนั้นพอดี เขาหันมาแล้วบอกว่า ใช่แล้วรถไปชินโตกุ
เด็กจำนวนหนึ่งขึ้นไปก่อนแล้ว โชคดีที่เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ไปขบวนเดียวกับเรา นั่งรถมองหิมะด้วยความเห็นใจคนที่ใช้ชีวิตแบบนี้ ไม่ได้น่ารื่นรมณ์เลย สงสัยว่าพวกสัตว์ป่าไปอยู่ที่ไหนในยามที่หิมะตกแบบนี้ เพราะแม้แต่ต้นไม้ก็สลัดใบรับหิมะ ยกเว้นต้นสนที่มีใบให้หิมะเกาะตัว ยังไม่ทันจะ 17.30 น. ความมืดก็เริ่มโรยตัวไปทุกที่ เราไปถึงชินโตกุเวลา 18.10 น. มองไปรอบตัวเห็นแต่ความมืดกับหิมะ เจอหนุ่มโตเกียวได้คุยกัน เราบอกว่าเราจะเข้าไปรอรถเที่ยว 19.45 น. เพื่อไป Kushino เขาบอกว่า มีรถ 18.21 กำลังจะเข้าจะมัวรอทำไม
เราบอกว่าเรามีตั๋วมาจาก Furano เขาก็ถามว่าทำไมเขาไม่ออกตั๋วเวลานั่นให้ เราก็เลยบอกว่าเขาคงกลัวเราไปไม่ทัน แล้วเราก็คิดว่าลองไปขอเปลี่ยนตั๋วอาจจะทัน พอเข้าไปในสถานีเจอจนท.พูดไม่รู้เรื่องทั้ง 2 คน เราก็เลยเปลี่ยนใจรอดีกว่า แต่ตอนหลังรู้ว่าขบวนที่เราไม่ได้ไปเป็นรถท้องถิ่นออกเร็วกว่า 1 ชม. แต่ถึงก่อนแค่ 6 นาที ขณะที่นั่งรอจนท.หนุ่มวิ่งมาบอกว่ารถเสียเวลา 6 นาที
เราคิดว่าจะไปต่อรถที่ Kushiro ไม่ทันแต่กลายเป็นว่า รถขบวนที่ไปก่อนจอดรอให้ขบวนเราเข้าสถานีก่อนเพราะรถเราเป็นรถเร็ว และเข้าสถานีก่อนเวลาเล็กน้อย เราวิ่งไปถามชานชาลาที่จะต่อรถ เขาบอกว่าชานชาลาที่ 3 ต้องวิ่งลงอุโมงค์ไปขึ้นบันไดไปชานชาลาที่ 3 ซึ่งรถจอดรออยู่แล้ว จาก Kushiro ไป Nemuro ผ่านอุโมงค์ ซอกเขา ทะเล หิมะหยุดตกแล้ว คงเหลือแต่ลานหิมะกว้างใหญ่ กองหิมะที่ผ่านการโกยให้พ้นเส้นทางรถ และโคลนหิมะที่มีสีดินปนบ้างแล้ว และบางแห่งก็เป็นแผ่นแน่นยากแก่การละลาย
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น