http://www.naewna.com/scoop/154370
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “มอเตอร์ไซค์” หรือจักรยานยนต์ เป็นยานพาหนะยอดนิยมของคนไทยทุกเพศทุกวัย เห็นได้จากสถิติของ กรมการขนส่งทางบก ณ สิ้นปี 2557 มีจำนวนจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสมแล้วถึง 20,141,000 คัน เนื่องจากเป็นพาหนะราคาประหยัด ใช้งานง่าย และเหมาะสมกับการจราจรในเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เมืองที่ได้ชื่อว่า “รถติด” มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
นอกจากจะใช้ในการเดินทางแล้ว จักรยานยนต์ยังเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์บางประการของผู้ขับขี่ด้วย เห็นได้จากค่ายรถต่างๆ จะผลิตออกมาเพื่อตอบสนองลูกค้าในหลายกลุ่ม ล่าสุดที่กำลังได้รับความนิยม คือจักรยานยนต์ประเภท “บิ๊กไบค์” (Big Bike) ที่มีขนาดตัวรถค่อนข้างใหญ่ และมีเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูง ทำความเร็วได้มากกว่ามอเตอร์ไซค์ทั่วไป ท่ามกลางความเป็นห่วงกังวลจากหลายฝ่าย
เพราะเริ่มมีอุบัติเหตุจาก “บิ๊กไบค์” เกิดขึ้นเป็นข่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ!!!
รวมถึงภาพของ “เด็ก-เยาวชน”ควบบิ๊กไบค์บนท้องถนนด้วยท่าทางคึกคะนอง ก็มีไม่น้อยเช่นกัน!!!
“บ้านเราตำรวจก็ไม่ได้สนใจอะไร สนใจแค่มีใบขับขี่ ไม่มีใบขับขี่ก็โดนจับแค่นั้น เขาไม่ได้สนใจ แค่ยื่นใบขับขี่ให้เขาเขาก็ปล่อยผ่านไป คือเรายังไม่เต็มที่ เด็กรุ่นใหม่อายุก็ยังต่ำอยู่และพ่อแม่ก็ให้เอาไปใช้ ทั้งๆที่อายุก็ยังไม่ถึงตรงนั้น ก็ไม่สามารถไปคุมรายละเอียดตรงนั้น ก็กลายเป็นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เยอะขึ้น”
นายชาติชาย แซ่ลิ้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านบิ๊กไบค์และผู้ก่อตั้ง Ho Racing School โรงเรียนสอนขับขี่จักรยานยนต์อย่างมืออาชีพ กล่าวถึงความเป็นจริงของสังคมไทย โดยเฉพาะกระแสบิ๊กไบค์ในปัจจุบันที่มีเยาวชนหันมาขับขี่กันมากขึ้น รวมถึง “พ่อแม่รังแกฉัน” ยินยอมให้บุตรหลานใช้รถเหล่านี้ โดยไม่สนว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงหรือไม่?
“ชาติชาย” อธิบายว่า จักรยานยนต์ที่จะเรียกว่าเป็นบิ๊กไบค์ได้จริงๆ คือรถที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 750 ซีซีขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านั้นยังไม่ใช่บิ๊กไบค์ แต่เป็น “สปอร์ตไบค์” (Sport Bike) เท่านั้น หากแต่ในความเข้าใจของคนทั่วไป เมื่อเห็นจักรยานยนต์คันที่ดูใหญ่หน่อย ก็เรียกเหมารวมว่าเป็นบิ๊กไบค์ไปหมด
“600 นี่ยังเป็นซูปเปอร์สปอร์ตอยู่ แต่ถ้าเป็น 750 ขึ้นคือบิ๊กไบค์ แต่คนไทยแค่ 125 หรือ 150 ตอนนี้พอคันใหญ่เขาก็หาว่าเป็นบิ๊กไบค์หมดแล้ว มันแค่สปอร์ตระดับล่าง ระดับกลาง แต่คนไทยเจอรถเสียงดังก็บิ๊กไบค์หมดแล้ว รถ 150คว่ำ ตายก็บิ๊กไบค์ รถชนกันก็บิ๊กไบค์ ซึ่งมันไม่ใช่ บิ๊กไบค์ต้อง750 อัพ 650 นี่ยังแค่ซุปเปอร์สปอร์ตอยู่
รถใหญ่ท่อใหญ่ก็บิ๊กไบค์หมดละ ไปเหมารวม แยกแยะไม่ได้ พ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดเห็นรถใหญ่ก็นี่แหละบิ๊กไบค์ แต่เขาไม่รู้บิ๊กไบค์คืออะไร ก็แค่ใช้ทรงบิ๊กไบค์ เขาทำให้มันดูใหญ่ พอใช้แล้วให้รู้สึกเหมือนจับต้องได้ คนก็จะโอ้โหวนี่บิ๊กไบค์เลย แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ คันใหญ่ไม่เกี่ยว อยู่ที่ขนาดซีซีมากกว่า”
