เพื่อน ๆ หลายคนคงได้มีโอกาสชมละครเรื่อง Itsuka Kono Koi wo Omoidashite Kitto Naite Shimau
หรือในชื่อภาษาอังกฤษ Love that makes you cry กันมาบ้างแล้ว เรื่องนี้เป็นละครในช่วง Getsu 9 ของฟูจิทีวี
(Getsu 9 หมายถึงวันจันทร์ตอนสามทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของสถานี) โดยขณะนี้ได้ออนแอร์ไปถึงตอนที่ 7
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (ยังไม่จบ) และเป็นโชคดีที่ทางเพจ pondloso fansub ก็ได้ทำซับไทยเรื่องนี้ออกมา
อย่างรวดเร็วทันใจด้วย (ซับไทยออกถึงตอนที่ 7 แล้วเช่นกัน)
วันนี้ผมเจอบทความที่คุณ pondloso ได้แปลมาจากนิตยสารดังของญี่ปุ่น Shukan Gendai เกี่ยวกับละครเรื่องนี้
เห็นว่ามีแง่มุมที่น่าสนใจมาก จึงขออนุญาตผู้แปลบทความนำมาเผยแพร่ครับ (ข้อความต่อจากนี้โดยคุณ pondloso)
พอดีไปเจอบทความเขียนถึงเกี่ยวกับ Itsuka Kono Koi wo Omoidashite Kitto Naite Shimau
ผมอ่านแล้วหลายๆ ส่วนตรงกับที่ผมคิดไว้ เลยลองแปลแบบสรุปให้อ่านกันดูครับ
เป็นบทความจากนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของญี่ปุ่น Shukan Gendai ใครอยากอ่านต้นฉบับเต็มๆ
เข้าไปอ่านตามลิงค์นี้ได้เลยครับ http://gendai.ismedia.jp/articles/-/47947
เมื่อความยอดเยี่ยมของ "Itsuka Kono Koi" ทําให้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของ "Getsu9"
ด้วยบทที่ถ่ายทอดความเป็นจริงของสังคมผ่านนักแสดงรุ่นใหม่
ผมเคยเขียนเอาไว้ว่า Itsuka Kono Koi wo Omoidashite Kitto Naite Shimau
จะเป็นซีรีส์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ Getsu9 ในปีนี้ ถึงตอนนี้ผมก็ยังเชื่อมั่นแบบนั้น
เรตติ้งของเรื่องนี้ขึ้นลงอยู่ที่ 8-10% ซึ่งถือว่าตํ่าสําหรับ Getsu9 แต่ว่าเรื่องนี้
เป็นการเขียนบทของ Yuji Sakamoto ผู้ซึ่งมีแต่ผลงานชั้นเยี่ยมทั้งนั้น แต่เรื่องนี้
ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เข้าขั้นเพชรเม็ดงาม
สาเหตุหลักๆ ที่ทําให้เรตติ้งเรื่องนี้ไม่สูง เพราะว่าความ "หดหู่" ของเรื่อง ที่ทําให้
คนดูส่วนใหญ่ไม่อยากที่จะดูเรื่องนี้นัก แต่มันช่วยไม่ได้เพราะเรื่องนี้ต้องการถ่ายทอดชีวิต
ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเจอกับสังคมในยุคที่เรียกว่าใช้ชีวิตกันลําบาก เพื่อความสมจริง
เลยไม่อาจเลี่ยงบรรยากาศที่ "ดํามืด และหดหู่" ของเรื่องได้
คนรุ่นใหม่นั้นเริ่มมีปัญหาเรื่องการใช้ชีวิตมากขึ้น และความต่างของฐานะดูเหมือนจะ
ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยผลการสํารวจคนรุ่นใหม่ที่มีรายได้ถึง 10 ล้านเยนต่อปีนั้นมีแค่ 3%
และนับวันก็ดูเหมือนว่า ตัวเลขนี้จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
ถ้าตัดส่วนที่สะท้อนความเป็นจริงออกไป เรื่องนี้ก็คงจะเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่เกี่ยวกับชีวิตรักหวานๆ
ของหนุ่มสาวในโตเกียวอีกเรื่องหนึ่งที่เกลื่อนตลาด ซึ่งคนที่ชอบคําลวงหวานๆ ชอบเรื่องชวนฝันนั้น
มีจํานวนเยอะมาก ที่จะชอบอะไรที่ดูแล้วมีความสุขสบายใจขึ้น แต่ถ้าคนเป็นแบบนั้นกันหมด
หนังที่สะท้อนความเป็นจริงคงจะหายไปจากสังคม
Kasumi Arimura (22) รับบท "โอะโทะ" และได้ Kengo Kora (28) มารับบท "เร็น"
ได้สะท้อนถึงชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้มแข็งเพื่อต่อสู้ชีวิตในโตเกียว ซึ่งสะท้อนความเป็นจริง
