แผ่นดินทรุดทั่วกรุงเทพฯ
จากผลการศึกษาของจุฬาฯ พบว่าหากปล่อยให้มีการใช้น้ำบาดาลกันแบบไม่หยุดยั้งเช่นนี้ ต่อไปภายในปี 2560 กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร จะอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเล 1 เมตรแน่นอน ความรุนแรงของปัญหาแผ่นดินทรุดตัวนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 7 จังหวัด สาเหตุเกิดจาก 3 กรณี ดังต่อไปนี้
1. ทรุดเนื่องจากเอาของแข็งออกจากพื้นดิน เช่น การทำเหมืองแร่ ที่เอาดินออกจำนวนมากจนทำให้ข้างในเป็นโพรงซึ่งลักษณะนี้แผ่นดินจะทรุดเป็นกลุ่ม
2. ทรุดเนื่องจากเอาของเหลวออกจากพื้นดิน เช่น การสูบน้ำบาดาลเป็นปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบไปหลายตารางกิโลเมตร และลักษณะนี้ จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวแบบเป็นแอ่งกระทะ ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่รู้ได้ด้วยการวัดระดับผิวดิน
3. ทรุดเนื่องจากน้ำหนักกดทับ เช่น สร้างตึกขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะนี้จะมีการทรุดตัวเฉพาะพื้นที่ ปัญหาใหญ่ที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คือ การทรุดตัวเนื่องจากนำของเหลวออกมาจากชั้นดิน นั่นคือการขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก ทำให้ความสมดุลของน้ำ และเนื้อดินในชั้นดินหมดไป แผ่นดินเกิดการทรุดตัว ซึ่งผลที่เห็นได้ชัดก็คือ หากเกิดฝนตกในพื้นที่ที่แผ่นดินทรุด จะมีน้ำท่วมขังนานกว่าพื้นที่อื่นๆ
กรุงเทพมหานครเมื่ออดีต โดยเฉพาะบริเวณแถบชานเมืองยังไม่มีน้ำประปาเข้าไปบริการได้ขุดเจาะน้ำบาดาล ต้องเจาะลึกลงไปถึงชั้นที่ 3 (ชั้นนครหลวง) และชั้นที่ 4 (ชั้นนนทบุรี)เป็นอย่างต่ำ เพราะชั้นน้ำบาดาลที่ 1 และ 2 ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานอีกต่อไป เนื่องจาก เกิดปัญหาวิกฤตการณ์น้ำบาดาลขึ้น แล้วภาวการณ์เช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้การทุดตัวของแผ่นดินขยายบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศเขตวิกฤตน้ำบาดาลโดนแบ่งเป็น 3 อันดับได้แก่
เขตวิกฤตอันดับ 1 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินมากกว่าปีละ 3 เซ็นติเมตร และระดับน้ำบาดาลลดลงมากกว่าปีละ 3 เมตร ซึ่งในกรุงเทพครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต อาทิ มีนบุรี บางกะปิ บางเขน ดอนเมือง ลาดพร้าว ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 2 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินระหว่าง 1-3 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดลงระหว่าง 2-3 เมตรต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ 21 เขต อาทิ บางขุนเทียน บางคอแหลม ดุสิต พระนคร ป้อมปราบบางรัก ปทุมวัน ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 3 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดน้อยลงกว่า 2 เมตร ต่อปี ซึ่งครอบคลุมเขตที่อยู่นอกเหนือ
เขตวิกฤตที่ 1 และ 2