กูรูด้านบิ๊กไบค์ รายนี้ ระบุ และฝากไปยังคนที่คิดจะซื้อหาบิ๊กไบค์มาขับขี่ ควรคิดเสียก่อนให้รอบคอบ ว่า “ชอบจริงไหม?-พร้อมแล้วหรือยัง?” เพราะทุกวันนี้หลายคนซื้อมาใช้เพราะเห็นว่ารถคันใหญ่ๆ ดูเท่ แต่ขาดการฝึกฝนทักษะที่ดีพอ จนไปเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บล้มตายได้
ในมุมมองนักวิชาการ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ให้ความเห็นว่า ในต่างประเทศ จะมีการสอบใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์แบบแบ่งตามความแรงของรถ โดยใช้ความจุกระบอกสูบเป็นเกณฑ์ เช่น ต่ำกว่า 250 ซีซี , 250-500 ซีซี และ 500 ซีซีขึ้นไป เป็นต้น เพื่อเป็นการรับรองว่า อย่างน้อยผู้ที่ผ่านการสอบมาได้ย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับขี่ อีกทั้งไม่ควรให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขับขี่บิ๊กไบค์บนท้องถนนเป็นอันขาด เพราะวัยนี้วุฒิภาวะในการตัดสินใจต่างๆ ยังไม่เพียงพอ
“ถ้ามองในสมรรถนะรถที่เกิน 250 ซีซีนี่ค่อนข้างเร็วนะ ส่วนจะขึ้น 500-650 อันนั้นก็เป็นรถใหญ่จริงๆ ถ้ามองในความเสี่ยงรถที่ 250-300 ขึ้นไปควรจัดให้อยู่ในพวกเฉพาะแล้ว คือต่างประเทศถ้าจัดอยู่ใน 110 หรือ 150 ลงมา เขาจะจัดเป็นมอเตอร์ไซค์บ้าน พวกนี้เขาจะมีใบขับขี่อีกแบบหนึ่ง ทีนี้ถ้าจะจัด ผมว่าน่าจะเป็น 250 เรื่องนี้ควรจะจัดให้มีใบขับขี่เตรียมความพร้อม ไม่ให้เด็กเข้าใช้” นพ.ธนะพงศ์ ให้ความเห็น
เกี่ยวกับประเด็นนี้ เราได้สอบถามไปยัง นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมขนส่งทางบก ซึ่งได้รับการเปิดเผยว่า ทางกรมการขนส่งทางบกก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเตรียมออกข้อกำหนดว่าผู้ที่จะสามารถขับขี่บิ๊กไบค์บนท้องถนนได้ ต้องผ่านการอบรมเสียก่อน คล้ายกับการอบรมหลักสูตรขับรถยนต์ประเภทบัส รถบรรทุก และรถพ่วง แต่เบื้องต้นยังต้องหาข้อสรุปเสียก่อน ว่านิยามของบิ๊กไบค์ ควรอยู่ที่ขนาดความจุกระบอกสูบเท่าใด
“โยบายทางกรมคือจะให้พวกนี้ผ่านการฝึกอบรม เช่น คนขับรถสิบล้อ คนขับรถบรรทุก เขาก็จะอบรมคนขับรถพ่วง คนขับรถเมล์ รถบัส รถบัส2ชั้น ต้องผ่านการฝึกอบรมจากกรมเป็นการเฉพาะ ตอนนี้กำลังหารือกำหนดว่าคนที่ขี่บิ๊กไบค์ จะต้องมีความรู้ ผ่านการฝึกอบรมพิเศษ แต่ตรงนี้เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ว่าบิ๊กไบค์นี่กี่ซีซีขึ้นไป ยังไม่ได้ข้อมูลทั้งหมด เพราะสำนักวิศวะยังดูอยู่ ว่ารถที่เป็นบิ๊กไบค์จะจัดกลุ่มกันอยู่อย่างไร เพราะตอนนี้ยังไม่ชัดเจน” อธิบดีกรมขนส่งทางบก กล่าว
ไม่เพียงแต่เด็กหรือเยาวชนเท่านั้น แม้แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ยังขับขี่กันอย่างผิดกฎจราจร โดยเฉพาะการขับขี่จักรยานยนต์ในช่องทางหลักแทนที่จะเป็นช่องทางขนาน เนื่องจากเชื่อว่าบิ๊กไบค์มีสมรรถนะไม่ด้อยไปกว่ารถยนต์ ซึ่ง พล.ต.ต.อภิสิทธิ์ เมืองเกษม ผู้บังคับการตำรวจจราจร ฝากเตือนว่า..ถึงอย่างไรจักรยานยนต์ทุกชนิดก็ยังเข้าข่าย “เนื้อหุ้มเหล็ก” หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ความเสียหายจะรุนแรงมากกว่ารถยนต์ จึงควรขับขี่อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ
“ในการใช้รถจักรยานยนต์ มันเป็นเนื้อหุ้มเหล็ก มันจะเป็นอันตรายถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร กฎจราจรเป็นกฎที่ออกมาเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ควรใช้เส้นทางคู่ขนานไม่วิ่งในช่องทางด่วน สวมหมวกนิรภัยให้เรียบร้อยทั้งคนขับและคนซ้อนเพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุซึ่งมีโอกาสเกิดได้สูง อัตราการบาดเจ็บการเสียชีวิตสูง
ในเรื่องของความเร็ว ถึงแม้เทคโนโลยีจะทำให้รถจักรยานยนต์มีความเร็วเทียบเท่ารถยนต์แล้วก็ตาม แต่ว่ายิ่งเร็วขึ้นเท่าไรการควบคุมยิ่งเป็นไปได้ยาก หากอยู่บนถนนที่ไม่คุ้นขอให้ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง อย่าขี่ด้วยความคึกคะนอง” ผู้บังคับการตำรวจจราจร ฝากทิ้งท้าย
ชนัดดา บุญครอง
SCOOP@NAEWNA.COM
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.naewna.com/scoop/154370
ถึงเวลาจัดระเบียบ --(( บิ้กไบค์ ))-- แล้วหรือยัง
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “มอเตอร์ไซค์” หรือจักรยานยนต์ เป็นยานพาหนะยอดนิยมของคนไทยทุกเพศทุกวัย เห็นได้จากสถิติของ กรมการขนส่งทางบก ณ สิ้นปี 2557 มีจำนวนจักรยานยนต์จดทะเบียนสะสมแล้วถึง 20,141,000 คัน เนื่องจากเป็นพาหนะราคาประหยัด ใช้งานง่าย และเหมาะสมกับการจราจรในเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร เมืองที่ได้ชื่อว่า “รถติด” มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
นอกจากจะใช้ในการเดินทางแล้ว จักรยานยนต์ยังเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์บางประการของผู้ขับขี่ด้วย เห็นได้จากค่ายรถต่างๆ จะผลิตออกมาเพื่อตอบสนองลูกค้าในหลายกลุ่ม ล่าสุดที่กำลังได้รับความนิยม คือจักรยานยนต์ประเภท “บิ๊กไบค์” (Big Bike) ที่มีขนาดตัวรถค่อนข้างใหญ่ และมีเครื่องยนต์ที่มีสมรรถนะสูง ทำความเร็วได้มากกว่ามอเตอร์ไซค์ทั่วไป ท่ามกลางความเป็นห่วงกังวลจากหลายฝ่าย
เพราะเริ่มมีอุบัติเหตุจาก “บิ๊กไบค์” เกิดขึ้นเป็นข่าวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ!!!
รวมถึงภาพของ “เด็ก-เยาวชน”ควบบิ๊กไบค์บนท้องถนนด้วยท่าทางคึกคะนอง ก็มีไม่น้อยเช่นกัน!!!
“บ้านเราตำรวจก็ไม่ได้สนใจอะไร สนใจแค่มีใบขับขี่ ไม่มีใบขับขี่ก็โดนจับแค่นั้น เขาไม่ได้สนใจ แค่ยื่นใบขับขี่ให้เขาเขาก็ปล่อยผ่านไป คือเรายังไม่เต็มที่ เด็กรุ่นใหม่อายุก็ยังต่ำอยู่และพ่อแม่ก็ให้เอาไปใช้ ทั้งๆที่อายุก็ยังไม่ถึงตรงนั้น ก็ไม่สามารถไปคุมรายละเอียดตรงนั้น ก็กลายเป็นทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เยอะขึ้น”
นายชาติชาย แซ่ลิ้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านบิ๊กไบค์และผู้ก่อตั้ง Ho Racing School โรงเรียนสอนขับขี่จักรยานยนต์อย่างมืออาชีพ กล่าวถึงความเป็นจริงของสังคมไทย โดยเฉพาะกระแสบิ๊กไบค์ในปัจจุบันที่มีเยาวชนหันมาขับขี่กันมากขึ้น รวมถึง “พ่อแม่รังแกฉัน” ยินยอมให้บุตรหลานใช้รถเหล่านี้ โดยไม่สนว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงหรือไม่?
