[Loser Voice] เทรนด์ฮิต “หื่น-หยาบ-แรง” : ดูแลตัวเองกันดีไหม? เพราะรัฐก็จนปัญญาเหมือนกัน!!!
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้ กับเพลงของนักแสดงตลกดาวรุ่งรายหนึ่งที่มีเนื้อหาสองแง่สองง่าม รวมไปถึงการเลือกถ่ายทำมิวสิกวีดีโอในโรงเรียนอนุบาล เสียงสะท้อนจากชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยบอกว่ารับไม่ได้ หยาบคาย แถมไปปลูกฝังค่านิยมผิดๆ ให้เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ประสีประสาอีก ขณะที่อีกฟากหนึ่งที่ไม่น้อยเช่นกัน บอกว่าเฉยๆ สนุกดี ขำๆ อย่าคิดมากคิดเยอะ อะไรก็ว่ากันไป
.
จากเรื่องนี้ ในส่วนของเพลงดีหรือไม่? ใครจะชอบไม่ชอบนั่นก็เป็นรสนิยมส่วนบุคคล ฉะนั้นผมจะไม่กล่าวถึง แต่จะกล่าวถึงสิ่งที่ชาวเน็ตทั้งหลายเข้าใจผิดไปมากในหลายประเด็น!!!
.
ประเด็นแรก..ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าวัฒนธรรมแบบไทยเป็น
“วัฒนธรรมบริสุทธิ์” มีแต่ด้านสีขาว ไร้มลทิน ไม่มีสิ่งสกปรกมาปนเปื้อน ส่วนภาพเลวร้าย สกปรกโสมมที่เห็น มันคือการบิดเบือนเพื่อสนองจริตต่ำๆ ของคนบางกลุ่ม ซึ่งไม่แปลกอะไรที่คนจำนวนมากจะเชื่อแบบนี้ เพราะในอดีตที่ผ่านมา การเผยแพร่วัฒนธรรม คตินิยม คุณค่าทางชุดความคิดต่างๆ มักดำเนินการโดยรัฐ หรือถึงจะทำโดยเอกชน แต่เอกชนก็จะถูกควบคุมกำกับโดยรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่ารัฐต้องคัดเลือกชุดวัฒนธรรมที่เห็นว่าเหมาะสม เลือกให้เป็น
“วัฒนธรรมกระแสหลัก” เพื่อส่งเสริมศีลธรรมอันดี-บุคลิกภาพอันพึงประสงค์ของประชาชน
.
ส่วนวัฒนธรรม-ค่านิยมอื่นๆ ก็เป็น
“วัฒนธรรมกระแสรอง” บางอย่างถูกห้าม บางอย่างไม่ถูกห้ามแต่ก็ไม่ส่งเสริม!!!
.
เช่นประเทศไทย คนไทยเราจะคุ้นเคยกับการรำวงมาตรฐาน การขับเสภาที่ทำนองไพเราะเสนาะหู ค่านิยมรักนวลสงวนตัว สตรีต้องกระมิดกระเมี้ยนอย่ามีจริตจะก้านออกไปในแนวให้ท่าให้ทางบุรุษ บุคคลต้องประพฤติตนสุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้รัฐใช้กระบวนการส่งเสริมทั้งทางตรงผ่านตำราเรียนในหลักสูตร และทางอ้อมผ่านการใช้สื่อหลักแขนงต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ขณะที่วัฒนธรรมกระแสรองอื่นๆ อย่างเพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง หรือมุขตลกแนวๆ สองแง่สองง่ามส่อไปในเรื่องทางลบทางร้าย อย่างเบาๆ รัฐก็จะไม่ทำการส่งเสริมให้รู้จักกันในวงกว้าง หรืออย่างหนักๆ ก็คือสั่งแบนไม่ให้ถูกเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักอย่างเด็ดขาด
.
