หากใครได้ดูซีรีส์จีนโดยเฉพาะซีรีส์เกี่ยวกับราชสำนักในรั้วในวังสมัยราชวงศ์ชิงหรือแมนจูด้วยเสียงภาษาจีน จะต้องมีคำๆ หนึ่งที่ทุกคนอาจได้ยินกันอยู่บ่อยๆ เวลาเรียกตัวละครหญิงที่เป็นเชื้อพระวงศ์ นั่นก็คือคำว่า "เก๋อเก๋อ" ที่เห็นโดยมากนั้นมักใช้เรียกพระธิดาของฮ่องเต้หรือเรียกพระธิดาในท่านอ๋อง แต่บางเรื่องก็ใช้เรียกหญิงสาวที่ไม่ได้เป็นเชื้อพระวงศ์เลยก็มีเช่นกัน เก๋อเก๋อมีความหมายถึงอย่างไรกันแน่ เดี๋ยวในกระทู้นี้เราจะมาดูกันค่ะ
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องเก๋อเก๋อ จขกท. ขอแนะนำให้เพื่อนๆ อ่านดูรายละเอียด
ระดับขั้นเชื้อพระวงศ์และนางในสมัยราชวงศ์ชิง ควบคู่กับเนื้อหาในกระทู้นี้ก็ดีนะคะ เพื่อที่จะได้ไม่งงเรื่องตำแหน่งต่างๆ และเข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น >w<
ความหมายเดิมของ "เก๋อเก๋อ"
"เก๋อเก๋อ" (格格) เป็นคำในภาษาแมนจู ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาจีนฮั่นแล้วจะได้ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า
แม่นาง (姑娘) คุณหนู หรือคุณผู้หญิง (小姐) ในบางบริบทก็สามารถมีความหมายถึงพี่สาว (姐姐) ได้อีกหนึ่งความหมาย โดยเป็นคำที่ชาวแมนจูแต่เดิมใช้เรียกสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงานอย่างสุภาพ คล้ายๆ คำว่าเลดี้ (Lady) หรือมิส (Miss) ในภาษาอังกฤษ "เก๋อเก๋อ" เป็นคำที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นสตรีที่มีฐานะสูงส่งหรือต่ำต้อย ร่ำรวยหรือยากจน ดังนั้นสำหรับชาวแมนจูตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงช่วงสมัยก่อตั้งรัฐแมนจูและตั้งตนเป็นข่าน (大汗) ของหนูเอ่อร์ฮาชื่อหรือจักรพรรดิชิงไท่จู่ ไม่ว่าจะเป็นองค์หญิงซึ่งเป็นพระธิดาของข่านรัฐแมนจู ธิดาของชนชั้นสูงชาวแมนจูหรือชนเผ่าอื่น รวมถึงสตรีธรรมดาทั่วไปที่ยังไม่ได้แต่งงานก็สามารถได้รับการเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้ทั้งสิ้น
เช่น เสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮา สกุลปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ พระมารดาของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ในช่วงก่อนอภิเษกเป็นพระชายารองในหวงไท่จี๋ พระโอรสองค์ที่แปดของหนูเอ่อร์ฮาชื่อ ได้มีการจดบันทึกนามของพระนางเอาไว้ว่า ปู้มู่ปู้ไท่เก๋อเก๋อ หรือเคอเอ่อร์ชิ่นเก๋อเก๋อ ธิดาของจ้ายซางเป้ยเล่อ ผู้นำเผ่าย่อยเคอเอ่อร์ชิ่นแห่งชนเผ่ามองโกล (เป้ยเล่อในที่นี้เป็นคำเรียกผู้นำเผ่าย่อยในภาษาแมนจู) โดย "เก๋อเก๋อ" ที่กล่าวข้างต้นนี้มีความหมายถึงแม่นางหรือคุณหนูนั่นเอง หลังจากหวงไท่จี๋ขึ้นเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ชิง ปู้มู่ปู้ไท่เก๋อเก๋อก็ได้รับแต่งตั้งเป็นจวงเฟยแห่งตำหนักหย่งฝู ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิซุ่นจื้อ จึงมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮา และขึ้นเป็นไทฮองไทเฮาในสมัยจักรพรรดิคังซีตามลำดับ (จากเรื่อง 大玉兒傳奇)
อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น ซูหมาหล่ากู นางกำนัลรับใช้คนสนิทของเสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮา ซึ่งติดตามรับใช้พระนางมาตั้งแต่ก่อนอภิเษกเข้าวัง นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นแม่นมผู้อบรมเลี้ยงดูจักรพรรดิซุ่นจื้อและจักรพรรดิคังซีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับความเคารพและสนิทสนมใกล้ชิดเป็นอย่างมาก จากบันทึกประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า เสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮาทรงรักซูหมาหล่ากูเหมือนพี่น้องแท้ๆ และเรียกนางว่า เก๋อเก๋อ ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึงพี่สาว ซูหมาหล่ากูมีอายุยืนยาวถึง 90 ปี และได้รับการจัดพิธีศพเทียบเท่าพระสนมเอกขั้นผินตามพระบัญชาของจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 山河戀·美人無淚)
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า "เก๋อเก๋อ" แต่เดิมนั้นใช้เรียกสตรีได้ทุกชนชั้น พระธิดาองค์โตและองค์รองของข่านหนูเอ่อร์ฮาชื่อก็เช่นเดียวกัน ทั้งสองทรงได้รับการบันทึกพระนามไว้ว่า ตงกั่วเก๋อเก๋อและเนิ่นเจ๋อเก๋อเก๋อ ในบางครั้งถึงแม้จะเป็นสตรีที่แต่งงานแล้ว ก็ยังสามารถเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้เช่นกัน นอกจากนี้สำหรับชาวแมนจู คำว่า "เก๋อเก๋อ" ยังใช้
เป็นคำที่ผู้อาวุโสกว่าเรียกหญิงสาวที่อายุน้อยกว่าด้วยความเอ็นดูได้อีกด้วย ให้ความหมายประมาณ ยัยหนูคนนี้ หรือแม่หนูคนนี้ ซึ่งมักใช้เรียกกันภายในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่
คำต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษาต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปตามกาลเวลา "เก๋อเก๋อ" ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคำอื่นๆ ที่ความหมายและการใช้งานได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม จากความหมายดั้งเดิม ก็แตกออกไปจนสื่อได้หลายความหมาย จากที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น ก็มีการกำหนดสถานะของสตรีที่สามารถเรียกได้ หากเริ่มดูตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ชิงเป็นต้นไป "เก๋อเก๋อ" สามารถสื่อถึงความหมายใหม่ที่แตกต่างกันออกไปได้ดังต่อไปนี้
"เก๋อเก๋อ" กับเชื้อพระวงศ์หญิง
หลังจากหวงไท่จี๋ครองราชย์เป็นจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงในปีแรก ก็ได้เริ่มกำหนดคำเรียกและตำแหน่งสำหรับพระธิดาในองค์จักพรรดิตามแบบราชวงศ์หมิง ด้วยการเรียกพระธิดาในองค์จักพรรดิว่า กงจู่ (公主) โดยแบ่งออกเป็น 2 ตำแหน่ง ได้แก่ กู้หลุนกงจู่ (固倫公主) สำหรับพระธิดาที่เกิดแต่จักรพรรดินี และเหอซั่วกงจู่ (和碩公主) สำหรับพระธิดาที่เกิดแต่พระชายาและพระสนม ในช่วงรัชสมัยต่อมาของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ก็ได้
