ความเน่าหนอนและอ่อนแอในกองทัพ
ภาพสะท้อนของ "ทหาร" กับการไร้ภาวะความเป็น "ลูกผู้ชาย"
.....
“ทหาร” ถูกวาดภาพให้เป็น
“วีรบุรุษ” และผูกติดกับความเป็น
“ลูกผู้ชาย”
..... ทหาร คือ สถาบันอันขับเคลื่อนและดำรงอยู่ได้ด้วย
“อำนาจ” แต่ในทางตรงกันข้าม หากอำนาจที่มีอยู่
ถูกใช้อย่างไม่เหมาะสม และสร้างความเจ็บปวดเดือดร้อนให้กับผู้อื่น สิ่งนี้อาจทำให้เราต้องหวนกลับมาทบทวน
“บทบาทที่แท้จริง” ของทหาร
..... และที่ร้ายแรงไปกว่านั้น การใช้อำนาจในทางที่ห่างไกลกับคุณธรรมและความรับผิดชอบ อาจเป็น
“ดาบสองคม”
ที่ทำให้ความเป็นวีรบุรุษของทหาร กลายเป็นเพียง
“ภาพในจินตนาการ” ที่ตรงข้ามกับโลกความเป็นจริง
.....
“From Here to Eternity” คือหนังที่ทำให้มุมมองต่อ
“ชัยชนะ” และ
“วีรบุรุษสงคราม” ต้องสั่นคลอน
หนังมองภาพความเป็นฮีโร่ของทหารในทาง
“ตรงกันข้าม” กับภาพทหารในอุดมคติ ด้วยการสะท้อนแง่มุมอัน
“เน่าหนอน”
และ
“อ่อนแอ” ที่เกิดขึ้นภายในกองทัพ
..... ถึงแม้หนังจะถ่ายทอดในเชิงดราม่า และดำเนินเรื่องราวอยู่ในกอง หาใช่สมรภูมิรบ แต่การปรากฏตัวของเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่น
ถล่มฐานทัพเรือสหรัฐ ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ อย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยในวินาทีสุดท้าย
..... ทำให้เราอนุมานได้ว่า เรื่องราวทั้งหมดของหนังที่ผ่านมาเกือบ 2 ชั่วโมง น่าจะมีส่วนเชื่อมโยงกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ
..... ในช่วงแรกของการเกิดสงครามครั้งนี้ สมรภูมิรบปะทุขึ้นในยุโรปและเอเชีย ทำให้สหรัฐดูไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงพยายาม
วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่ชนวนที่ทำให้สหรัฐต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ก็คือ การถูกญี่ปุ่น
สกัดดาวรุ่งที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์นั่นเอง
..... และในปี 1945 ก่อนจะมีการสร้างหนังเรื่องนี้เพียง 7 ปี เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐได้ตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณู
ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ จนญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ เป็นอัน “ปิดฉาก” สงครามลงในที่สุด
..... สหรัฐกลายเป็น
“วีรบุรุษ” ผู้ยุติสงคราม และกลายเป็นประเทศ
“มหาอำนาจ” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
..... ชาวอเมริกันไม่ได้รับ
“บาดแผล” และ
“ความเจ็บปวด” อะไรจากสงคราม เนื่องจากไม่ได้สัมผัสกับสงครามโดยตรง
ในทางตรงกันข้าม สงครามกลับเป็นเพียง
“ภาพฝัน” ที่ผู้คนต้องทำการปะติดปะต่อเอาเอง และ
“ชัยชนะ”
ที่ต้องแลกกับชีวิตของผู้บริสุทธิ์นับแสนคน กลับกลายเป็นเรื่องที่พวกเขา
“ภาคภุมิใจ”
..... ต่างจากหลายประเทศราวฟ้ากับเหว ที่
“ความโหดร้าย” ของสงคราม ยังคงตามหลอกหลอนและฝังลึกอยู่ในความทรงจำ
โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ตกอยู่ในสถานการณ์
“ตายทั้งเป็น” หรือเยอรมันเองก็จมดิ่งอยู่กับ
“อดีตอันโหดร้าย” หนังของ 2 ประเทศนี้
น่าจะเป็นหลักฐานชั้นดีในการระบายและถ่ายทอดความทรงจำที่ไม่มีอยากจำ
..... ในขณะที่หนังฮอลลีวู้ดส่วนใหญ่กลับ
“ติดบ่วง” อยู่กับการนำเสนอเรื่อง
“เชิดชูวีรกรรมทหาร” จะมีก็เพียงไม่กี่เรื่อง
เท่านั้นที่มองในมุมกลับ และหนังออสการ์เรื่องนี้ ก็คือหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่มาว่า
..... ถึงแม้ From Here to Eternity จะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์
“ชัยชนะจากสงคราม” อย่างตรงไปตรงมา หรือแม้กระทั่ง
ไม่ได้ยัดเยียดภาพในด้านลบอย่างชัดเจน แต่หนังก็ทำให้มโนภาพที่มีต่อ
“ทหาร” ต้องสั่นคลอนและได้รับการตั้งคำถาม
..... หนังสะท้อนให้เห็น ความล้มเหลวของบุคลากรทหารผ่านตัวละครหลายคน ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของคนลักษณะต่างๆ ภายในกองทัพ
.....
“พรูวิตต์” คือพลทหารชั้นผู้น้อยที่เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ และรักความยุติธรรม ไม่ชอบใจและอดรน
ทนไม่ได้กับระบบ
“เส้นสาย” ของทหาร แต่เมื่อครั้นย้ายกองทัพก็กลับหนีเสือปะจระเข้ และมาพบกับ
“ความอยุติธรรม”
ที่ตัวเองที่พยายามหนีมาตลอดชีวิตการเป็นทหาร
..... เขาถูกผู้มีอำนาจในกองทัพกลั่นแกล้งสารพัด เนื่องจากปฏิเสธการชกมวยให้กับกองทัพ ซึ่งหัวหน้ากองหวังจะเอาชัยชนะ
มาเป็นความสำเร็จในการเลื่อนยศ
..... แต่พรูวิตต์เป็นทหารชั้นผู้น้อย ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับความไม่เป็นธรรม และพยายามหาทางขัดขืนอย่างสันติ
แต่คนตัวเล็กก็มักจะทำอะไรไม่ได้ เพราะ
“ระบบ” และ
“อำนาจ” มันใหญ่เกินตัว จึงต้องยอมก้มหน้าก้มตารับกรรม
ไม่ต่างจาก
“คนดี” ที่ถูก
“คนชั่ว” เล่นงานเอา
.....
“วอร์เดน” ทหารยศจ่าที่พื้นฐานเป็นคนจิตใจดี มีความตั้งใจและรับผิดชอบการงาน เขาเป็นคนที่แบกรับภาระ
และทำงานมากกว่าเจ้านายของตัวเอง
..... เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับความอยุติธรรมในกองทัพ แต่วอร์เดนต่างจากพรูวิตต์ก็ตรงที่ พรูวิตต์ออกตัวชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย
แต่วอร์เดนตีตัวเนียนไม่ทำอะไร หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือการเพลย์เซฟตัวเองให้อยู่รอดในกองทัพ
..... ซ้ำร้ายเขากลับทำสิ่งที่ท้าทายกับ
“บรรทัดฐานของสังคม” โดยการลักลอบเป็นชู้กับ
“คาเรน” ภรรยาของเจ้านาย
ถึงแม้เจ้านายจะปฏิบัติกับภรรยา โดยไม่สมเกียรติชายชาติทหาร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การกระทำของวอร์เดนขัดแย้ง
กับภาพความเป็น
“พระเอก” ที่สมบูรณ์แบบของทหาร
..... บางทีคนที่รู้ว่าอะไรผิด แต่ก็ยังเฉย รู้ว่าอะไรไม่เหมาะสม แต่ก็ยังทำ มันก็ไม่ต่างจากส่งเสริม
“ความเลวทราม”
เข้าไปในระบบโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
.....
