นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
กสทช.ถกแก้ปัญหาทีวีดิจิตอลเหลว ทำไม่ได้ทุกข้อ เลื่อน-ขยาย-คืนโดยไม่จ่ายเงิน ไม่ได้ อ้างกฎหมายปิดทุกช่องทาง พร้อมนำข้อสรุปส่งศาลปกครองกลาง และเตรียมเสนอสนช.แก้พ.ร.บ.กสทช.ให้เปลี่ยนมือผู้ประกอบการได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการกสทช.วาระพิเศษเพื่อแก้ปัญหาทีวีดิจิตอลครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปให้ศาลปกครองกลางว่า การเลื่อนการชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 ข้อ 10 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแยกชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ในงวดต่างๆ ไว้เป็นการตายตัว มิได้เปิดช่องให้ กสทช. สามารถใช้ดุลยพินิจเลื่อนกำหนดระยะเวลาการชำระในงวดใดๆ ได้ และสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง และกฤษฏีกา เคยให้คำตอบกับกสทช.ในเรื่องนี้แล้ว ตอนที่สอบถามเรื่องการเลื่อนชำระค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 ว่าทำไม่ได้ อาจมีลักษณะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้เอกชน กระทบกับการแข่งขัน มติที่ประชุมจึงขอยึดตามมติเดิมที่กสทช.เคยลงมติไว้ในครั้งนั้นแล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมก็ได้ให้ความเห็นว่า กสทช. มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีเหตุผลบางประการไม่สามารถชำระได้ตรงเวลาให้ชำระล่าช้าได้โดยกสทช.จะคิดเพียงค่าปรับ 7.5% ต่อปี โดยไม่มีมาตรการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้
สำหรับประเด็นเรื่องการขยายระยะเวลาใบอนุญาตหรือการคิดวันเริ่มต้นนับอายุใบอนุญาตช้าลงนั้น ที่ประชุมลงความเห็นว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก มาตรา 18พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ระบุว่าใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี และหลังจากประมูลภายใน 30 วัน กสทช.ได้ให้ใบอนุญาตกับผู้ชนะประมูลซึ่งในใบอนุญาตได้ระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการประกอบกิจการไว้แล้วจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ขณะที่ประเด็นเรื่องการคืนใบอนุญาตโดยไม่ต้องชำระเงินค่าประมูลนั้น ก็ไม่สามารถทำได้ ถ้าคืนก็ต้องชำระเงินให้ครบ เนื่องจาก มาตรา 42 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระบุว่าผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าใบอนุญาต แต่การที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจ่ายค่าใบอนุญาตเป็นงวดๆนั้นเพราะกสทช.มีอำนาจในการผ่อนผันให้เท่านั้น ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอเพิ่มเติมให้แก้ มาตรา 43 พ.ร.บ.กสทช.ที่กำลังจะร่างใหม่ ที่ระบุว่า 'การประมูลทีวีดิจิตอลเป็นสิทธิ์เฉพาะตัวไม่สามารถเปลี่ยนมือได้' แก้เป็น 'ให้สามารถเปลี่ยนมือได้' เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ไปไม่ไหวโดยกสทช.จะนำประเด็นนี้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
นายฐากร ระบุต่อว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่อง การเรียงช่อง ซึ่งขณะนี้มีเพียงบางช่องเท่านั้นที่ไม่ปฎิบัติตามจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณาความผิดทางปกครองด้วยการเพิ่มโทษที่สูงขึ้นจนกว่าผู้ไม่ปฎิบัติจะปฏิบัติตาม ส่วนเรื่องงบประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล จำนวน 63 ล้านบาท ในวันที่ 20 มี.ค.นี้จะประกาศลงในเว็บไซต์เพื่อเชิญชวนผู้สนใจเข้ามาร่วมประมูลเป็นบริษัททำการประชาสัมพันธ์หลังจากคราวที่แล้วต้องล้มประมูลเพราะผู้เข้าร่วมประมูลขาดคุณสมบัติบางประการ คาดว่าจะใช้เวลา 45 วัน น่าจะได้ข้อสรุป