กำหนดคำเรียกและตำแหน่งสำหรับเชื้อพระวงศ์หญิง โดยใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อตำแหน่ง โดยแบ่งออกได้ดังนี้
1. เหอซั่วเก๋อเก๋อ (和碩格格) หรือ "จวิ้นจู่" (郡主) สำหรับพระธิดาในชินอ๋องกับพระชายาเอก
2. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)
[1] หรือ "เสี้ยนจู่" (縣主) สำหรับพระธิดาในจวิ้นอ๋องหรือซื่อจื่อกับพระชายาเอก
3. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)
[2] หรือ "จวิ้นจวิน" (郡君) สำหรับธิดาในชินอ๋องกับพระชายารอง ธิดาในจ๋างจื่อหรือเป้ยเล่อร์กับชายาเอก
4. กู่ซานเก๋อเก๋อ (固山格格) หรือ "เสี้ยนจวิน" (縣君) สำหรับธิดาในจวิ้นอ๋องหรือซื่อจื่อกับพระชายารอง และธิดาในเป้ยจื่อกับชายาเอก
5. กงเก๋อเก๋อ (公格格) หรือ "เซียงจวิน" (鄉君) สำหรับธิดาในจ๋างจื่อหรือเป้ยเล่อร์กับชายารอง และธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายาเอก
นอกจากนี้ยังมีอู๋ผิ่นเก๋อเก๋อ (五品格格) สำหรับธิดาในเป้ยจื่อกับชายารอง และ ลิ่วผิ่นเก๋อเก๋อ (六品格格) สำหรับธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายารอง ธิดาในหรู้ปาเฟินกง (入八分公) หรือแปดเชื้อพระวงศ์ชายชั้นสูงเหล่านี้ไม่ว่าจะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งแล้วหรือไม่ ต่างก็กำหนดให้เรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้ทั้งหมด ซึ่ง
ในที่นี้มีความหมายถึง องค์หญิงหรือท่านหญิงที่เป็นเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นสูง เช่น ฉิงเอ๋อร์ ในเรื่อง 《新還珠格格》 หรือองค์หญิงกำมะลอ ได้รับการเรียกว่า ฉิงเก๋อเก๋อ นั่นก็เพราะว่าเป็นพระธิดาในยวี่ชินอ๋องกับพระชายาเอก ถือว่าเทียบเท่าตำแหน่งเหอซั่วเก๋อเก๋อหรือจวิ้นจู่นั่นเอง
ตำแหน่งเก๋อเก๋อดังที่กล่าวนี้ นอกจากใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงของต้าชิงแล้ว ยังใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงทางฝั่งมองโกลด้วย ด้วยในสมัยราชวงศ์ชิงจักรพรรดิทุกพระองค์นั้นมีฐานะเป็นข่านปกครองชนเผ่ามองโกล ถึงแม้ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์มองโกลจะแตกต่างจากทางต้าชิงอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความใกล้เคียงกันโดยเฉพาะตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ดังนั้น "เก๋อเก๋อ" ที่สื่อความหมายถึงท่านหญิง ก็สามารถใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นสูงทางฝั่งมองโกลได้เช่นกัน เช่น ซูหวานกวาเอ่อร์เจีย
·หมินหมิ่น ในเรื่อง 《步步驚心》 หรือปู้ปู้จิงซิน เนื่องจากเป็นพระธิดาในท่านอ๋องซูหวานกวาเอ่อร์เจียแห่งมองโกล จึงได้รับการเรียกว่า หมินหมิ่นเก๋อเก๋อ หรือหมินหมิ่นจวิ้นจู่
