วันนี้จขกท.มีเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ เรื่องที่อยากเล่าให้ฟังในวันนี้เป็นเรื่องการสอบ “จอหงวน” ในหนังจีน ละครจีนที่เราเห็นกันบ่อยๆ นี่แหละค่ะ
หลายคนอาจคิดว่า ว้า! รู้มาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว อ๊ะๆๆ อย่าเพิ่งสิจ๊ะ จะบอกว่าที่เราเห็นหรือได้ยินในหนัง ในละครน่ะ กับเรื่องจริงน่ะมีจุดไม่เหมือนกันอยู่นะ เอาง่ายๆ แค่ชื่อ “สอบจอหงวน” ภาษาจีนจริงๆ ไม่ได้เรียกชื่อแบบนี้ซะหน่อย เรื่องราวจะเป็นยังไง? มาติดตามกันเลยจ้าาา
7 ข้อรู้หรือไม่ เกี่ยวกับ “จอหงวน”
1. ชื่อเรียกการสอบว่า “สอบจอหงวน” ที่เราคุ้นเคยกันดีในจากหนัง จากละคร จริงๆ แล้วไม่ได้เรียกว่าสอบจอหงวนนะ อ่าว! แล้วเรียกว่าอะไร?
จริงๆ แล้วภาษาจีนเรียกการสอบจอหงวนว่า 科举制度 [kējǔzhìdù] (เคอ จวี่ จื้อ ตู้) แปลเป็นไทยว่าระบบการสอบคัดเลือกขุนนาง (เข้ารับราชการ) การสอบแบบนี้จะใช้ในสมัยประเทศจีนยังเป็นระบอบที่มีกษัตริย์ปกครองอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันยกเลิกไปแล้วค่ะ
2. แล้วทำไมถึงเรียกว่า “จอหงวน” ล่ะ?
จริงๆ แล้ว “จอหงวน” เป็นตำแหน่งของคนสอบที่ได้คะแนนการสอบสูงที่สุดค่ะ ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) เข้าใจว่าภาษาไทยเรียกเลียนเสียงมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “จ่อง้วง” ถือว่าเป็น
ชื่อเรียกตำแหน่งของคนสอบที่ได้คะแนนสูงสุด (ไม่ใช่ชื่อเรียกตำแหน่งขุนนางในการรับราชการนะ)
และด้วยการสอบจอหงวนมีในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน มีมาหลายยุค หลายราชวงศ์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังอิทธิพลในด้านภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ค่ะ ยกตัวอย่างให้ดูนะคะ เช่น สุภาษิตนี้
独占鳌头 [dúzhàn’áotóu] (ตู๋จ้านอ๋าวโถว) ก่อนจะแปลมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในท้องพระโรงของพระราชวังต้องห้ามจะมีประติมากรรมชิ้นหนึ่งเป็นรูปเต่ามังกร ภาษาจีนเรียก 鳌 [áo] (อ๋าว) คนที่สอบได้ “จอหงวน” จะถูกให้ยืนเฝ้าฮ่องเต้หน้ารูปเต่ามังกร จึงเกิดเป็นสำนวนว่า “ยืนหัวเต่ามังกร” หรือ 独占鳌头 ซึ่งสื่อถึงคุณลักษณะของคนเก่งเป็นอันดับ 1
ปัจจุบันสำนวน 独占鳌头 เอามาสื่อความหมายไปถึงคนที่เป็นหัวกะทิในสาขาวิชานั้นๆ เปรียบเป็นสิ่งของหรือสินค้าที่ดีเป็นอันดับ 1 ไม่มีใครเทียบได้ ซึ่งก็เหมือนคนที่สอบได้คะแนนสูงสุดอย่างจอหงวน
我们的产品在市场上
独占鳌头。
Wǒmen de chǎnpǐn zài shìchǎng shàng dúzhàn’áotóu.
สินค้าของพวกเราที่ขายในตลาด (ดี) เป็นอันดับ 1
3. แล้วคนที่ได้อันดับ 2 และอันดับ 3 จะเรียกว่าอะไร?