ขณะที่การทำเรตติ้งที่ผู้ประกอบการต้องการของบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) นั้นก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจเข้าข่ายเอื้อผลประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอให้ผู้ประกอบการขอทบทวนมติและชี้แจงมาว่าเงินที่ได้จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ประเด็นการให้กสทช.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำสัญญาณทีวีดิจิตอลขึ้นดาวเทียมตามกฎมัสแครี่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณปีละ 200 ล้านบาทนั้น กสทช.ก็ไม่สามารถทำได้ ผู้ชำระต้องเป็นทีวีดิจิตอลจนกว่าโครงข่ายจะครอบคลุมครบ 95 % จากนั้นจึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เจ้าของแพลทฟอร์มต้องรับผิดชอบเอง เนื่องจากเป็นไปตามมาตรา 24 (6) (24) แห่งพ.ร.บ.กสทช.ที่มีประกาศกฎมัสแคร์รี่ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว
ส่วนประเด็นเรื่องการจ่ายเงินเข้า USO สำนักงานฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างประกาศเก็บเงินใหม่ โดยเสนอให้จ่ายเงินปีละ0.1-1 % ของรายได้ และไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลัง จากเดิมที่เก็บปีละ 2% ของรายได้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องนี้ภายใน 5 เดือน และสามารถออกประกาศฯ ได้ใหม่ประมาณเดือน ก.ค. - ส.ค. 2559
ขณะเดียวกันกสทช.ยังได้เสนอไปยังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการแจกคูปองเพิ่มเติม รวมถึงจะเสนอต่อที่ประชุมกสท.ให้ลดค่าธรรมเนียมรายปีให้กับผู้ประกอบการด้วย
'เราต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนไป คนดูออนไลน์มากขึ้นคนส่วนใหญ่ยังดูช่องเดิม ช่องทีวีมีจำนวนมากเกินไป เราไม่อยากโทษว่าเป็นความล้มเหลวของใคร'
ที่มา
http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000025135
กสทช.หมดปัญญาแก้ปัญหาทีวีดิจิตอล
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการกสทช.วาระพิเศษเพื่อแก้ปัญหาทีวีดิจิตอลครั้งสุดท้ายเพื่อสรุปให้ศาลปกครองกลางว่า การเลื่อนการชำระเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 3 ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. 2556 ข้อ 10 ได้กำหนดหลักเกณฑ์การแยกชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ในงวดต่างๆ ไว้เป็นการตายตัว มิได้เปิดช่องให้ กสทช. สามารถใช้ดุลยพินิจเลื่อนกำหนดระยะเวลาการชำระในงวดใดๆ ได้ และสำนักงานอัยการสูงสุด กระทรวงการคลัง และกฤษฏีกา เคยให้คำตอบกับกสทช.ในเรื่องนี้แล้ว ตอนที่สอบถามเรื่องการเลื่อนชำระค่าใบอนุญาตงวดที่ 2 ว่าทำไม่ได้ อาจมีลักษณะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์ให้เอกชน กระทบกับการแข่งขัน มติที่ประชุมจึงขอยึดตามมติเดิมที่กสทช.เคยลงมติไว้ในครั้งนั้นแล้ว
ทั้งนี้ ที่ประชุมก็ได้ให้ความเห็นว่า กสทช. มีอำนาจในการใช้ดุลยพินิจสำหรับผู้ประกอบการที่มีเหตุผลบางประการไม่สามารถชำระได้ตรงเวลาให้ชำระล่าช้าได้โดยกสทช.จะคิดเพียงค่าปรับ 7.5% ต่อปี โดยไม่มีมาตรการพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตได้
สำหรับประเด็นเรื่องการขยายระยะเวลาใบอนุญาตหรือการคิดวันเริ่มต้นนับอายุใบอนุญาตช้าลงนั้น ที่ประชุมลงความเห็นว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจาก มาตรา 18พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ระบุว่าใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี และหลังจากประมูลภายใน 30 วัน กสทช.ได้ให้ใบอนุญาตกับผู้ชนะประมูลซึ่งในใบอนุญาตได้ระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดการประกอบกิจการไว้แล้วจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
