สรุปหนังสือ The Tipping Point (จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์) ตอนที่ 1
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Malcolm Gladwell ขอกล่าวถึง Gladwell คร่าวๆครับ Gladwell เดิมทีเขาเป็นผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ นิตยสาร New Yorker แต่หลังจากที่เขาได้เขียนหนังสือเล่มนี้ หนังสือของเขาก็ขายดีมากจนประสบความสำเร็จ เขากลายเป็นที่ปรึกษาบริษัทใหญ่ๆหลายแห่ง
หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึงปรากฏการณ์ปากต่อปาก (Word of Mouth) ซึ่งทำให้สิ่งเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
โดยมี 3 ปัจจัยสำคัญที่พูดถึงคือ
กฎของความน้อย
ปัจจัยติดหนึบ
และพลานุภาพของบริบท
ในหนังสือเล่มนี้ Gladwell ได้เขียนถึงกรณีต่างๆที่เกิดจุดพลิกผัน เช่น รองเท้ายี่ห้อฮัช พัพปี้ส์ ที่จวนเจียนจะถึงขั้นล้มลลายเพราะขายไม่ได้ แต่อยู่ๆกลับขายดี ซึ่งเกิดจากวัยรุ่นในย่านอีสต์ วิลเลจและโซโหเพียงหยิบมือเดียวที่หันมาใส่รองเท้า ฮัช พัพปี้ส์ แล้วความนิยมก็แพร่ขยายไปยังสองนักออกแบบชั้นนำซึ่งใช้รองเท้านี้ในการเดินแฟชั่น มันเป็นแค่โอกาสบังเอิญที่เกิดขึ้น ไม่มีใครพยายามสร้างกระแส แต่กระแสก็ได้เกิดขึ้น จนรองเท้าที่เคยขายได้แค่ 30,000คู่ต่อปี กลายมาเป็นรองเท้าที่ฮิตจนขายได้มากกว่า 1.5 ล้านคู่ภายใน 2 ปี นี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกหลายกรณีที่ Gladwell ยกตัวอย่างมาเขียนเช่น การแพร่ระบาดของโรคซิฟิลิส การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ การเกิดอาชญากรรมในรถไฟใต้ดินใน New york การติดบุหรี เป็นต้น
ขอสรุปเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในหนังสือเล่มนี้ครับ
เรามาดูว่าสามปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงคืออะไรกัน
1.กฎส่วนน้อย (Law of the Few)
2.ปัจจัยแห่งการติดหนึบ (Stickiness Factor)
3.พลังแห่งบริบท (Power of Context)
เริ่มต้นที่กฎส่วนน้อย (Law of the Few) ผู้เขียนกล่าวว่า
-ในสถานการณ์หนึ่ง ร้อยละ 80 ของงานสำเร็จโดยคนเพียงร้อยละ 20
-ในสังคมส่วนใหญ่ อาชญากรเพียงร้อยละ 20 ก่อคดีอาชญากรรมถึงร้อยละ 80
-นักซิ่ง เพียงร้อยละ 20 กลับก่ออุบัติเหตุถึงร้อยละ 80
และนักดื่มเบียร์ เพียงร้อยละ 20 กลับดื่มเบียร์ถึงร้อยละ 80
-กฎส่วนน้อย (Law of the Few) คนที่เป็นตัวจุดชนวนทำให้เกิดการพลิกผันได้คือ หนึ่งในคนพิเศษเหล่านี้ เป็นคนที่พบเทรนด์หรือแนวโน้ม แล้วพวกเขาก็พูดกันปากต่อปาก ผ่านสายสัมพันธ์ทางสังคม พลัง ความกระตือรือร้นและบุคลิกภาพที่ตนเองมี
-เราใช้เวลามากเพื่อคิดเกี่ยวกับการแพร่ข่าวสาร คิดถึงวิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือความคิดของเราเข้าถึงผู้คนให้มากที่สุด แต่ส่วนที่ยากที่สุดของการสื่อสารมักจะเป็นวิธีการที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ข่าวสารที่เราส่งออกไปไม่ใช่เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา
ตอนต่อไปจะมาพูดถึงปัจจัยแห่งการติดหนึบ (Stickiness Factor) กันครับ
ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จครับ
แนะนำสุดยอดหนังสือธุรกิจ #3 The Tipping Point
สรุปหนังสือ The Tipping Point (จุดชนวนคิด พลิกสถานการณ์) ตอนที่ 1
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Malcolm Gladwell ขอกล่าวถึง Gladwell คร่าวๆครับ Gladwell เดิมทีเขาเป็นผู้สื่อข่าวประจำกองบรรณาธิการ นิตยสาร New Yorker แต่หลังจากที่เขาได้เขียนหนังสือเล่มนี้ หนังสือของเขาก็ขายดีมากจนประสบความสำเร็จ เขากลายเป็นที่ปรึกษาบริษัทใหญ่ๆหลายแห่ง
หนังสือเล่มนี้ได้พูดถึงปรากฏการณ์ปากต่อปาก (Word of Mouth) ซึ่งทำให้สิ่งเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้
โดยมี 3 ปัจจัยสำคัญที่พูดถึงคือ
กฎของความน้อย
ปัจจัยติดหนึบ
และพลานุภาพของบริบท
ในหนังสือเล่มนี้ Gladwell ได้เขียนถึงกรณีต่างๆที่เกิดจุดพลิกผัน เช่น รองเท้ายี่ห้อฮัช พัพปี้ส์ ที่จวนเจียนจะถึงขั้นล้มลลายเพราะขายไม่ได้ แต่อยู่ๆกลับขายดี ซึ่งเกิดจากวัยรุ่นในย่านอีสต์ วิลเลจและโซโหเพียงหยิบมือเดียวที่หันมาใส่รองเท้า ฮัช พัพปี้ส์ แล้วความนิยมก็แพร่ขยายไปยังสองนักออกแบบชั้นนำซึ่งใช้รองเท้านี้ในการเดินแฟชั่น มันเป็นแค่โอกาสบังเอิญที่เกิดขึ้น ไม่มีใครพยายามสร้างกระแส แต่กระแสก็ได้เกิดขึ้น จนรองเท้าที่เคยขายได้แค่ 30,000คู่ต่อปี กลายมาเป็นรองเท้าที่ฮิตจนขายได้มากกว่า 1.5 ล้านคู่ภายใน 2 ปี นี้เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกหลายกรณีที่ Gladwell ยกตัวอย่างมาเขียนเช่น การแพร่ระบาดของโรคซิฟิลิส การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ การเกิดอาชญากรรมในรถไฟใต้ดินใน New york การติดบุหรี เป็นต้น
ขอสรุปเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในหนังสือเล่มนี้ครับ
เรามาดูว่าสามปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงคืออะไรกัน
1.กฎส่วนน้อย (Law of the Few)
2.ปัจจัยแห่งการติดหนึบ (Stickiness Factor)
3.พลังแห่งบริบท (Power of Context)
เริ่มต้นที่กฎส่วนน้อย (Law of the Few) ผู้เขียนกล่าวว่า
-ในสถานการณ์หนึ่ง ร้อยละ 80 ของงานสำเร็จโดยคนเพียงร้อยละ 20
-ในสังคมส่วนใหญ่ อาชญากรเพียงร้อยละ 20 ก่อคดีอาชญากรรมถึงร้อยละ 80
-นักซิ่ง เพียงร้อยละ 20 กลับก่ออุบัติเหตุถึงร้อยละ 80
และนักดื่มเบียร์ เพียงร้อยละ 20 กลับดื่มเบียร์ถึงร้อยละ 80
-กฎส่วนน้อย (Law of the Few) คนที่เป็นตัวจุดชนวนทำให้เกิดการพลิกผันได้คือ หนึ่งในคนพิเศษเหล่านี้ เป็นคนที่พบเทรนด์หรือแนวโน้ม แล้วพวกเขาก็พูดกันปากต่อปาก ผ่านสายสัมพันธ์ทางสังคม พลัง ความกระตือรือร้นและบุคลิกภาพที่ตนเองมี
-เราใช้เวลามากเพื่อคิดเกี่ยวกับการแพร่ข่าวสาร คิดถึงวิธีที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือความคิดของเราเข้าถึงผู้คนให้มากที่สุด แต่ส่วนที่ยากที่สุดของการสื่อสารมักจะเป็นวิธีการที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ข่าวสารที่เราส่งออกไปไม่ใช่เข้าหูซ้าย ทะลุหูขวา
ตอนต่อไปจะมาพูดถึงปัจจัยแห่งการติดหนึบ (Stickiness Factor) กันครับ
ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จครับ