ที่มา
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378492535/
"ในปี 2559 คงจะเห็นการบังคับการทำใบขับขี่ประเภทรถขนาดใหญ่ออกมาอย่างเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว จากการทำงานร่วมกันของกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก และผู้เชี่ยวชาญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีมติให้รถที่มีความจุกระบอกสูบ 400 ซีซี ขึ้นไป และต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป ถึงจะสอบทำใบขับขี่รถประเภทขนาดใหญ่ ปัจจุบันผู้ที่จะทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบไม่กำหนดซีซี ต้องอายุ 18 ปี การนำกฎหมายนี้มาใช้โดยมีการศึกษาจากทางประเทศยุโรปที่สามารถควบคุมการใช้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาปรับใช้ในประเทศไทย และในอนาคตอาจต้องมีสถาบันการฝึกอบรมการขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เปิดจัดอบรมและจัดสอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยให้ครูฝึกประเมินว่าผ่านหรือไม่"
พ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รอง ผบก.จร. เปิดเผยว่า มีรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกแล้วมากกว่าแสนคัน โดยผู้ขับขี่มีอายุตั้งแต่ 14 ปี ไปจนถึง 50 ปี เท่าที่ติดตามระยะหลังมานี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์จะเป็นบิ๊กไบค์เสียส่วนใหญ่ และมักเกิดกับผู้ขับขี่ที่ขาดทักษะ และมักจะเป็นเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ทำได้ง่ายขึ้น แม้สนนราคาจะค่อนข้างแพงแต่มีระบบเงินผ่อน มีวงเงินดาวน์ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทผู้ผลิตมาตั้งฐานการผลิตในไทย ทำให้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่มีราคาที่ถูกลงและโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ผ่อนดาวน์ได้ง่ายขึ้น"
"กฎหมายกำหนดอายุ 18 ปี สามารถขอใบขับขี่ ขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ทุกประเภท พอกฎหมายเป็นลักษณะนี้ นั่นหมายความว่า รถจักรยานยนต์ขนาด 150 ซีซี และ 1,000 ซีซี อยู่ในข้อบังคับเดียวกัน ทั้งที่ความจริงแล้ว
การขี่รถบิ๊กไบค์ต้องมีทักษะที่สูงกว่า จึงมีการเสนอให้กรมการขนส่งทางบกแยกใบขับขี่รถจักรยานยนต์เป็น 2 รูปแบบ โดยเสนอให้แบ่ง รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดกระบอกสูบ 400 ซีซีขึ้นไป ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ ต้องมีใบอนุญาตขับขี่เฉพาะ ผู้ที่ขอใบอนุญาตได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองจากสถานประกอบการฝึกอบรมขับขี่บิ๊กไบค์ ผ่านการทดสอบที่เข้มงวด ในการสอบปฏิบัติต้องนำรถขนาดใหญ่มาทดสอบ ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2559 นี้
เพราะทุกวันนี้เจอปัญหาคือ ตอนสอบใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ เอารถขนาดเล็กมาสอบ พอได้ใบอนุญาตไปขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ ทักษะไม่เพียงพอ วุฒิภาวะก็ยังไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ตอนนี้เราพบอุบัติเหตุค่อนข้างเยอะ วันนี้กฎหมายเลยทำอะไรไม่ได้ แต่พยายามปรับปรุง คุยกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน" พ.ต.อ.เอกรักษ์ กล่าว"
