รอยเตอร์ - หวัง อี้ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศจีน ระบุวันนี้ (8 มี.ค.) ว่าทะเลจีนใต้ยังคงเป็นน่านน้ำที่นานาชาติสามารถเดินเรือผ่านได้อย่าง “เสรีที่สุด” และ “ปลอดภัยที่สุด” แต่จีนก็มีสิทธิอันชอบธรรมที่จะเข้าไปควบคุมหมู่เกาะแถบนี้ เพราะ “ค้นพบ” ก่อนใคร
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคต่างออกมาวิจารณ์ที่จีนเข้าไปถมทะเลสร้างเกาะเทียมขึ้นในทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก โดยแต่ละปีจะมีสินค้าถูกขนส่งผ่านน่านน้ำแถบนี้เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สหรัฐฯ ส่งเรือพิฆาตล่องเข้าไปเฉียดใกล้เกาะเทียมของจีนหลายครั้ง โดยอ้างว่าเป็นการสำแดงเสรีภาพในการใช้น่านน้ำ
การที่สหรัฐฯ ส่งเรือออกลาดตระเวน รวมถึงกระแสข่าวในสื่อตะวันตกที่ว่าจีนส่งระบบขีปนาวุธล้ำสมัย เครื่องบินขับไล่ และระบบเรดาร์ไปไว้บนเกาะเทียม ทำให้ 2 มหาอำนาจมีการปะทะคารมกล่าวหากันไปมาว่าอีกฝ่ายพยายามแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทางทหาร
ในการแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นระหว่างที่จีนเปิดประชุมสภาประชาชนประจำปี รัฐมนตรี หวัง อี้ ได้กล่าวว่า เสรีภาพในการเดินเรือนั้นไม่ได้หมายถึงการมี “เสรีภาพที่จะอาละวาดเกเรไปทั่ว” (freedom to run amok)
“ในความเป็นจริงแล้ว ความร่วมมือระหว่างจีนกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคได้ทำให้ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางเดินเรือที่ปลอดภัยที่สุด และเสรีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้” หวัง กล่าว
“จีนเป็นชาติแรกที่ออกสำรวจ ตั้งชื่อ พัฒนา และบริหารจัดการหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ บรรพชนของเราทำงานอย่างแข็งขันที่นี่มานานหลายชั่วอายุคนแล้ว”
“การศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยพิสูจน์ได้ว่า ใครเป็นเจ้าบ้านที่แท้จริง และใครเป็นแค่ผู้มาเยือน”
หวัง ระบุด้วยว่า ในอนาคตรัฐบาลจีนอาจเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาเยี่ยมชมหมู่เกาะที่จีนดูแลอยู่ หากเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย
หวัง ยืนยันว่า จีนไม่ได้ส่งอาวุธไปติดตั้งบนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้เป็นชาติแรก และไม่ใช่ชาติที่มีอาวุธอยู่ในทะเลจีนใต้มากที่สุดด้วย แต่ก็ไม่กล่าวชัดเจนลงไปว่าหมายถึงชาติใด
การอ้างว่าเป็นเจ้าของน่านน้ำเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ทำให้ปักกิ่งต้องขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน และบรูไน
แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เคยเตือนจีนให้ระวัง “ผลที่จะติดตามมา” จากการดำเนินนโยบายก้าวร้าว ขณะที่สหรัฐฯ ก็พร้อมจะขยายบทบาททางทหารในเอเชีย-แปซิฟิก โดยได้จัดสรรงบประมาณ 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับใช้จนถึงปี 2020 เพื่อสนับสนุนภารกิจซ้อมรบและฝึกฝนร่วมกับมิตรประเทศในภูมิภาคที่ไม่พอใจการกระทำของจีน
ผู้สื่อข่าวยังสอบถาม หวัง เรื่องที่ฟิลิปปินส์ไปฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ที่กรุงเฮกให้ช่วยตัดสินชี้ขาดปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งหวังก็ตอบว่า จีนมีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมกระบวนการไต่สวน และอ้างว่ามีการใช้อิทธิพลทางการเมืองอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
“ความดื้อแพ่งของฟิลิปปินส์เป็นผลมาจากการถูกยุยงส่งเสริม และการใช้อิทธิพลทางการเมืองชักใยอยู่เบื้องหลัง” เขากล่าว โดยไม่ลงรายละเอียดมากไปกว่านี้
มะนิลาเรียกร้องให้จีนเคารพคำพิพากษาของศาล ซึ่งคาดว่าจะประกาศออกมาในช่วงเดือน พ.ค.