คนไทยที่เป็นคนเจเนอเรชั่นตั้งแต่เบบี้บูม , เอ็กซ์ , วาย จะคุ้นเคยกันดีกับข่าวรัฐสั่งแบนเพลงหรือภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และสิ่งที่ถูกแบนนี้เราจะเรียกว่า
“สื่อใต้ดิน” ที่ใครสนใจก็ต้องไปสืบเสาะหามาเสพกันเอาเอง ซึ่งหลักๆ รัฐก็จะมีสองเหตุผลแหละครับ คือเหตุผลทางการเมือง ( ด่าทอหรือวิพากษ์รัฐบาลอย่างรุนแรง ) กับเหตุผลทางสังคม ( มีเนื้อหาลามกอนาจารหรือส่งเสริมความรุนแรง ) เพราะคนทั้ง 3 เจเนอเรชั่น เติบโตมาในยุคที่สื่อหลักยังมีอิทธิพลทางความคิดและค่านิยมต่อสังคมมาก ทำให้รัฐต้องจับตามองเป็นพิเศษ
“กบว.” เป็นชื่อหน่วยงานที่คุ้นเคยกับคนยุคดังกล่าวเป็นอย่างดี ดังนั้นคนที่คิดจะประกอบอาชีพที่ใช้สื่อสารมวลชนกระแสหลัก ถ้าไม่เปลี่ยนแนวตัวเองเป็นแบบขาวๆ ใสๆ ก็จะต้องใช้
“กึ๋น” ดัดแปลง
“ลับลวงพราง” ผลงานของตนเองเพื่อให้สามารถเผยแพร่บนดินได้โดยไม่ถูกรัฐสั่งแบน จึงเป็นที่มาของเพลงหรือบทประพันธ์แนวสองแง่สองง่าม หรือแนวเสียดสีต่างๆ ที่ใช้ภาษาได้สละสลวย หากมองเพียงผิวเผินจะคิดว่าเป็นเพียงผลงานธรรมดาๆ ต้องใช้การ
“ตีความ” จึงจะปรากฏนัยยะที่ผู้สร้างแอบซ่อนไว้ นั่นทำให้เราๆ ท่านๆ คุ้นชินกับวัฒนธรรมไทยแต่ในด้านสวยงาม และรับไม่ได้กับการปรากฏของสิ่งใหม่ๆ ที่ดูแย่ แต่อีกมุมเราๆ ท่านๆ ก็ให้การสนับสนุนชื่นชมเรื่องลับๆ เรื่องเสียดสีต่างๆ ที่ใช้ภาษาได้งดงามเช่นกัน
.
สรุปประเด็นแรก..วัฒนธรรมไทยก็มีทั้งที่รัฐส่งเสริมและไม่ส่งเสริม และมาตรฐานดีร้ายก็อิงกับเกณฑ์ตรงนี้ ทำให้ในอดีตสื่อที่มีเนื้อหาลบๆ ร้ายๆ จึงไม่ค่อยถูกนำเสนอเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าของพวกนั้นมันไม่เคยมีอยู่ในสังคมของเรา!!!
.
ประเด็นที่สอง..ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยเมื่อเห็นปรากฏการณ์เพลงและมิวสิกวีดีโอของนักแสดงตลกรายนี้ ต่างเรียกหาบทบาทการทำหน้าที่ของรัฐ ทำไมไม่แบนไม่เซ็นเซอร์ รวมถึงกรณีอื่นๆ เช่น เพลงที่มีเนื้อหาว่าด้วยคนเป็นเมียน้อย เป็นชู้ ประกาศตัวเองอย่างเปิดเผยไม่แคร์สังคม คำตอบคือเพราะ
“โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว” จากในอดีตที่การจะโปรโมตผลงานของตนเองจะต้องทำผ่านสื่อหลัก นักเขียนจะดังได้ก็ต่อเมื่อสำนักพิมพ์รับผลงานไปตีพิมพ์ นักร้อง-นักดนตรีจะดังได้ก็ต่อเมื่อค่ายเพลงที่มีสื่อในมือทั้งวิทยุและโทรทัศน์ตกลงรับเข้าเป็นศิลปินในสังกัด เมื่อต้องพึ่งพากัน
“การวางตัว-ภาพลักษณ์” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าหน้าฉากหรือหลังฉาก อย่าให้มีข่าวฉาวจะดีที่สุด
.
แต่สมัยนี้ แค่คุณเข้าถึง
“อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง” คุณก็อาจกลายเป็น
“ไอดอล” ได้ในชั่วข้ามคืน!!!
.
ผมไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจการมีอยู่ของโลกออนไลน์หรอกครับ เพราะยุคหนึ่งคนรู้จักผมก็เพราะพื้นที่เสมือนนี่แหละ แต่ในความเป็นจริงเราต้องยอมรับว่าพื้นที่แห่งนี้
“ไม่มีขอบเขต-ไร้ขีดจำกัด” ใครจะนำเสนออะไรก็ได้ จะขาว เทา ดำ ได้ทั้งหมด โดยที่รัฐไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างในอดีต เพราะคลังเก็บข้อมูล ( เซิร์ฟเวอร์ ) อยู่ในต่างประเทศที่เขายินยอมให้มีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็น รัฐไทยไม่มีทางจะไปสั่งให้เขาลบออกถอดออกได้ และถึงรัฐไทยจะใช้มาตรการปิดกั้น แต่ชาวเน็ตไทยก็สามารถทะลุทะลวงเข้าไปรับชมได้อยู่ดี นอกจากนี้การปิดกั้นยังไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลเองเสียด้วย เพราะคนยุคใหม่ถือ
“สิทธิปัจเจกชน” เป็นสำคัญกว่าสิ่งใดๆ ดูเอาละกัน..แม้สังคมไทยวันนี้จะแบ่งเป็นเสื้อสีต่างๆ แต่ถ้ามีข่าวว่ารัฐบาลไม่ว่าเลือกตั้งหรือรัฐประหารจะมาริดรอนเสรีภาพในการใช้อินเตอร์เน็ต คนไทยทุกสีจะรวมใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อด่าทอและประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นทันที
.
