เจ้าคุณเบอร์ลิน >> ยก พรบ. สงฆ์ เปรียบเทียบ พรบ. อิสลาม แจงละเอียดยิบ ปมตั้งประมุข

กระทู้สนทนา
คัดมาบางส่วน  อ่านฉบับเต็มที่

https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=1096931997036678&id=1072393339490544

รับรองถ้าได้  อ่านโพสต์  เจ้าคุณเบอร์ลิน  นี้แล้ว  ทุกท่าน  จะแจ้งสว่างกันเลย  จะถึงบางอ้อ  ยันบางจาก  (จากตำแหน่ง)  กันเลยครับ.

-   และหากอ่านแล้วก็ให้นัดกัน  ช่วยกันแบก  พรบ.  ของ  ศาสนาอิสลามฉบับนี้.  

-   ไปโยนใส่หน้า  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ชี้ให้ท่าน  (แหกตา)   ดู  และให้ดำเนินการช่วยทำการตีความ  และวินิจฉัย  เหมือนที่มาตีความ  และวินิจฉัย  พรบ.  สงฆ์  ในครั้งนี้ด้วย.

-  แล้วก็  ถามท่านผู้ตรวจการ  ฯ  ด้วยว่า  เมื่ออ่านจนจบ  โพสต์ของเจ้าคุณเบอร์ลิน  นี้แล้ว

"มีเหตุผลอันใดหรือ  ที่ทำให้ท่านหน้ามืดมาวินิจฉัย  มติ  มส.  ครั้งนี้  เช่นนี้  และก็ขอให้ท่าน  นำ  พรบ.  การบริหารองค์กร  ศาสนาอิสลาม  พ.ศ.๒๕๔๐  นี้  นำไปตีความ  และวินิจฉัยด้วย"  หลังอ่านโพสต์นี้จบแล้วด้วย.

-  พวกกท่านทราบหรือไม่ว่า  เรื่องศาสนานี้  เรื่องใหญ่มากนะครับ.

-  หากแจ้งชัดขนาดนี้แล้ว  ยังไม่รู้สึกรู้สาอะไร  ก็อย่ามานั่งกินเงินภาษีชาวพุทธตรงนี้เลยครับ  "มันบาป"  ครับ.

พรบ.  การบริหารองค์กร  ศาสนาอิสลาม  พ.ศ.๒๕๔๐  

ก่อนอื่น  ขอแจ้งให้ทราบว่า.......  

-   หลังจากประกาศใช้กฏหมายดังกล่าวไม่นาน  นายประเสริฐ  มะหะหมัด  จุฬาราชมนตรีในขณะนั้น  ได้ถึงแก่อนิจกรรม.  

-   และผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นจุฬาราชมนตรี  คนต่อมาคือ  นายสวาสดิ์  สุมาลยศักดิ์  ขณะมีอายุได้  ๘๒  ปี  เศษ.  

-   ซึ่งถือว่าเป็น  จุฬาราชมนตรี  คนแรก  ที่ได้รับการเลือกตั้งตามกฏหมายฉบับนี้  (พ.ศ.๒๕๔๐)  โดยดำรงตำแหน่งจนถึงแก่อนิจกรรม  เมื่อวันที่  ๒๔  มีนาคม  ๒๕๕๓.

-  และวันที่  ๑๖  มีนาคม  ๒๕๕๓  ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ    ได้มีมติให้  

-   นายอาศิส  พิทักษ์คุมพล  เป็นผู้สมควรดำรงตำแหน่ง  จุฬาราชมนตรีต่อจากนายสวาสดิ์  สุมาลยศักดิ์  

-    และได้รับโปรดเกล้า  ฯ  แต่งตั้งให้เป็น  จุฬาราชมนตรี  คนที่  ๑๘  เมื่อวันที่  ๖  มิถุนายน  ๒๕๕๓.

.......................

ข้อสังเกตตรงนี้  คือ  .....

-  ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลาม  ฯ  ได้มีมติให้แก่  นายอาศิส  เป็นเบื้องต้นก่อนขั้นแรก.  

-   จากนั้น  จึงดำเนินการกระบวนการเพื่อโปรดเกล้า  ฯ  แต่งตั้งต่อไป.  

""จำข้อสังเกต  และขั้นตอนตรงนี้ดี  ๆ ไว้ นะครับ""""""
..........................

-    จากนั้นต่อมา  ขอให้ทุกท่านมาดูรายละเอียด  พรบ.  การบริหารองค์กร  ศาสนาอิสลาม  พ.ศ  ๒๕๔๐  (รัฐบาล  พล.อ.  ชวลิต).

-  ใน  หมวด  ๑  บททั่วไป  ของ  พรบ.  นี้  ใน  ๓  บรรทัดแรก  เขียนไว้ว่า.....

(อ่าน   และจำไว้ดี  ๆ  นะครับ  แล้วผมจะนำไปเปรียบเทียบกับ  พรบ.  สงฆ์  ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินตีความ  และวินิจฉัย)....

บรรทัดที่  ๑......

-   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง  จุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง  เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย.

บรรทัดที่  ๒  .......

-  ให้  (เน้น  ๑  -  ผู้เขียน)  

-  นายกรัฐมนตรี  (เน้น  ๒  -  ผู้เขียน)   นำชื่อผู้ที่จะดำรงตำแหน่ง  จุฬาราชมนตรี.  

-  ซึ่งได้รับความเห็นชอบ จากกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ  (เน้น  ๓  -  ผู้เขียน).  

ขึ้นทูลเกล้า  ฯ  เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า  ฯ  แต่งตั้งเป็น  จุฬาราชมนตรี  ฯ.

(ดังเอกสารที่แนบมาด้วยแล้วนี้).
........................................