ปกติคนที่สอบได้สูงสุด นับว่าเจ๋งสุดเรียก 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) แต่เดิมอันดับ 2 และ 3 มีศัพท์เฉพาะเหมือนกันเรียกว่า 榜眼 [bǎngyǎn] (ปั๋งเหยี่ยน)
มีที่มาจากการสอบ 1 ครั้งเรียกว่า 一榜 อี้ปั่ง (ขึ้นทะเบียน 1 ครั้ง) คนที่สอบได้คะแนนสูงสุดเรียกว่า 榜首 [bǎngshǒu] (ปั๋งโส่ว) คือหัวหรือสูงสุดของทะเบียน หรือเรียก 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) ก็ได้ ส่วนอันดับที่ 2 หรือ 3 เรียกเหมือนกันว่า 榜眼 (ปั๋งเหยี่ยน)“ตาของทะเบียน” (เป็นการไล่จากสูงสุด คือหัว แล้วไล่ลงมาเจอลูกตา ก็เลยเรียกเหมารวมคนที่ได้อันดับ 2 หรือ 3 เหมือนกันว่า 榜眼 เพราะคนเราต้องมีลูกตามี 2 ข้างไงล่ะ)
ภายหลังจึงมีการเปลียนการเรียกคนที่สอบได้อันดับ 3 ว่า 探花 [tànhuā] (ทั่นฮวา) ตามชื่อบทกลอนชื่อเดียวกัน ที่ไว้สำหรับต้อนรับ 状元 [zhuàngyuán] ค่ะ
4. ประวัติศาสตร์การสอบจอหงวนเป็นมายังไง? เริ่มมาได้ยังไง?
ระบบการสอบคัดเลือกขุนนางอย่างจอหงวนถือว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,300 ปีเลยนะคะ ถือว่าเป็นครั้งแรกๆที่มีการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านคนธรรมดาที่มีความรู้ความสามารถได้สอบเข้าเป็นข้าราชการ เพราะสังคมจีนสมัยก่อนเป็นสังคมศักดินามีการแบ่งคนในสังคมออกเป็นชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ซึ่งการรับราชการถือว่าเป็นสุดยอดของเกียรติยศและมีโอกาสในการถีบตัวเองขึ้นสู่ชนชั้นสูงต่อไป
สมัยก่อนการคัดเลือกขุนนาง จะคัดมาจากเชื้อสายวงศ์ตระกูลขุนน้ำขุนนางด้วยกัน เช่น พ่อเป็นขุนนางใหญ่โต เป็นใต้เท้า ลูกชายก็มีสิทธิ์เป็นขุนนางได้ด้วย ระบบการคัดเลือกจึงมาจากทางสายเลือด ภาษาจีนเรียก 血缘关系 [xuèyuánguānxì] (เสวี่ยหยวนกวานซี่) เป็นการแนะนำ (จากเชื้อสายตระกูลนั้นนี้) ว่าคนๆ นี้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นนี้ มีขุนนางผู้ใหญ่แบ็คอัพ ภาษายุคปัจจุบันเรียกมีเส้นมีสายมี connection รู้จักผู้ใหญ่ ฯลฯ ตำแหน่งขุนนางจึงตกอยู่ในวงคนชั้นสูงเหมือนกัน ยากที่จะมีคนชั้นกลาง-ล่าง ชาวบ้านร้านตลาดขึ้นไปมีสิทธิ์ (ถึงแม้ว่าจะเก่ง ถึงแม้ว่าฉลาดแค่ไหน)
ระบบอุปถัมภ์ศักดินาแบบนี้ซีเรียสขนาดไหน ก็ขนาดถึงขั้นมีประโยคว่า 上品无寒门 ,下品无世族 [Shàngpǐn wú hánmén, Xiàpǐn wú shìzú] แปลตรงตัวคือ ของระดับ high grade ไม่มีทางมาจากตระกูลชั้นล่าง ของระดับ low grade ไม่มีทางมาจากชนชั้นสูง หมายความว่าถ้าเกิดมาเป็นคนสูงศักดิ์ ตระกูลชั้นสูงตระกูลขุนนาง ก็ไม่ทางตกต่ำไปเป็นคนชั้นล่าง (ไม่ว่าจะประพฤติตัวเฮียๆยังไง??) คนที่เกิดมาในตระกูลต้อยต่ำก็ไม่มีทางไต้เต้าเป็นคนชั้นสูง ก็จำต้องเป็นคนชั้นต่ำต่อไปๆ ทุก generation ด้วยเหตุผลนี้ด้วยจึงเห็นบ่อยๆ ว่าขุนนาง (บางคน) เกเร เลว และภูมิใจอวดรวยในชาติตระกูลตัวเองมาก ว่างั้น
ต่อมาในราชวงศ์สุย ฮ่องเต้สุยเหวินตี้ 隋文帝 [Suí Wéndì] (สุยเหวินตี้) คิดค้นริเริ่มระบบการสอบขุนนางแบบจอหงวนขึ้นมาเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ วัตถุประสงค์ก็คือคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยไม่เกี่ยวกับสายเลือดวงศ์ตระกูลและเส้นสาย และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการคัดเลือกที่สุด จึงจัดการให้มีการสอบการคัดเลือกขุนนาง ซึ่งในภาษาไทยเรียกติดปากว่า “สอบจอหงวน”
5. งั้นตกลงสอบจอหงวน เขาสอบอะไรกัน?
