พันธุลเสนาบดี เป็นโอรสของเจ้ามัลละในเมืองกุสินารา เป็นศิษย์ศึกษาศิลปวิทยา
ในสำนักเดียวกันกับปเสนทิกุมารแห่งแคว้นโกศล และเมื่อศึกษาจบได้กลับไปยังกุสินารานคร
และได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้เหล่ามัลละกษัตริย์ชมแต่ถูกเจ้ามัลละบางพวกแกล้ง
ด้วยความน้อยใจ จึงหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของปเสนทิกุมาร ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์
เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล และได้ทรงสถาปนาพันธุละในตำแหน่งเสนาบดี พันธุละก็ได้รับ
ราชการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
สำหรับพันธุลเสนาบดีผู้นี้ได้สมรสกับเจ้าหญิงมัลลิกา แต่หลังจากแต่งงานเป็น
เวลานานก็ยังไม่มีบุตร จนสามีคิดว่านางเป็นหมัน (ตามความเชื่อสมัยนั้น ถือว่าสตรีที่ไม่สามารถ
มีบุตรได้จะทำให้สามีเป็นคนอาภัพ ต้องถูกส่งตัวกลับตระกูลเดิม) จึงส่งนางกลับตระกูล
ของตน ก่อนเจ้าหญิงมัลลิกากลับ ได้ถวายบังคมลาพระพุทธเจ้าที่พระเชตวัน
พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่าเธอจะไปไหน พระนางจึงกราบทูลไปว่า จะกลับไปยังเมืองมาตุภูมิ
เพราะไม่สามารถให้กำเนิดบุตรแก่สามีได้ จึงถูกส่งตัวกลับ แต่พระพุทธองค์ตรัสอย่าด่วน
กลับเลย นางมัลลิกาคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ เห็นทีเราคงมีบุตรแน่ ๆ พระองค์จึงตรัส
ถามอย่างนี้ พระนางดีใจเป็นล้นพ้น และเดินทางกลับบ้านทันที
อยู่มาไม่นานพระนางก็แพ้ท้องอยากลงอาบและดื่มน้ำในสระโบกขรณี อันเป็นสระน้ำ
มงคลและเป็นที่หวงแหนของพระเจ้าลิจฉวี เมืองไพศาลี สระนี้ได้รับการอารักขาเป็นอย่างดี
พันธุละอุ้มภริยาขึ้นรถถือธนูคู่ชีพ มุ่งหน้าไปยังเมืองไพศาลีเมื่อถึงเมืองไพศาลีแล้ว ก็มุ่งตรง
ไปยังสระโบกขรณี และใช้แส้หวายหวดไล่เหล่าทหารที่อารักขาสระน้ำจนแตกกระจาย
ให้ภริยาลงอาบน้ำ ดื่มน้ำ แล้วขึ้นรถห้อตะบึงกลับ พวกเจ้าลิจฉวีเมื่อทราบว่ามีผู้บุกรุกก็
ออกติดตาม
มหาลิลิจฉวีสหายร่วมสำนักของพันธุละ ซึ่งบัดนี้ตาบอดทั้งสองข้าง และเป็นอาจารย์
ของลิจฉวีราชกุมารทั้งหลาย ได้ยินเสียงฝีเท้าม้าและล้อรถวิ่งผ่านไป รู้ทันทีว่าเป็นพันธุละ
เสนาบดีผู้เกรียงไกร จึงร้องห้ามพวกลิจฉวีไม่ให้ตามไป เพราะจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตแต่พวก
เจ้าลิจฉวีไม่เชื่อฟัง
พันธุละบอกภริยาว่า ถ้ารถม้าที่ตามมาปรากฏเป็นแนวเดียวกันเมื่อไรให้บอก
และเมื่อนางมัลลิกาเห็นว่ารถได้เรียงแถวเป็นแนวเดียวกันแล้วจึงบอก
พันธุละจึงโก่งคันศรปล่อยธนูไปด้วยความแรง ลูกธูนออกจากแล่งด้วยความเร็วเจาะเกราะ
ทะลุหัวใจของมัลลกษัตริย์ 500 คน พร้อมกัน ล้มลงสิ้นชีวิตหมดสิ้น
ต่อมานางมัลลิกาก็คลอดบุตรชายแฝด 16 ครั้ง ครั้งละ 2 คนบุตรทั้งหมดเจริญเติบโต
เต็มวัยแล้วได้เรียนศิลปวิทยาสำเร็จกันจนหมดแต่ละคนก็มีบุรุษบริวารนับพันคน อยู่มาวันหนึ่ง
พันธุละเสนาบดี ได้ทราบว่าพวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีวินิจฉัยคดีด้วยความไม่ยุติธรรมเก่เจ้าทุกข์
จึงวินิจฉัยเสียเอง ทำให้ประชาชนมีความยุติธรรม
เรื่องรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงทรงมอบหน้าที่วินิจฉัยคดี
แก่พันธุละอีกตำแหน่งหนึ่ง พวกอำมาตย์ไม่พอใจ จึงยุยงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งให้พันธุละ
ไปปราบโจรที่ชายแดน และส่งทหารไปดักฆ่าพันธุละและพร้อมกับบุตรชาย ๓๒ คนจนสิ้นชีวิตหมดสิ้น
วันที่พันธุละและบุตรทั้งหมดถูกฆ่า นางมัลลิกานิมนต์พระอัครสาวกทั้งสอง
พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูปไปฉันภัตตาหารที่บ้าน เช้าวันนั้นมีคนนำจดหมายมาแจ้งว่าสามีและบุตร
ของพระนางถูกโจรฆ่าตายหมดสิ้น นางมัลลิกาจึงนำจดหมายออกจากชายพกและเรียนต่อ
พระเถระว่า "ดิฉันได้ข่าวว่าสามีและบุตรชายทั้ง ๓๒ คน ได้ตายเสียแล้ว เมื่อเช้านี้ยังไม่คิดอะไร
เพียงแค่ถาดเนยใส่แตกจะคิดอะไรเล่า"
นางมัลลิกาเรียกสะใภ้ทั้ง 32 คน มาให้โอวาทว่า สามีของพวกเธอไม่มีความผิด
แค่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน พวกเธออย่าได้เศร้าโศกไปเลย จากนั้นบุรุษที่พระเจ้า
ปเสนทิโกศลส่งคนมาสอดแนม ได้นำข้อความที่นางมัลลิกาสอนแก่สะใภ้ ไปกราบทูลให้
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบ พระองค์ทรงสรดพระราชหฤทัยที่หลงเชื่อคนผิด ทำให้
พันธุละผู้ซื่อสัตย์พร้อมบุตรต้องเสียชีวิต พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ลงโทษประหาร
พวกอำมาตย์ที่ทูลความเท็จและทรงไปกล่าวขอโทษ กับนางมัลลิกาพร้อมลูกสะใภ้
ด้วยพระองค์เอง นางไม่ได้โกรธอะไรแต่นางได้ขอพระราชอนุญาตว่าจะกลับไปยังเมืองมาตุภูมิ
พร้อมกับลูกสะใภ้ทั้งหมด พระองค์ก็ทรงอนุญาต และรับทีฑการายนะผู้เป็นหลานชายของ
พันธุละเป็นอำมาตย์ หลังจากที่นางมัลลิกาพร้อมกับสะใภ้ทั้ง 32 คนได้กลับไปยังเมืองมาตุภูมิแล้ว
พวกนางไม่ได้ปรากฏตัวอีกเลย
จนกระทั่งหลังจากพระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา แคว้นมมัละ
พวกมัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้อัญเชิญพระพุทธสรรีระไปถวายพระเพลิง
ณ มกุฏพันธนเจดีย์ โดยนำขบวนเคลื่อนที่จากทิศเนหือไปยังทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา
ระหว่างทางขบวนเคลื่อนที่ นางมัลลิกาได้ขอให้ขบวนหยุดแล้วนำมหาลดาปสาธน์
เครื่องประดับของนางมาถวายแก่พระพุทธสรรีระจนพระพุทธสรรีระเปล่งแสงประกายอย่างน่าอัศจรรย์
