เอาข่าวเก่าเรื่อง กกต. มาให้ทบทวนกันครับ
______________________________________________________________
การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ไม่ขยายวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือ กกต. ไม่พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งนั้น เป็นที่กังขาของผู้รักประชาธิปไตยอย่างมาก อย่างนายยุกติ มุกดาวิจิตร สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ได้ตั้ง 5 ข้อสงสัยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. คือ
1.กกต. เกรงกลัวการข่มขู่ของมวลชนและพรรคการเมืองบางพรรคที่พยายามขัดขวางการเลือกตั้งอย่างนั้นหรือ กกต.ชุดนี้กลัวอำนาจข่มขู่นอกระบบประชาธิปไตย นอกวิถีทางของกฎหมาย มากกว่าอำนาจที่ปวงชนชาวไทยให้มาปฏิบัติหน้าที่ผ่านกระบวนการแต่งตั้ง กกต. อย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างนั้นหรือ กกต. ไม่เชื่อมั่นในอำนาจปวงชนชาวไทยที่รับรองให้ตนเองขึ้นมามีอำนาจ แต่กลับไปเชื่อมั่นต่ออำนาจการข่มขู่ของกระบวนการที่ละเมิดกฎหมายอย่างนั้นหรือ
2.กกต. ไม่ได้เชื่อมั่นในวิถีทางตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงไม่พยายามผลักดันให้เกิดการแสดงอำนาจของปวงชนชาวไทยอย่างสันติผ่านการลงคะแนนเสียง กกต. ไม่เชื่อมั่นในการแสดงออกของประชาชนอย่างถูกต้องมากเท่ากับการใช้กำลังข่มขู่คุกคามขัดขวางกระบวนการที่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ
3.กกต. กำลังจะตัดสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ตัดสิทธิผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งประเทศ กลายเป็นว่า กกต. เอื้อประโยชน์ให้กับ กปปส. ที่กำลังละเมิดสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่
4.กกต. ชุดนี้กำลังให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับพรรคการเมืองหนึ่งที่ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือไม่ เนื่องจากข้อเรียกร้องให้เลื่อนการเลือกตั้งสอดคล้องกับข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งของพรรคการเมืองดังกล่าวที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและสนับสนุน กปปส.
5.ท้ายที่สุดสาธารณชนก็อาจสงสัยได้ว่า กกต. ไม่ได้พยายามทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่กลับกำลังสร้างทางตันให้ระบบที่เป็นอยู่ เปิดทางให้กับคณะก่อการปล้นอำนาจรัฐตามแนวทางของ กปปส. อยู่หรือไม่
ขณะที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์และสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงมติของ กกต. ไม่ขยายวันรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถรับเลือกตั้งได้เมื่อวันที่ 3 มกราคม เนื่องจากมีการขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งจากกลุ่มบุคคลที่ปฏิเสธการเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดย กกต. ให้เหตุผลว่าไม่มีกฎหมายรองรับและเกรงว่าจะกระทบผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศและผู้ที่ลงทะเบียนออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้าและนอกเขตจังหวัด ทั้งแนะนำให้ผู้ที่ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ไปร้องต่อศาลฎีกา จึงน่ากังวลการใช้ดุลยพินิจและความรับผิดชอบของ กกต. ดังนี้
1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 7 บัญญัติว่า “เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้งดังต่อไปนี้
(1) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินยี่สิบวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน”
เมื่อพิเคราะห์จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ กกต. ต้องเริ่มรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 วันนับแต่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บังคับ และกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการรับสมัครไว้ไม่น้อยกว่า 5 วันเท่านั้น หาได้กำหนดระยะเวลาขั้นสูงของการรับสมัครไว้ไม่ ดังนั้น ที่ กกต. กล่าวอ้างว่าตนไม่มีอำนาจขยายวันรับสมัครออกไปเพราะว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจนั้นจึงไม่ตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ในทางตรงกันข้ามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่ กกต. อย่างชัดแจ้ง ยิ่งเมื่อปรากฏว่ามีผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง แต่มีการขัดขวางไม่ให้สมัครรับเลือกตั้ง จนกระทั่งระยะเวลาที่ กกต. ประกาศไว้แต่เดิม (เป็นเวลา 5 วัน) ล่วงพ้นไป กกต. ย่อมมีหน้าที่ต้องขยายวันรับสมัครเลือกตั้งออกไป จะอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจทั้งๆที่มีกฎหมายให้อำนาจอย่างชัดแจ้งเช่นนี้ไม่ได้