ฉะนั้นรัฐจะควบคุมอะไรได้ล่ะครับ? อย่างกรณีที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน เพลงของศิลปินแห่งชาติบางท่านที่แต่งมาเสียดสีวงการสงฆ์ที่เต็มไปด้วยความลุ่มหลงในเงินตราและสมนศักดิ์ แม้จะถูกห้ามเผยแพร่บนสื่อหลักทุกแขนง แต่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปหาฟังในยูทูปได้ แถมมีการแชร์ต่อๆ กันบนเฟซบุ๊คอีกต่างหาก ตราบใดที่เพลงดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายโดยตรงชัดเจน และไม่ผิดเงื่อนไขของตัวเว็บไซต์ที่ให้บริการรับเก็บและเผยแพร่ข้อมูลก็ไม่มีทางถูกลบ นี่จึงเป็นสาเหตุให้วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม และความเห็น
“กระแสอื่นๆ” ที่รัฐไม่ส่งเสริม ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง
.
ก็นะ..ขนาดเนื้อหาที่ผิดกฎหมายของไทยชัดเจนแต่ไม่ผิดกฎหมายประเทศต้นทางของเว็บไซต์นั้นๆ รัฐไทยยังทำอะไรไม่ได้เลย คงไม่ต้องบอกนะครับว่าเรื่องไหน?
.
ยกสักตัวอย่างก็ได้..ในอดีต
“เด็กแว้น” หรือ
“นักเรียนนักเลง” เป็นเพียงวัฒนธรรมหรือค่านิยมเฉพาะกลุ่ม อยู่กันแค่ในวงแคบๆ สื่อกระแสหลักนอกจากไม่ส่งเสริมแล้วยังประณามอีกด้วย แต่ในยุคโลกออนไลน์ คนเหล่านี้มีพื้นที่แสดงตัวตนในแง่มุมที่อยากนำเสนอ อยากให้คนอื่นมองว่าเท่ เจ๋ง ก็โพสต์ภาพโพสต์คลิปตัวเองและพวกพ้อง โชว์อะไรที่เกี่ยวกับวงการนั้นๆ ผ่านสื่อออนไลน์ บรรดาคนที่ได้รับชม ส่วนหนึ่งอาจจะด่าทอต่อไป แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะชื่นชอบและอยากทำตาม ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา หรือเน็ตไอดอลสาวๆ ที่โชว์นมโชว์ของสงวน ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน
.
หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่ง..เราๆ ท่านๆ อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า
“สมบัติผู้ดี” ที่ไม่ว่าจะเกิดมารวยหรือจน มารยาท การวางตัว คำพูดคำจาต้องสุภาพสำรวม สังคมจึงจะมองว่าเป็นคนดีน่าเชื่อถือ ค่านิยมสมบัติผู้ดีนี้รัฐให้การส่งเสริม กระทั่งยุคของโลกออนไลน์ คนจำนวนหนึ่งที่มองค่านิยมดังกล่าวในอีกแง่หนึ่ง ได้เผยแพร่แนวคิดของตนด้วยท่าทีวิพากษ์อย่างท้าทาย
“การวางตัวคือการสร้างภาพหรือเปล่า?” “คนเรียบร้อยคือคนเสแสร้งใช่ไหม?” ฯลฯ และก็เปรียบเทียบว่าบางทีคนที่พูดตรงๆ แรงๆ อาจจะนิสัยดีกว่าคนพวกนี้ก็ได้ ซึ่งฟังแล้วมีเหตุผลอยู่ไม่น้อย เพราะสังคมหันไปในทางเสรีเท่าเทียมมากขึ้น พิธีรีตองต่างๆ ถูกมองว่าเก่า เชย หรือเป็นเศษซากของสังคมเก่าที่แบ่งชนชั้น นั่นทำคนยุคใหม่ไม่ชอบการบังคับสั่งสอน ถ้าไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องสุภาพเรียบร้อย เอาแต่ด่าแต่ว่า ( ซึ่งคนไทยจำนวนมากก็ดันขาดทักษะด้านศิลปะการสอน-การอบรมจริงๆ มีแต่ด่าแต่ว่าอย่างเดียว ) ก็มีแต่จะยิ่งประชดประชัน ทำตัวแบบนั้นไปกันใหญ่ ท่านดูง่ายๆ เรื่องการใช้ภาษาเถอะครับ คำหลายคำแรกๆ ก็พิมพ์ผิดเขียนผิดแบบไม่ตั้งใจ แต่ไปๆ มาๆ ก็ใช้กันเป็นแฟชั่น ใครที่ท้วงติงก็จะถูกตอกกลับว่าสิทธิ์ฉันตัวฉันจะทำอะไรก็ได้บ้าง ภาษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาบ้าง มองคนท้วงคนติงเป็นมนุษย์ลุงมนุษย์ป้าที่ตามกระแสไม่ทัน ที่สำคัญความเห็นแนวๆ นี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคนยุคใหม่ และรวมไปถึงคนยุคเก่าที่เป็นนักวิชาการ-ปัญญาชนบางกลุ่มด้วย บอกว่าเป็นพวกหัวก้าวหน้า เป็นนักปฏิวัติโค่นล้มสังคมเก่าที่ล้าหลัง อะไรก็ว่ากันไป
.
