บรรยากาศในห้องศาสนาของเรา มีทั้งก้อนอิฐและดอกไม้ พวกหนึ่งก็ขึ้นมาด่า ด่าตั้งแต่ ใครสอนผิดจากนิพพานเป็นอนัตตาบิดเบือนทำลายพระศาสนา (ทั้งที่ก็ไม่มีหลักฐานในพระไตรปิฎกตรงไหนว่านิพพานเป็นอนัตตา) ด่าสมเด็จช่วง ว่าที่พระสังฆราช ด่ามส. ด่าวัดพระธรรมกาย ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ชม ชมหมด นอกจากนั้น ก็มีทั้งด่าคนชม ชมคนด่า ด่าคนด่า ชมคนชม งงมั้ยครับ สรุปคือ เราจะต้องเจอทั้งคนด่าและคนชมพระศาสนา และเจอทั้งคนชมและคนด่าตัวเราเอง ซึ่งเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต และพระพุทธเจ้าก็ทรงวางหลักการสำหรับเรื่องนี้เอาไว้ จึงเหมาะที่จะศึกษาเพื่อมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน และใช้กับตัวเราเมื่อต้องเจอคำชมคำด่าในชีวิตอย่างหนีไม่พ้น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ
[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เสด็จดำเนินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป แม้สุปปิยปริพาชกก็ได้เดินทางไกลระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาฬันทา พร้อมด้วยพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก. ได้ยินว่าในระหว่างทางนั้น. สุปปิยปริพาชก กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จ เข้าไปประทับแรมราตรีหนึ่ง ณ พระตำหนักหลวง ในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกาพร้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ แม้สุปปิยปริพาชก ก็ได้เข้าพักแรมราตรีหนึ่ง ใกล้พระตำหนักหลวงในพระราชอุทยาน อัมพลัฏฐิกา กับพรหมทัตตมาณพผู้อันเตวาสิก ได้ยินว่าแม้ ณ ที่นั้น สุปปิยปริพาชก ก็กล่าว ติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพ อันเตวาสิก ของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยายอาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองคนนั้น มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงฉะนี้ (เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ)
ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ ณ ศาลานั่งเล่น เกิดสนทนากันว่า ท่านทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริงสุปปิยปริพาชกผู้นี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตนาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิก ทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรงฉะนี้ เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงทราบคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นแล้วเสด็จไปยังศาลานั่งเล่น ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายบัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอพูดค้างไว้ เมื่อตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ณ ที่นี้ เมื่อพวกข้าพระพุทธเจ้าลุกขึ้น ณ เวลาใกล้รุ่ง นั่งประชุมกันอยู่ที่ศาลานั่งเล่น เกิดสนทนากันขึ้นว่า ท่าน
ทั้งหลาย เท่าที่พระผู้มีพระภาคผู้รู้เห็นเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงทราบความที่หมู่สัตว์มีอัธยาศัยต่างๆ กันได้เป็นอย่างดีนี้ น่าอัศจรรย์นัก ไม่เคยมีมา ความจริง สุปปิยปริพาชกนี้ กล่าวติพระพุทธเจ้า ติพระธรรม ติพระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย ส่วนพรหมทัตตมาณพอันเตวาสิกของสุปปิยปริพาชก กล่าวชมพระพุทธเจ้า ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์โดยอเนกปริยาย อาจารย์และอันเตวาสิกทั้งสองนี้ มีถ้อยคำเป็นข้าศึกแก่กันโดยตรง ฉะนี้
เดินตามพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ไปข้างหลังๆ พระพุทธเจ้าข้า เรื่องนี้แลที่พวกข้าพระพุทธเจ้าพูดค้างไว้ พอดีพระองค์เสด็จมาถึง.
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม เธอทั้งหลายไม่ควรอาฆาต ไม่ควรโทมนัสน้อยใจ ไม่ควรแค้นใจในคนเหล่านั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ถ้าเธอทั้งหลายจักขุ่นเคืองหรือจักโทมนัสน้อยใจในคนเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงรู้คำที่เขาพูดถูก หรือคำที่เขาพูดผิดได้ละหรือ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้ทีเดียว พระพุทธเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเรา ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ในคำที่เขากล่าวตินั้น คำที่ไม่จริง เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความไม่เป็นจริงว่า นั่นไม่จริง แม้เพราะเหตุนี้ นั่นไม่แท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้นั่นก็ไม่มีในเราทั้งหลาย และคำนั้น จะหาไม่ได้ในเราทั้งหลาย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เธอทั้งหลายไม่ควรเบิกบานใจ ไม่ควรดีใจ ไม่ควรกระเหิมใจในคำชมนั้น
ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายจักเบิกบานใจ จักดีใจ จักกระเหิมใจในคำชมนั้น อันตรายจะพึงมีแก่เธอทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นเป็นแน่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพวกอื่นจะพึงกล่าวชมเรา ชมพระธรรม หรือชมพระสงฆ์ ในคำชมนั้น คำที่จริง เธอทั้งหลายควรปฏิญาณให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า นั่นจริงแม้เพราะเหตุนี้ นั่นแท้ แม้เพราะเหตุนี้ แม้คำนั้นก็มีในเราทั้งหลาย และคำนั้นจะหาได้ใน
เราทั้งหลาย.
พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค น.3 /ข. 2
เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์อาจารย์และลูกศิษย์คู่หนึ่ง เวลาเดินทางไปไหน ๆ ก็ตาม อาจารย์ก็จะด่าพระพุทธ ด่าพระธรรม ด่าพระสงฆ์ ส่วนลูกศิษย์ก็จะกล่าวชมแต่พระพุทธ ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เป็นที่ประหลาดใจของผู้พบเห็น พระภิกษุจึงนำเรื่องนี้มาคุยกัน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบพระพุทธองค์จึงทรงให้หลักว่า
ถ้ามีใครด่า หรือ ชม พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
1. อย่าเพิ่งโกรธ หรือ ดีใจ เพราะ จะเป็นอันตราย ต่อตัวเอง คือทำให้สูญเสียความใสของใจไป อาจทำให้เสื่อมจากฌานหรือธรรมปฏิบัติที่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งคือ ถ้าไปมีอารมณ์ซะแล้ว ก็จะไม่เห็นเหตุผล ไม่รู้ว่าประเด็นที่เขาด่าหรือชมคืออะไร ทำให้ไปแก้ไขหรือรับรองไม่ได้
2. ให้ตั้งใจฟัง แล้วจับประเด็นให้ดี
3. หากเป็นคำด่าว่า ให้อธิบายด้วยเหตุผล ข้อมูลนั้นไม่จริง ความจริงเป็นเช่นไร, ข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีลักษณะเช่นนี้ ท่านมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นต้น
4. หากเป็นคำชื่นชม ให้รับรองว่าถูกต้องแล้ว เพราะอะไร อย่างไร และยืนยันด้วยตัวเองว่า ได้ประจักษ์ในเรื่องนั้นมาอย่างไร เช่น ปฏิบัติธรรมแล้ว ร่างกายจิตใจดีขึ้นเป็นระดับอย่างไรบ้าง
สิ่งที่ได้จากการศึกษาเรื่องนี้คือ ไม่ว่าจะได้รับคำชมหรือด่า ไม่ว่าเขาจะด่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือด่าตัวเรา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าดีใจเสียใจไปกับคำคนเหล่านั้นเพราะ มีแต่เสียกับเสียไม่ได้ประโยชน์ แต่ให้ชัแจงด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง และดีที่สุดศึกษาธรรมะแล้วต้องปฏิบัติเพื่อจะได้ยืนยันถึงผลดีของธรรมนั้นด้วยตัวเองได้อย่างอาจหาญ
วิธีรับมือกับคำด่าและคำชม ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยพุทธกาล มีพราหมณ์อาจารย์และลูกศิษย์คู่หนึ่ง เวลาเดินทางไปไหน ๆ ก็ตาม อาจารย์ก็จะด่าพระพุทธ ด่าพระธรรม ด่าพระสงฆ์ ส่วนลูกศิษย์ก็จะกล่าวชมแต่พระพุทธ ชมพระธรรม ชมพระสงฆ์ เป็นที่ประหลาดใจของผู้พบเห็น พระภิกษุจึงนำเรื่องนี้มาคุยกัน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบพระพุทธองค์จึงทรงให้หลักว่า
ถ้ามีใครด่า หรือ ชม พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์
1. อย่าเพิ่งโกรธ หรือ ดีใจ เพราะ จะเป็นอันตราย ต่อตัวเอง คือทำให้สูญเสียความใสของใจไป อาจทำให้เสื่อมจากฌานหรือธรรมปฏิบัติที่ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งคือ ถ้าไปมีอารมณ์ซะแล้ว ก็จะไม่เห็นเหตุผล ไม่รู้ว่าประเด็นที่เขาด่าหรือชมคืออะไร ทำให้ไปแก้ไขหรือรับรองไม่ได้
2. ให้ตั้งใจฟัง แล้วจับประเด็นให้ดี
3. หากเป็นคำด่าว่า ให้อธิบายด้วยเหตุผล ข้อมูลนั้นไม่จริง ความจริงเป็นเช่นไร, ข้อมูลนี้ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร, พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีลักษณะเช่นนี้ ท่านมีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นต้น
4. หากเป็นคำชื่นชม ให้รับรองว่าถูกต้องแล้ว เพราะอะไร อย่างไร และยืนยันด้วยตัวเองว่า ได้ประจักษ์ในเรื่องนั้นมาอย่างไร เช่น ปฏิบัติธรรมแล้ว ร่างกายจิตใจดีขึ้นเป็นระดับอย่างไรบ้าง
สิ่งที่ได้จากการศึกษาเรื่องนี้คือ ไม่ว่าจะได้รับคำชมหรือด่า ไม่ว่าเขาจะด่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือด่าตัวเรา สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าดีใจเสียใจไปกับคำคนเหล่านั้นเพราะ มีแต่เสียกับเสียไม่ได้ประโยชน์ แต่ให้ชัแจงด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง และดีที่สุดศึกษาธรรมะแล้วต้องปฏิบัติเพื่อจะได้ยืนยันถึงผลดีของธรรมนั้นด้วยตัวเองได้อย่างอาจหาญ