-  และตามกฏหมายฉบับนี้  ปัจจุบัน  นายอศิส  พิทักษ์คุมพล  ก็ได้รับการโปรดเกล้า  ฯ  แต่งตั้งให้เป็น  จุฬาราชมนตรี  ตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๕๓  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว.

............................................................

......ความรู้สำคัญ.......

ข้อที่  ๔

-    จุดสำคัญที่สุด  ในการเปรียบเทียบ

๔.๑      ขอให้ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน  และชาวพุทธทั่วโลก  (พวกแถไม่ต้องมาอ่านก็ได้)  

-    จงไปนำคำที่ผม คือ  ผู้เขียน  ได้  วงเล็บไว้ว่า.....

-   เน้น  ๑  คือ  ให้.  

-   เน้น  ๒  คือ  นายกรัฐมนตรี.  

-   เน้น  ๓  คือ  ด้วยความเห็นชอบของ..  (ต่อท้ายด้วยองค์กรที่เกี่ยวกับ  พรบ.  ทั้ง  ๒  ฉบับ).  

-   ไปเปรียบเทียบกันระหว่าง  พรบ.  ทั้ง  ๒  ฉบับนี้  มันเหมือนกัน  และแตกต่างกันไงครับ.

๔.๒    ถึงบางอ้อ  หายงงหรือยังครับ  นั่นก็คือ  .....

"ทุกถ้อยคำ  ทุกคำศัพท์  ทุกประโยค  (เน้น  ๑ -๓)  ไม่ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันใด  ๆ  ทั้งสิ้น  ใน  พรบ.  สงฆ์  และ  พรบ.  อิสลามครับ".

๔.๓  จึงเป็นอันสรูป  และยุติ  ได้ว่า  ....

-  การเสนอนาม  ผู้ที่จะนำขึ้นทูลเกล้า  ฯ  โปรดแต่งตั้งเป็นประมุของค์กรนั้น  

-    กระบวนการจะต้องเริ่มที่  องค์กรนั้น  ๆ มีมติเอกฉันท์  ออกมาป็นเบื้องต้นเสียก่อน.

-    จากนั้น  จึงมานายกรัฐมนตรี  และเป็นผู้นำขึ้นทูลเกล้า  ฯ  ต่อไป.

-    ย่อมหาใช่เริ่มที่นายกรัฐมนตรี  ดังที่  ผู้ตรวจการแผ่นดินตีความ  และวินิจฉัยออกมาไม่.  

-   ดังเช่น  ตัวอย่าง  โปรดเกล้า  ฯ  แต่งตั้ง  นายอศิส  เป็น  จุฬาราชมนตรี  เป็นต้น".
..........................................................

-  ถึงตรงนี้  พวกเราชาวพุทธทุกท่านที่อ่านโพสต์นี้แล้ว.....

-    ผมอยากจะให้ช่วยกัน  กอปปี้  พรบ.  องค์กรศาสนาทั้ง  ๒  ฉบับนี้.  

-   ไปโยนใส่หน้าถาม  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  เพื่อให้ดูชัด ๆ และแจ้งหน่อยได้มัยครับว่า

"มันมีตรงไหน  ที่แตกต่างกันบ้าง" .

๔.๓    ถ้าจะมาตีความ  และวินิจฉัย  มติ  มส.  อย่างที่ออกมาในครั้งนี้  ในตรรกะเดียวกันนี้  เหมือนกันทุกอย่างนี้.  

-    ขอถามว่า  แล้วที่โปรดเกล้า  ฯ  นายอศิส  เป็นจุฬาราชมนตรีไปแล้ว  ตั้งแต่  ปี  พ.ศ.  ๒๕๕๓  นี้  นั้น.

-   ท่านผู้ตรวจการแผ่นดิน  จะทำอย่างไร  จะแก้อย่างไร  ผิดขั้นตอน หรือไม่ชอบด้วยกฏหมายด้วยหรือไม่ครับ.

-   ข้อนี้  ต้องยกให้  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ตอบ  และแก้ไขเองนะครับ.

-  หากตอบไม่ได้  แก้ไม่ได้    จะไปทำอะไร  กับอนาคตตัวเอง  ก็ไปคิดเองครับ .

-   แต่อยากจะบอกว่า  อันเงินภาษีรายเดือนที่กินทุก ๆ เดือน  ที่เป็นของชาวพุทธส่วนใหญ่ นี้.

-  พวกท่านกินอิ่มนอนหลับสบายดีกันอยู่ใช่มัยครับ (หมดคำพูด).
..............

สรูป

-   ในนามของตัวแทนองค์กรเครือข่าย  ชาวพุทธทั้งใน  และต่างประเทศทั่วโลก  มีความรู้สึกร่วมกันว่า  .....

-   การตีความ  และวินิจฉัย  มติ  มส.  การสถาปนาสังฆราช  ของ  คณะสงฆ์ไทย  ของผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้.  

-    ชาวพุทธทุกคน  มีความรู้สึกได้ว่า  ได้ถูก  ผู้ตรวจการแผ่นดิน  กระทำการ  กลั่นแกล้ง  รังแก  ริดรอน  ละเมิดสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน  ของความเป็นมนุษย์ตามหลักสากล  ในการเลือกนับถือศาสนาตน.  

-  และรู้สึกผิดหวัง  และอดสู  จากการดำเนินการ  ของ  ผู้ตรวจการแผ่นดินในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง  

-  ที่แสดงการก้าวล่วง  ไม่มีสัมมาคารวะต่อพระพุทธศาสนา   และต่อองค์ประมุขสงฆ์ผู้ปฎิบัติหน้าสมเด็จพระสังฆราช  ตามธรรมเนียม  ประเพณีอันดีงามของไทย

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่