“ผู้กองโฮมส์” เป็นผู้บังคับบัญชาที่ขาดความเป็นผู้นำ ทะเยอทะยายหวังแต่อำนาจลาภยศ รักความสะดวกสาย
และทำงานไม่สมกับตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ การกระทำของเขาไม่ต่างจาก
“คอรัปชั่น” ในหน้าที่ อยู่ได้ด้วยวัยวุฒิ
มากกว่าความสามารถและความรับผิดชอบ
..... เป็นคนใหญ่คนโตที่ทำงานแบบ
“เช้าชามเย็นชาม”
..... นอกจากจะบกพร่องในการงานแล้ว ยังเสียหายในฐานะหัวหน้าครอบครัว โฮมส์ทำตัวเสเพล ไม่สนใจใยดี
และให้ความรักกับภรรยา ถึงแม้ขณะนั้นเธอจะกำลังตั้งครรภ์และใกล้คลอดก็ตามที
..... นอกเหนือจากทหารที่เป็นตัวละครหลักดังกล่าวแล้ว ตัวละครสมทบก็ยังช่วยเสริม
“ความละเทะ” ให้กับกองทัพด้วยเช่นกัน
..... “
แม็กกิโอ้” ทหารชั้นผู้น้อย พื้นฐานเป็นคนรักเพื่อน ต่อต้านความไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกับพรูวิตต์
จึงต้องตกเป็นเบี้ยล่างคนมีอำนาจในกองทัพเช่นเดียวกัน
.....
“กาโลวิตช์” ครูฝึกยศสิบเอกจอมเลียแข้งเลียขา รักเจ้านายและทำทุกอย่างให้เจ้านายพอใจ
แม้กระทั่งการกดหัวลูกน้อง โดยไม่แยแสความถูกต้องเหมาะสม
.....
“แฟ็ตโซ่” ทหารยศจ่า ถึงแม้ยศฐาจะไม่ได้สูงส่งนัก แต่กลับทำตัวเหลิงอำนาจ วางมาดเกเร ไม่ต่างจากนักเลง
ที่มีดีแค่ยศทหารนำหน้าชื่อเท่านั้น
..... From Here to Eternity พาไปสำรวจ
“ความล้มเหลว” ของบุคลากรในกองทัพ ทำให้เราเห็นภาพทหาร
ในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับภาพความเป็นพระเอก ภาพความเป็นวีรบุรุษที่สมบูรณ์แบบและน่ายกย่องเชิดชู
..... หนังไม่ได้ตัดสินและมอบหมายว่า เราควร
“ให้คุณค่า” หรือ
“รู้สึก” อย่างไรกับชัยชนะที่มาจากสงคราม
แต่หนังสามารถ
“ตั้งคำถาม” เพื่อ
“ฉุกคิด” ได้อย่างน่าสนใจ แน่นอนมันเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้น
ไม่คิดจะถาม อันเนื่องมาจากกระแสสังคมพาไป
..... ที่สำคัญ คือ การสะท้อน
“ความเน่าหนอน” และ
“ความอ่อนแอ” ที่เกิดขึ้นในหนังนั้น
“มีความสากล” อย่างปฏิเสธไม่ได้
..... ถึงแม้หนังจะสร้างขึ้นกว่า 60 ปีที่ แต่ผลผลิตของมันยังทรงคุณค่าเหนือกาลเวลาและสถานที่ เพราะ
“ความล้มเหลว”
ของระบบทหาร และคนในวงราชการ มันอาจจะไม่หนีหายไปไหน มิหนำซ้ำมันอาจจะแทรกซึมและหยั่งลึกอยู่ที่ใดสักแห่ง
..... ที่อาจจะ
“ไม่ใช่แค่” ในอเมริกา??