สรุปประเด็นที่สอง..ในยุคโลกออนไลน์ รัฐไม่อาจควบคุมกำกับทิศทางการเผยแพร่วัฒนธรรม ค่านิยมได้อีกต่อไป ทั้งปัจจัยภายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ต้องพึ่งพาสื่อหลักอย่างในอดีต ถึงจะแบนสื่อหลักไปก็มีช่องทางอื่นเผยแพร่ จึงไม่ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองมากนัก ถ้าไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายจริงๆ จะไปจับไปดำเนินคดีก็ไม่ได้ และปัจจัยภายนอก ต่อให้ผิดกฎหมายไทย แต่ไม่ผิดกฎหมายประเทศเจ้าของเว็บไซต์ รัฐไทยก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ค่านิยมกระแสหลักจึงถูกท้าทายด้วยค่านิยมอื่นๆ ที่ดูแล้วตอบสนองจริตคนได้มากกว่า!!!
.
แล้วจะทำกันอย่างไร?..ในเมื่อรัฐพึ่งพาไม่ได้ ( ซึ่งไม่ใช่ความผิดของรัฐ เพราะกลไกรัฐคือมรดกจากโลกเก่า ไม่มีทางตามความซับซ้อนของโลกใหม่ได้ทัน ) ก็ต้องขึ้นอยู่กับสังคมละครับ ว่าจะมีปฏิกิริยากับผู้ใช้สื่อแบบนี้อย่างไร? ถ้าคนจำนวนมากยังชื่นชอบชื่นชม นั่นก็ถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ก็ต้องทำใจ หรือไม่ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ต้องสอนลูกสอนหลาน ให้เป็น ว่าทำไมต้องรักษาสมบัติผู้ดี ทำไมต้องรักนวลสงวนตัว ทำไมต้อง... บลาๆๆ
.
ผมย้ำนะครับ
“ต้องสอนให้เป็น” เพราะถ้าสอนไม่เป็น-อธิบายไม่ได้ ลูกหลานท่านก็จะไม่ฟัง และจะประชดประชันด้วยกันทำสิ่งเหล่านั้นหนักกว่าเดิมแน่นอน ยุคนี้ต้องพึ่งตนเองครับ ในระดับนานาชาติเขาถึงได้ยกทักษะ
“การรู้เท่าทันสื่อ” เป็นทักษะสำคัญที่คนยุคนี้ต้องมี เพราะรัฐและสื่อมวลชนกระแสหลักไม่สามารถช่วยกลั่นกรองได้อีกแล้ว ปัจเจกชนแต่ละคนจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดให้ได้ไตร่ตรองให้เป็นด้วยตนเอง
.
แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ!!!
.
.
-----------------------------------------------
[Loser Voice] เทรนด์ฮิต “หื่น-หยาบ-แรง” : ดูแลตัวเองกันดีไหม? เพราะรัฐก็จนปัญญาเหมือนกัน!!!
.
.
By : TonyMao_NK51
E-Mail : tonymao_nk51@hotmail.com
Facebook Page : TonyMao_NK51
.
กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ในขณะนี้ กับเพลงของนักแสดงตลกดาวรุ่งรายหนึ่งที่มีเนื้อหาสองแง่สองง่าม รวมไปถึงการเลือกถ่ายทำมิวสิกวีดีโอในโรงเรียนอนุบาล เสียงสะท้อนจากชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยบอกว่ารับไม่ได้ หยาบคาย แถมไปปลูกฝังค่านิยมผิดๆ ให้เด็กเล็กๆ ที่ยังไม่รู้ประสีประสาอีก ขณะที่อีกฟากหนึ่งที่ไม่น้อยเช่นกัน บอกว่าเฉยๆ สนุกดี ขำๆ อย่าคิดมากคิดเยอะ อะไรก็ว่ากันไป
.
จากเรื่องนี้ ในส่วนของเพลงดีหรือไม่? ใครจะชอบไม่ชอบนั่นก็เป็นรสนิยมส่วนบุคคล ฉะนั้นผมจะไม่กล่าวถึง แต่จะกล่าวถึงสิ่งที่ชาวเน็ตทั้งหลายเข้าใจผิดไปมากในหลายประเด็น!!!
.
ประเด็นแรก..ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าวัฒนธรรมแบบไทยเป็น “วัฒนธรรมบริสุทธิ์” มีแต่ด้านสีขาว ไร้มลทิน ไม่มีสิ่งสกปรกมาปนเปื้อน ส่วนภาพเลวร้าย สกปรกโสมมที่เห็น มันคือการบิดเบือนเพื่อสนองจริตต่ำๆ ของคนบางกลุ่ม ซึ่งไม่แปลกอะไรที่คนจำนวนมากจะเชื่อแบบนี้ เพราะในอดีตที่ผ่านมา การเผยแพร่วัฒนธรรม คตินิยม คุณค่าทางชุดความคิดต่างๆ มักดำเนินการโดยรัฐ หรือถึงจะทำโดยเอกชน แต่เอกชนก็จะถูกควบคุมกำกับโดยรัฐไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แน่นอนว่ารัฐต้องคัดเลือกชุดวัฒนธรรมที่เห็นว่าเหมาะสม เลือกให้เป็น “วัฒนธรรมกระแสหลัก” เพื่อส่งเสริมศีลธรรมอันดี-บุคลิกภาพอันพึงประสงค์ของประชาชน
.
ส่วนวัฒนธรรม-ค่านิยมอื่นๆ ก็เป็น “วัฒนธรรมกระแสรอง” บางอย่างถูกห้าม บางอย่างไม่ถูกห้ามแต่ก็ไม่ส่งเสริม!!!
.
เช่นประเทศไทย คนไทยเราจะคุ้นเคยกับการรำวงมาตรฐาน การขับเสภาที่ทำนองไพเราะเสนาะหู ค่านิยมรักนวลสงวนตัว สตรีต้องกระมิดกระเมี้ยนอย่ามีจริตจะก้านออกไปในแนวให้ท่าให้ทางบุรุษ บุคคลต้องประพฤติตนสุภาพเรียบร้อย มีสัมมาคารวะ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้รัฐใช้กระบวนการส่งเสริมทั้งทางตรงผ่านตำราเรียนในหลักสูตร และทางอ้อมผ่านการใช้สื่อหลักแขนงต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ขณะที่วัฒนธรรมกระแสรองอื่นๆ อย่างเพลงพื้นบ้าน เพลงลูกทุ่ง หรือมุขตลกแนวๆ สองแง่สองง่ามส่อไปในเรื่องทางลบทางร้าย อย่างเบาๆ รัฐก็จะไม่ทำการส่งเสริมให้รู้จักกันในวงกว้าง หรืออย่างหนักๆ ก็คือสั่งแบนไม่ให้ถูกเผยแพร่ในสื่อกระแสหลักอย่างเด็ดขาด
.