รัฐบาลจีนไม่ยอมรับว่าศาลอนุญาโตตุลาการถาวรมีอำนาจตัดสินเรื่องนี้ และยืนกรานให้แก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาทวิภาคีเท่านั้น
ที่มา :
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024587
ปักกิ่งโวน่านน้ำทะเลจีนใต้ “เสรีที่สุด-ปลอดภัยที่สุด” ย้ำมีสิทธิ์ควบคุมหมู่เกาะเพราะ “ค้นพบก่อนใคร”
ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา สหรัฐฯ และพันธมิตรในภูมิภาคต่างออกมาวิจารณ์ที่จีนเข้าไปถมทะเลสร้างเกาะเทียมขึ้นในทะเลจีนใต้ ซึ่งถือเป็นเส้นทางเดินเรือสำคัญของโลก โดยแต่ละปีจะมีสินค้าถูกขนส่งผ่านน่านน้ำแถบนี้เป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สหรัฐฯ ส่งเรือพิฆาตล่องเข้าไปเฉียดใกล้เกาะเทียมของจีนหลายครั้ง โดยอ้างว่าเป็นการสำแดงเสรีภาพในการใช้น่านน้ำ
การที่สหรัฐฯ ส่งเรือออกลาดตระเวน รวมถึงกระแสข่าวในสื่อตะวันตกที่ว่าจีนส่งระบบขีปนาวุธล้ำสมัย เครื่องบินขับไล่ และระบบเรดาร์ไปไว้บนเกาะเทียม ทำให้ 2 มหาอำนาจมีการปะทะคารมกล่าวหากันไปมาว่าอีกฝ่ายพยายามแสดงอำนาจบาตรใหญ่ทางทหาร
ในการแถลงข่าวซึ่งจัดขึ้นระหว่างที่จีนเปิดประชุมสภาประชาชนประจำปี รัฐมนตรี หวัง อี้ ได้กล่าวว่า เสรีภาพในการเดินเรือนั้นไม่ได้หมายถึงการมี “เสรีภาพที่จะอาละวาดเกเรไปทั่ว” (freedom to run amok)
“ในความเป็นจริงแล้ว ความร่วมมือระหว่างจีนกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคได้ทำให้ทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางเดินเรือที่ปลอดภัยที่สุด และเสรีที่สุดแห่งหนึ่งในโลกก็ว่าได้” หวัง กล่าว
“จีนเป็นชาติแรกที่ออกสำรวจ ตั้งชื่อ พัฒนา และบริหารจัดการหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ บรรพชนของเราทำงานอย่างแข็งขันที่นี่มานานหลายชั่วอายุคนแล้ว”
“การศึกษาประวัติศาสตร์จะช่วยพิสูจน์ได้ว่า ใครเป็นเจ้าบ้านที่แท้จริง และใครเป็นแค่ผู้มาเยือน”
หวัง ระบุด้วยว่า ในอนาคตรัฐบาลจีนอาจเชิญผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาเยี่ยมชมหมู่เกาะที่จีนดูแลอยู่ หากเงื่อนไขต่างๆ เอื้ออำนวย
หวัง ยืนยันว่า จีนไม่ได้ส่งอาวุธไปติดตั้งบนหมู่เกาะในทะเลจีนใต้เป็นชาติแรก และไม่ใช่ชาติที่มีอาวุธอยู่ในทะเลจีนใต้มากที่สุดด้วย แต่ก็ไม่กล่าวชัดเจนลงไปว่าหมายถึงชาติใด
การอ้างว่าเป็นเจ้าของน่านน้ำเกือบทั้งหมดในทะเลจีนใต้ทำให้ปักกิ่งต้องขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน และบรูไน
แอชตัน คาร์เตอร์ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เคยเตือนจีนให้ระวัง “ผลที่จะติดตามมา” จากการดำเนินนโยบายก้าวร้าว ขณะที่สหรัฐฯ ก็พร้อมจะขยายบทบาททางทหารในเอเชีย-แปซิฟิก โดยได้จัดสรรงบประมาณ 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับใช้จนถึงปี 2020 เพื่อสนับสนุนภารกิจซ้อมรบและฝึกฝนร่วมกับมิตรประเทศในภูมิภาคที่ไม่พอใจการกระทำของจีน
ผู้สื่อข่าวยังสอบถาม หวัง เรื่องที่ฟิลิปปินส์ไปฟ้องศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (Permanent Court of Arbitration) ที่กรุงเฮกให้ช่วยตัดสินชี้ขาดปัญหาทะเลจีนใต้ ซึ่งหวังก็ตอบว่า จีนมีสิทธิ์ที่จะไม่เข้าร่วมกระบวนการไต่สวน และอ้างว่ามีการใช้อิทธิพลทางการเมืองอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
“ความดื้อแพ่งของฟิลิปปินส์เป็นผลมาจากการถูกยุยงส่งเสริม และการใช้อิทธิพลทางการเมืองชักใยอยู่เบื้องหลัง” เขากล่าว โดยไม่ลงรายละเอียดมากไปกว่านี้
มะนิลาเรียกร้องให้จีนเคารพคำพิพากษาของศาล ซึ่งคาดว่าจะประกาศออกมาในช่วงเดือน พ.ค.
รัฐบาลจีนไม่ยอมรับว่าศาลอนุญาโตตุลาการถาวรมีอำนาจตัดสินเรื่องนี้ และยืนกรานให้แก้ไขข้อพิพาทผ่านการเจรจาทวิภาคีเท่านั้น
ที่มา : http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000024587