ตอนที่ทุกท่านเลือกหุ้นท่านดูอัตราส่วนทางการเงินอะไรกันบ้างครับ
หลายท่านอาจจะตอบว่า ROA ROE P/E P/B หรือตัววัดทางการเงินอื่น ๆ
ก็ไม่ผิดหรอกครับ ที่เราจะดูตัววัดหลาย ๆ ตัวไปพร้อม ๆ กัน
แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ
บางครั้งตัววัดหลาย ๆ ตัวเหล่านั้น มันมีความสอดคล้องกันอย่างมาก
ทำให้ข้อมูลใหม่ที่ได้มา บางทีมันไม่ได้มีประโยชน์มากขึ้นสักเท่าไรเลย !!!
ยกตัวอย่างนะครับ
สมมุติว่าเราดูอัตราส่วนทางการเงินคือ Return on Asset (ROA) ซึ่งคือผลตอบแทนที่ได้เทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วเราพบว่ามีค่าสูง น่าสนใจทีเดียว
คราวนี้เพื่อที่จะให้เราตัดสินใจได้ง่ายหน่อย เราก็เลยไปหาข้อมูลตัววัดอื่น ๆ มา
แล้วเราก็พบว่าค่า Return on Equity (ROE) ของบริษัทนี้ก็มีค่าสูงเช่นกัน
ว้าว ถ้าอย่างนี้บริษัทนี้ก็น่าจะดีจริง ๆ
....
....
แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้มากนัก
จริง ๆ ถ้า ROA มันสูงแล้ว ROE มันก็ต้องสูงตามอยู่แล้ว
หรือหมายความว่า ข้อมูล ROE ที่ได้มาใหม่นี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเพิ่มเติมมากมายเลย
แต่หลายท่านกลับมองเห็นว่าข้อมูลใหม่ที่ได้มานั้น มีประโยชน์เพิ่มเติมมาก
ถ้าท่านรู้สึกเช่นนั้น ท่านกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า Illusion of validity แล้วล่ะครับ
ในปี 2004, Meredith Frey และ Douglas Detterman นักวิจัยจาก Case Western Reserve University ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบความสัมพันธ์ระดับสูง ระหว่างคะแนนสอบ SAT กับคะแนนการวัดระดับ IQ
คราวนี้ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมากที่ทำการรับสมัครพนักงานที่ส่วนใหญ่ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งโดยปกติคนจะเข้าไปเรียนได้นั้นก็ต้องมีคะแนน SAT สูงอยู่แล้ว
แต่ถึงกระนั้น...
ในกระบวนการรับสมัครนั้น ก็ยังให้พนักงานทดสอบเพื่อวัดค่า IQ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ถ้า SAT สูง
ค่า IQ มันก็มักจะสูงตามอยู่แล้ว !!!
หรือพูดง่าย ๆ คือข้อมูลใหม่ที่ได้จากค่า IQ ไม่ได้ช่วยให้การตัดสินใจทำได้ดีขึ้นเลย !!!
ถ้างั้น เวลาเลือกหุ้นก็ระวังดี ๆ นะครับ เตือนตัวเองสักหน่อยก็ดี ว่าข้อมูลที่ได้มาใหม่นี้
มีประโยชน์มากขึ้นอย่างชัดเจนหรือเปล่า
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่
https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/
ความลำเอียงในการตัดสินใจลงทุน: ข้อมูลใหม่ น่าสนใจมาก (Illusion of validity)
หลายท่านอาจจะตอบว่า ROA ROE P/E P/B หรือตัววัดทางการเงินอื่น ๆ
ก็ไม่ผิดหรอกครับ ที่เราจะดูตัววัดหลาย ๆ ตัวไปพร้อม ๆ กัน
แต่สิ่งที่อยากจะบอกคือ
บางครั้งตัววัดหลาย ๆ ตัวเหล่านั้น มันมีความสอดคล้องกันอย่างมาก
ทำให้ข้อมูลใหม่ที่ได้มา บางทีมันไม่ได้มีประโยชน์มากขึ้นสักเท่าไรเลย !!!
ยกตัวอย่างนะครับ
สมมุติว่าเราดูอัตราส่วนทางการเงินคือ Return on Asset (ROA) ซึ่งคือผลตอบแทนที่ได้เทียบกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วเราพบว่ามีค่าสูง น่าสนใจทีเดียว
คราวนี้เพื่อที่จะให้เราตัดสินใจได้ง่ายหน่อย เราก็เลยไปหาข้อมูลตัววัดอื่น ๆ มา
แล้วเราก็พบว่าค่า Return on Equity (ROE) ของบริษัทนี้ก็มีค่าสูงเช่นกัน
ว้าว ถ้าอย่างนี้บริษัทนี้ก็น่าจะดีจริง ๆ
....
....
แต่เดี๋ยวก่อนนะครับ บริษัทนี้เป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้มากนัก
จริง ๆ ถ้า ROA มันสูงแล้ว ROE มันก็ต้องสูงตามอยู่แล้ว
หรือหมายความว่า ข้อมูล ROE ที่ได้มาใหม่นี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเพิ่มเติมมากมายเลย
แต่หลายท่านกลับมองเห็นว่าข้อมูลใหม่ที่ได้มานั้น มีประโยชน์เพิ่มเติมมาก
ถ้าท่านรู้สึกเช่นนั้น ท่านกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า Illusion of validity แล้วล่ะครับ
ในปี 2004, Meredith Frey และ Douglas Detterman นักวิจัยจาก Case Western Reserve University ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบความสัมพันธ์ระดับสูง ระหว่างคะแนนสอบ SAT กับคะแนนการวัดระดับ IQ
คราวนี้ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่จำนวนมากที่ทำการรับสมัครพนักงานที่ส่วนใหญ่ก็จบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ ซึ่งโดยปกติคนจะเข้าไปเรียนได้นั้นก็ต้องมีคะแนน SAT สูงอยู่แล้ว
แต่ถึงกระนั้น...
ในกระบวนการรับสมัครนั้น ก็ยังให้พนักงานทดสอบเพื่อวัดค่า IQ ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ ถ้า SAT สูง
ค่า IQ มันก็มักจะสูงตามอยู่แล้ว !!!
หรือพูดง่าย ๆ คือข้อมูลใหม่ที่ได้จากค่า IQ ไม่ได้ช่วยให้การตัดสินใจทำได้ดีขึ้นเลย !!!
ถ้างั้น เวลาเลือกหุ้นก็ระวังดี ๆ นะครับ เตือนตัวเองสักหน่อยก็ดี ว่าข้อมูลที่ได้มาใหม่นี้
มีประโยชน์มากขึ้นอย่างชัดเจนหรือเปล่า
ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ เกี่ยวกับความลำเอียงในการตัดสินใจได้ที่ https://www.facebook.com/DataAnalysisforDecisionMaking/