“ชาติชาย” อธิบายว่า จักรยานยนต์ที่จะเรียกว่าเป็นบิ๊กไบค์ได้จริงๆ คือรถที่มีความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 750 ซีซีขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านั้นยังไม่ใช่บิ๊กไบค์ แต่เป็น “สปอร์ตไบค์” (Sport Bike) เท่านั้น หากแต่ในความเข้าใจของคนทั่วไป เมื่อเห็นจักรยานยนต์คันที่ดูใหญ่หน่อย ก็เรียกเหมารวมว่าเป็นบิ๊กไบค์ไปหมด
“600 นี่ยังเป็นซูปเปอร์สปอร์ตอยู่ แต่ถ้าเป็น 750 ขึ้นคือบิ๊กไบค์ แต่คนไทยแค่ 125 หรือ 150 ตอนนี้พอคันใหญ่เขาก็หาว่าเป็นบิ๊กไบค์หมดแล้ว มันแค่สปอร์ตระดับล่าง ระดับกลาง แต่คนไทยเจอรถเสียงดังก็บิ๊กไบค์หมดแล้ว รถ 150คว่ำ ตายก็บิ๊กไบค์ รถชนกันก็บิ๊กไบค์ ซึ่งมันไม่ใช่ บิ๊กไบค์ต้อง750 อัพ 650 นี่ยังแค่ซุปเปอร์สปอร์ตอยู่
รถใหญ่ท่อใหญ่ก็บิ๊กไบค์หมดละ ไปเหมารวม แยกแยะไม่ได้ พ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดเห็นรถใหญ่ก็นี่แหละบิ๊กไบค์ แต่เขาไม่รู้บิ๊กไบค์คืออะไร ก็แค่ใช้ทรงบิ๊กไบค์ เขาทำให้มันดูใหญ่ พอใช้แล้วให้รู้สึกเหมือนจับต้องได้ คนก็จะโอ้โหวนี่บิ๊กไบค์เลย แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ คันใหญ่ไม่เกี่ยว อยู่ที่ขนาดซีซีมากกว่า”
กูรูด้านบิ๊กไบค์ รายนี้ ระบุ และฝากไปยังคนที่คิดจะซื้อหาบิ๊กไบค์มาขับขี่ ควรคิดเสียก่อนให้รอบคอบ ว่า “ชอบจริงไหม?-พร้อมแล้วหรือยัง?” เพราะทุกวันนี้หลายคนซื้อมาใช้เพราะเห็นว่ารถคันใหญ่ๆ ดูเท่ แต่ขาดการฝึกฝนทักษะที่ดีพอ จนไปเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บล้มตายได้
ในมุมมองนักวิชาการ นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) ให้ความเห็นว่า ในต่างประเทศ จะมีการสอบใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์แบบแบ่งตามความแรงของรถ โดยใช้ความจุกระบอกสูบเป็นเกณฑ์ เช่น ต่ำกว่า 250 ซีซี , 250-500 ซีซี และ 500 ซีซีขึ้นไป เป็นต้น เพื่อเป็นการรับรองว่า อย่างน้อยผู้ที่ผ่านการสอบมาได้ย่อมมีความรู้ความสามารถในการขับขี่ อีกทั้งไม่ควรให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ขับขี่บิ๊กไบค์บนท้องถนนเป็นอันขาด เพราะวัยนี้วุฒิภาวะในการตัดสินใจต่างๆ ยังไม่เพียงพอ
“ถ้ามองในสมรรถนะรถที่เกิน 250 ซีซีนี่ค่อนข้างเร็วนะ ส่วนจะขึ้น 500-650 อันนั้นก็เป็นรถใหญ่จริงๆ ถ้ามองในความเสี่ยงรถที่ 250-300 ขึ้นไปควรจัดให้อยู่ในพวกเฉพาะแล้ว คือต่างประเทศถ้าจัดอยู่ใน 110 หรือ 150 ลงมา เขาจะจัดเป็นมอเตอร์ไซค์บ้าน พวกนี้เขาจะมีใบขับขี่อีกแบบหนึ่ง ทีนี้ถ้าจะจัด ผมว่าน่าจะเป็น 250 เรื่องนี้ควรจะจัดให้มีใบขับขี่เตรียมความพร้อม ไม่ให้เด็กเข้าใช้” นพ.ธนะพงศ์ ให้ความเห็น