2.การตีความกฎหมายดังที่ กกต. มีมติ นอกจากจะไม่ต้องด้วยลายลักษณ์อักษรดังที่ปรากฏในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ดังกล่าวแล้ว ยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีการเลือกตั้ง และจะเกิดผลประหลาดในทางกฎหมายอีกด้วย เช่น หากเกิดอุทกภัย เหตุจำเป็น เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติอื่นใดในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งหรือหลายเขตเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาที่ กกต. ประกาศสมัครรับเลือกตั้ง ส่งผลให้ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ และอุทกภัย เหตุจำเป็น เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติอื่นใดนั้นผ่านพ้นไปหลังจากที่เวลาสมัครรับเลือกตั้งสิ้นสุดลง กกต. จะอ้างได้หรือว่าไม่สามารถขยายระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะได้ประกาศวันรับสมัครเลือกตั้งไว้แน่นอนแล้ว กรณีเช่นนี้วิญญูชนย่อมต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า กกต. มีหน้าที่จะต้องกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งใหม่ หรือขยายวันสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีปัญหาดังกล่าวออกไป ไม่ใช่มีมติว่าไม่สามารถขยายเวลารับสมัครเลือกตั้งได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรืออ้างปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนของผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างแดน ผู้ประสงค์ออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้า และผู้ประสงค์ออกเสียงลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง มาเป็นเหตุขัดขวางการขยายเวลาสมัครรับเลือกตั้ง
3.การแนะนำให้ผู้ประสงค์ที่จะสมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ไปร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัย โดยอ้างอิงบทบัญญัติมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น น่าจะเป็นการแนะนำที่ไม่ตรงกับกรณีตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และทำให้ระยะเวลาที่ควรจะใช้เพื่อการสมัครรับเลือกตั้งต้องสูญเสียไปโดยไม่จำเป็น เนื่องจากมาตรา 39 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้สมัครไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในใบประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ มีการรับสมัครเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้สมัครผู้ใดผู้หนึ่งหรือหลายคนไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในใบประกาศ หาใช่เป็นกรณีที่ไม่เกิดการรับสมัครเลือกตั้งขึ้นเลยไม่ การมีมติในลักษณะดังกล่าวของ กกต. อาจถูกมองว่าเป็นการผลักภาระการตัดสินใจในกระบวนการจัดการรับสมัครเลือกตั้งอันเป็นอำนาจของ กกต. เองไปให้ศาลฎีกาใช้แทน และอาจทำให้สาธารณชนสงสัยว่าจะมี กกต. ไปเพื่อประโยชน์อันใด
4.มีข้อสังเกตว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้งจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำการอื่นใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคำสั่งของศาลอันเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และบัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 137 ว่าผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 10 ปี
การไม่ขยายเวลารับสมัครเลือกตั้งหรือเปลี่ยนสถานที่สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีผู้ขัดขวางมิให้สมัครรับเลือกตั้งทั้งที่บทกฎหมายเปิดช่องให้กระทำได้ และโดยเหตุผลของเรื่องย่อมเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อมิให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดผลประหลาด เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ หรือมีลักษณะเป็นการกระทำอื่นใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย (พระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) หรือไม่ วิญญูชนพึงพิจารณาไตร่ตรอง
กกต.เปิดทางปล้นอำนาจรัฐ / โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=48765
กกต.เปิดทางปล้นอำนาจรัฐ / โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (ประเด็นข่าว 16-01-2557)
