ตามนั้น
คำพิพากษาศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (พีซีเอ) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่าด้วยกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก กระทบทั้งการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างสูง
แต่กระนั้นกรณีดังกล่าวก็ยากต่อการทำความเข้าใจไม่น้อย ด้วยปัญหาถ้อยคำทางกฎหมายและความซับซ้อนยืดเยื้อของความขัดแย้งที่ดำเนินมานานหลายสิบปี
ทะเลจีนใต้นั้นคือพื้นที่ทางทะเลกว้างใหญ่ราว 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร ขนาดพอๆ กับประเทศเม็กซิโกทั้งประเทศ กินอาณาเขตตั้งแต่ตอนใต้ของเกาะไหหลำของจีน เรื่อยลงมาทางชายฝั่งตะวันออกของเวียดนาม วกโค้งตามแนวชายฝั่งของเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย ไต่สูงขึ้นไปเรื่อยตามแนวชายฝั่งของบรูไน และชายฝั่งด้านตะวันตกของฟิลิปปินส์ ไปจนกระทั่งถึงตอนใต้ของเกาะไต้หวัน
พื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นน่านน้ำสำคัญทั้งในทางการค้าและทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากสินค้ามูลค่าไม่น้อยกว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ เดินทางผ่านน่านน้ำนี้ในแต่ละปี นอกจากนั้นหากจีนสามารถปิดกั้นทะเลจีนใต้ได้ทั้งหมดก็แทบจะลดการคุกคามทางทะเลต่อความมั่นคงของประเทศตนได้เกือบทั้งหมดเช่นเดียวกัน
ในทะเลย่อมมีเกาะแก่งเป็นจำนวนมาก ในทะเลจีนใต้มีเกาะแก่งที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน จุดแรกเรียกกันว่า หมู่เกาะพาราเซล อยู่ค่อนไปทางตอนเหนือ ถัดลงมาแต่เยื้องไปทางตะวันออกเล็กน้อยเป็นแนวสันทรายสการ์โบโร ต่ำลงมาเยื้องไปทางตะวันตก คือหมู่เกาะสแปรตลีย์
ราว 80-90% ของพื้นที่ทางทะเลดังกล่าวนี้ จีนอ้างสิทธิเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว โดยอ้าง “สิทธิทางประวัติศาสตร์” กล่าวคือ นอกจากพ่อค้าชาวจีนจะใช้เส้นทางผ่านน่านน้ำนี้เป็นประจำมาตั้งแต่ 2,000 ปีมาแล้ว ยังมีหลักฐานการค้นพบเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ทั้งหมดของนักเดินเรือชาวจีนและการเข้าไปทำประมงของชาวจีนอีกด้วย จีนบอกว่าอาณาเขตทางทะเลในทะเลจีนใต้ของตน เป็นไปตาม “เส้นประ 9 เส้น” ที่ถูกลากขึ้นคร่าวๆ ในแผนที่ซึ่งทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1947 (หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2) และยึดถือเรื่อยมาโดยไม่มีการระบุเขตที่ชัดเจน แต่ยืนยันว่าคำกล่าวอ้างนี้สอดคล้องกับ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ปี 1982 ซึ่งจีนเป็นภาคี
หลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมายทะเลดังกล่าวนี้ก็คือ ที่ใดมีแผ่นดินและมีทะเล พื้นที่แผ่นดินดังกล่าวย่อมมี “อาณาเขตทางทะเล”
ในเมื่อ พาราเซล สการ์โบโร และสแปรตลีย์ เป็นของจีน อาณาเขตทางทะเลของจีนย่อมครอบคลุมเกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้ตามสิทธิทางประวัติศาสตร์นั่นเอง
ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเขตที่จีนอ้างนี้ไปทับซ้อนกับอาณาเขตทางทะเลของประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาฯเช่นกันและใช้หลักการเดียวกันคือ เมื่อมีแผ่นดินกับทะเล ตนก็ต้องมีอาณาเขตทางทะเล อาณาเขตทางทะเลดังกล่าวนี้เลยไปทับซ้อนกับบางส่วนของพื้นที่ซึ่งจีนอ้างสิทธิอยู่อย่างช่วยไม่ได้
เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน จึงเกิดพิพาทเรื่องเขตแดนทางทะเลกับจีน
จีนกับฟิลิปปินส์พิพาทกันในพื้นที่บางส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีย์และสการ์โบโรโชล ซึ่งอยู่ห่างจากไหหลำราว 900 ไมล์ แต่อยู่ห่างจากเกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์เพียง 120 ไมล์
คำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งเป็นหนึ่งในศาลที่ถูกกำหนดไว้ในอนุสัญญาฯให้เป็นผู้ตัดสินหากเกิดกรณีพิพาทขึ้นเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเล สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ว่าประกอบด้วย คำชี้ขาดสำคัญ 2-3 ประเด็น
ประการแรก ศาลชี้ว่าจีนไม่มีสิทธิชอบธรรมทางกฎหมายในการอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ทางทะเลข้างต้นนี้ เนื่องจากแม้ว่าจีนจะเคยใช้ ประเทศอื่นๆ ก็เคยใช้ นักเดินเรือจีนเคยพบ นักเดินเรือชาติอื่นๆ ก็เคยพบ ที่สำคัญที่สุดก็คือไม่มีการไปตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนถาวร หรือ “ชุมชนเสถียร” ขึ้นที่นั่น จึงอ้างสิทธิครอบครองไม่ได้
ประการถัดมา ศาลชี้ด้วยว่าสแปรตลีย์ได้ชื่อว่าเป็นหมู่เกาะก็จริง แต่ไม่มีองค์ประกอบตามสภาพธรรมชาติเป็นเกาะ ดังนั้นหมู่เกาะสแปรตลีย์จึงไม่ได้เป็นเกาะที่มีอาณาเขตทางทะเลได้ ตามหลักที่ว่าจะมีอาณาเขตทางทะเล ต้องมีแผ่นดินก่อน แต่ทั้งหมดของสแปรตลีย์เป็นเพียง “เกาะแก่ง” อยู่อาศัยไม่ได้ หลายส่วนยังเป็นเพียงแค่โขดหิน หรือแนวปะการังที่จะโผล่พ้นน้ำก็เมื่อน้ำลดเท่านั้น
การอ้างสิทธิตามอาณาเขตทางทะเลจากเกาะเหล่านี้จึงไม่สอดคล้องและไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ประการสุดท้าย เมื่อไม่มีทั้งสิทธิทางประวัติศาสตร์และเกาะก็ไม่ได้เป็นเกาะจริงๆ การกระทำใดๆ ของจีน อาทิ การถมทะเล สร้างเกาะเทียม จับปลา ปิดกั้นไม่ให้เรือฟิลิปปินส์เข้า ฯลฯ ในพื้นที่ซึ่งเห็นชัดว่าเป็นอาณาเขตทางทะเลของฟิลิปปินส์ จึงเท่ากับเป็นการละเมิดหรือรอนสิทธิ ตามอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ คำพิพากษานี้ถือเป็นอันสิ้นสุด และถือเป็นพันธะทางกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม
นั่นหมายถึงว่า ถ้าจีนไม่ยอมรับ จีนก็จะกลายเป็นชาติที่ฝ่าฝืน หรือมีการกระทำนอกกฎหมาย จีนจะยอมรับก็ไม่ได้ ไม่ยอมรับก็ลำบาก
คำถามคือ จีนจะทำอย่างไรต่อไป?