เกี่ยวกับประเด็นนี้ เราได้สอบถามไปยัง นายธีระพงษ์ รอดประเสริฐ อธิบดีกรมขนส่งทางบก ซึ่งได้รับการเปิดเผยว่า ทางกรมการขนส่งทางบกก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยเตรียมออกข้อกำหนดว่าผู้ที่จะสามารถขับขี่บิ๊กไบค์บนท้องถนนได้ ต้องผ่านการอบรมเสียก่อน คล้ายกับการอบรมหลักสูตรขับรถยนต์ประเภทบัส รถบรรทุก และรถพ่วง แต่เบื้องต้นยังต้องหาข้อสรุปเสียก่อน ว่านิยามของบิ๊กไบค์ ควรอยู่ที่ขนาดความจุกระบอกสูบเท่าใด
“โยบายทางกรมคือจะให้พวกนี้ผ่านการฝึกอบรม เช่น คนขับรถสิบล้อ คนขับรถบรรทุก เขาก็จะอบรมคนขับรถพ่วง คนขับรถเมล์ รถบัส รถบัส2ชั้น ต้องผ่านการฝึกอบรมจากกรมเป็นการเฉพาะ ตอนนี้กำลังหารือกำหนดว่าคนที่ขี่บิ๊กไบค์ จะต้องมีความรู้ ผ่านการฝึกอบรมพิเศษ แต่ตรงนี้เป็นข้อถกเถียงกันอยู่ ว่าบิ๊กไบค์นี่กี่ซีซีขึ้นไป ยังไม่ได้ข้อมูลทั้งหมด เพราะสำนักวิศวะยังดูอยู่ ว่ารถที่เป็นบิ๊กไบค์จะจัดกลุ่มกันอยู่อย่างไร เพราะตอนนี้ยังไม่ชัดเจน” อธิบดีกรมขนส่งทางบก กล่าว
ไม่เพียงแต่เด็กหรือเยาวชนเท่านั้น แม้แต่ผู้ใหญ่หลายคนก็ยังขับขี่กันอย่างผิดกฎจราจร โดยเฉพาะการขับขี่จักรยานยนต์ในช่องทางหลักแทนที่จะเป็นช่องทางขนาน เนื่องจากเชื่อว่าบิ๊กไบค์มีสมรรถนะไม่ด้อยไปกว่ารถยนต์ ซึ่ง พล.ต.ต.อภิสิทธิ์ เมืองเกษม ผู้บังคับการตำรวจจราจร ฝากเตือนว่า..ถึงอย่างไรจักรยานยนต์ทุกชนิดก็ยังเข้าข่าย “เนื้อหุ้มเหล็ก” หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ความเสียหายจะรุนแรงมากกว่ารถยนต์ จึงควรขับขี่อย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ
“ในการใช้รถจักรยานยนต์ มันเป็นเนื้อหุ้มเหล็ก มันจะเป็นอันตรายถ้าไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร กฎจราจรเป็นกฎที่ออกมาเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน เพราะฉะนั้นผู้ที่ขับรถจักรยานยนต์ควรใช้เส้นทางคู่ขนานไม่วิ่งในช่องทางด่วน สวมหมวกนิรภัยให้เรียบร้อยทั้งคนขับและคนซ้อนเพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุซึ่งมีโอกาสเกิดได้สูง อัตราการบาดเจ็บการเสียชีวิตสูง
ในเรื่องของความเร็ว ถึงแม้เทคโนโลยีจะทำให้รถจักรยานยนต์มีความเร็วเทียบเท่ารถยนต์แล้วก็ตาม แต่ว่ายิ่งเร็วขึ้นเท่าไรการควบคุมยิ่งเป็นไปได้ยาก หากอยู่บนถนนที่ไม่คุ้นขอให้ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง อย่าขี่ด้วยความคึกคะนอง” ผู้บังคับการตำรวจจราจร ฝากทิ้งท้าย
ชนัดดา บุญครอง
SCOOP@NAEWNA.COM
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้