มีการสอบหลายสาขา หลายวิชาค่ะ โดยครอบคลุมสรรพศาสตร์ในการบริหารการปกครอง รวมไปถึงการสอบวัฒนธรรม ประเพณีตามลัทธิขงจื้อ เช่น ยุทธศาสตร์ทางทหาร กฎหมาย ภูมิศาสตร์ ปรัชญาขงจื้อ คณิตศาสตร์ ขี่ม้า ฯลฯ ซึ่งการสอบกินเวลาตั้งแต่ 1-3 วันขึ้นกับแต่ละราชวงศ์
ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นข้อสอบข้อเขียน ต้องเขียนเอาทุกอย่าง และต้องขีดให้ถูกต้องตามตัวอักษรจีนไม่งั้นก็นับว่าตก TT
6. สอบจอหงวน เค้าสอบกันบ่อยแค่ไหน?
แต่ละราชวงศ์จะมีช่วงระยะเวลาในการกำหนดสอบไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดสอบตั้งแต่สนามเล็กไปยังสนามใหญ่ สนามสุดท้ายคือสนามสอบหน้าพระที่นั่ง คือสอบในพระราชวังกู้กงเลย ในบางราชวงศ์ฮ่องเต้มาคุมสอบเองด้วย โดยผู้เข้าสอบที่มีสิทธิ์ไปสอบในสนามสุดท้ายต้องสอบผ่านด่านแต่ละสนามมาก่อน
โดยเริ่มจาก 童试 [tóng shì] (ถงซื่อ) คือการสอบระดับท้องถิ่น จากนั้นก็เป็นการสอบ 乡试 [xiāngshì] (เซียงซื่อ) สอบระดับจังหวัดตามเมืองเอกของแต่ละมณฑล ต่อด้วย 会试 [huìshì] (หุ้ยซื่อ) สอบระดับประเทศ และสุดท้ายคือ 殿试 [diànshì] (เตี้ยนซื่อ) การสอบหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเป็นสนามสุดท้าย คนที่สอบได้คะแนนสูงสุดจึงเรียกว่า “จอหงวน” หรือ 状元 นั่นเอง
ซึ่งการสอบแต่ละสนามจะมีการกำหนดจำนวนผู้สอบผ่านไว้ เช่น ในการสอบระดับประเทศกำหนดให้มีผู้ผ่านการคัดเลือกได้ 300 คน ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนต้องใช้เวลาหลายปีถึงจะสอบผ่าน มีหนังสือเล่าถึงเรื่องการสอบจอหงวนอันหฤโหดด้วยค่ะ เล่าว่ามีคนใช้เวลาถึงอายุ 40 ปีถึงสอบจอหงวนได้ แต่ก็ดีใจจนเป็นบ้า สุดท้ายก็รับรับราชการไม่ได้อีกซะงั้น
เวลาเข้ามาในสนามสอบ คนสอบจะพกอะไรไม่ได้เลย และเพราะว่าการสอบมันกินเวลาเป็นวันหรือหลายวัน ดังนั้นต้องเตรียมเครื่องนอนมาเอง ทำข้อสอบไม่ไหวก็ลงไปนอนแค่นั้น เคยมีเรื่องเล่าว่ามีคนตายระหว่างการสอบด้วยเพราะถือเป็นการสอบที่เหนื่อย หนัก และกดดันแบบสุดๆ ไปเลย
และเพราะใครๆ ก็อยากเป็นจอหงวน ใครๆ ก็อยากยกระดับชีวิต จึงเกิดมีการโกงข้อสอบกันเยอะมาก มีทั้งแอบจดโพยในชุดที่ใส่อยู่ข้างในขนาดเล็กจิ๋ว ซุกกระดาษตามตัว ซุกรองเท้า ฯลฯ พวกนี้มีหลักฐานมาถึงปัจจุบันคือพวกเสื้อผ้าที่มีการจดข้อสอบ จดสูตร จดโพยที่แอบเก็งไว้ อันนี้คือฝั่งผู้สอบ
