คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ไม่มีอันไหนเหมือนกับการสอบจอหงวนเลยครับ
"จอหงวน" ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "จ้วงเหยวียน" โดยความหมายแปลได้ว่า “ยอดเยี่ยมเป็นที่หนึ่ง” การสอบจอหงวน เป็นการสอบเข้ารับราชการในจีนมีมาตั้งแต่ราวคริสตวรรษที่ ๗ ซึ่งเดิมเรียกว่าการสอบ “เคอ จู่” ทั้งนี้ อาชีพรับราชการในจีนนั้น ถือเป็นอาชีพในฝันของชาวจีน เนื่องจากมีความมั่นคงสูง
ในสมัยราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดิไท้จู่ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง โปรดฯให้มีการปรับปรุงการสอบใหม่ทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ ต่อมาได้มีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยแบ่งการสอบออกเป็น ๔ ระดับ สรุปได้ดังนี้
๑. การสอบระดับอำเภอ จัดขึ้นทุกปี ผู้สอบได้เรียกว่า ซิวไจ๊ (ผู้มีเชาวน์ดี)
๒. การสอบระดับมณฑล จัดขึ้นทุก ๓ ปี ผู้สอบได้เรียกว่า กือหยิน (ยกให้เป็นคน)
๓. การสอบระดับเมืองหลวง จัดขึ้นทุก ๕ ปี ผู้สอบได้อันดับที่ ๑ เรียกว่า ฮั่งลิ้ม (บัณฑิต) อันดับที่ ๒ เรียกว่า จิ่นสือ (เลื่อนเป็นนักศึกษา)
๔. การสอบระดับราชสำนัก บรรดาผู้ที่สอบได้อันดับที่ ๑ จะมีสิทธิเข้าสอบหน้าพระที่นั่ง สอบได้ที่ ๑ เรียกว่า จอหงวน (ที่ ๑ ของประเทศ) สอบได้ที่ ๒ เรียกว่า ปั๋งเหยี่ยน (ที่ ๒ ของประเทศ) และ สอบได้ที่ ๓ เรียกว่า ทั่นฮวา (ที่ ๓ ของประเทศ) โดยการสอบระดับราชสำนักใช้ข้อสอบที่กษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกเอง การสอบจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เรียกว่า ซานจย่า ผู้ที่สอบได้อันดับ ๑ ถึง ๓ ในแต่ละกลุ่มรวมกัน ๙ คน เรียกว่า จิ้นซื่อ จากนั้นจิ้นซื่อยังต้องเข้าสอบในเขตพระราชฐานอีก โดยการสอบครั้งนี้จะมีขุนนางชั้นสูงเป็นผู้ตรวจข้อสอบ เมื่อเสร็จสิ้นการสอบจะมีการจัดลำดับตามอันดับในการสอบระดับราชสำนักและคะแนนจากการสอบในเขตพระราชฐาน จากนั้นกษัตริย์จะเป็นผู้พระราชทานตำแหน่งขุนนางแก่บัณฑิตเหล่านี้ตามความเหมาะสม
"จอหงวน" ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "จ้วงเหยวียน" โดยความหมายแปลได้ว่า “ยอดเยี่ยมเป็นที่หนึ่ง” การสอบจอหงวน เป็นการสอบเข้ารับราชการในจีนมีมาตั้งแต่ราวคริสตวรรษที่ ๗ ซึ่งเดิมเรียกว่าการสอบ “เคอ จู่” ทั้งนี้ อาชีพรับราชการในจีนนั้น ถือเป็นอาชีพในฝันของชาวจีน เนื่องจากมีความมั่นคงสูง
ในสมัยราชวงศ์ชิง สมเด็จพระจักรพรรดิไท้จู่ ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง โปรดฯให้มีการปรับปรุงการสอบใหม่ทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ ต่อมาได้มีการปรับปรุงอีกหลายครั้ง โดยแบ่งการสอบออกเป็น ๔ ระดับ สรุปได้ดังนี้
๑. การสอบระดับอำเภอ จัดขึ้นทุกปี ผู้สอบได้เรียกว่า ซิวไจ๊ (ผู้มีเชาวน์ดี)
๒. การสอบระดับมณฑล จัดขึ้นทุก ๓ ปี ผู้สอบได้เรียกว่า กือหยิน (ยกให้เป็นคน)
๓. การสอบระดับเมืองหลวง จัดขึ้นทุก ๕ ปี ผู้สอบได้อันดับที่ ๑ เรียกว่า ฮั่งลิ้ม (บัณฑิต) อันดับที่ ๒ เรียกว่า จิ่นสือ (เลื่อนเป็นนักศึกษา)
๔. การสอบระดับราชสำนัก บรรดาผู้ที่สอบได้อันดับที่ ๑ จะมีสิทธิเข้าสอบหน้าพระที่นั่ง สอบได้ที่ ๑ เรียกว่า จอหงวน (ที่ ๑ ของประเทศ) สอบได้ที่ ๒ เรียกว่า ปั๋งเหยี่ยน (ที่ ๒ ของประเทศ) และ สอบได้ที่ ๓ เรียกว่า ทั่นฮวา (ที่ ๓ ของประเทศ) โดยการสอบระดับราชสำนักใช้ข้อสอบที่กษัตริย์ทรงเป็นผู้ออกเอง การสอบจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เรียกว่า ซานจย่า ผู้ที่สอบได้อันดับ ๑ ถึง ๓ ในแต่ละกลุ่มรวมกัน ๙ คน เรียกว่า จิ้นซื่อ จากนั้นจิ้นซื่อยังต้องเข้าสอบในเขตพระราชฐานอีก โดยการสอบครั้งนี้จะมีขุนนางชั้นสูงเป็นผู้ตรวจข้อสอบ เมื่อเสร็จสิ้นการสอบจะมีการจัดลำดับตามอันดับในการสอบระดับราชสำนักและคะแนนจากการสอบในเขตพระราชฐาน จากนั้นกษัตริย์จะเป็นผู้พระราชทานตำแหน่งขุนนางแก่บัณฑิตเหล่านี้ตามความเหมาะสม
แสดงความคิดเห็น
การสอบ จองหงวนของจีนในสมัยก่อน ถ้าเทียบกับของไทยในสมัยนี้เหมือนการสอบเป็นอะไร