จะทำเฉยๆ เดินหน้าสร้างเกาะเทียมเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นทางทหารที่เป็นแนวป้องกันทะเลจีนใต้ทั้งหมดต่อไป โดยอาศัยช่องโหว่สำคัญของกฎหมายนานาชาติที่ตราโดยระบอบสหประชาชาติที่ว่า ทุกกฎหมายเหล่านี้แทบไม่มีกลไกบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของกฎหมายเลย ก็น่าจะเป็นไปได้
แต่จะทำให้สถานะของจีนในเวทีโลกเปลี่ยนแปลงไป ชนิดไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีกต่อไป
ที่สำคัญคือทำให้สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ระอุคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะระเบิดเปรี้ยงปร้างขึ้นมาเป็นศึก เป็นสงครามเมื่อใดก็ได้นั่นเอง
https://www.yaklai.com/news/global-news/pca-verdict/
...............................
อนึ่ง แผนที่ ที่จีนกล่าวอ้าง จีนอ้างว่าเวียดนามก็รับทราบ "แต่" เวียดนาม ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้ฝรั่งเศสอยู่
อีกประการ รบ.ที่ทำสัญญา และแผนที่ในตอนนั้น คือรบ.ก๊กมินตั๋ง ไม่ใช่รบเจียงไคเช็ค
...................
คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ครับ
ผมคิดว่า จีนไม่แคร์สื่อ และเดินหน้าสร้างสิ่งปลูกสร้างในเกาะเทียมต่อไป เพราะรู้ว่าก้างใหญ่ที่สุดคืออเมริกา จะไม่ยอมลงมาเจ็บตัวแน่ๆ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดสงครามใหญ่ ท้ายที่สุดแล้ว ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ตามกฏของโลกนี้
ท่าทางน่าจะเดือด ศาลโลกตัดสินให้จีนไม่มีสิทธิ หมู่เกาะพิพาท
คำพิพากษาศาลอนุญาโตตุลาการถาวร (พีซีเอ) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ว่าด้วยกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ระหว่างจีนกับฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ในระดับภูมิภาคไปจนถึงระดับโลก กระทบทั้งการเมืองและความมั่นคงระหว่างประเทศอย่างสูง
แต่กระนั้นกรณีดังกล่าวก็ยากต่อการทำความเข้าใจไม่น้อย ด้วยปัญหาถ้อยคำทางกฎหมายและความซับซ้อนยืดเยื้อของความขัดแย้งที่ดำเนินมานานหลายสิบปี
ทะเลจีนใต้นั้นคือพื้นที่ทางทะเลกว้างใหญ่ราว 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร ขนาดพอๆ กับประเทศเม็กซิโกทั้งประเทศ กินอาณาเขตตั้งแต่ตอนใต้ของเกาะไหหลำของจีน เรื่อยลงมาทางชายฝั่งตะวันออกของเวียดนาม วกโค้งตามแนวชายฝั่งของเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย ไต่สูงขึ้นไปเรื่อยตามแนวชายฝั่งของบรูไน และชายฝั่งด้านตะวันตกของฟิลิปปินส์ ไปจนกระทั่งถึงตอนใต้ของเกาะไต้หวัน
พื้นที่ดังกล่าวนี้เป็นน่านน้ำสำคัญทั้งในทางการค้าและทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากสินค้ามูลค่าไม่น้อยกว่า 4.5 ล้านล้านดอลลาร์ เดินทางผ่านน่านน้ำนี้ในแต่ละปี นอกจากนั้นหากจีนสามารถปิดกั้นทะเลจีนใต้ได้ทั้งหมดก็แทบจะลดการคุกคามทางทะเลต่อความมั่นคงของประเทศตนได้เกือบทั้งหมดเช่นเดียวกัน