มาดูฝั่งผู้ตรวจข้อสอบกันบ้าง ก็มีการโกงกันอุตลุดไม่แพ้เหมือนกัน เพราะใครๆ ก็อยากให้ลูกหลานตัวเองสอบได้ หรือรับสินบนมาก็มี จึงมีการคิดค้นการตรวจข้อสอบแบบใหม่ เช่น ไม่ให้เรียกชื่อผู้สอบแต่ให้เรียกเป็นหมายเลขจะได้ไม่รู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร หรือมีการให้เจ้าหน้าที่พนักงานมาลอกกระดาษคำตอบใหม่อีกครั้ง เพื่อไม่ให้ผู้ตรวจข้อสอบจำลายมือได้ เป็นต้นค่ะ
7. จุดสิ้นสุดของการสอบจอหงวน
การสอบจอหงวนมีประวัติศาสตร์การสอบมา 1,300 ปี จนมายุคฮ่องเต้กวังซวี่ 光绪皇帝 [Guāngxù huángdì] ในปี 1905 ก็ยกเลิกการสอบจอหงวนไปเพราะว่าระยะหลังมีการทุจริตการสอบค่อนข้างมาก รวมไปการเก็งข้อสอบว่าต้องสอบยังไงถึงจะผ่าน รวมไปถึงตัวข้อสอบเองก็ไม่ทันกับยุคสมัยนั้นที่เปลี่ยนไปด้วย (เพราะฝรั่งเริ่มเข้ามา วิทยาการสมัยใหม่เริ่มมี) จึงยกเลิกการสอบไปค่ะ
ดูรูปวาด จิตรกรใส่อารมณ์ขันไปในภาพ ผู้เข้าสอบแอบบชำเลืองมอง เหมือนเราตอนเรียนเลยอ่ะ แหน่ะ ต่อหน้าพระพักตร์เลยนะจ๊ะ
จขกท.ว่าแรกเริ่มเดิมทีของการสอบเพื่อคัดเลือกคนเป็นจอหงวนถือเป็นแนวคิดที่ดีนะคะ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่เป็นชาวบ้านร้านตลาดมีสิทธิ์เข้ารับราชการ ไต่เต้าเป็นขุนนางใหญ่โต แต่ก็เพราะผลประโยชน์ที่มากมาย ก็เลยมีการโกง การติดสินบน ทำให้ไม่บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้แต่แรก อย่างนี้แหละเขาถึงว่าระบบดีขนาดไหน แต่ตกอยู่ในมือคนที่ใช้ระบบหรือถือกฏที่มันห่วยแตก โกงกิน ยังไงก็ดีไม่สู้ระบบที่อาจจะห่วยไม่ดีเลิศแต่มีคนดีซื่อสัตย์เป็นคนดูแลนะจ๊ะ
จบแล้วจ้า ถ้าชอบก็บอกกันได้นะจ๊ะ
สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ภาษาจีน เกร็ดจีนสนุกๆ ตามต่อได้ที่ fan page จขกท. นะคะที่
https://www.facebook.com/chinesexpert/
ขอบคุณมากค่ะ
จริงๆ แล้ว “สอบจอหงวน” ไม่ได้เรียกว่าสอบจอหงวนสักหน่อยนะ
หลายคนอาจคิดว่า ว้า! รู้มาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว อ๊ะๆๆ อย่าเพิ่งสิจ๊ะ จะบอกว่าที่เราเห็นหรือได้ยินในหนัง ในละครน่ะ กับเรื่องจริงน่ะมีจุดไม่เหมือนกันอยู่นะ เอาง่ายๆ แค่ชื่อ “สอบจอหงวน” ภาษาจีนจริงๆ ไม่ได้เรียกชื่อแบบนี้ซะหน่อย เรื่องราวจะเป็นยังไง? มาติดตามกันเลยจ้าาา
7 ข้อรู้หรือไม่ เกี่ยวกับ “จอหงวน”
1. ชื่อเรียกการสอบว่า “สอบจอหงวน” ที่เราคุ้นเคยกันดีในจากหนัง จากละคร จริงๆ แล้วไม่ได้เรียกว่าสอบจอหงวนนะ อ่าว! แล้วเรียกว่าอะไร?
จริงๆ แล้วภาษาจีนเรียกการสอบจอหงวนว่า 科举制度 [kējǔzhìdù] (เคอ จวี่ จื้อ ตู้) แปลเป็นไทยว่าระบบการสอบคัดเลือกขุนนาง (เข้ารับราชการ) การสอบแบบนี้จะใช้ในสมัยประเทศจีนยังเป็นระบอบที่มีกษัตริย์ปกครองอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันยกเลิกไปแล้วค่ะ
2. แล้วทำไมถึงเรียกว่า “จอหงวน” ล่ะ?
จริงๆ แล้ว “จอหงวน” เป็นตำแหน่งของคนสอบที่ได้คะแนนการสอบสูงที่สุดค่ะ ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) เข้าใจว่าภาษาไทยเรียกเลียนเสียงมาจากภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “จ่อง้วง” ถือว่าเป็นชื่อเรียกตำแหน่งของคนสอบที่ได้คะแนนสูงสุด (ไม่ใช่ชื่อเรียกตำแหน่งขุนนางในการรับราชการนะ)
และด้วยการสอบจอหงวนมีในประเทศจีนมาอย่างยาวนาน มีมาหลายยุค หลายราชวงศ์ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยกเลิกไปแล้ว แต่ก็ยังอิทธิพลในด้านภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ค่ะ ยกตัวอย่างให้ดูนะคะ เช่น สุภาษิตนี้
独占鳌头 [dúzhàn’áotóu] (ตู๋จ้านอ๋าวโถว) ก่อนจะแปลมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า ในท้องพระโรงของพระราชวังต้องห้ามจะมีประติมากรรมชิ้นหนึ่งเป็นรูปเต่ามังกร ภาษาจีนเรียก 鳌 [áo] (อ๋าว) คนที่สอบได้ “จอหงวน” จะถูกให้ยืนเฝ้าฮ่องเต้หน้ารูปเต่ามังกร จึงเกิดเป็นสำนวนว่า “ยืนหัวเต่ามังกร” หรือ 独占鳌头 ซึ่งสื่อถึงคุณลักษณะของคนเก่งเป็นอันดับ 1
ปัจจุบันสำนวน 独占鳌头 เอามาสื่อความหมายไปถึงคนที่เป็นหัวกะทิในสาขาวิชานั้นๆ เปรียบเป็นสิ่งของหรือสินค้าที่ดีเป็นอันดับ 1 ไม่มีใครเทียบได้ ซึ่งก็เหมือนคนที่สอบได้คะแนนสูงสุดอย่างจอหงวน
我们的产品在市场上独占鳌头。
Wǒmen de chǎnpǐn zài shìchǎng shàng dúzhàn’áotóu.
สินค้าของพวกเราที่ขายในตลาด (ดี) เป็นอันดับ 1
3. แล้วคนที่ได้อันดับ 2 และอันดับ 3 จะเรียกว่าอะไร?
ปกติคนที่สอบได้สูงสุด นับว่าเจ๋งสุดเรียก 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) แต่เดิมอันดับ 2 และ 3 มีศัพท์เฉพาะเหมือนกันเรียกว่า 榜眼 [bǎngyǎn] (ปั๋งเหยี่ยน)
มีที่มาจากการสอบ 1 ครั้งเรียกว่า 一榜 อี้ปั่ง (ขึ้นทะเบียน 1 ครั้ง) คนที่สอบได้คะแนนสูงสุดเรียกว่า 榜首 [bǎngshǒu] (ปั๋งโส่ว) คือหัวหรือสูงสุดของทะเบียน หรือเรียก 状元 [zhuàngyuán] (จ้วงหยวน) ก็ได้ ส่วนอันดับที่ 2 หรือ 3 เรียกเหมือนกันว่า 榜眼 (ปั๋งเหยี่ยน)“ตาของทะเบียน” (เป็นการไล่จากสูงสุด คือหัว แล้วไล่ลงมาเจอลูกตา ก็เลยเรียกเหมารวมคนที่ได้อันดับ 2 หรือ 3 เหมือนกันว่า 榜眼 เพราะคนเราต้องมีลูกตามี 2 ข้างไงล่ะ)
ภายหลังจึงมีการเปลียนการเรียกคนที่สอบได้อันดับ 3 ว่า 探花 [tànhuā] (ทั่นฮวา) ตามชื่อบทกลอนชื่อเดียวกัน ที่ไว้สำหรับต้อนรับ 状元 [zhuàngyuán] ค่ะ
4. ประวัติศาสตร์การสอบจอหงวนเป็นมายังไง? เริ่มมาได้ยังไง?
ระบบการสอบคัดเลือกขุนนางอย่างจอหงวนถือว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,300 ปีเลยนะคะ ถือว่าเป็นครั้งแรกๆที่มีการเปิดโอกาสให้ชาวบ้านคนธรรมดาที่มีความรู้ความสามารถได้สอบเข้าเป็นข้าราชการ เพราะสังคมจีนสมัยก่อนเป็นสังคมศักดินามีการแบ่งคนในสังคมออกเป็นชั้นสูง ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ซึ่งการรับราชการถือว่าเป็นสุดยอดของเกียรติยศและมีโอกาสในการถีบตัวเองขึ้นสู่ชนชั้นสูงต่อไป
สมัยก่อนการคัดเลือกขุนนาง จะคัดมาจากเชื้อสายวงศ์ตระกูลขุนน้ำขุนนางด้วยกัน เช่น พ่อเป็นขุนนางใหญ่โต เป็นใต้เท้า ลูกชายก็มีสิทธิ์เป็นขุนนางได้ด้วย ระบบการคัดเลือกจึงมาจากทางสายเลือด ภาษาจีนเรียก 血缘关系 [xuèyuánguānxì] (เสวี่ยหยวนกวานซี่) เป็นการแนะนำ (จากเชื้อสายตระกูลนั้นนี้) ว่าคนๆ นี้เหมาะสมกับตำแหน่งนั้นนี้ มีขุนนางผู้ใหญ่แบ็คอัพ ภาษายุคปัจจุบันเรียกมีเส้นมีสายมี connection รู้จักผู้ใหญ่ ฯลฯ ตำแหน่งขุนนางจึงตกอยู่ในวงคนชั้นสูงเหมือนกัน ยากที่จะมีคนชั้นกลาง-ล่าง ชาวบ้านร้านตลาดขึ้นไปมีสิทธิ์ (ถึงแม้ว่าจะเก่ง ถึงแม้ว่าฉลาดแค่ไหน)
ระบบอุปถัมภ์ศักดินาแบบนี้ซีเรียสขนาดไหน ก็ขนาดถึงขั้นมีประโยคว่า 上品无寒门 ,下品无世族 [Shàngpǐn wú hánmén, Xiàpǐn wú shìzú] แปลตรงตัวคือ ของระดับ high grade ไม่มีทางมาจากตระกูลชั้นล่าง ของระดับ low grade ไม่มีทางมาจากชนชั้นสูง หมายความว่าถ้าเกิดมาเป็นคนสูงศักดิ์ ตระกูลชั้นสูงตระกูลขุนนาง ก็ไม่ทางตกต่ำไปเป็นคนชั้นล่าง (ไม่ว่าจะประพฤติตัวเฮียๆยังไง??) คนที่เกิดมาในตระกูลต้อยต่ำก็ไม่มีทางไต้เต้าเป็นคนชั้นสูง ก็จำต้องเป็นคนชั้นต่ำต่อไปๆ ทุก generation ด้วยเหตุผลนี้ด้วยจึงเห็นบ่อยๆ ว่าขุนนาง (บางคน) เกเร เลว และภูมิใจอวดรวยในชาติตระกูลตัวเองมาก ว่างั้น
ต่อมาในราชวงศ์สุย ฮ่องเต้สุยเหวินตี้ 隋文帝 [Suí Wéndì] (สุยเหวินตี้) คิดค้นริเริ่มระบบการสอบขุนนางแบบจอหงวนขึ้นมาเป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ วัตถุประสงค์ก็คือคัดเลือกผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยไม่เกี่ยวกับสายเลือดวงศ์ตระกูลและเส้นสาย และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการคัดเลือกที่สุด จึงจัดการให้มีการสอบการคัดเลือกขุนนาง ซึ่งในภาษาไทยเรียกติดปากว่า “สอบจอหงวน”
5. งั้นตกลงสอบจอหงวน เขาสอบอะไรกัน?
มีการสอบหลายสาขา หลายวิชาค่ะ โดยครอบคลุมสรรพศาสตร์ในการบริหารการปกครอง รวมไปถึงการสอบวัฒนธรรม ประเพณีตามลัทธิขงจื้อ เช่น ยุทธศาสตร์ทางทหาร กฎหมาย ภูมิศาสตร์ ปรัชญาขงจื้อ คณิตศาสตร์ ขี่ม้า ฯลฯ ซึ่งการสอบกินเวลาตั้งแต่ 1-3 วันขึ้นกับแต่ละราชวงศ์
ข้อสอบส่วนใหญ่เป็นข้อสอบข้อเขียน ต้องเขียนเอาทุกอย่าง และต้องขีดให้ถูกต้องตามตัวอักษรจีนไม่งั้นก็นับว่าตก TT
6. สอบจอหงวน เค้าสอบกันบ่อยแค่ไหน?
แต่ละราชวงศ์จะมีช่วงระยะเวลาในการกำหนดสอบไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดสอบตั้งแต่สนามเล็กไปยังสนามใหญ่ สนามสุดท้ายคือสนามสอบหน้าพระที่นั่ง คือสอบในพระราชวังกู้กงเลย ในบางราชวงศ์ฮ่องเต้มาคุมสอบเองด้วย โดยผู้เข้าสอบที่มีสิทธิ์ไปสอบในสนามสุดท้ายต้องสอบผ่านด่านแต่ละสนามมาก่อน
โดยเริ่มจาก 童试 [tóng shì] (ถงซื่อ) คือการสอบระดับท้องถิ่น จากนั้นก็เป็นการสอบ 乡试 [xiāngshì] (เซียงซื่อ) สอบระดับจังหวัดตามเมืองเอกของแต่ละมณฑล ต่อด้วย 会试 [huìshì] (หุ้ยซื่อ) สอบระดับประเทศ และสุดท้ายคือ 殿试 [diànshì] (เตี้ยนซื่อ) การสอบหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเป็นสนามสุดท้าย คนที่สอบได้คะแนนสูงสุดจึงเรียกว่า “จอหงวน” หรือ 状元 นั่นเอง
ซึ่งการสอบแต่ละสนามจะมีการกำหนดจำนวนผู้สอบผ่านไว้ เช่น ในการสอบระดับประเทศกำหนดให้มีผู้ผ่านการคัดเลือกได้ 300 คน ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนต้องใช้เวลาหลายปีถึงจะสอบผ่าน มีหนังสือเล่าถึงเรื่องการสอบจอหงวนอันหฤโหดด้วยค่ะ เล่าว่ามีคนใช้เวลาถึงอายุ 40 ปีถึงสอบจอหงวนได้ แต่ก็ดีใจจนเป็นบ้า สุดท้ายก็รับรับราชการไม่ได้อีกซะงั้น
เวลาเข้ามาในสนามสอบ คนสอบจะพกอะไรไม่ได้เลย และเพราะว่าการสอบมันกินเวลาเป็นวันหรือหลายวัน ดังนั้นต้องเตรียมเครื่องนอนมาเอง ทำข้อสอบไม่ไหวก็ลงไปนอนแค่นั้น เคยมีเรื่องเล่าว่ามีคนตายระหว่างการสอบด้วยเพราะถือเป็นการสอบที่เหนื่อย หนัก และกดดันแบบสุดๆ ไปเลย
