ทุกวันการตัดสินคน ตัดสินพระ ว่าดีหรือไม่นั้น เพียงแค่อ่านข่าวจบ แล้วก็พิพากษาตัดสิน กันด้วยตัวอักษร ในสังคมออนไลน์ ตามความเห็นความชอบส่วนตัวของตน กระทู้นี้จึงอยากนำเสนอ พุทธวิธี ในการรู้ว่าผู้อื่นมีศีลเป็นเช่นไร
ครั้งหนึ่ง ประเจ้าปเสนทิโกศล กำลังเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู้ แล้วก็มี นักบวชพวกชีเปลือยบ้าง พวกทรมานตน ผมเผ้ารุงรัง เล็บยาว หนวดยาว กลุ่มใหญ่เดินผ่าน พระเจ้าปเสนทิฯ เห็นอย่างนั้น ก็รีบคุกเข่าทำความเคารพ ประกาศโคตรนามเสร็จ(เป็นการเคารพอย่างสูง) เมื่อไปแล้วจึงกลับมาถามพระพุทธเจ้าว่า นักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ใช่ไหม
ความจริง พระเจ้าปเสนธิต้องการทดสอบพระพุทธองค์ เพราะนักบวชกลุ่มนั้น ไม่ใช่นักบวช แต่เป็นจารชนปลอมตัวไป สืบข่าวจากเมืองอื่น ซึ่งพระองค์รู้จักดี ซึ่งแม้พระพุทธองค์จะทรงรู้ แต่ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็เหมือนกับเป็นการหักหน้าพระราชา ไม่เกิดประโยชน์ จึงตรัสวิธีการดูคนกับพระราชา
การที่คฤหัส มีครอบครัว มีลูกมีเมีย มีความสุขอยุ่กับ ข้าวของเงินทอง จะไปรู้ว่า นักบวชคนนี้ เป็นพระอรหันต์หรือไม่ มีศีลแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะศีล จะรู้ได้ด้วยการอยุ่ด้วยกันเป็นเวลานาน ทั้งยังต้องสังเกต และมีปัญญาด้วยจึงจะรู้ได้ ไม่อย่างนั้น รู้ไม่ได้เลย นอกจากนี้ ความสะอาดรู้ได้จากการงาน กำลังใจรู้ได้ว่าตอนมีอันตรายมาถึง และปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบดังนี้ พระเจ้าปเสนธิฯ ยิ่งศรัทธาในพระพุทธองค์ และรับรองว่าจริงตอนนี้ จารชนนักบวชปลอม เหล่านั้น คงอาบน้ำล้างตัว กลับสู่ครอบครัวเรียบร้อยแล้ว (พระสูตรเต็มอยู่ในสปอยครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ชฏิลสูตรที่ ๑
[๓๕๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม ปราสาทของมิคารมารดา เขตพระนครสาวัตถี ฯ ก็สมัยนั้น ในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ทรงพักผ่อนแล้ว ประทับนั่งที่ภายนอกซุ้มประตู ฯ
ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๓๕๕] ก็สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎกนิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน ผู้มีขนรักแร้
เล็บ และขนยาว ถือเครื่องบริขารต่างๆ เดินผ่านไปในที่ไม่ไกล พระผู้มีพระภาค ฯ
ทันใดนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จลุกจากอาสนะทรงกระทำพระภูษา เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง ทรงจดพระชานุมณฑลเบื้องขวา ณ พื้นแผ่นดิน ทรงประนมอัญชลีไปทางชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฏก-*นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คน เหล่านั้นแล้ว ทรงประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล... ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าคือพระราชาปเสนทิโกศล ฯ
ลำดับนั้น เมื่อชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก- *นิครนถ์ ๗ คน ปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น เดินผ่านไปได้ไม่นาน พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกนักบวชเหล่านั้น คงเป็นพระ-*อรหันต์ หรือท่านผู้บรรลุพระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลก ฯ
[๓๕๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม ครอบครองเรือน บรรทมเบียดพระโอรสและพระชายา ทาจุรณจันทน์ อันมาแต่แคว้นกาสี ทรงมาลาของหอมและเครื่องลูบไล้ ยินดีเงินและทอง ยากที่จะรู้เรื่องนี้ว่า คนพวกนี้เป็นพระอรหันต์ หรือคนพวกนี้บรรลุอรหัตมรรค ฯ
ดูกรมหาบพิตร ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ก็ศีลนั้นจะพึงรู้ได้โดย กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
ดูกรมหาบพิตร ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยการงาน ก็ความสะอาดนั้นจะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
ดูกรมหาบพิตร กำลังใจพึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย ก็กำลังใจนั้น จะพึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
ดูกรมหาบพิตร ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นจะพึงรู้ได้ด้วย กาลนาน ไม่ใช่ด้วยกาลเล็กน้อย ผู้สนใจจึงจะรู้ได้ ผู้ไม่สนใจก็ไม่รู้ ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ฯ