คนไทยที่เป็นคนเจเนอเรชั่นตั้งแต่เบบี้บูม , เอ็กซ์ , วาย จะคุ้นเคยกันดีกับข่าวรัฐสั่งแบนเพลงหรือภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม และสิ่งที่ถูกแบนนี้เราจะเรียกว่า “สื่อใต้ดิน” ที่ใครสนใจก็ต้องไปสืบเสาะหามาเสพกันเอาเอง ซึ่งหลักๆ รัฐก็จะมีสองเหตุผลแหละครับ คือเหตุผลทางการเมือง ( ด่าทอหรือวิพากษ์รัฐบาลอย่างรุนแรง ) กับเหตุผลทางสังคม ( มีเนื้อหาลามกอนาจารหรือส่งเสริมความรุนแรง ) เพราะคนทั้ง 3 เจเนอเรชั่น เติบโตมาในยุคที่สื่อหลักยังมีอิทธิพลทางความคิดและค่านิยมต่อสังคมมาก ทำให้รัฐต้องจับตามองเป็นพิเศษ “กบว.” เป็นชื่อหน่วยงานที่คุ้นเคยกับคนยุคดังกล่าวเป็นอย่างดี ดังนั้นคนที่คิดจะประกอบอาชีพที่ใช้สื่อสารมวลชนกระแสหลัก ถ้าไม่เปลี่ยนแนวตัวเองเป็นแบบขาวๆ ใสๆ ก็จะต้องใช้ “กึ๋น” ดัดแปลง “ลับลวงพราง” ผลงานของตนเองเพื่อให้สามารถเผยแพร่บนดินได้โดยไม่ถูกรัฐสั่งแบน จึงเป็นที่มาของเพลงหรือบทประพันธ์แนวสองแง่สองง่าม หรือแนวเสียดสีต่างๆ ที่ใช้ภาษาได้สละสลวย หากมองเพียงผิวเผินจะคิดว่าเป็นเพียงผลงานธรรมดาๆ ต้องใช้การ “ตีความ” จึงจะปรากฏนัยยะที่ผู้สร้างแอบซ่อนไว้ นั่นทำให้เราๆ ท่านๆ คุ้นชินกับวัฒนธรรมไทยแต่ในด้านสวยงาม และรับไม่ได้กับการปรากฏของสิ่งใหม่ๆ ที่ดูแย่ แต่อีกมุมเราๆ ท่านๆ ก็ให้การสนับสนุนชื่นชมเรื่องลับๆ เรื่องเสียดสีต่างๆ ที่ใช้ภาษาได้งดงามเช่นกัน
.
สรุปประเด็นแรก..วัฒนธรรมไทยก็มีทั้งที่รัฐส่งเสริมและไม่ส่งเสริม และมาตรฐานดีร้ายก็อิงกับเกณฑ์ตรงนี้ ทำให้ในอดีตสื่อที่มีเนื้อหาลบๆ ร้ายๆ จึงไม่ค่อยถูกนำเสนอเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าของพวกนั้นมันไม่เคยมีอยู่ในสังคมของเรา!!!
.
ประเด็นที่สอง..ชาวเน็ตจำนวนไม่น้อยเมื่อเห็นปรากฏการณ์เพลงและมิวสิกวีดีโอของนักแสดงตลกรายนี้ ต่างเรียกหาบทบาทการทำหน้าที่ของรัฐ ทำไมไม่แบนไม่เซ็นเซอร์ รวมถึงกรณีอื่นๆ เช่น เพลงที่มีเนื้อหาว่าด้วยคนเป็นเมียน้อย เป็นชู้ ประกาศตัวเองอย่างเปิดเผยไม่แคร์สังคม คำตอบคือเพราะ “โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว” จากในอดีตที่การจะโปรโมตผลงานของตนเองจะต้องทำผ่านสื่อหลัก นักเขียนจะดังได้ก็ต่อเมื่อสำนักพิมพ์รับผลงานไปตีพิมพ์ นักร้อง-นักดนตรีจะดังได้ก็ต่อเมื่อค่ายเพลงที่มีสื่อในมือทั้งวิทยุและโทรทัศน์ตกลงรับเข้าเป็นศิลปินในสังกัด เมื่อต้องพึ่งพากัน “การวางตัว-ภาพลักษณ์” จึงเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าหน้าฉากหรือหลังฉาก อย่าให้มีข่าวฉาวจะดีที่สุด
.
แต่สมัยนี้ แค่คุณเข้าถึง “อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง” คุณก็อาจกลายเป็น “ไอดอล” ได้ในชั่วข้ามคืน!!!
.
ผมไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจการมีอยู่ของโลกออนไลน์หรอกครับ เพราะยุคหนึ่งคนรู้จักผมก็เพราะพื้นที่เสมือนนี่แหละ แต่ในความเป็นจริงเราต้องยอมรับว่าพื้นที่แห่งนี้ “ไม่มีขอบเขต-ไร้ขีดจำกัด” ใครจะนำเสนออะไรก็ได้ จะขาว เทา ดำ ได้ทั้งหมด โดยที่รัฐไม่สามารถควบคุมดูแลได้อย่างในอดีต เพราะคลังเก็บข้อมูล ( เซิร์ฟเวอร์ ) อยู่ในต่างประเทศที่เขายินยอมให้มีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลและความคิดเห็น รัฐไทยไม่มีทางจะไปสั่งให้เขาลบออกถอดออกได้ และถึงรัฐไทยจะใช้มาตรการปิดกั้น แต่ชาวเน็ตไทยก็สามารถทะลุทะลวงเข้าไปรับชมได้อยู่ดี นอกจากนี้การปิดกั้นยังไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลเองเสียด้วย เพราะคนยุคใหม่ถือ “สิทธิปัจเจกชน” เป็นสำคัญกว่าสิ่งใดๆ ดูเอาละกัน..แม้สังคมไทยวันนี้จะแบ่งเป็นเสื้อสีต่างๆ แต่ถ้ามีข่าวว่ารัฐบาลไม่ว่าเลือกตั้งหรือรัฐประหารจะมาริดรอนเสรีภาพในการใช้อินเตอร์เน็ต คนไทยทุกสีจะรวมใจเป็นหนึ่งเดียวเพื่อด่าทอและประท้วงต่อต้านรัฐบาลนั้นทันที
.