ชาติชาย แซ่ลิ้ม ครูฝึกขี่บิ๊กไบค์ HO Racing School กล่าวว่า กระแสบิ๊กไบค์กำลังอยู่ในความสนใจของเยาวชน ผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยเป็นคนในกลุ่มนี้ และบ่อยครั้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นของบิ๊กไบค์ผู้ขี่มักเป็นวัยรุ่นอายุยังน้อย
"คนไทยส่วนใหญ่อีโก้สูง คิดว่าขับได้ไม่ต้องเรียน เลยเกิดอุบัติเหตุบ่อย ทุกครั้งซื้อรถเขาแถมคอร์สเรียนให้อยู่แล้ว แต่ร้อยละ 80 ไม่เรียน เพราะคิดว่าเรียนทำไมขี่ได้แล้ว ขี่ได้กับขี่เป็นต่างกันครับ อุปกรณ์ป้องกันไม่มี บางคนใส่รองเท้าแตะ กางเกงขาสั้น เสื้อยืด ใส่หมวกผ้า อุปกรณ์ป้องกันไม่มี จริงๆ ต้องมีอุปกรณ์หุ้มไหล่ หุ้มเข่า ใส่ถุงมือ ใส่หมวกกันน็อก พอล้มมันจะช่วยป้องกันการเจ็บตัว นี่คือสิ่งที่ถูกต้องก่อนเราจะขี่ คนวนใหญ่จะควบคุมเครื่องไม่ได้ เจอทางแปลกๆ ก็จะชอลอความเร็วกะทันหัน เบรกไม่อยู่ ไปโทษถนนลื่นบ้าง"
ชาติชายยังบอกอีกว่า ผู้ปกครองตัดสินใจซื้อรถให้ลูกแล้ว ต้องดูความเหมาะสมและพฤติกรรมของลูก บางคนขี่ไปเรียนไม่ยอมใส่หมวก หากเจอกลุ่มเพื่อนที่รักความปลอดภัยก็ดีไป พ่อแม่หลายคนต้องส่งลูกมาเรียนเพราะอุบัติที่เหตุที่เกิดขึ้นตอนนี้มีแต่รถบิ๊กไบค์ทั้งนั้น"
"ไม่ว่ายานพาหนะที่นำมาใช้จะราคาแพง มีสมรรถนะที่สูงเพียงไหน แต่ผู้ขับขี่ไร้วินัย ไม่เคารพกฎจราจร ประมาท ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ก็ยากจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ที่สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยไปไม่น้อยในแต่ละปี"
ชาว "บิ๊กไบค์"! ปี 59 ต้องมีใบอนุญาตเฉพาะแล้วนะครับ
ที่มา http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378492535/
"ในปี 2559 คงจะเห็นการบังคับการทำใบขับขี่ประเภทรถขนาดใหญ่ออกมาอย่างเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว จากการทำงานร่วมกันของกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก และผู้เชี่ยวชาญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยมีมติให้รถที่มีความจุกระบอกสูบ 400 ซีซี ขึ้นไป และต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป ถึงจะสอบทำใบขับขี่รถประเภทขนาดใหญ่ ปัจจุบันผู้ที่จะทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์แบบไม่กำหนดซีซี ต้องอายุ 18 ปี การนำกฎหมายนี้มาใช้โดยมีการศึกษาจากทางประเทศยุโรปที่สามารถควบคุมการใช้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาปรับใช้ในประเทศไทย และในอนาคตอาจต้องมีสถาบันการฝึกอบรมการขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่โดยเฉพาะ เปิดจัดอบรมและจัดสอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ โดยให้ครูฝึกประเมินว่าผ่านหรือไม่"
พ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รอง ผบก.จร. เปิดเผยว่า มีรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกแล้วมากกว่าแสนคัน โดยผู้ขับขี่มีอายุตั้งแต่ 14 ปี ไปจนถึง 50 ปี เท่าที่ติดตามระยะหลังมานี้อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์จะเป็นบิ๊กไบค์เสียส่วนใหญ่ และมักเกิดกับผู้ขับขี่ที่ขาดทักษะ และมักจะเป็นเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงรถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ทำได้ง่ายขึ้น แม้สนนราคาจะค่อนข้างแพงแต่มีระบบเงินผ่อน มีวงเงินดาวน์ไม่มากนัก ส่วนหนึ่งมาจากการที่บริษัทผู้ผลิตมาตั้งฐานการผลิตในไทย ทำให้รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่มีราคาที่ถูกลงและโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม ผ่อนดาวน์ได้ง่ายขึ้น"
