ถาม:คำว่า ธรรมกาย มีในพระไตรปิฎกหรือไม่
ตอบ:คำว่า ธรรมกาย มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 4แห่ง และในคัมภีร์อรรถกถา และฎีกาอีกหลายสิบแห่ง ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์พระไตรปิฎกจีนในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน มีการกล่าวถึงคำว่า ธรรมกาย ในหลายๆแห่งระบุถึงความหมายของคำว่า พระธรรมกาย และแนวทางการเข้าถึงไว้อย่างน่าสนใจ แต่เนื้อหาในพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ตกหล่นไป
คำว่า ธรรมกาย นี้จึงมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลอย่างแน่นอน โดยไม่มีข้อสงสัย และโต้แย้งใดๆ ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันก็คือ ความหมายของคำว่า ธรรมกาย บ้างก็กล่าวว่า หมายถึงโลกุตรธรรมเก้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงกายแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า สิ่งที่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์ เท่าที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบัน มาเป็นเครื่องยืนยันว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้น ความคิดอันใดอันหนึ่งถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ
ดังนั้น สิ่งที่ชาวพุทธควรจะกระทำก็คือ ตั้งใจปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์แปด และตั้งใจทำความดี ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ลด ละ เลิก อบายมุข สมัครสมานสามัคคีกัน การถกเถียงกันด้วยเรื่องที่ไม่อาจได้ข้อสรุป ด้วยคำพูด และตัวหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์ กลับอาจนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง และการแตกแยก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระองค์จะไม่ทรงพยากรณ์ในเรื่องที่เกินวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้ด้วยคำพูด เช่น ไม่ทรงตอบเรื่องโลกนี้โลกหน้าว่า มีจริงไหม โลกมีที่สิ้นสุดหรือไม่ เป็นต้น เพราะตอบไปแล้ว ถ้าเขาไม่เชื่อก็หาข้อสรุปไม่ได้ สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำก็คือ แนะนำให้เขาปฏิบัติธรรม ทำความดีและเมื่อปฏิบัติไปถึงจุดแล้ว เขาก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน
ดังนั้น สิ่งที่ชาวไทยชาวพุทธ ผู้รู้ ผู้มีความปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนา และสังคมไทยทุกคน ควรทำภารกิจเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ ทำอย่างไร จึงจะยกระดับศีลธรรมของคนในสังคมได้ ทำอย่างไร เราจึงจะดึงคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม ให้ชาวพุทธทุกคนเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบร่มเย็นเป็นสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
*** ธรรมกาย มีในพระไตรปิฏกหรือไม่ เรื่อง กรณีธรรมกาย ***026 อย่าเชื่อแต่ปริยัติควนเงี่ยหูฟังนักปฏิบัติ
ตอบ:คำว่า ธรรมกาย มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 4แห่ง และในคัมภีร์อรรถกถา และฎีกาอีกหลายสิบแห่ง ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์พระไตรปิฎกจีนในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน มีการกล่าวถึงคำว่า ธรรมกาย ในหลายๆแห่งระบุถึงความหมายของคำว่า พระธรรมกาย และแนวทางการเข้าถึงไว้อย่างน่าสนใจ แต่เนื้อหาในพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ตกหล่นไป
คำว่า ธรรมกาย นี้จึงมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลอย่างแน่นอน โดยไม่มีข้อสงสัย และโต้แย้งใดๆ ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันก็คือ ความหมายของคำว่า ธรรมกาย บ้างก็กล่าวว่า หมายถึงโลกุตรธรรมเก้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงกายแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า สิ่งที่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์ เท่าที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบัน มาเป็นเครื่องยืนยันว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้น ความคิดอันใดอันหนึ่งถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ
ดังนั้น สิ่งที่ชาวพุทธควรจะกระทำก็คือ ตั้งใจปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์แปด และตั้งใจทำความดี ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ลด ละ เลิก อบายมุข สมัครสมานสามัคคีกัน การถกเถียงกันด้วยเรื่องที่ไม่อาจได้ข้อสรุป ด้วยคำพูด และตัวหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์ กลับอาจนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง และการแตกแยก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระองค์จะไม่ทรงพยากรณ์ในเรื่องที่เกินวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้ด้วยคำพูด เช่น ไม่ทรงตอบเรื่องโลกนี้โลกหน้าว่า มีจริงไหม โลกมีที่สิ้นสุดหรือไม่ เป็นต้น เพราะตอบไปแล้ว ถ้าเขาไม่เชื่อก็หาข้อสรุปไม่ได้ สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำก็คือ แนะนำให้เขาปฏิบัติธรรม ทำความดีและเมื่อปฏิบัติไปถึงจุดแล้ว เขาก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน
ดังนั้น สิ่งที่ชาวไทยชาวพุทธ ผู้รู้ ผู้มีความปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนา และสังคมไทยทุกคน ควรทำภารกิจเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ ทำอย่างไร จึงจะยกระดับศีลธรรมของคนในสังคมได้ ทำอย่างไร เราจึงจะดึงคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม ให้ชาวพุทธทุกคนเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบร่มเย็นเป็นสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข