บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ในการวิเคราะห์หุ้นสักตัวเพื่อการลงทุนของผม ผมจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ และอัตราส่วนทางการเงินที่ผมจะให้ความสนใจมากที่สุดนั่นก็คือ “อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น” (Return on Equity) หรือ ที่เราเรียกสั้นๆว่า “ROE” ซึ่งผมก็เชื่อว่านักลงทุนที่เน้นคุณค่าทุกคนจะให้ความสำคัญกับค่า “ROE” นี้อย่างมากเช่นเดียวกัน
ทำไมผมถึงให้ความสนใจกับค่า “ROE” ??
สิ่งที่เราจะต้องไม่ลืมนั่นก็คือการที่เราตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้น ก็คือการที่เรากำลังเข้าไปเป็น “เจ้าของ” ในกิจการนั้นๆ ดังนั้น อัตราส่วนทางการเงินที่สามารถตอบคำถามในความสามารถของคณะผู้บริหารว่ามี “กึ๋น” ในความเป็น “มืออาชีพ” และมี “วิสัยทัศน์” ในการบริหารงานมากน้อยแค่ไหนนั้นก็คือค่า “ROE” เพราะมันเป็นค่าที่จะบอกเราถึง “ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ” ในการนำเงินทุนที่มีอยู่ (ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือเงินของเราเองที่เข้าไปลงทุนด้วย) ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด
ค่า “ROE” ได้มายังไง ??
ROE เป็นค่าได้มาจาก “กำไรสุทธิ” (Net profit) ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ กับ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” (ส่วนของเจ้า(Equity)) ที่อยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงิน โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของอัตราผลตอบแทนเป็นกี่ % กิจการที่ดีควรมีค่า ROE ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป ค่า ROE ยิ่งมากก็จะยิ่งดี แต่ในโลกของความเป็นจริงคงเป็นเรื่องยากที่จะหากิจการที่มีค่า ROE ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกิจการที่มีค่า ROE อยู่ในเกณฑ์สม่ำเสมอต่อเนื่องทุกปีก็จัดว่าเป็นกิจการที่น่าสนใจต่อการลงทุนแล้วครับ
ข้อควรระวังในการใช้ค่า “ROE”
หากเราเปิด “FactSheet” ดูข้อมูลในส่วน “อัตราส่วนทางการเงิน” เราก็จะเห็นค่า ROE ที่ได้สรุปมาเรียบร้อยแล้วตามรูปด้านบน ซึ่งจากรูปด้านบนเมื่อดูแล้วค่า ROE มีค่าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง กิจการนี้ก็น่าจะเป็นกิจการที่น่าสนใจต่อลงทุน แต่ผมไม่อยากให้ด่วนสรุปตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลเพียงเท่านี้ แล้วสรุปว่านี่คือกิจการที่ดี ลองมาดูตัวอย่างต่อไปนี้กันนะครับ
หากดูผลลัพธ์เฉพาะค่า ROE ก็จะเห็นว่า กิจการ B มีค่า ROE ที่สูงกว่า กิจการ A ซึ่งแน่ล่ะครับว่ากิจการที่มีค่า ROE ที่สูงกว่า ย่อมเป็นกิจการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า แต่หากพิจารณาให้ดีกลับพบว่ากิจการ B กลับมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระ ซึ่งเป็นภาระหนี้สินที่มีจำนวนมากกว่าส่วนของเจ้าของ (ทุน) ซะอีก แน่นอนว่ากิจการ B จะประสบปัญหาสภาพคล่องจากภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ในขณะที่กิจการ A กลับไม่มีภาระหนี้สินเลย แถมยังมีส่วนของเจ้าของ (ทุน) มากกว่ากิจการ B หลายเท่าตัวด้วยซ้ำ จึงนับว่าเป็นกิจการที่มีสภาพคล่องสูงมากทีเดียว
ดังนั้น กิจการ A จึงเป็นกิจการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่ากิจการ B แม้ว่ากิจการ A จะมีค่า ROE ที่ต่ำกว่า กิจการ B ก็ตาม ค่า ROE แม้ว่าจะมีความสำคัญแต่ก็ควรจะนำไปใช้อย่างระมัดระวังควรทราบที่มาที่ไปของมันด้วยซึ่งจะทำให้เราตัดสินใจลงทุนได้อย่างไม่ผิดพลาด
วันนี้ผมจะให้การบ้านลองไปหาค่า ROE กันดูนะครับ ผมเชื่อว่าใครที่ได้ลองทำการบ้านคนนั้นจะมีข้อสงสัยอย่างแน่นอน ใครไม่ทำการบ้านก็คงไม่พบข้อสงสัยนั้นหรอกครับ แล้วผมจะมาเฉลยให้ในวันหลังนะครับ
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ลงทุนเน้นคุณค่าด้วย ROE : โดย คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม
ในการวิเคราะห์หุ้นสักตัวเพื่อการลงทุนของผม ผมจะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ และอัตราส่วนทางการเงินที่ผมจะให้ความสนใจมากที่สุดนั่นก็คือ “อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น” (Return on Equity) หรือ ที่เราเรียกสั้นๆว่า “ROE” ซึ่งผมก็เชื่อว่านักลงทุนที่เน้นคุณค่าทุกคนจะให้ความสำคัญกับค่า “ROE” นี้อย่างมากเช่นเดียวกัน
ทำไมผมถึงให้ความสนใจกับค่า “ROE” ??
สิ่งที่เราจะต้องไม่ลืมนั่นก็คือการที่เราตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งนั้น ก็คือการที่เรากำลังเข้าไปเป็น “เจ้าของ” ในกิจการนั้นๆ ดังนั้น อัตราส่วนทางการเงินที่สามารถตอบคำถามในความสามารถของคณะผู้บริหารว่ามี “กึ๋น” ในความเป็น “มืออาชีพ” และมี “วิสัยทัศน์” ในการบริหารงานมากน้อยแค่ไหนนั้นก็คือค่า “ROE” เพราะมันเป็นค่าที่จะบอกเราถึง “ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ” ในการนำเงินทุนที่มีอยู่ (ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือเงินของเราเองที่เข้าไปลงทุนด้วย) ไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมาได้มากน้อยแค่ไหนเพียงใด
ค่า “ROE” ได้มายังไง ??
ROE เป็นค่าได้มาจาก “กำไรสุทธิ” (Net profit) ที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ กับ “ส่วนของผู้ถือหุ้น” (ส่วนของเจ้า(Equity)) ที่อยู่ในงบแสดงฐานะทางการเงิน โดยมีสูตรคำนวณดังนี้
ผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของอัตราผลตอบแทนเป็นกี่ % กิจการที่ดีควรมีค่า ROE ตั้งแต่ 15% ขึ้นไป ค่า ROE ยิ่งมากก็จะยิ่งดี แต่ในโลกของความเป็นจริงคงเป็นเรื่องยากที่จะหากิจการที่มีค่า ROE ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นกิจการที่มีค่า ROE อยู่ในเกณฑ์สม่ำเสมอต่อเนื่องทุกปีก็จัดว่าเป็นกิจการที่น่าสนใจต่อการลงทุนแล้วครับ
ข้อควรระวังในการใช้ค่า “ROE”
หากเราเปิด “FactSheet” ดูข้อมูลในส่วน “อัตราส่วนทางการเงิน” เราก็จะเห็นค่า ROE ที่ได้สรุปมาเรียบร้อยแล้วตามรูปด้านบน ซึ่งจากรูปด้านบนเมื่อดูแล้วค่า ROE มีค่าที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง กิจการนี้ก็น่าจะเป็นกิจการที่น่าสนใจต่อลงทุน แต่ผมไม่อยากให้ด่วนสรุปตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลเพียงเท่านี้ แล้วสรุปว่านี่คือกิจการที่ดี ลองมาดูตัวอย่างต่อไปนี้กันนะครับ
หากดูผลลัพธ์เฉพาะค่า ROE ก็จะเห็นว่า กิจการ B มีค่า ROE ที่สูงกว่า กิจการ A ซึ่งแน่ล่ะครับว่ากิจการที่มีค่า ROE ที่สูงกว่า ย่อมเป็นกิจการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่า แต่หากพิจารณาให้ดีกลับพบว่ากิจการ B กลับมีภาระหนี้สินที่ต้องชำระ ซึ่งเป็นภาระหนี้สินที่มีจำนวนมากกว่าส่วนของเจ้าของ (ทุน) ซะอีก แน่นอนว่ากิจการ B จะประสบปัญหาสภาพคล่องจากภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ในขณะที่กิจการ A กลับไม่มีภาระหนี้สินเลย แถมยังมีส่วนของเจ้าของ (ทุน) มากกว่ากิจการ B หลายเท่าตัวด้วยซ้ำ จึงนับว่าเป็นกิจการที่มีสภาพคล่องสูงมากทีเดียว
ดังนั้น กิจการ A จึงเป็นกิจการที่น่าสนใจลงทุนมากกว่ากิจการ B แม้ว่ากิจการ A จะมีค่า ROE ที่ต่ำกว่า กิจการ B ก็ตาม ค่า ROE แม้ว่าจะมีความสำคัญแต่ก็ควรจะนำไปใช้อย่างระมัดระวังควรทราบที่มาที่ไปของมันด้วยซึ่งจะทำให้เราตัดสินใจลงทุนได้อย่างไม่ผิดพลาด
วันนี้ผมจะให้การบ้านลองไปหาค่า ROE กันดูนะครับ ผมเชื่อว่าใครที่ได้ลองทำการบ้านคนนั้นจะมีข้อสงสัยอย่างแน่นอน ใครไม่ทำการบ้านก็คงไม่พบข้อสงสัยนั้นหรอกครับ แล้วผมจะมาเฉลยให้ในวันหลังนะครับ
ขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาติดตาม หากไม่รังเกียจกรุณาช่วยกด Like facebook หรือช่วยแชร์ ส่งต่อสิ่งดีๆเหล่านี้ให้กับสังคมด้วยนะครับ และขอเชิญมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของแฟนเพจ..สังคมเล็กๆที่อบอุ่น เพื่อเป็นกำลังใจในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆคืนให้กับสังคมต่อไป.
บทความโดย : คุณชายมะนาว..กับหุ้นสายสีลม