(ดูแล้วมาเล่า) วิเคราะห์หนัง "FROM HERE TO ETERNITY" : ทหารกับการไร้ภาวะความเป็นลูกผู้ชาย
ความเน่าหนอนและอ่อนแอในกองทัพ
ภาพสะท้อนของ "ทหาร" กับการไร้ภาวะความเป็น "ลูกผู้ชาย"
..... “ทหาร” ถูกวาดภาพให้เป็น “วีรบุรุษ” และผูกติดกับความเป็น “ลูกผู้ชาย”
..... ทหาร คือ สถาบันอันขับเคลื่อนและดำรงอยู่ได้ด้วย “อำนาจ” แต่ในทางตรงกันข้าม หากอำนาจที่มีอยู่
ถูกใช้อย่างไม่เหมาะสม และสร้างความเจ็บปวดเดือดร้อนให้กับผู้อื่น สิ่งนี้อาจทำให้เราต้องหวนกลับมาทบทวน
“บทบาทที่แท้จริง” ของทหาร
..... และที่ร้ายแรงไปกว่านั้น การใช้อำนาจในทางที่ห่างไกลกับคุณธรรมและความรับผิดชอบ อาจเป็น “ดาบสองคม”
ที่ทำให้ความเป็นวีรบุรุษของทหาร กลายเป็นเพียง “ภาพในจินตนาการ” ที่ตรงข้ามกับโลกความเป็นจริง
..... “From Here to Eternity” คือหนังที่ทำให้มุมมองต่อ “ชัยชนะ” และ “วีรบุรุษสงคราม” ต้องสั่นคลอน
หนังมองภาพความเป็นฮีโร่ของทหารในทาง “ตรงกันข้าม” กับภาพทหารในอุดมคติ ด้วยการสะท้อนแง่มุมอัน “เน่าหนอน”
และ “อ่อนแอ” ที่เกิดขึ้นภายในกองทัพ
..... ถึงแม้หนังจะถ่ายทอดในเชิงดราม่า และดำเนินเรื่องราวอยู่ในกอง หาใช่สมรภูมิรบ แต่การปรากฏตัวของเหตุการณ์กองทัพญี่ปุ่น
ถล่มฐานทัพเรือสหรัฐ ที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ อย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยในวินาทีสุดท้าย
..... ทำให้เราอนุมานได้ว่า เรื่องราวทั้งหมดของหนังที่ผ่านมาเกือบ 2 ชั่วโมง น่าจะมีส่วนเชื่อมโยงกับสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ
..... ในช่วงแรกของการเกิดสงครามครั้งนี้ สมรภูมิรบปะทุขึ้นในยุโรปและเอเชีย ทำให้สหรัฐดูไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงพยายาม
วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่ชนวนที่ทำให้สหรัฐต้องเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างเป็นทางการ ก็คือ การถูกญี่ปุ่น
สกัดดาวรุ่งที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์นั่นเอง
..... และในปี 1945 ก่อนจะมีการสร้างหนังเรื่องนี้เพียง 7 ปี เป็นช่วงเวลาที่สหรัฐได้ตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณู
ที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ จนญี่ปุ่นต้องประกาศยอมแพ้ เป็นอัน “ปิดฉาก” สงครามลงในที่สุด
..... สหรัฐกลายเป็น “วีรบุรุษ” ผู้ยุติสงคราม และกลายเป็นประเทศ “มหาอำนาจ” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
..... ชาวอเมริกันไม่ได้รับ “บาดแผล” และ “ความเจ็บปวด” อะไรจากสงคราม เนื่องจากไม่ได้สัมผัสกับสงครามโดยตรง
ในทางตรงกันข้าม สงครามกลับเป็นเพียง “ภาพฝัน” ที่ผู้คนต้องทำการปะติดปะต่อเอาเอง และ “ชัยชนะ”