ฉะนั้นรัฐจะควบคุมอะไรได้ล่ะครับ? อย่างกรณีที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน เพลงของศิลปินแห่งชาติบางท่านที่แต่งมาเสียดสีวงการสงฆ์ที่เต็มไปด้วยความลุ่มหลงในเงินตราและสมนศักดิ์ แม้จะถูกห้ามเผยแพร่บนสื่อหลักทุกแขนง แต่ใครๆ ก็สามารถเข้าไปหาฟังในยูทูปได้ แถมมีการแชร์ต่อๆ กันบนเฟซบุ๊คอีกต่างหาก ตราบใดที่เพลงดังกล่าวไม่ผิดกฎหมายโดยตรงชัดเจน และไม่ผิดเงื่อนไขของตัวเว็บไซต์ที่ให้บริการรับเก็บและเผยแพร่ข้อมูลก็ไม่มีทางถูกลบ นี่จึงเป็นสาเหตุให้วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม และความเห็น “กระแสอื่นๆ” ที่รัฐไม่ส่งเสริม ถูกเผยแพร่ในวงกว้าง
.
ก็นะ..ขนาดเนื้อหาที่ผิดกฎหมายของไทยชัดเจนแต่ไม่ผิดกฎหมายประเทศต้นทางของเว็บไซต์นั้นๆ รัฐไทยยังทำอะไรไม่ได้เลย คงไม่ต้องบอกนะครับว่าเรื่องไหน?
.
ยกสักตัวอย่างก็ได้..ในอดีต “เด็กแว้น” หรือ “นักเรียนนักเลง” เป็นเพียงวัฒนธรรมหรือค่านิยมเฉพาะกลุ่ม อยู่กันแค่ในวงแคบๆ สื่อกระแสหลักนอกจากไม่ส่งเสริมแล้วยังประณามอีกด้วย แต่ในยุคโลกออนไลน์ คนเหล่านี้มีพื้นที่แสดงตัวตนในแง่มุมที่อยากนำเสนอ อยากให้คนอื่นมองว่าเท่ เจ๋ง ก็โพสต์ภาพโพสต์คลิปตัวเองและพวกพ้อง โชว์อะไรที่เกี่ยวกับวงการนั้นๆ ผ่านสื่อออนไลน์ บรรดาคนที่ได้รับชม ส่วนหนึ่งอาจจะด่าทอต่อไป แต่อีกส่วนหนึ่งก็อาจจะชื่นชอบและอยากทำตาม ด้วยเหตุผลต่างๆ นานา หรือเน็ตไอดอลสาวๆ ที่โชว์นมโชว์ของสงวน ก็เข้าข่ายนี้เช่นกัน
.