ของเหล่าคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาในโตเกียวหลังจากจบ ม.ปลาย โดยตัวเลขล่าสุด
มีคนขอทุนเรียนมหาวิทยาลัยมากถึง 1.3 ล้านคน และก็เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี
เมื่อเข้ามาแล้วบางครั้งก็ต้องเจอกับเรื่องแย่ๆ แต่ทุกคนก็ต้องเข้มแข็งแล้วก็สู้กันต่อไป
เรื่องราวแบบนี้เป็นเหมือนกันทั่วโลก เป็นเหตุการณ์ชีวิตที่แทบจะทุกคนต้องเคยผ่านมา
และในซีรีส์เรื่องนี้ ก็เลือกที่จะสะท้อนถึงความเป็นจริงในส่วนนั้น
สังคมในยุคปัจจุบันนั้น แม้แต่ข่าวกลับไม่ค่อยจะสะท้อนปัญหาสังคมสักเท่าไหร่
แต่เรื่องนี้ได้ตั้งคําถามกับสังคมว่า "แบบนี้มันถูกรึเปล่า?" เรื่องนี้ยังได้ถ่ายทอด
มุมของความรักที่มั่นคงซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจ
ปัญหาสังคมอย่างหนึ่งที่เรื่องนี้ได้สะท้อนออกมา คือปัญหาผู้สูงอายุ ที่นางเอกของเรื่อง
ได้ทํางานในศุนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในญี่ปุ่น (อายุ 75 ปีขึ้นไป) ตัวเลขล่าสุด
อยู่ที่ 10 ล้านคน ซึ่งจําเป็นต้องใช้ผู้ดูแลในส่วนนี้จํานวนมากตามขึ้นด้วย และเรื่องนี้
ได้สะท้อนให้เห็นว่าเป็นงานที่ลําบากมากๆ ค่าแรงก็น้อยมาก และหลายครั้งกลับเป็นอาชีพ
ที่ถูกมองว่าหาคนทดแทนใหม่ๆ ได้เสมอ ไม่จําเป็นต้องง้อคนเก่าๆ และยังสะท้อนถึงศูนย์ดูแล
ที่หวังแต่จะทํากําไรจากผู้สูงอายุ เลือกที่จะตัดทิ้งคนที่ไม่สามารถทํากำไรได้แล้วทิ้งไป
อีกฝั่งหนึ่งพระเอกของเรื่อง ที่พยายามจะกอบกู้ไร่ของ โอะจี-จัง ที่โดนหลอกไปคืนมา
เลยออกจากบ้านนอกเข้ามาทํางานหาเงินในโตเกียว ทํางานสุจริตอย่างแข็งขันและตั้งใจ
แต่ก็เป็นแค่งานใช้แรงระดับล่างๆ รายได้ที่ได้นั้นแค่ใช้ยาไส้ไปวันก็เต็มกลืนแล้ว
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สะท้อนสังคมปัจจุบันมากๆ
คนหนุ่มบางคนเรียนจบสูงๆ ได้เข้าทํางานกับกลุ่มทุนใหญ่ แต่งตัวดีๆ เดินไปเดินมา
ได้เงินปีหนึ่งหลายๆ ล้าน แต่พระเอกของเรื่องที่เป็นคนซื่อ จริงใจ ตั้งใจทํางานหนักเต็มที่
แต่มันกลับไม่ได้เป็นตัววัดผลตอบแทนของเงิน ยกของยิ่งหนักก็ไม่ใช่จะทําให้ได้เงินเยอะขึ้น
แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับได้เงินมากมายอย่างง่ายดาย "แบบนี้มันถูกแล้วหรือ?"
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งประเทศนั้นมีอยู่ประมาณ 10,000 แห่ง แต่จํานวนผู้ดูแลนั้น มีอยู่แค่
1.5 ล้านคนเท่านั้น เรื่องนี้น่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่อง ที่บทของนางเอกไม่ได้เน้นเพื่อเรตติ้ง
และโดยที่กลุ่มเป้าหมายหลักของ Getsu9 นั้นคือกลุ่มคนหนุ่มสาว เมื่อเนื้อหาที่หนักเกินไป
และสะท้อนความเป็นจริง เลยทําให้กลุ่มเป้าหมายหลักๆ หนุ่มสาวไม่คิดจะตามเรื่องนี้เท่าไหร่
ส่วนกลุ่มวัยกลางคน วัยทํางานและรุ่นพ่อแม่ทั้งหลาย ที่น่าจะเป็นเป้าหมายใหม่ ก็มักจะติดงาน
และก็ไม่มีเวลามากพอที่จะได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ อีกอย่างหนึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยผ่านชีวิต
แบบที่ว่ามาก่อน ทําให้ไม่รู้สึกสนใจในตัวซีรีส์มากนัก เลยทําให้เรตติ้งเรื่องนี้อยู่ในระดับตํ่า
++ บทความวิจารณ์ละครเรื่อง Itsuka Kono Koi จากนิตยสารดังของญี่ปุ่น ++