______________________________________________________________
การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ไม่ขยายวันรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง หรือ กกต. ไม่พยายามอย่างถึงที่สุดที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งนั้น เป็นที่กังขาของผู้รักประชาธิปไตยอย่างมาก อย่างนายยุกติ มุกดาวิจิตร สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ได้ตั้ง 5 ข้อสงสัยต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. คือ
1.กกต. เกรงกลัวการข่มขู่ของมวลชนและพรรคการเมืองบางพรรคที่พยายามขัดขวางการเลือกตั้งอย่างนั้นหรือ กกต.ชุดนี้กลัวอำนาจข่มขู่นอกระบบประชาธิปไตย นอกวิถีทางของกฎหมาย มากกว่าอำนาจที่ปวงชนชาวไทยให้มาปฏิบัติหน้าที่ผ่านกระบวนการแต่งตั้ง กกต. อย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างนั้นหรือ กกต. ไม่เชื่อมั่นในอำนาจปวงชนชาวไทยที่รับรองให้ตนเองขึ้นมามีอำนาจ แต่กลับไปเชื่อมั่นต่ออำนาจการข่มขู่ของกระบวนการที่ละเมิดกฎหมายอย่างนั้นหรือ
2.กกต. ไม่ได้เชื่อมั่นในวิถีทางตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จึงไม่พยายามผลักดันให้เกิดการแสดงอำนาจของปวงชนชาวไทยอย่างสันติผ่านการลงคะแนนเสียง กกต. ไม่เชื่อมั่นในการแสดงออกของประชาชนอย่างถูกต้องมากเท่ากับการใช้กำลังข่มขู่คุกคามขัดขวางกระบวนการที่ถูกต้องอย่างนั้นหรือ
3.กกต. กำลังจะตัดสิทธิผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ ตัดสิทธิผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งประเทศ กลายเป็นว่า กกต. เอื้อประโยชน์ให้กับ กปปส. ที่กำลังละเมิดสิทธิการเลือกตั้งของประชาชนหรือไม่
4.กกต. ชุดนี้กำลังให้ความสำคัญเฉพาะแต่กับพรรคการเมืองหนึ่งที่ต้องการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งหรือไม่ เนื่องจากข้อเรียกร้องให้เลื่อนการเลือกตั้งสอดคล้องกับข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งของพรรคการเมืองดังกล่าวที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและสนับสนุน กปปส.
5.ท้ายที่สุดสาธารณชนก็อาจสงสัยได้ว่า กกต. ไม่ได้พยายามทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง แต่กลับกำลังสร้างทางตันให้ระบบที่เป็นอยู่ เปิดทางให้กับคณะก่อการปล้นอำนาจรัฐตามแนวทางของ กปปส. อยู่หรือไม่
ขณะที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์และสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงมติของ กกต. ไม่ขยายวันรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ไม่สามารถรับเลือกตั้งได้เมื่อวันที่ 3 มกราคม เนื่องจากมีการขัดขวางการสมัครรับเลือกตั้งจากกลุ่มบุคคลที่ปฏิเสธการเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดย กกต. ให้เหตุผลว่าไม่มีกฎหมายรองรับและเกรงว่าจะกระทบผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศและผู้ที่ลงทะเบียนออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้าและนอกเขตจังหวัด ทั้งแนะนำให้ผู้ที่ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ไปร้องต่อศาลฎีกา จึงน่ากังวลการใช้ดุลยพินิจและความรับผิดชอบของ กกต. ดังนี้
1.พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 มาตรา 7 บัญญัติว่า “เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการเลือกตั้งดังต่อไปนี้
(1) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งต้องกำหนดให้มีการเริ่มรับสมัครไม่เกินยี่สิบวันนับจากวันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใช้บังคับ และต้องกำหนดวันรับสมัครไม่น้อยกว่าห้าวัน”
เมื่อพิเคราะห์จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ กกต. ต้องเริ่มรับสมัครเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งภายในระยะเวลาไม่เกิน 20 วันนับแต่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ใช้บังคับ และกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำในการรับสมัครไว้ไม่น้อยกว่า 5 วันเท่านั้น หาได้กำหนดระยะเวลาขั้นสูงของการรับสมัครไว้ไม่ ดังนั้น ที่ กกต. กล่าวอ้างว่าตนไม่มีอำนาจขยายวันรับสมัครออกไปเพราะว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจนั้นจึงไม่ตรงกับบทบัญญัติของกฎหมาย ในทางตรงกันข้ามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่ กกต. อย่างชัดแจ้ง ยิ่งเมื่อปรากฏว่ามีผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง แต่มีการขัดขวางไม่ให้สมัครรับเลือกตั้ง จนกระทั่งระยะเวลาที่ กกต. ประกาศไว้แต่เดิม (เป็นเวลา 5 วัน) ล่วงพ้นไป กกต. ย่อมมีหน้าที่ต้องขยายวันรับสมัครเลือกตั้งออกไป จะอ้างว่าไม่มีกฎหมายให้อำนาจทั้งๆที่มีกฎหมายให้อำนาจอย่างชัดแจ้งเช่นนี้ไม่ได้