จะเห็นได้ว่าในสมัยราชวงศ์ชิงได้มีการแยกคำเรียกและตำแหน่งระหว่างพระธิดาของจักรพรรดิและพระธิดาของเชื้อพระวงศ์อย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้น แต่ก็มีซีรีส์จีนอยู่หลายเรื่องที่ใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" เรียกองค์หญิงที่เป็นพระธิดาของฮ่องเต้ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเรียก "กงจู่" ถึงจะถูกต้อง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเรียกองค์หญิงว่า "เก๋อเก๋อ" ไม่ได้เสียทีเดียว เพียงแต่จะเรียกได้เฉพาะคนในครอบครัวอย่างพระบิดา พระมารดา หรือบรรดาพี่น้องขององค์หญิงเท่านั้น โดยเรียกตามลำดับการประสูติ เช่น ชีเก๋อเก๋อ (七格格, องค์หญิงเจ็ด) สือซานเก๋อเก๋อ (十三格格, องค์หญิงสิบสาม) ในขณะที่ผู้อื่นจะต้องเรียกเป็น ชีกงจู่ (七公主) สือซานกงจู่ (十三公主) เท่านั้น เป็นต้น ความหมายของ "เก๋อเก๋อ" ตรงจุดนี้จะค่อนข้างใกล้เคียงกับหนึ่งในความหมายเดิมที่คนในครอบครัวใช้เป็นคำเรียกหญิงสาวด้วยความเอ็นดูอย่างที่อธิบายเอาไว้ก่อนหน้านี้ค่ะ
"เก๋อเก๋อ" กับพระภรรยาในจักรพรรดิ
ถึงแม้ว่าความหมายของคำว่า "เก๋อเก๋อ" จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์ชิง แต่ที่จริงแล้วชาวแมนจูบางกลุ่มก็ได้เริ่มมีการใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" ในความหมายอื่นมาตั้งแต่ก่อนช่วงบุกเข้าด่านยึดครองจีน โดยปกติภรรยาของชนชั้นสูงชาวแมนจูจะเรียกโดยรวมว่า ฝูจิ้น (福晉) ไม่ว่าจะเป็นภรรยาเอกหรือภรรยารองและไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม แต่สำหรับอนุภรรยาที่ฐานะต่ำกว่านั้นจะนิยมเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" แทน ซึ่งค่านิยมนี้ก็ยังคงมีการใช้อยู่เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ชิง
ในช่วงแรกๆ ระเบียบตำแหน่งของวังฝ่ายในยังไม่เรียบร้อยนัก คำเรียกหรือตำแหน่งต่างๆ ของพระภรรยาในจักรพรรดิจึงมีการสืบทอดค่านิยมเดิมมาใช้บางส่วน ฝ่ายในช่วงต้นราชวงศ์ชิงหลักๆ สามารถแบ่งได้ 3 ขั้น คือ ฮองเฮา (皇后) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด ขั้นรองลงมาคือตำแหน่งเฟย (妃) ส่วนขั้นต่ำสุดนั้นเรียกรวมว่า ซู่เฟย (庶妃) ซึ่งเป็นพระสนมไม่มีตำแหน่ง ต่างจากฮองเฮาและเฟยที่เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซู่เฟยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ฝูจิ้น ซึ่งเป็นพระสนมระดับต่ำที่ได้ให้กำเนิดพระโอรสหรือพระธิดาแก่องค์จักรพรรดิ และเก๋อเก๋อ ที่เป็นพระสนมระดับต่ำธรรมดาทั่วไป ดังนั้นคำว่า "เก๋อเก๋อ" สำหรับฝ่ายในของจักรพรรดิ ไม่ได้หมายถึงท่านหญิงที่ถวายตัวเป็นพระสนม แต่
เป็นคำเรียกที่หมายถึงพระสนมชั้นล่างของจักรพรรดิ