ขณะที่ประเด็นเรื่องการคืนใบอนุญาตโดยไม่ต้องชำระเงินค่าประมูลนั้น ก็ไม่สามารถทำได้ ถ้าคืนก็ต้องชำระเงินให้ครบ เนื่องจาก มาตรา 42 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ระบุว่าผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าใบอนุญาต แต่การที่ผู้ได้รับใบอนุญาตจ่ายค่าใบอนุญาตเป็นงวดๆนั้นเพราะกสทช.มีอำนาจในการผ่อนผันให้เท่านั้น ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอเพิ่มเติมให้แก้ มาตรา 43 พ.ร.บ.กสทช.ที่กำลังจะร่างใหม่ ที่ระบุว่า 'การประมูลทีวีดิจิตอลเป็นสิทธิ์เฉพาะตัวไม่สามารถเปลี่ยนมือได้' แก้เป็น 'ให้สามารถเปลี่ยนมือได้' เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ไปไม่ไหวโดยกสทช.จะนำประเด็นนี้เสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป
นายฐากร ระบุต่อว่า นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่อง การเรียงช่อง ซึ่งขณะนี้มีเพียงบางช่องเท่านั้นที่ไม่ปฎิบัติตามจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) พิจารณาความผิดทางปกครองด้วยการเพิ่มโทษที่สูงขึ้นจนกว่าผู้ไม่ปฎิบัติจะปฏิบัติตาม ส่วนเรื่องงบประชาสัมพันธ์ทีวีดิจิตอล จำนวน 63 ล้านบาท ในวันที่ 20 มี.ค.นี้จะประกาศลงในเว็บไซต์เพื่อเชิญชวนผู้สนใจเข้ามาร่วมประมูลเป็นบริษัททำการประชาสัมพันธ์หลังจากคราวที่แล้วต้องล้มประมูลเพราะผู้เข้าร่วมประมูลขาดคุณสมบัติบางประการ คาดว่าจะใช้เวลา 45 วัน น่าจะได้ข้อสรุป
ขณะที่การทำเรตติ้งที่ผู้ประกอบการต้องการของบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (USO) นั้นก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากอาจเข้าข่ายเอื้อผลประโยชน์ให้ผู้ประกอบการ ดังนั้นที่ประชุมจึงเสนอให้ผู้ประกอบการขอทบทวนมติและชี้แจงมาว่าเงินที่ได้จะช่วยให้เกิดประโยชน์กับประชาชนอย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ ประเด็นการให้กสทช.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการนำสัญญาณทีวีดิจิตอลขึ้นดาวเทียมตามกฎมัสแครี่ ซึ่งต้องใช้งบประมาณปีละ 200 ล้านบาทนั้น กสทช.ก็ไม่สามารถทำได้ ผู้ชำระต้องเป็นทีวีดิจิตอลจนกว่าโครงข่ายจะครอบคลุมครบ 95 % จากนั้นจึงเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เจ้าของแพลทฟอร์มต้องรับผิดชอบเอง เนื่องจากเป็นไปตามมาตรา 24 (6) (24) แห่งพ.ร.บ.กสทช.ที่มีประกาศกฎมัสแคร์รี่ดังกล่าวไว้อย่างชัดเจนแล้ว
ส่วนประเด็นเรื่องการจ่ายเงินเข้า USO สำนักงานฯ อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างประกาศเก็บเงินใหม่ โดยเสนอให้จ่ายเงินปีละ0.1-1 % ของรายได้ และไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลัง จากเดิมที่เก็บปีละ 2% ของรายได้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปเรื่องนี้ภายใน 5 เดือน และสามารถออกประกาศฯ ได้ใหม่ประมาณเดือน ก.ค. - ส.ค. 2559
ขณะเดียวกันกสทช.ยังได้เสนอไปยังหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในการแจกคูปองเพิ่มเติม รวมถึงจะเสนอต่อที่ประชุมกสท.ให้ลดค่าธรรมเนียมรายปีให้กับผู้ประกอบการด้วย
'เราต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของประชาชนเปลี่ยนไป คนดูออนไลน์มากขึ้นคนส่วนใหญ่ยังดูช่องเดิม ช่องทีวีมีจำนวนมากเกินไป เราไม่อยากโทษว่าเป็นความล้มเหลวของใคร'
ที่มา http://manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9590000025135