2.การตีความกฎหมายดังที่ กกต. มีมติ นอกจากจะไม่ต้องด้วยลายลักษณ์อักษรดังที่ปรากฏในมาตรา 7 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ดังกล่าวแล้ว ยังไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีการเลือกตั้ง และจะเกิดผลประหลาดในทางกฎหมายอีกด้วย เช่น หากเกิดอุทกภัย เหตุจำเป็น เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติอื่นใดในเขตเลือกตั้งใดเขตเลือกตั้งหนึ่งหรือหลายเขตเลือกตั้งในช่วงระยะเวลาที่ กกต. ประกาศสมัครรับเลือกตั้ง ส่งผลให้ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ และอุทกภัย เหตุจำเป็น เหตุสุดวิสัย หรือภัยพิบัติอื่นใดนั้นผ่านพ้นไปหลังจากที่เวลาสมัครรับเลือกตั้งสิ้นสุดลง กกต. จะอ้างได้หรือว่าไม่สามารถขยายระยะเวลาสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะได้ประกาศวันรับสมัครเลือกตั้งไว้แน่นอนแล้ว กรณีเช่นนี้วิญญูชนย่อมต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า กกต. มีหน้าที่จะต้องกำหนดวันสมัครรับเลือกตั้งใหม่ หรือขยายวันสมัครรับเลือกตั้งในเขตที่มีปัญหาดังกล่าวออกไป ไม่ใช่มีมติว่าไม่สามารถขยายเวลารับสมัครเลือกตั้งได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรืออ้างปัญหาเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนของผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างแดน ผู้ประสงค์ออกเสียงลงคะแนนล่วงหน้า และผู้ประสงค์ออกเสียงลงคะแนนนอกเขตเลือกตั้ง มาเป็นเหตุขัดขวางการขยายเวลาสมัครรับเลือกตั้ง
3.การแนะนำให้ผู้ประสงค์ที่จะสมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่สามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ไปร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัย โดยอ้างอิงบทบัญญัติมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น น่าจะเป็นการแนะนำที่ไม่ตรงกับกรณีตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว และทำให้ระยะเวลาที่ควรจะใช้เพื่อการสมัครรับเลือกตั้งต้องสูญเสียไปโดยไม่จำเป็น เนื่องจากมาตรา 39 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีที่ผู้สมัครไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในใบประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง กล่าวคือ มีการรับสมัครเรียบร้อยแล้ว แต่ผู้สมัครผู้ใดผู้หนึ่งหรือหลายคนไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในใบประกาศ หาใช่เป็นกรณีที่ไม่เกิดการรับสมัครเลือกตั้งขึ้นเลยไม่ การมีมติในลักษณะดังกล่าวของ กกต. อาจถูกมองว่าเป็นการผลักภาระการตัดสินใจในกระบวนการจัดการรับสมัครเลือกตั้งอันเป็นอำนาจของ กกต. เองไปให้ศาลฎีกาใช้แทน และอาจทำให้สาธารณชนสงสัยว่าจะมี กกต. ไปเพื่อประโยชน์อันใด
4.มีข้อสังเกตว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 20 วรรคหนึ่ง บัญญัติห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้งจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำการอื่นใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคำสั่งของศาลอันเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ และบัญญัติบทกำหนดโทษไว้ในมาตรา 137 ว่าผู้ที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 20 ดังกล่าวต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนด 10 ปี
การไม่ขยายเวลารับสมัครเลือกตั้งหรือเปลี่ยนสถานที่สมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีผู้ขัดขวางมิให้สมัครรับเลือกตั้งทั้งที่บทกฎหมายเปิดช่องให้กระทำได้ และโดยเหตุผลของเรื่องย่อมเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อมิให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดผลประหลาด เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ หรือมีลักษณะเป็นการกระทำอื่นใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย (พระราชกฤษฎีกาที่กำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557) หรือไม่ วิญญูชนพึงพิจารณาไตร่ตรอง
กกต.เปิดทางปล้นอำนาจรัฐ / โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://www.lokwannee.com/web2013/?p=48765