เช่น ฉือเหอฮองไทเฮา สกุลถงเจีย พระมารดาของจักรพรรดิคังซี เมื่อแรกเข้าวังมีฐานะเป็นเก๋อเก๋อในจักรพรรดิซุ่นจื้อ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นคังเฟย ภายหลังเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิคังซี จึงได้ขึ้นเป็นฉือเหอฮองไทเฮา และหลังจากสวรรคตทรงได้รับสถาปนาเป็นเสี้ยวคังจางฮองเฮา (จากเรื่อง 多情江山)
การเรียกพระสนมชั้นล่างด้วยคำว่า "เก๋อเก๋อ" ปรากฏเพียงในช่วงต้นราชวงศ์ชิงสองรัชสมัยแรกเท่านั้น นั่นก็คือสมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋และจักรพรรดิซุ่นจื้อ หลังจากที่ระเบียบตำแหน่งฝ่ายในของราชวงศ์ชิงเสร็จเรียบร้อยในสมัยจักรพรรดิคังซี การเรียกแบบนี้ก็ค่อยๆ ยกเลิกไปไม่ปรากฏขึ้นอีก
[SP] คำว่า "เก๋อเก๋อ" ในสมัยราชวงศ์ชิงหมายถึงอะไรได้บ้าง? มาดูกันค่ะ
ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องเก๋อเก๋อ จขกท. ขอแนะนำให้เพื่อนๆ อ่านดูรายละเอียดระดับขั้นเชื้อพระวงศ์และนางในสมัยราชวงศ์ชิง ควบคู่กับเนื้อหาในกระทู้นี้ก็ดีนะคะ เพื่อที่จะได้ไม่งงเรื่องตำแหน่งต่างๆ และเข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น >w<
ความหมายเดิมของ "เก๋อเก๋อ"
"เก๋อเก๋อ" (格格) เป็นคำในภาษาแมนจู ซึ่งเมื่อแปลเป็นภาษาจีนฮั่นแล้วจะได้ความหมายใกล้เคียงกับคำว่า แม่นาง (姑娘) คุณหนู หรือคุณผู้หญิง (小姐) ในบางบริบทก็สามารถมีความหมายถึงพี่สาว (姐姐) ได้อีกหนึ่งความหมาย โดยเป็นคำที่ชาวแมนจูแต่เดิมใช้เรียกสตรีที่ยังไม่ได้แต่งงานอย่างสุภาพ คล้ายๆ คำว่าเลดี้ (Lady) หรือมิส (Miss) ในภาษาอังกฤษ "เก๋อเก๋อ" เป็นคำที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น ไม่ว่าจะเป็นสตรีที่มีฐานะสูงส่งหรือต่ำต้อย ร่ำรวยหรือยากจน ดังนั้นสำหรับชาวแมนจูตั้งแต่แรกเริ่มมาจนถึงช่วงสมัยก่อตั้งรัฐแมนจูและตั้งตนเป็นข่าน (大汗) ของหนูเอ่อร์ฮาชื่อหรือจักรพรรดิชิงไท่จู่ ไม่ว่าจะเป็นองค์หญิงซึ่งเป็นพระธิดาของข่านรัฐแมนจู ธิดาของชนชั้นสูงชาวแมนจูหรือชนเผ่าอื่น รวมถึงสตรีธรรมดาทั่วไปที่ยังไม่ได้แต่งงานก็สามารถได้รับการเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้ทั้งสิ้น
เช่น เสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮา สกุลปั๋วเอ่อร์จี้จี๋เท่อ พระมารดาของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ในช่วงก่อนอภิเษกเป็นพระชายารองในหวงไท่จี๋ พระโอรสองค์ที่แปดของหนูเอ่อร์ฮาชื่อ ได้มีการจดบันทึกนามของพระนางเอาไว้ว่า ปู้มู่ปู้ไท่เก๋อเก๋อ หรือเคอเอ่อร์ชิ่นเก๋อเก๋อ ธิดาของจ้ายซางเป้ยเล่อ ผู้นำเผ่าย่อยเคอเอ่อร์ชิ่นแห่งชนเผ่ามองโกล (เป้ยเล่อในที่นี้เป็นคำเรียกผู้นำเผ่าย่อยในภาษาแมนจู) โดย "เก๋อเก๋อ" ที่กล่าวข้างต้นนี้มีความหมายถึงแม่นางหรือคุณหนูนั่นเอง หลังจากหวงไท่จี๋ขึ้นเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์ชิง ปู้มู่ปู้ไท่เก๋อเก๋อก็ได้รับแต่งตั้งเป็นจวงเฟยแห่งตำหนักหย่งฝู ต่อมาเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิซุ่นจื้อ จึงมีตำแหน่งเป็นฮองไทเฮา และขึ้นเป็นไทฮองไทเฮาในสมัยจักรพรรดิคังซีตามลำดับ (จากเรื่อง 大玉兒傳奇)
อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น ซูหมาหล่ากู นางกำนัลรับใช้คนสนิทของเสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮา ซึ่งติดตามรับใช้พระนางมาตั้งแต่ก่อนอภิเษกเข้าวัง นอกจากนี้ยังมีฐานะเป็นแม่นมผู้อบรมเลี้ยงดูจักรพรรดิซุ่นจื้อและจักรพรรดิคังซีตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ได้รับความเคารพและสนิทสนมใกล้ชิดเป็นอย่างมาก จากบันทึกประวัติศาสตร์กล่าวไว้ว่า เสี้ยวจวงเหวินไทฮองไทเฮาทรงรักซูหมาหล่ากูเหมือนพี่น้องแท้ๆ และเรียกนางว่า เก๋อเก๋อ ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึงพี่สาว ซูหมาหล่ากูมีอายุยืนยาวถึง 90 ปี และได้รับการจัดพิธีศพเทียบเท่าพระสนมเอกขั้นผินตามพระบัญชาของจักรพรรดิคังซี (จากเรื่อง 山河戀·美人無淚)
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า "เก๋อเก๋อ" แต่เดิมนั้นใช้เรียกสตรีได้ทุกชนชั้น พระธิดาองค์โตและองค์รองของข่านหนูเอ่อร์ฮาชื่อก็เช่นเดียวกัน ทั้งสองทรงได้รับการบันทึกพระนามไว้ว่า ตงกั่วเก๋อเก๋อและเนิ่นเจ๋อเก๋อเก๋อ ในบางครั้งถึงแม้จะเป็นสตรีที่แต่งงานแล้ว ก็ยังสามารถเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้เช่นกัน นอกจากนี้สำหรับชาวแมนจู คำว่า "เก๋อเก๋อ" ยังใช้เป็นคำที่ผู้อาวุโสกว่าเรียกหญิงสาวที่อายุน้อยกว่าด้วยความเอ็นดูได้อีกด้วย ให้ความหมายประมาณ ยัยหนูคนนี้ หรือแม่หนูคนนี้ ซึ่งมักใช้เรียกกันภายในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่
คำต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาษาต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปตามกาลเวลา "เก๋อเก๋อ" ก็เป็นเช่นเดียวกันกับคำอื่นๆ ที่ความหมายและการใช้งานได้มีการเปลี่ยนไปจากเดิม จากความหมายดั้งเดิม ก็แตกออกไปจนสื่อได้หลายความหมาย จากที่ใช้ได้กับสตรีทุกชนชั้น ก็มีการกำหนดสถานะของสตรีที่สามารถเรียกได้ หากเริ่มดูตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ชิงเป็นต้นไป "เก๋อเก๋อ" สามารถสื่อถึงความหมายใหม่ที่แตกต่างกันออกไปได้ดังต่อไปนี้
"เก๋อเก๋อ" กับเชื้อพระวงศ์หญิง
หลังจากหวงไท่จี๋ครองราชย์เป็นจักรพรรดิของราชวงศ์ชิงในปีแรก ก็ได้เริ่มกำหนดคำเรียกและตำแหน่งสำหรับพระธิดาในองค์จักพรรดิตามแบบราชวงศ์หมิง ด้วยการเรียกพระธิดาในองค์จักพรรดิว่า กงจู่ (公主) โดยแบ่งออกเป็น 2 ตำแหน่ง ได้แก่ กู้หลุนกงจู่ (固倫公主) สำหรับพระธิดาที่เกิดแต่จักรพรรดินี และเหอซั่วกงจู่ (和碩公主) สำหรับพระธิดาที่เกิดแต่พระชายาและพระสนม ในช่วงรัชสมัยต่อมาของจักรพรรดิซุ่นจื้อ ก็ได้กำหนดคำเรียกและตำแหน่งสำหรับเชื้อพระวงศ์หญิง โดยใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" เป็นส่วนหนึ่งของชื่อตำแหน่ง โดยแบ่งออกได้ดังนี้