[๓๕๗] พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่า-*อัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เท่าที่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมหาบพิตร พระองค์เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม...ยากที่จะรู้เรื่องนี้... ผู้มีปัญญาจึงจะรู้ได้ ผู้มีปัญญาทรามก็ไม่รู้ ดังนี้ เป็นอันตรัสดีแล้ว ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นักบวชเหล่านั้นเป็นคนของหม่อมฉัน เป็นจารบุรุษ เป็นคนสืบข่าวลับ เที่ยวสอดแนมไป ยังชนบทแล้วพากันมา ในภายหลังข้าพระองค์จึงจะรู้เรื่องราวที่คนเหล่านั้นสืบได้ก่อน ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้คนเหล่านั้น ชำระล้างละอองธุลีนั้นแล้ว อาบดี ประเทืองผิวดี โกนผมและหนวดแล้ว
นุ่งห่มผ้าขาว เอิบอิ่มเพรียบพร้อมด้วยเบญจกามคุณ บำเรอข้าพระองค์อยู่ ฯ
[๓๕๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความนี้แล้ว จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า
คนผู้เกิดมาดี ไม่ควรไว้วางใจ เพราะผิวพรรณและรูปร่าง
ไม่ควรไว้วางใจ เพราะการเห็นกันชั่วครู่เดียว เพราะว่า
นักบวชผู้ไม่สำรวมทั้งหลาย ย่อมเที่ยวไปยังโลกนี้ ด้วย
เครื่องบริขารของเหล่านักบวชผู้สำรวมดีแล้ว ประดุจกุณฑล-
*ดิน และมาสกโลหะหุ้มด้วยทองคำปลอมไว้ คนทั้งหลาย
ไม่บริสุทธิ์ในภายใน งามแต่ภายนอก แวดล้อมด้วยบริวาร
ท่องเที่ยวอยู่ในโลก ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๒๕๑๕ - ๒๕๗๔. หน้าที่ ๑๑๒ - ๑๑๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=2515&Z=2574&pagebreak=0
ข้อคิดที่ได้จากการศึกษาพระสูตรนี้
การตัดสินผู้อื่น แต่ภายนอก ทั้งดีและไม่ดีนั้น ไม่ควรทำเพราะเราไม่สามารถรู้ได้จริง ๆ หรอกว่า บุคคลนั้นดี หรือ เลว ตามที่เราคิดจริงหรือเปล่า อีกทั้งรุ้แล้วจะไปแก้ไข ตักเตือนอะไรก็ยาก ไม่ได้ประโยชน์อันใด ที่ควรทำคือควรมองผู้อื่น แล้วก็ให้ย้อนกลับมามองตัวเอง เอามาคิดพิจารณา ถ้าเห็นว่าสิ่งใดที่เขาทำแล้วเป็นความดี เราทำควรทำตามอย่าง และควรทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนอะไรเป็นความไม่ดี ความผิดพลาด ก็สอนใจเราว่า เราไม่ควรทำแบบนั้น จึงจะเป็นประโยชน์ไม่มีโทษเป็นวิบากกรรมติดตัวเราไป
วิธีดูผู้มีศีล (หลักการดูคนของพระพุทธองค์)
ครั้งหนึ่ง ประเจ้าปเสนทิโกศล กำลังเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู้ แล้วก็มี นักบวชพวกชีเปลือยบ้าง พวกทรมานตน ผมเผ้ารุงรัง เล็บยาว หนวดยาว กลุ่มใหญ่เดินผ่าน พระเจ้าปเสนทิฯ เห็นอย่างนั้น ก็รีบคุกเข่าทำความเคารพ ประกาศโคตรนามเสร็จ(เป็นการเคารพอย่างสูง) เมื่อไปแล้วจึงกลับมาถามพระพุทธเจ้าว่า นักบวชเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ใช่ไหม
ความจริง พระเจ้าปเสนธิต้องการทดสอบพระพุทธองค์ เพราะนักบวชกลุ่มนั้น ไม่ใช่นักบวช แต่เป็นจารชนปลอมตัวไป สืบข่าวจากเมืองอื่น ซึ่งพระองค์รู้จักดี ซึ่งแม้พระพุทธองค์จะทรงรู้ แต่ถ้าตอบว่าไม่ใช่ ก็เหมือนกับเป็นการหักหน้าพระราชา ไม่เกิดประโยชน์ จึงตรัสวิธีการดูคนกับพระราชา
การที่คฤหัส มีครอบครัว มีลูกมีเมีย มีความสุขอยุ่กับ ข้าวของเงินทอง จะไปรู้ว่า นักบวชคนนี้ เป็นพระอรหันต์หรือไม่ มีศีลแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะศีล จะรู้ได้ด้วยการอยุ่ด้วยกันเป็นเวลานาน ทั้งยังต้องสังเกต และมีปัญญาด้วยจึงจะรู้ได้ ไม่อย่างนั้น รู้ไม่ได้เลย นอกจากนี้ ความสะอาดรู้ได้จากการงาน กำลังใจรู้ได้ว่าตอนมีอันตรายมาถึง และปัญญารู้ได้ด้วยการสนทนา
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตอบดังนี้ พระเจ้าปเสนธิฯ ยิ่งศรัทธาในพระพุทธองค์ และรับรองว่าจริงตอนนี้ จารชนนักบวชปลอม เหล่านั้น คงอาบน้ำล้างตัว กลับสู่ครอบครัวเรียบร้อยแล้ว (พระสูตรเต็มอยู่ในสปอยครับ)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ข้อคิดที่ได้จากการศึกษาพระสูตรนี้
การตัดสินผู้อื่น แต่ภายนอก ทั้งดีและไม่ดีนั้น ไม่ควรทำเพราะเราไม่สามารถรู้ได้จริง ๆ หรอกว่า บุคคลนั้นดี หรือ เลว ตามที่เราคิดจริงหรือเปล่า อีกทั้งรุ้แล้วจะไปแก้ไข ตักเตือนอะไรก็ยาก ไม่ได้ประโยชน์อันใด ที่ควรทำคือควรมองผู้อื่น แล้วก็ให้ย้อนกลับมามองตัวเอง เอามาคิดพิจารณา ถ้าเห็นว่าสิ่งใดที่เขาทำแล้วเป็นความดี เราทำควรทำตามอย่าง และควรทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนอะไรเป็นความไม่ดี ความผิดพลาด ก็สอนใจเราว่า เราไม่ควรทำแบบนั้น จึงจะเป็นประโยชน์ไม่มีโทษเป็นวิบากกรรมติดตัวเราไป