ในทะเลย่อมมีเกาะแก่งเป็นจำนวนมาก ในทะเลจีนใต้มีเกาะแก่งที่สำคัญอยู่ 3 จุดด้วยกัน จุดแรกเรียกกันว่า หมู่เกาะพาราเซล อยู่ค่อนไปทางตอนเหนือ ถัดลงมาแต่เยื้องไปทางตะวันออกเล็กน้อยเป็นแนวสันทรายสการ์โบโร ต่ำลงมาเยื้องไปทางตะวันตก คือหมู่เกาะสแปรตลีย์
ราว 80-90% ของพื้นที่ทางทะเลดังกล่าวนี้ จีนอ้างสิทธิเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว โดยอ้าง “สิทธิทางประวัติศาสตร์” กล่าวคือ นอกจากพ่อค้าชาวจีนจะใช้เส้นทางผ่านน่านน้ำนี้เป็นประจำมาตั้งแต่ 2,000 ปีมาแล้ว ยังมีหลักฐานการค้นพบเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ทั้งหมดของนักเดินเรือชาวจีนและการเข้าไปทำประมงของชาวจีนอีกด้วย จีนบอกว่าอาณาเขตทางทะเลในทะเลจีนใต้ของตน เป็นไปตาม “เส้นประ 9 เส้น” ที่ถูกลากขึ้นคร่าวๆ ในแผนที่ซึ่งทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1947 (หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2) และยึดถือเรื่อยมาโดยไม่มีการระบุเขตที่ชัดเจน แต่ยืนยันว่าคำกล่าวอ้างนี้สอดคล้องกับ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ปี 1982 ซึ่งจีนเป็นภาคี
หลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมายทะเลดังกล่าวนี้ก็คือ ที่ใดมีแผ่นดินและมีทะเล พื้นที่แผ่นดินดังกล่าวย่อมมี “อาณาเขตทางทะเล”
ในเมื่อ พาราเซล สการ์โบโร และสแปรตลีย์ เป็นของจีน อาณาเขตทางทะเลของจีนย่อมครอบคลุมเกือบทั้งหมดของทะเลจีนใต้ตามสิทธิทางประวัติศาสตร์นั่นเอง
ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเขตที่จีนอ้างนี้ไปทับซ้อนกับอาณาเขตทางทะเลของประเทศอื่นๆ ซึ่งเป็นภาคีของอนุสัญญาฯเช่นกันและใช้หลักการเดียวกันคือ เมื่อมีแผ่นดินกับทะเล ตนก็ต้องมีอาณาเขตทางทะเล อาณาเขตทางทะเลดังกล่าวนี้เลยไปทับซ้อนกับบางส่วนของพื้นที่ซึ่งจีนอ้างสิทธิอยู่อย่างช่วยไม่ได้
เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน จึงเกิดพิพาทเรื่องเขตแดนทางทะเลกับจีน
จีนกับฟิลิปปินส์พิพาทกันในพื้นที่บางส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีย์และสการ์โบโรโชล ซึ่งอยู่ห่างจากไหหลำราว 900 ไมล์ แต่อยู่ห่างจากเกาะปาลาวันของฟิลิปปินส์เพียง 120 ไมล์
คำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ซึ่งเป็นหนึ่งในศาลที่ถูกกำหนดไว้ในอนุสัญญาฯให้เป็นผู้ตัดสินหากเกิดกรณีพิพาทขึ้นเกี่ยวกับเขตแดนทางทะเล สามารถอธิบายได้ง่ายๆ ว่าประกอบด้วย คำชี้ขาดสำคัญ 2-3 ประเด็น
ประการแรก ศาลชี้ว่าจีนไม่มีสิทธิชอบธรรมทางกฎหมายในการอ้างสิทธิทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ทางทะเลข้างต้นนี้ เนื่องจากแม้ว่าจีนจะเคยใช้ ประเทศอื่นๆ ก็เคยใช้ นักเดินเรือจีนเคยพบ นักเดินเรือชาติอื่นๆ ก็เคยพบ ที่สำคัญที่สุดก็คือไม่มีการไปตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนถาวร หรือ “ชุมชนเสถียร” ขึ้นที่นั่น จึงอ้างสิทธิครอบครองไม่ได้