พันธุลเสนาบดี ผู้ยิงธนูทะลุกษัตริย์ 500 คน
ในสำนักเดียวกันกับปเสนทิกุมารแห่งแคว้นโกศล และเมื่อศึกษาจบได้กลับไปยังกุสินารานคร
และได้แสดงศิลปวิทยาที่ได้ศึกษามาให้เหล่ามัลละกษัตริย์ชมแต่ถูกเจ้ามัลละบางพวกแกล้ง
ด้วยความน้อยใจ จึงหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของปเสนทิกุมาร ซึ่งต่อมาได้ครองราชย์
เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล และได้ทรงสถาปนาพันธุละในตำแหน่งเสนาบดี พันธุละก็ได้รับ
ราชการสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าปเสนทิโกศลด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
สำหรับพันธุลเสนาบดีผู้นี้ได้สมรสกับเจ้าหญิงมัลลิกา แต่หลังจากแต่งงานเป็น
เวลานานก็ยังไม่มีบุตร จนสามีคิดว่านางเป็นหมัน (ตามความเชื่อสมัยนั้น ถือว่าสตรีที่ไม่สามารถ
มีบุตรได้จะทำให้สามีเป็นคนอาภัพ ต้องถูกส่งตัวกลับตระกูลเดิม) จึงส่งนางกลับตระกูล
ของตน ก่อนเจ้าหญิงมัลลิกากลับ ได้ถวายบังคมลาพระพุทธเจ้าที่พระเชตวัน
พระพุทธองค์จึงตรัสถามว่าเธอจะไปไหน พระนางจึงกราบทูลไปว่า จะกลับไปยังเมืองมาตุภูมิ
เพราะไม่สามารถให้กำเนิดบุตรแก่สามีได้ จึงถูกส่งตัวกลับ แต่พระพุทธองค์ตรัสอย่าด่วน
กลับเลย นางมัลลิกาคิดว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ เห็นทีเราคงมีบุตรแน่ ๆ พระองค์จึงตรัส
ถามอย่างนี้ พระนางดีใจเป็นล้นพ้น และเดินทางกลับบ้านทันที
อยู่มาไม่นานพระนางก็แพ้ท้องอยากลงอาบและดื่มน้ำในสระโบกขรณี อันเป็นสระน้ำ
มงคลและเป็นที่หวงแหนของพระเจ้าลิจฉวี เมืองไพศาลี สระนี้ได้รับการอารักขาเป็นอย่างดี
พันธุละอุ้มภริยาขึ้นรถถือธนูคู่ชีพ มุ่งหน้าไปยังเมืองไพศาลีเมื่อถึงเมืองไพศาลีแล้ว ก็มุ่งตรง
ไปยังสระโบกขรณี และใช้แส้หวายหวดไล่เหล่าทหารที่อารักขาสระน้ำจนแตกกระจาย
ให้ภริยาลงอาบน้ำ ดื่มน้ำ แล้วขึ้นรถห้อตะบึงกลับ พวกเจ้าลิจฉวีเมื่อทราบว่ามีผู้บุกรุกก็
ออกติดตาม
มหาลิลิจฉวีสหายร่วมสำนักของพันธุละ ซึ่งบัดนี้ตาบอดทั้งสองข้าง และเป็นอาจารย์
ของลิจฉวีราชกุมารทั้งหลาย ได้ยินเสียงฝีเท้าม้าและล้อรถวิ่งผ่านไป รู้ทันทีว่าเป็นพันธุละ
เสนาบดีผู้เกรียงไกร จึงร้องห้ามพวกลิจฉวีไม่ให้ตามไป เพราะจะเป็นอันตรายแก่ชีวิตแต่พวก
เจ้าลิจฉวีไม่เชื่อฟัง
พันธุละบอกภริยาว่า ถ้ารถม้าที่ตามมาปรากฏเป็นแนวเดียวกันเมื่อไรให้บอก
และเมื่อนางมัลลิกาเห็นว่ารถได้เรียงแถวเป็นแนวเดียวกันแล้วจึงบอก
พันธุละจึงโก่งคันศรปล่อยธนูไปด้วยความแรง ลูกธูนออกจากแล่งด้วยความเร็วเจาะเกราะ
ทะลุหัวใจของมัลลกษัตริย์ 500 คน พร้อมกัน ล้มลงสิ้นชีวิตหมดสิ้น
ต่อมานางมัลลิกาก็คลอดบุตรชายแฝด 16 ครั้ง ครั้งละ 2 คนบุตรทั้งหมดเจริญเติบโต