"กฎหมายกำหนดอายุ 18 ปี สามารถขอใบขับขี่ ขอใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ได้ทุกประเภท พอกฎหมายเป็นลักษณะนี้ นั่นหมายความว่า รถจักรยานยนต์ขนาด 150 ซีซี และ 1,000 ซีซี อยู่ในข้อบังคับเดียวกัน ทั้งที่ความจริงแล้วการขี่รถบิ๊กไบค์ต้องมีทักษะที่สูงกว่า จึงมีการเสนอให้กรมการขนส่งทางบกแยกใบขับขี่รถจักรยานยนต์เป็น 2 รูปแบบ โดยเสนอให้แบ่ง รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดกระบอกสูบ 400 ซีซีขึ้นไป ถือว่าเป็นรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ ต้องมีใบอนุญาตขับขี่เฉพาะ ผู้ที่ขอใบอนุญาตได้ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีใบรับรองจากสถานประกอบการฝึกอบรมขับขี่บิ๊กไบค์ ผ่านการทดสอบที่เข้มงวด ในการสอบปฏิบัติต้องนำรถขนาดใหญ่มาทดสอบ ซึ่งมาตรการนี้คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2559 นี้ เพราะทุกวันนี้เจอปัญหาคือ ตอนสอบใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ เอารถขนาดเล็กมาสอบ พอได้ใบอนุญาตไปขี่รถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ ทักษะไม่เพียงพอ วุฒิภาวะก็ยังไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุ ตอนนี้เราพบอุบัติเหตุค่อนข้างเยอะ วันนี้กฎหมายเลยทำอะไรไม่ได้ แต่พยายามปรับปรุง คุยกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง กำหนดขั้นตอนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน" พ.ต.อ.เอกรักษ์ กล่าว"
ชาติชาย แซ่ลิ้ม ครูฝึกขี่บิ๊กไบค์ HO Racing School กล่าวว่า กระแสบิ๊กไบค์กำลังอยู่ในความสนใจของเยาวชน ผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยเป็นคนในกลุ่มนี้ และบ่อยครั้งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นของบิ๊กไบค์ผู้ขี่มักเป็นวัยรุ่นอายุยังน้อย
"คนไทยส่วนใหญ่อีโก้สูง คิดว่าขับได้ไม่ต้องเรียน เลยเกิดอุบัติเหตุบ่อย ทุกครั้งซื้อรถเขาแถมคอร์สเรียนให้อยู่แล้ว แต่ร้อยละ 80 ไม่เรียน เพราะคิดว่าเรียนทำไมขี่ได้แล้ว ขี่ได้กับขี่เป็นต่างกันครับ อุปกรณ์ป้องกันไม่มี บางคนใส่รองเท้าแตะ กางเกงขาสั้น เสื้อยืด ใส่หมวกผ้า อุปกรณ์ป้องกันไม่มี จริงๆ ต้องมีอุปกรณ์หุ้มไหล่ หุ้มเข่า ใส่ถุงมือ ใส่หมวกกันน็อก พอล้มมันจะช่วยป้องกันการเจ็บตัว นี่คือสิ่งที่ถูกต้องก่อนเราจะขี่ คนวนใหญ่จะควบคุมเครื่องไม่ได้ เจอทางแปลกๆ ก็จะชอลอความเร็วกะทันหัน เบรกไม่อยู่ ไปโทษถนนลื่นบ้าง"
ชาติชายยังบอกอีกว่า ผู้ปกครองตัดสินใจซื้อรถให้ลูกแล้ว ต้องดูความเหมาะสมและพฤติกรรมของลูก บางคนขี่ไปเรียนไม่ยอมใส่หมวก หากเจอกลุ่มเพื่อนที่รักความปลอดภัยก็ดีไป พ่อแม่หลายคนต้องส่งลูกมาเรียนเพราะอุบัติที่เหตุที่เกิดขึ้นตอนนี้มีแต่รถบิ๊กไบค์ทั้งนั้น"
"ไม่ว่ายานพาหนะที่นำมาใช้จะราคาแพง มีสมรรถนะที่สูงเพียงไหน แต่ผู้ขับขี่ไร้วินัย ไม่เคารพกฎจราจร ประมาท ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ก็ยากจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ ที่สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยไปไม่น้อยในแต่ละปี"