การสำนึกผิด (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 02:37)
~~~~~~~~~~~~
เขียนโดย อบู มุอาวิยะฮฺ อิสมาอีล กัมดัรฺ
แปล บินติ อัลอิสลาม
“ภายหลังอาดัมได้เรียนรู้คำวิงวอนจากพระเจ้าของเขา แล้วพระองค์อภัยโทษแก่เขา แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 02:37)
หลายคนอาจจะรู้สีกผิดที่จะเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ด้วยเพราะจำนวนของบาปที่มากมายที่เราได้กระทำมาตลอดปี ซึ่งความรู้สึกผิดนี้ยับยั้งเราจากการพยายามอย่างสุดความสามารถของเรา และยับยั้งเราจากการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุด เพราะเราอาจไม่รู้สึกถึงความเมตตาของพระองค์และการอภัยโทษของพระองค์
“การมีความรู้สึกผิดต่อความผิดบาปของเรา” ถือเป็นสิ่งที่ดี มันแสดงให้เห็นว่า “เรามีความศรัทธาและรู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นสิ่งที่ผิด” อย่างไรก็ตาม ความรู้สีกผิดที่ว่านั้นไม่ควรทำให้เราสูญสิ้นความหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ
เรื่องราวแรกที่ถูกบอกเล่าไว้ในอัลกุรอาน คือเรื่องราวของนบีอาดัม และชัยฏอน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจุดกำเนิดของมนุษย์ที่เราต่างทราบกันดี อัลลอฮฺทรงสร้างอาดัม และพระองค์ทรงบอกแก่บรรดามลาอิกะฮฺให้ทำการสูญูด (โค้งคำนับ) ต่ออาดัม หากทว่าญินตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “อิบลีส” กลับปฏิเสธที่จะสูญูดต่อนบีอาดัม ดังนั้นอิบลีสจึงกลายเป็นชัยฏอน (หรือซาตานมารร้าย) จากนั้นนบีอาดัมได้เข้าสู่สวนสวรรค์ และนางเฮาวาก็ถูกสร้างขึ้น จากนั้นไม่นานนักพวกท่านทั้งสองต่างก็ทำความผิดพลาด ด้วยการกินผลไม้ต้องห้าม และจากนั้นก็ถูกส่งลงมายังผืนแผ่นดิน
อายะฮฺนี้ได้แจ้งว่า หลังจากที่พวกท่านทั้งสองถูกส่งลงมายังผืนแผ่นดินแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงสอนอาดัมถึงถ้อยคำแห่งการสำนึกผิดซึ่งมีรายละเอียดแจ้งไว้ในอัลกุรอาน และจากนั้นอัลลอฮฺก็ทรงตอบรับการขออภัยโทษของนบีอาดัมและนางเฮาวา จากนั้นก็เตือนพวกเราว่าพระองค์ทรงตอบรับทุกๆ การสำนึกผิด และพระองค์คือพระผู้ทรงเมตตายิ่ง เช่นนี้นี่เอง เรื่องราวแรกที่ถูกแจ้งไว้ในอัลกุรอาน คือหนึ่งแห่งความหวังสำหรับทุกคนที่เคยก้าวพลั้งพลาด
มนุษย์นั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบ หรือปราศจากบาปใดๆ เพราะจากจุดเริ่มต้น มนุษย์ได้กระทำความผิดพลาดและฝ่าฝืนพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และหนึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างคนดีและคนชั่ว คือ “การสำนึกผิด”
“การสำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว” คือสิ่งที่แบ่งแยก ‘ความดี’ ออกจาก ‘ความชั่ว’ “มัน” คือสิ่งที่แบ่งแยก ‘ผู้ที่รักอัลลอฮอย่างแท้จริง และต้องการความเมตตาของพระองค์’ ออกจาก ‘ผู้ที่ไม่ใส่ใจต่อพระองค์’ ซึ่ง “คนทั้งสองกลุ่มนี้” ต่างเป็นผู้กระทำบาป หากทว่าผู้กระทำบาปที่สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว คือบรรดาผู้ที่อยู่บนหนทางที่ถูกต้อง
ในการเดินทางของเราที่จะมุ่งไปสู่อัลลอฮฺนั้น แน่นอนว่าเราย่อมต้องพลั้งพลาด ทำความผิดและตกหลุมพลางแห่งบาปที่เราเองก็ไม่เคยรู้ว่าเราจะสามารถทำมันลงไปได้ นี่คือส่วนหนึ่งของบททดสอบ และเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ของเรา บททดสอบในสถานการณ์เหล่านี้ คือ “การเลือกหนทางของนบีอาดัม ซึ่งนั่นคือ การสำนึกผิด และออกห่างจากหนทางของชัยฏอน ซึ่งนั่นคือการดื้อดึงอยู่ในบาป”