เต็มวัยแล้วได้เรียนศิลปวิทยาสำเร็จกันจนหมดแต่ละคนก็มีบุรุษบริวารนับพันคน อยู่มาวันหนึ่ง
พันธุละเสนาบดี ได้ทราบว่าพวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีวินิจฉัยคดีด้วยความไม่ยุติธรรมเก่เจ้าทุกข์
จึงวินิจฉัยเสียเอง ทำให้ประชาชนมีความยุติธรรม
เรื่องรู้ไปถึงพระกรรณของพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์จึงทรงมอบหน้าที่วินิจฉัยคดี
แก่พันธุละอีกตำแหน่งหนึ่ง พวกอำมาตย์ไม่พอใจ จึงยุยงให้พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งให้พันธุละ
ไปปราบโจรที่ชายแดน และส่งทหารไปดักฆ่าพันธุละและพร้อมกับบุตรชาย ๓๒ คนจนสิ้นชีวิตหมดสิ้น
วันที่พันธุละและบุตรทั้งหมดถูกฆ่า นางมัลลิกานิมนต์พระอัครสาวกทั้งสอง
พร้อมภิกษุ ๕๐๐ รูปไปฉันภัตตาหารที่บ้าน เช้าวันนั้นมีคนนำจดหมายมาแจ้งว่าสามีและบุตร
ของพระนางถูกโจรฆ่าตายหมดสิ้น นางมัลลิกาจึงนำจดหมายออกจากชายพกและเรียนต่อ
พระเถระว่า "ดิฉันได้ข่าวว่าสามีและบุตรชายทั้ง ๓๒ คน ได้ตายเสียแล้ว เมื่อเช้านี้ยังไม่คิดอะไร
เพียงแค่ถาดเนยใส่แตกจะคิดอะไรเล่า"
นางมัลลิกาเรียกสะใภ้ทั้ง 32 คน มาให้โอวาทว่า สามีของพวกเธอไม่มีความผิด
แค่ได้รับผลกรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน พวกเธออย่าได้เศร้าโศกไปเลย จากนั้นบุรุษที่พระเจ้า
ปเสนทิโกศลส่งคนมาสอดแนม ได้นำข้อความที่นางมัลลิกาสอนแก่สะใภ้ ไปกราบทูลให้
พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบ พระองค์ทรงสรดพระราชหฤทัยที่หลงเชื่อคนผิด ทำให้
พันธุละผู้ซื่อสัตย์พร้อมบุตรต้องเสียชีวิต พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ลงโทษประหาร
พวกอำมาตย์ที่ทูลความเท็จและทรงไปกล่าวขอโทษ กับนางมัลลิกาพร้อมลูกสะใภ้
ด้วยพระองค์เอง นางไม่ได้โกรธอะไรแต่นางได้ขอพระราชอนุญาตว่าจะกลับไปยังเมืองมาตุภูมิ
พร้อมกับลูกสะใภ้ทั้งหมด พระองค์ก็ทรงอนุญาต และรับทีฑการายนะผู้เป็นหลานชายของ
พันธุละเป็นอำมาตย์ หลังจากที่นางมัลลิกาพร้อมกับสะใภ้ทั้ง 32 คนได้กลับไปยังเมืองมาตุภูมิแล้ว
พวกนางไม่ได้ปรากฏตัวอีกเลย
จนกระทั่งหลังจากพระพุทธเจ้าทรงดับขันธ์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา แคว้นมมัละ
พวกมัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้อัญเชิญพระพุทธสรรีระไปถวายพระเพลิง
ณ มกุฏพันธนเจดีย์ โดยนำขบวนเคลื่อนที่จากทิศเนหือไปยังทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา
ระหว่างทางขบวนเคลื่อนที่ นางมัลลิกาได้ขอให้ขบวนหยุดแล้วนำมหาลดาปสาธน์
เครื่องประดับของนางมาถวายแก่พระพุทธสรรีระจนพระพุทธสรรีระเปล่งแสงประกายอย่างน่าอัศจรรย์