ที่ต้องแลกกับชีวิตของผู้บริสุทธิ์นับแสนคน กลับกลายเป็นเรื่องที่พวกเขา “ภาคภุมิใจ”
..... ต่างจากหลายประเทศราวฟ้ากับเหว ที่ “ความโหดร้าย” ของสงคราม ยังคงตามหลอกหลอนและฝังลึกอยู่ในความทรงจำ
โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ตกอยู่ในสถานการณ์ “ตายทั้งเป็น” หรือเยอรมันเองก็จมดิ่งอยู่กับ “อดีตอันโหดร้าย” หนังของ 2 ประเทศนี้
น่าจะเป็นหลักฐานชั้นดีในการระบายและถ่ายทอดความทรงจำที่ไม่มีอยากจำ
..... ในขณะที่หนังฮอลลีวู้ดส่วนใหญ่กลับ “ติดบ่วง” อยู่กับการนำเสนอเรื่อง “เชิดชูวีรกรรมทหาร” จะมีก็เพียงไม่กี่เรื่อง
เท่านั้นที่มองในมุมกลับ และหนังออสการ์เรื่องนี้ ก็คือหนึ่งในไม่กี่เรื่องที่มาว่า
..... ถึงแม้ From Here to Eternity จะไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์ “ชัยชนะจากสงคราม” อย่างตรงไปตรงมา หรือแม้กระทั่ง
ไม่ได้ยัดเยียดภาพในด้านลบอย่างชัดเจน แต่หนังก็ทำให้มโนภาพที่มีต่อ “ทหาร” ต้องสั่นคลอนและได้รับการตั้งคำถาม
..... หนังสะท้อนให้เห็น ความล้มเหลวของบุคลากรทหารผ่านตัวละครหลายคน ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของคนลักษณะต่างๆ ภายในกองทัพ
..... “พรูวิตต์” คือพลทหารชั้นผู้น้อยที่เปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์ และรักความยุติธรรม ไม่ชอบใจและอดรน
ทนไม่ได้กับระบบ “เส้นสาย” ของทหาร แต่เมื่อครั้นย้ายกองทัพก็กลับหนีเสือปะจระเข้ และมาพบกับ “ความอยุติธรรม”
ที่ตัวเองที่พยายามหนีมาตลอดชีวิตการเป็นทหาร
..... เขาถูกผู้มีอำนาจในกองทัพกลั่นแกล้งสารพัด เนื่องจากปฏิเสธการชกมวยให้กับกองทัพ ซึ่งหัวหน้ากองหวังจะเอาชัยชนะ
มาเป็นความสำเร็จในการเลื่อนยศ
..... แต่พรูวิตต์เป็นทหารชั้นผู้น้อย ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับความไม่เป็นธรรม และพยายามหาทางขัดขืนอย่างสันติ
แต่คนตัวเล็กก็มักจะทำอะไรไม่ได้ เพราะ “ระบบ” และ “อำนาจ” มันใหญ่เกินตัว จึงต้องยอมก้มหน้าก้มตารับกรรม
ไม่ต่างจาก “คนดี” ที่ถูก “คนชั่ว” เล่นงานเอา
..... “วอร์เดน” ทหารยศจ่าที่พื้นฐานเป็นคนจิตใจดี มีความตั้งใจและรับผิดชอบการงาน เขาเป็นคนที่แบกรับภาระ
และทำงานมากกว่าเจ้านายของตัวเอง
..... เป็นอีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับความอยุติธรรมในกองทัพ แต่วอร์เดนต่างจากพรูวิตต์ก็ตรงที่ พรูวิตต์ออกตัวชัดเจนว่าไม่เห็นด้วย
แต่วอร์เดนตีตัวเนียนไม่ทำอะไร หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือการเพลย์เซฟตัวเองให้อยู่รอดในกองทัพ
..... ซ้ำร้ายเขากลับทำสิ่งที่ท้าทายกับ “บรรทัดฐานของสังคม” โดยการลักลอบเป็นชู้กับ “คาเรน” ภรรยาของเจ้านาย