และเพราะใครๆ ก็อยากเป็นจอหงวน ใครๆ ก็อยากยกระดับชีวิต จึงเกิดมีการโกงข้อสอบกันเยอะมาก มีทั้งแอบจดโพยในชุดที่ใส่อยู่ข้างในขนาดเล็กจิ๋ว ซุกกระดาษตามตัว ซุกรองเท้า ฯลฯ พวกนี้มีหลักฐานมาถึงปัจจุบันคือพวกเสื้อผ้าที่มีการจดข้อสอบ จดสูตร จดโพยที่แอบเก็งไว้ อันนี้คือฝั่งผู้สอบ
มาดูฝั่งผู้ตรวจข้อสอบกันบ้าง ก็มีการโกงกันอุตลุดไม่แพ้เหมือนกัน เพราะใครๆ ก็อยากให้ลูกหลานตัวเองสอบได้ หรือรับสินบนมาก็มี จึงมีการคิดค้นการตรวจข้อสอบแบบใหม่ เช่น ไม่ให้เรียกชื่อผู้สอบแต่ให้เรียกเป็นหมายเลขจะได้ไม่รู้ว่าเป็นลูกเต้าเหล่าใคร หรือมีการให้เจ้าหน้าที่พนักงานมาลอกกระดาษคำตอบใหม่อีกครั้ง เพื่อไม่ให้ผู้ตรวจข้อสอบจำลายมือได้ เป็นต้นค่ะ
7. จุดสิ้นสุดของการสอบจอหงวน
การสอบจอหงวนมีประวัติศาสตร์การสอบมา 1,300 ปี จนมายุคฮ่องเต้กวังซวี่ 光绪皇帝 [Guāngxù huángdì] ในปี 1905 ก็ยกเลิกการสอบจอหงวนไปเพราะว่าระยะหลังมีการทุจริตการสอบค่อนข้างมาก รวมไปการเก็งข้อสอบว่าต้องสอบยังไงถึงจะผ่าน รวมไปถึงตัวข้อสอบเองก็ไม่ทันกับยุคสมัยนั้นที่เปลี่ยนไปด้วย (เพราะฝรั่งเริ่มเข้ามา วิทยาการสมัยใหม่เริ่มมี) จึงยกเลิกการสอบไปค่ะ
ดูรูปวาด จิตรกรใส่อารมณ์ขันไปในภาพ ผู้เข้าสอบแอบบชำเลืองมอง เหมือนเราตอนเรียนเลยอ่ะ แหน่ะ ต่อหน้าพระพักตร์เลยนะจ๊ะ
จขกท.ว่าแรกเริ่มเดิมทีของการสอบเพื่อคัดเลือกคนเป็นจอหงวนถือเป็นแนวคิดที่ดีนะคะ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่เป็นชาวบ้านร้านตลาดมีสิทธิ์เข้ารับราชการ ไต่เต้าเป็นขุนนางใหญ่โต แต่ก็เพราะผลประโยชน์ที่มากมาย ก็เลยมีการโกง การติดสินบน ทำให้ไม่บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้แต่แรก อย่างนี้แหละเขาถึงว่าระบบดีขนาดไหน แต่ตกอยู่ในมือคนที่ใช้ระบบหรือถือกฏที่มันห่วยแตก โกงกิน ยังไงก็ดีไม่สู้ระบบที่อาจจะห่วยไม่ดีเลิศแต่มีคนดีซื่อสัตย์เป็นคนดูแลนะจ๊ะ
จบแล้วจ้า ถ้าชอบก็บอกกันได้นะจ๊ะ
สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องจีนๆ ภาษาจีน เกร็ดจีนสนุกๆ ตามต่อได้ที่ fan page จขกท. นะคะที่ https://www.facebook.com/chinesexpert/
ขอบคุณมากค่ะ