จากข้อมูลการสำรวจระดับของกรมแผนที่ทหารระหว่างปี 2521-2524 พบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ แผ่นดินมีการทุดตัวมากที่สุดถึงปีละ 10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในย่านหัวหมาก ลาดพร้าว พระโขนง และบางนา เฉพาะที่รามคำแหงพบว่าในช่วงเดียวกันนั้นแผ่นดินทรุดตัวลงไปถึง 1 เมตรทีเดียว ถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงมาก
ในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในยังมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 1-2 เซนติเมตร ส่วนในพื้นที่รอบนอก กรุงเทพฯมีการทรุดตัวเฉลี่ยปีละ 3 เซนติเมตร จากการทรุดตัวของแผ่นดินนี้ มีผลทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ท่อระบายน้ำและท่อประปาชำรุดเสียหาย ตึกทรุด สะพานทรุด พื้นถนนและทางเดินร้าว รวมทั้งน้ำทะเล แพร่กระจายเข้ามาในชั้นบาดาล แล้วที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ โบราณสถานที่สำคัญอาจได้รับความเสียหาย ซึ่งถือว่าความสูญเสียนี้ จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ หากเราใช้น้ำบาดาลในปริมาณ 1.25 ล้านลบ.ม. ต่อวันจะเป็นระดับสมดุลและไม่ส่งผลต่อแผ่นดินทรุด แต่ทุกวันนี้ในกรุงเทพ และปริมณฑลมีการใช้น้ำบาดาลถึงวัน ละ 2.5 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นการใช้เพื่ออุปโภคบริโภค 5 แสน ลบ.ม./วัน ใช้ในภาคอุตสาหกรรม 1.5 ล้าน ลบ.ม./วัน ใช้ในภาคเกษตรและอื่นๆอีก 5 แสน ลบ.ม./วัน
เครดิต :
http://www.pwa.co.th/document/deepwell.html
**** ผลการศึกษา... กทม ดินอ่อน !!!! อาคารสูงควรระวังเรื่องดินทรุด ชั้นนำ้ใต้ดินยุบตามเเม่นำ้ **** ( by : Robinhood )
แผ่นดินทรุดทั่วกรุงเทพฯ
จากผลการศึกษาของจุฬาฯ พบว่าหากปล่อยให้มีการใช้น้ำบาดาลกันแบบไม่หยุดยั้งเช่นนี้ ต่อไปภายในปี 2560 กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร จะอยู่ต่ำกว่าน้ำทะเล 1 เมตรแน่นอน ความรุนแรงของปัญหาแผ่นดินทรุดตัวนี้จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะครอบคลุมเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 7 จังหวัด สาเหตุเกิดจาก 3 กรณี ดังต่อไปนี้
1. ทรุดเนื่องจากเอาของแข็งออกจากพื้นดิน เช่น การทำเหมืองแร่ ที่เอาดินออกจำนวนมากจนทำให้ข้างในเป็นโพรงซึ่งลักษณะนี้แผ่นดินจะทรุดเป็นกลุ่ม
2. ทรุดเนื่องจากเอาของเหลวออกจากพื้นดิน เช่น การสูบน้ำบาดาลเป็นปริมาณมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบไปหลายตารางกิโลเมตร และลักษณะนี้ จะทำให้แผ่นดินทรุดตัวแบบเป็นแอ่งกระทะ ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่รู้ได้ด้วยการวัดระดับผิวดิน
3. ทรุดเนื่องจากน้ำหนักกดทับ เช่น สร้างตึกขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะนี้จะมีการทรุดตัวเฉพาะพื้นที่ ปัญหาใหญ่ที่เรากำลังเผชิญอยู่ขณะนี้คือ การทรุดตัวเนื่องจากนำของเหลวออกมาจากชั้นดิน นั่นคือการขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณมาก ทำให้ความสมดุลของน้ำ และเนื้อดินในชั้นดินหมดไป แผ่นดินเกิดการทรุดตัว ซึ่งผลที่เห็นได้ชัดก็คือ หากเกิดฝนตกในพื้นที่ที่แผ่นดินทรุด จะมีน้ำท่วมขังนานกว่าพื้นที่อื่นๆ