1. เหอซั่วเก๋อเก๋อ (和碩格格) หรือ "จวิ้นจู่" (郡主) สำหรับพระธิดาในชินอ๋องกับพระชายาเอก
2. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)[1] หรือ "เสี้ยนจู่" (縣主) สำหรับพระธิดาในจวิ้นอ๋องหรือซื่อจื่อกับพระชายาเอก
3. ตัวหลัวเก๋อเก๋อ (多羅格格)[2] หรือ "จวิ้นจวิน" (郡君) สำหรับธิดาในชินอ๋องกับพระชายารอง ธิดาในจ๋างจื่อหรือเป้ยเล่อร์กับชายาเอก
4. กู่ซานเก๋อเก๋อ (固山格格) หรือ "เสี้ยนจวิน" (縣君) สำหรับธิดาในจวิ้นอ๋องหรือซื่อจื่อกับพระชายารอง และธิดาในเป้ยจื่อกับชายาเอก
5. กงเก๋อเก๋อ (公格格) หรือ "เซียงจวิน" (鄉君) สำหรับธิดาในจ๋างจื่อหรือเป้ยเล่อร์กับชายารอง และธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายาเอก
นอกจากนี้ยังมีอู๋ผิ่นเก๋อเก๋อ (五品格格) สำหรับธิดาในเป้ยจื่อกับชายารอง และ ลิ่วผิ่นเก๋อเก๋อ (六品格格) สำหรับธิดาในเจิ้งกั๋วกงหรือฝู่กั๋วกงกับชายารอง ธิดาในหรู้ปาเฟินกง (入八分公) หรือแปดเชื้อพระวงศ์ชายชั้นสูงเหล่านี้ไม่ว่าจะได้รับแต่งตั้งตำแหน่งแล้วหรือไม่ ต่างก็กำหนดให้เรียกว่า "เก๋อเก๋อ" ได้ทั้งหมด ซึ่งในที่นี้มีความหมายถึง องค์หญิงหรือท่านหญิงที่เป็นเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นสูง เช่น ฉิงเอ๋อร์ ในเรื่อง 《新還珠格格》 หรือองค์หญิงกำมะลอ ได้รับการเรียกว่า ฉิงเก๋อเก๋อ นั่นก็เพราะว่าเป็นพระธิดาในยวี่ชินอ๋องกับพระชายาเอก ถือว่าเทียบเท่าตำแหน่งเหอซั่วเก๋อเก๋อหรือจวิ้นจู่นั่นเอง
ตำแหน่งเก๋อเก๋อดังที่กล่าวนี้ นอกจากใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงของต้าชิงแล้ว ยังใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงทางฝั่งมองโกลด้วย ด้วยในสมัยราชวงศ์ชิงจักรพรรดิทุกพระองค์นั้นมีฐานะเป็นข่านปกครองชนเผ่ามองโกล ถึงแม้ตำแหน่งเชื้อพระวงศ์มองโกลจะแตกต่างจากทางต้าชิงอยู่บ้าง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมีความใกล้เคียงกันโดยเฉพาะตำแหน่งเชื้อพระวงศ์ชั้นสูง ดังนั้น "เก๋อเก๋อ" ที่สื่อความหมายถึงท่านหญิง ก็สามารถใช้กับเชื้อพระวงศ์หญิงชั้นสูงทางฝั่งมองโกลได้เช่นกัน เช่น ซูหวานกวาเอ่อร์เจีย·หมินหมิ่น ในเรื่อง 《步步驚心》 หรือปู้ปู้จิงซิน เนื่องจากเป็นพระธิดาในท่านอ๋องซูหวานกวาเอ่อร์เจียแห่งมองโกล จึงได้รับการเรียกว่า หมินหมิ่นเก๋อเก๋อ หรือหมินหมิ่นจวิ้นจู่