หรืออีกสักตัวอย่างหนึ่ง..เราๆ ท่านๆ อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “สมบัติผู้ดี” ที่ไม่ว่าจะเกิดมารวยหรือจน มารยาท การวางตัว คำพูดคำจาต้องสุภาพสำรวม สังคมจึงจะมองว่าเป็นคนดีน่าเชื่อถือ ค่านิยมสมบัติผู้ดีนี้รัฐให้การส่งเสริม กระทั่งยุคของโลกออนไลน์ คนจำนวนหนึ่งที่มองค่านิยมดังกล่าวในอีกแง่หนึ่ง ได้เผยแพร่แนวคิดของตนด้วยท่าทีวิพากษ์อย่างท้าทาย “การวางตัวคือการสร้างภาพหรือเปล่า?” “คนเรียบร้อยคือคนเสแสร้งใช่ไหม?” ฯลฯ และก็เปรียบเทียบว่าบางทีคนที่พูดตรงๆ แรงๆ อาจจะนิสัยดีกว่าคนพวกนี้ก็ได้ ซึ่งฟังแล้วมีเหตุผลอยู่ไม่น้อย เพราะสังคมหันไปในทางเสรีเท่าเทียมมากขึ้น พิธีรีตองต่างๆ ถูกมองว่าเก่า เชย หรือเป็นเศษซากของสังคมเก่าที่แบ่งชนชั้น นั่นทำคนยุคใหม่ไม่ชอบการบังคับสั่งสอน ถ้าไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมต้องสุภาพเรียบร้อย เอาแต่ด่าแต่ว่า ( ซึ่งคนไทยจำนวนมากก็ดันขาดทักษะด้านศิลปะการสอน-การอบรมจริงๆ มีแต่ด่าแต่ว่าอย่างเดียว ) ก็มีแต่จะยิ่งประชดประชัน ทำตัวแบบนั้นไปกันใหญ่ ท่านดูง่ายๆ เรื่องการใช้ภาษาเถอะครับ คำหลายคำแรกๆ ก็พิมพ์ผิดเขียนผิดแบบไม่ตั้งใจ แต่ไปๆ มาๆ ก็ใช้กันเป็นแฟชั่น ใครที่ท้วงติงก็จะถูกตอกกลับว่าสิทธิ์ฉันตัวฉันจะทำอะไรก็ได้บ้าง ภาษามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาบ้าง มองคนท้วงคนติงเป็นมนุษย์ลุงมนุษย์ป้าที่ตามกระแสไม่ทัน ที่สำคัญความเห็นแนวๆ นี้ยังได้รับการสนับสนุนจากคนยุคใหม่ และรวมไปถึงคนยุคเก่าที่เป็นนักวิชาการ-ปัญญาชนบางกลุ่มด้วย บอกว่าเป็นพวกหัวก้าวหน้า เป็นนักปฏิวัติโค่นล้มสังคมเก่าที่ล้าหลัง อะไรก็ว่ากันไป
.
สรุปประเด็นที่สอง..ในยุคโลกออนไลน์ รัฐไม่อาจควบคุมกำกับทิศทางการเผยแพร่วัฒนธรรม ค่านิยมได้อีกต่อไป ทั้งปัจจัยภายในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ต้องพึ่งพาสื่อหลักอย่างในอดีต ถึงจะแบนสื่อหลักไปก็มีช่องทางอื่นเผยแพร่ จึงไม่ต้องเซ็นเซอร์ตัวเองมากนัก ถ้าไม่ถึงขั้นผิดกฎหมายจริงๆ จะไปจับไปดำเนินคดีก็ไม่ได้ และปัจจัยภายนอก ต่อให้ผิดกฎหมายไทย แต่ไม่ผิดกฎหมายประเทศเจ้าของเว็บไซต์ รัฐไทยก็ทำอะไรไม่ได้อยู่ดี ค่านิยมกระแสหลักจึงถูกท้าทายด้วยค่านิยมอื่นๆ ที่ดูแล้วตอบสนองจริตคนได้มากกว่า!!!
.
แล้วจะทำกันอย่างไร?..ในเมื่อรัฐพึ่งพาไม่ได้ ( ซึ่งไม่ใช่ความผิดของรัฐ เพราะกลไกรัฐคือมรดกจากโลกเก่า ไม่มีทางตามความซับซ้อนของโลกใหม่ได้ทัน ) ก็ต้องขึ้นอยู่กับสังคมละครับ ว่าจะมีปฏิกิริยากับผู้ใช้สื่อแบบนี้อย่างไร? ถ้าคนจำนวนมากยังชื่นชอบชื่นชม นั่นก็ถือเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ ก็ต้องทำใจ หรือไม่ผู้หลักผู้ใหญ่ก็ต้องสอนลูกสอนหลาน ให้เป็น ว่าทำไมต้องรักษาสมบัติผู้ดี ทำไมต้องรักนวลสงวนตัว ทำไมต้อง... บลาๆๆ
.
ผมย้ำนะครับ “ต้องสอนให้เป็น” เพราะถ้าสอนไม่เป็น-อธิบายไม่ได้ ลูกหลานท่านก็จะไม่ฟัง และจะประชดประชันด้วยกันทำสิ่งเหล่านั้นหนักกว่าเดิมแน่นอน ยุคนี้ต้องพึ่งตนเองครับ ในระดับนานาชาติเขาถึงได้ยกทักษะ “การรู้เท่าทันสื่อ” เป็นทักษะสำคัญที่คนยุคนี้ต้องมี เพราะรัฐและสื่อมวลชนกระแสหลักไม่สามารถช่วยกลั่นกรองได้อีกแล้ว ปัจเจกชนแต่ละคนจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดให้ได้ไตร่ตรองให้เป็นด้วยตนเอง
.
แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ!!!
.
.
-----------------------------------------------