การสำนึกผิดบาปต่อพระองค์อัลลอฮฺ แท้จริงพระเจ้าผู้ทรงเมตตาต่อบ่าวผู้สำนึกผิด
~~~~~~~~~~~~
เขียนโดย อบู มุอาวิยะฮฺ อิสมาอีล กัมดัรฺ
แปล บินติ อัลอิสลาม
“ภายหลังอาดัมได้เรียนรู้คำวิงวอนจากพระเจ้าของเขา แล้วพระองค์อภัยโทษแก่เขา แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (ซูเราะฮฺอัลบะเกาะเราะฮฺ 02:37)
หลายคนอาจจะรู้สีกผิดที่จะเริ่มต้นสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้น ด้วยเพราะจำนวนของบาปที่มากมายที่เราได้กระทำมาตลอดปี ซึ่งความรู้สึกผิดนี้ยับยั้งเราจากการพยายามอย่างสุดความสามารถของเรา และยับยั้งเราจากการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุด เพราะเราอาจไม่รู้สึกถึงความเมตตาของพระองค์และการอภัยโทษของพระองค์
“การมีความรู้สึกผิดต่อความผิดบาปของเรา” ถือเป็นสิ่งที่ดี มันแสดงให้เห็นว่า “เรามีความศรัทธาและรู้ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นเป็นสิ่งที่ผิด” อย่างไรก็ตาม ความรู้สีกผิดที่ว่านั้นไม่ควรทำให้เราสูญสิ้นความหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ
เรื่องราวแรกที่ถูกบอกเล่าไว้ในอัลกุรอาน คือเรื่องราวของนบีอาดัม และชัยฏอน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจุดกำเนิดของมนุษย์ที่เราต่างทราบกันดี อัลลอฮฺทรงสร้างอาดัม และพระองค์ทรงบอกแก่บรรดามลาอิกะฮฺให้ทำการสูญูด (โค้งคำนับ) ต่ออาดัม หากทว่าญินตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “อิบลีส” กลับปฏิเสธที่จะสูญูดต่อนบีอาดัม ดังนั้นอิบลีสจึงกลายเป็นชัยฏอน (หรือซาตานมารร้าย) จากนั้นนบีอาดัมได้เข้าสู่สวนสวรรค์ และนางเฮาวาก็ถูกสร้างขึ้น จากนั้นไม่นานนักพวกท่านทั้งสองต่างก็ทำความผิดพลาด ด้วยการกินผลไม้ต้องห้าม และจากนั้นก็ถูกส่งลงมายังผืนแผ่นดิน
อายะฮฺนี้ได้แจ้งว่า หลังจากที่พวกท่านทั้งสองถูกส่งลงมายังผืนแผ่นดินแล้ว อัลลอฮฺได้ทรงสอนอาดัมถึงถ้อยคำแห่งการสำนึกผิดซึ่งมีรายละเอียดแจ้งไว้ในอัลกุรอาน และจากนั้นอัลลอฮฺก็ทรงตอบรับการขออภัยโทษของนบีอาดัมและนางเฮาวา จากนั้นก็เตือนพวกเราว่าพระองค์ทรงตอบรับทุกๆ การสำนึกผิด และพระองค์คือพระผู้ทรงเมตตายิ่ง เช่นนี้นี่เอง เรื่องราวแรกที่ถูกแจ้งไว้ในอัลกุรอาน คือหนึ่งแห่งความหวังสำหรับทุกคนที่เคยก้าวพลั้งพลาด
มนุษย์นั้นไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาให้มีความสมบูรณ์แบบ หรือปราศจากบาปใดๆ เพราะจากจุดเริ่มต้น มนุษย์ได้กระทำความผิดพลาดและฝ่าฝืนพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา และหนึ่งความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างคนดีและคนชั่ว คือ “การสำนึกผิด”
“การสำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว” คือสิ่งที่แบ่งแยก ‘ความดี’ ออกจาก ‘ความชั่ว’ “มัน” คือสิ่งที่แบ่งแยก ‘ผู้ที่รักอัลลอฮอย่างแท้จริง และต้องการความเมตตาของพระองค์’ ออกจาก ‘ผู้ที่ไม่ใส่ใจต่อพระองค์’ ซึ่ง “คนทั้งสองกลุ่มนี้” ต่างเป็นผู้กระทำบาป หากทว่าผู้กระทำบาปที่สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว คือบรรดาผู้ที่อยู่บนหนทางที่ถูกต้อง
ในการเดินทางของเราที่จะมุ่งไปสู่อัลลอฮฺนั้น แน่นอนว่าเราย่อมต้องพลั้งพลาด ทำความผิดและตกหลุมพลางแห่งบาปที่เราเองก็ไม่เคยรู้ว่าเราจะสามารถทำมันลงไปได้ นี่คือส่วนหนึ่งของบททดสอบ และเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นมนุษย์ของเรา บททดสอบในสถานการณ์เหล่านี้ คือ “การเลือกหนทางของนบีอาดัม ซึ่งนั่นคือ การสำนึกผิด และออกห่างจากหนทางของชัยฏอน ซึ่งนั่นคือการดื้อดึงอยู่ในบาป”