จะเห็นได้ว่าในสมัยราชวงศ์ชิงได้มีการแยกคำเรียกและตำแหน่งระหว่างพระธิดาของจักรพรรดิและพระธิดาของเชื้อพระวงศ์อย่างชัดเจนมาตั้งแต่ต้น แต่ก็มีซีรีส์จีนอยู่หลายเรื่องที่ใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" เรียกองค์หญิงที่เป็นพระธิดาของฮ่องเต้ ซึ่งจริงๆ แล้วควรเรียก "กงจู่" ถึงจะถูกต้อง แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเรียกองค์หญิงว่า "เก๋อเก๋อ" ไม่ได้เสียทีเดียว เพียงแต่จะเรียกได้เฉพาะคนในครอบครัวอย่างพระบิดา พระมารดา หรือบรรดาพี่น้องขององค์หญิงเท่านั้น โดยเรียกตามลำดับการประสูติ เช่น ชีเก๋อเก๋อ (七格格, องค์หญิงเจ็ด) สือซานเก๋อเก๋อ (十三格格, องค์หญิงสิบสาม) ในขณะที่ผู้อื่นจะต้องเรียกเป็น ชีกงจู่ (七公主) สือซานกงจู่ (十三公主) เท่านั้น เป็นต้น ความหมายของ "เก๋อเก๋อ" ตรงจุดนี้จะค่อนข้างใกล้เคียงกับหนึ่งในความหมายเดิมที่คนในครอบครัวใช้เป็นคำเรียกหญิงสาวด้วยความเอ็นดูอย่างที่อธิบายเอาไว้ก่อนหน้านี้ค่ะ
"เก๋อเก๋อ" กับพระภรรยาในจักรพรรดิ
ถึงแม้ว่าความหมายของคำว่า "เก๋อเก๋อ" จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากในสมัยราชวงศ์ชิง แต่ที่จริงแล้วชาวแมนจูบางกลุ่มก็ได้เริ่มมีการใช้คำว่า "เก๋อเก๋อ" ในความหมายอื่นมาตั้งแต่ก่อนช่วงบุกเข้าด่านยึดครองจีน โดยปกติภรรยาของชนชั้นสูงชาวแมนจูจะเรียกโดยรวมว่า ฝูจิ้น (福晉) ไม่ว่าจะเป็นภรรยาเอกหรือภรรยารองและไม่ว่าจะมีกี่คนก็ตาม แต่สำหรับอนุภรรยาที่ฐานะต่ำกว่านั้นจะนิยมเรียกว่า "เก๋อเก๋อ" แทน ซึ่งค่านิยมนี้ก็ยังคงมีการใช้อยู่เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์ชิง
ในช่วงแรกๆ ระเบียบตำแหน่งของวังฝ่ายในยังไม่เรียบร้อยนัก คำเรียกหรือตำแหน่งต่างๆ ของพระภรรยาในจักรพรรดิจึงมีการสืบทอดค่านิยมเดิมมาใช้บางส่วน ฝ่ายในช่วงต้นราชวงศ์ชิงหลักๆ สามารถแบ่งได้ 3 ขั้น คือ ฮองเฮา (皇后) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุด ขั้นรองลงมาคือตำแหน่งเฟย (妃) ส่วนขั้นต่ำสุดนั้นเรียกรวมว่า ซู่เฟย (庶妃) ซึ่งเป็นพระสนมไม่มีตำแหน่ง ต่างจากฮองเฮาและเฟยที่เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ซู่เฟยแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ ฝูจิ้น ซึ่งเป็นพระสนมระดับต่ำที่ได้ให้กำเนิดพระโอรสหรือพระธิดาแก่องค์จักรพรรดิ และเก๋อเก๋อ ที่เป็นพระสนมระดับต่ำธรรมดาทั่วไป ดังนั้นคำว่า "เก๋อเก๋อ" สำหรับฝ่ายในของจักรพรรดิ ไม่ได้หมายถึงท่านหญิงที่ถวายตัวเป็นพระสนม แต่เป็นคำเรียกที่หมายถึงพระสนมชั้นล่างของจักรพรรดิ
เช่น ฉือเหอฮองไทเฮา สกุลถงเจีย พระมารดาของจักรพรรดิคังซี เมื่อแรกเข้าวังมีฐานะเป็นเก๋อเก๋อในจักรพรรดิซุ่นจื้อ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นคังเฟย ภายหลังเมื่อพระโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิคังซี จึงได้ขึ้นเป็นฉือเหอฮองไทเฮา และหลังจากสวรรคตทรงได้รับสถาปนาเป็นเสี้ยวคังจางฮองเฮา (จากเรื่อง 多情江山)
การเรียกพระสนมชั้นล่างด้วยคำว่า "เก๋อเก๋อ" ปรากฏเพียงในช่วงต้นราชวงศ์ชิงสองรัชสมัยแรกเท่านั้น นั่นก็คือสมัยจักรพรรดิหวงไท่จี๋และจักรพรรดิซุ่นจื้อ หลังจากที่ระเบียบตำแหน่งฝ่ายในของราชวงศ์ชิงเสร็จเรียบร้อยในสมัยจักรพรรดิคังซี การเรียกแบบนี้ก็ค่อยๆ ยกเลิกไปไม่ปรากฏขึ้นอีก