ถึงแม้เจ้านายจะปฏิบัติกับภรรยา โดยไม่สมเกียรติชายชาติทหาร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การกระทำของวอร์เดนขัดแย้ง
กับภาพความเป็น “พระเอก” ที่สมบูรณ์แบบของทหาร
..... บางทีคนที่รู้ว่าอะไรผิด แต่ก็ยังเฉย รู้ว่าอะไรไม่เหมาะสม แต่ก็ยังทำ มันก็ไม่ต่างจากส่งเสริม “ความเลวทราม”
เข้าไปในระบบโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
..... “ผู้กองโฮมส์” เป็นผู้บังคับบัญชาที่ขาดความเป็นผู้นำ ทะเยอทะยายหวังแต่อำนาจลาภยศ รักความสะดวกสาย
และทำงานไม่สมกับตำแหน่งและอำนาจหน้าที่ การกระทำของเขาไม่ต่างจาก “คอรัปชั่น” ในหน้าที่ อยู่ได้ด้วยวัยวุฒิ
มากกว่าความสามารถและความรับผิดชอบ
..... เป็นคนใหญ่คนโตที่ทำงานแบบ “เช้าชามเย็นชาม”
..... นอกจากจะบกพร่องในการงานแล้ว ยังเสียหายในฐานะหัวหน้าครอบครัว โฮมส์ทำตัวเสเพล ไม่สนใจใยดี
และให้ความรักกับภรรยา ถึงแม้ขณะนั้นเธอจะกำลังตั้งครรภ์และใกล้คลอดก็ตามที
..... นอกเหนือจากทหารที่เป็นตัวละครหลักดังกล่าวแล้ว ตัวละครสมทบก็ยังช่วยเสริม “ความละเทะ” ให้กับกองทัพด้วยเช่นกัน
..... “แม็กกิโอ้” ทหารชั้นผู้น้อย พื้นฐานเป็นคนรักเพื่อน ต่อต้านความไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกับพรูวิตต์
จึงต้องตกเป็นเบี้ยล่างคนมีอำนาจในกองทัพเช่นเดียวกัน
..... “กาโลวิตช์” ครูฝึกยศสิบเอกจอมเลียแข้งเลียขา รักเจ้านายและทำทุกอย่างให้เจ้านายพอใจ
แม้กระทั่งการกดหัวลูกน้อง โดยไม่แยแสความถูกต้องเหมาะสม
..... “แฟ็ตโซ่” ทหารยศจ่า ถึงแม้ยศฐาจะไม่ได้สูงส่งนัก แต่กลับทำตัวเหลิงอำนาจ วางมาดเกเร ไม่ต่างจากนักเลง
ที่มีดีแค่ยศทหารนำหน้าชื่อเท่านั้น
..... From Here to Eternity พาไปสำรวจ “ความล้มเหลว” ของบุคลากรในกองทัพ ทำให้เราเห็นภาพทหาร
ในอีกแง่มุมหนึ่ง ที่ขัดแย้งกับภาพความเป็นพระเอก ภาพความเป็นวีรบุรุษที่สมบูรณ์แบบและน่ายกย่องเชิดชู
..... หนังไม่ได้ตัดสินและมอบหมายว่า เราควร “ให้คุณค่า” หรือ “รู้สึก” อย่างไรกับชัยชนะที่มาจากสงคราม
แต่หนังสามารถ “ตั้งคำถาม” เพื่อ “ฉุกคิด” ได้อย่างน่าสนใจ แน่นอนมันเป็นคำถามที่คนส่วนใหญ่ในยุคสมัยนั้น
ไม่คิดจะถาม อันเนื่องมาจากกระแสสังคมพาไป
..... ที่สำคัญ คือ การสะท้อน “ความเน่าหนอน” และ “ความอ่อนแอ” ที่เกิดขึ้นในหนังนั้น “มีความสากล” อย่างปฏิเสธไม่ได้
..... ถึงแม้หนังจะสร้างขึ้นกว่า 60 ปีที่ แต่ผลผลิตของมันยังทรงคุณค่าเหนือกาลเวลาและสถานที่ เพราะ “ความล้มเหลว”
ของระบบทหาร และคนในวงราชการ มันอาจจะไม่หนีหายไปไหน มิหนำซ้ำมันอาจจะแทรกซึมและหยั่งลึกอยู่ที่ใดสักแห่ง
..... ที่อาจจะ “ไม่ใช่แค่” ในอเมริกา??
https://www.facebook.com/BergRongCinema/
ยินดีต้อนรับคนรักหนังทุกคนนะครับ ^ ^