กรุงเทพมหานครเมื่ออดีต โดยเฉพาะบริเวณแถบชานเมืองยังไม่มีน้ำประปาเข้าไปบริการได้ขุดเจาะน้ำบาดาล ต้องเจาะลึกลงไปถึงชั้นที่ 3 (ชั้นนครหลวง) และชั้นที่ 4 (ชั้นนนทบุรี)เป็นอย่างต่ำ เพราะชั้นน้ำบาดาลที่ 1 และ 2 ไม่เหมาะสมต่อการใช้งานอีกต่อไป เนื่องจาก เกิดปัญหาวิกฤตการณ์น้ำบาดาลขึ้น แล้วภาวการณ์เช่นนี้ จึงเป็นเหตุให้การทุดตัวของแผ่นดินขยายบริเวณกว้างขึ้นเรื่อยๆ
ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณี ได้ประกาศเขตวิกฤตน้ำบาดาลโดนแบ่งเป็น 3 อันดับได้แก่
เขตวิกฤตอันดับ 1 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินมากกว่าปีละ 3 เซ็นติเมตร และระดับน้ำบาดาลลดลงมากกว่าปีละ 3 เมตร ซึ่งในกรุงเทพครอบคลุมพื้นที่ 12 เขต อาทิ มีนบุรี บางกะปิ บางเขน ดอนเมือง ลาดพร้าว ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 2 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินระหว่าง 1-3 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดลงระหว่าง 2-3 เมตรต่อปี ครอบคลุมพื้นที่ 21 เขต อาทิ บางขุนเทียน บางคอแหลม ดุสิต พระนคร ป้อมปราบบางรัก ปทุมวัน ฯลฯ
เขตวิกฤตอันดับ 3 บริเวณที่มีการทรุดตัวของแผ่นดินน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี และระดับน้ำบาดาลลดน้อยลงกว่า 2 เมตร ต่อปี ซึ่งครอบคลุมเขตที่อยู่นอกเหนือ
เขตวิกฤตที่ 1 และ 2
จากข้อมูลการสำรวจระดับของกรมแผนที่ทหารระหว่างปี 2521-2524 พบว่าพื้นที่กรุงเทพฯ แผ่นดินมีการทุดตัวมากที่สุดถึงปีละ 10 เซนติเมตร โดยเฉพาะในย่านหัวหมาก ลาดพร้าว พระโขนง และบางนา เฉพาะที่รามคำแหงพบว่าในช่วงเดียวกันนั้นแผ่นดินทรุดตัวลงไปถึง 1 เมตรทีเดียว ถือว่าอยู่ในระดับที่รุนแรงมาก
ในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพฯ ชั้นในยังมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องประมาณปีละ 1-2 เซนติเมตร ส่วนในพื้นที่รอบนอก กรุงเทพฯมีการทรุดตัวเฉลี่ยปีละ 3 เซนติเมตร จากการทรุดตัวของแผ่นดินนี้ มีผลทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ท่อระบายน้ำและท่อประปาชำรุดเสียหาย ตึกทรุด สะพานทรุด พื้นถนนและทางเดินร้าว รวมทั้งน้ำทะเล แพร่กระจายเข้ามาในชั้นบาดาล แล้วที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ โบราณสถานที่สำคัญอาจได้รับความเสียหาย ซึ่งถือว่าความสูญเสียนี้ จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ หากเราใช้น้ำบาดาลในปริมาณ 1.25 ล้านลบ.ม. ต่อวันจะเป็นระดับสมดุลและไม่ส่งผลต่อแผ่นดินทรุด แต่ทุกวันนี้ในกรุงเทพ และปริมณฑลมีการใช้น้ำบาดาลถึงวัน ละ 2.5 ล้านลบ.ม. แบ่งเป็นการใช้เพื่ออุปโภคบริโภค 5 แสน ลบ.ม./วัน ใช้ในภาคอุตสาหกรรม 1.5 ล้าน ลบ.ม./วัน ใช้ในภาคเกษตรและอื่นๆอีก 5 แสน ลบ.ม./วัน
เครดิต : http://www.pwa.co.th/document/deepwell.html