ประการถัดมา ศาลชี้ด้วยว่าสแปรตลีย์ได้ชื่อว่าเป็นหมู่เกาะก็จริง แต่ไม่มีองค์ประกอบตามสภาพธรรมชาติเป็นเกาะ ดังนั้นหมู่เกาะสแปรตลีย์จึงไม่ได้เป็นเกาะที่มีอาณาเขตทางทะเลได้ ตามหลักที่ว่าจะมีอาณาเขตทางทะเล ต้องมีแผ่นดินก่อน แต่ทั้งหมดของสแปรตลีย์เป็นเพียง “เกาะแก่ง” อยู่อาศัยไม่ได้ หลายส่วนยังเป็นเพียงแค่โขดหิน หรือแนวปะการังที่จะโผล่พ้นน้ำก็เมื่อน้ำลดเท่านั้น
การอ้างสิทธิตามอาณาเขตทางทะเลจากเกาะเหล่านี้จึงไม่สอดคล้องและไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ
ประการสุดท้าย เมื่อไม่มีทั้งสิทธิทางประวัติศาสตร์และเกาะก็ไม่ได้เป็นเกาะจริงๆ การกระทำใดๆ ของจีน อาทิ การถมทะเล สร้างเกาะเทียม จับปลา ปิดกั้นไม่ให้เรือฟิลิปปินส์เข้า ฯลฯ ในพื้นที่ซึ่งเห็นชัดว่าเป็นอาณาเขตทางทะเลของฟิลิปปินส์ จึงเท่ากับเป็นการละเมิดหรือรอนสิทธิ ตามอำนาจอธิปไตยของฟิลิปปินส์
ข้อที่น่าสังเกตก็คือ คำพิพากษานี้ถือเป็นอันสิ้นสุด และถือเป็นพันธะทางกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม
นั่นหมายถึงว่า ถ้าจีนไม่ยอมรับ จีนก็จะกลายเป็นชาติที่ฝ่าฝืน หรือมีการกระทำนอกกฎหมาย จีนจะยอมรับก็ไม่ได้ ไม่ยอมรับก็ลำบาก
คำถามคือ จีนจะทำอย่างไรต่อไป?
จะทำเฉยๆ เดินหน้าสร้างเกาะเทียมเพื่อใช้เป็นฐานที่มั่นทางทหารที่เป็นแนวป้องกันทะเลจีนใต้ทั้งหมดต่อไป โดยอาศัยช่องโหว่สำคัญของกฎหมายนานาชาติที่ตราโดยระบอบสหประชาชาติที่ว่า ทุกกฎหมายเหล่านี้แทบไม่มีกลไกบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของกฎหมายเลย ก็น่าจะเป็นไปได้
แต่จะทำให้สถานะของจีนในเวทีโลกเปลี่ยนแปลงไป ชนิดไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิมได้อีกต่อไป
ที่สำคัญคือทำให้สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ระอุคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะระเบิดเปรี้ยงปร้างขึ้นมาเป็นศึก เป็นสงครามเมื่อใดก็ได้นั่นเอง
https://www.yaklai.com/news/global-news/pca-verdict/
...............................
อนึ่ง แผนที่ ที่จีนกล่าวอ้าง จีนอ้างว่าเวียดนามก็รับทราบ "แต่" เวียดนาม ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ภายใต้ฝรั่งเศสอยู่
อีกประการ รบ.ที่ทำสัญญา และแผนที่ในตอนนั้น คือรบ.ก๊กมินตั๋ง ไม่ใช่รบเจียงไคเช็ค
...................
คิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ครับ
ผมคิดว่า จีนไม่แคร์สื่อ และเดินหน้าสร้างสิ่งปลูกสร้างในเกาะเทียมต่อไป เพราะรู้ว่าก้างใหญ่ที่สุดคืออเมริกา จะไม่ยอมลงมาเจ็บตัวแน่ๆ เพราะเสี่ยงที่จะเกิดสงครามใหญ่ ท้ายที่สุดแล้ว ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ตามกฏของโลกนี้