หรือในชื่อภาษาอังกฤษ Love that makes you cry กันมาบ้างแล้ว เรื่องนี้เป็นละครในช่วง Getsu 9 ของฟูจิทีวี
(Getsu 9 หมายถึงวันจันทร์ตอนสามทุ่ม ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของสถานี) โดยขณะนี้ได้ออนแอร์ไปถึงตอนที่ 7
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (ยังไม่จบ) และเป็นโชคดีที่ทางเพจ pondloso fansub ก็ได้ทำซับไทยเรื่องนี้ออกมา
อย่างรวดเร็วทันใจด้วย (ซับไทยออกถึงตอนที่ 7 แล้วเช่นกัน)
วันนี้ผมเจอบทความที่คุณ pondloso ได้แปลมาจากนิตยสารดังของญี่ปุ่น Shukan Gendai เกี่ยวกับละครเรื่องนี้
เห็นว่ามีแง่มุมที่น่าสนใจมาก จึงขออนุญาตผู้แปลบทความนำมาเผยแพร่ครับ (ข้อความต่อจากนี้โดยคุณ pondloso)
พอดีไปเจอบทความเขียนถึงเกี่ยวกับ Itsuka Kono Koi wo Omoidashite Kitto Naite Shimau
ผมอ่านแล้วหลายๆ ส่วนตรงกับที่ผมคิดไว้ เลยลองแปลแบบสรุปให้อ่านกันดูครับ
เป็นบทความจากนิตยสารรายสัปดาห์ชื่อดังของญี่ปุ่น Shukan Gendai ใครอยากอ่านต้นฉบับเต็มๆ
เข้าไปอ่านตามลิงค์นี้ได้เลยครับ http://gendai.ismedia.jp/articles/-/47947
เมื่อความยอดเยี่ยมของ "Itsuka Kono Koi" ทําให้นึกถึงความยิ่งใหญ่ของ "Getsu9"
ด้วยบทที่ถ่ายทอดความเป็นจริงของสังคมผ่านนักแสดงรุ่นใหม่
ผมเคยเขียนเอาไว้ว่า Itsuka Kono Koi wo Omoidashite Kitto Naite Shimau
จะเป็นซีรีส์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของ Getsu9 ในปีนี้ ถึงตอนนี้ผมก็ยังเชื่อมั่นแบบนั้น
เรตติ้งของเรื่องนี้ขึ้นลงอยู่ที่ 8-10% ซึ่งถือว่าตํ่าสําหรับ Getsu9 แต่ว่าเรื่องนี้
เป็นการเขียนบทของ Yuji Sakamoto ผู้ซึ่งมีแต่ผลงานชั้นเยี่ยมทั้งนั้น แต่เรื่องนี้
ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เข้าขั้นเพชรเม็ดงาม
สาเหตุหลักๆ ที่ทําให้เรตติ้งเรื่องนี้ไม่สูง เพราะว่าความ "หดหู่" ของเรื่อง ที่ทําให้
คนดูส่วนใหญ่ไม่อยากที่จะดูเรื่องนี้นัก แต่มันช่วยไม่ได้เพราะเรื่องนี้ต้องการถ่ายทอดชีวิต
ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องเจอกับสังคมในยุคที่เรียกว่าใช้ชีวิตกันลําบาก เพื่อความสมจริง
เลยไม่อาจเลี่ยงบรรยากาศที่ "ดํามืด และหดหู่" ของเรื่องได้
คนรุ่นใหม่นั้นเริ่มมีปัญหาเรื่องการใช้ชีวิตมากขึ้น และความต่างของฐานะดูเหมือนจะ
ยิ่งเพิ่มมากขึ้น โดยผลการสํารวจคนรุ่นใหม่ที่มีรายได้ถึง 10 ล้านเยนต่อปีนั้นมีแค่ 3%
และนับวันก็ดูเหมือนว่า ตัวเลขนี้จะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ
ถ้าตัดส่วนที่สะท้อนความเป็นจริงออกไป เรื่องนี้ก็คงจะเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่เกี่ยวกับชีวิตรักหวานๆ
ของหนุ่มสาวในโตเกียวอีกเรื่องหนึ่งที่เกลื่อนตลาด ซึ่งคนที่ชอบคําลวงหวานๆ ชอบเรื่องชวนฝันนั้น
มีจํานวนเยอะมาก ที่จะชอบอะไรที่ดูแล้วมีความสุขสบายใจขึ้น แต่ถ้าคนเป็นแบบนั้นกันหมด
หนังที่สะท้อนความเป็นจริงคงจะหายไปจากสังคม
Kasumi Arimura (22) รับบท "โอะโทะ" และได้ Kengo Kora (28) มารับบท "เร็น"
ได้สะท้อนถึงชีวิตคนรุ่นใหม่ที่ต้องเข้มแข็งเพื่อต่อสู้ชีวิตในโตเกียว ซึ่งสะท้อนความเป็นจริง
ของเหล่าคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาในโตเกียวหลังจากจบ ม.ปลาย โดยตัวเลขล่าสุด
มีคนขอทุนเรียนมหาวิทยาลัยมากถึง 1.3 ล้านคน และก็เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี
เมื่อเข้ามาแล้วบางครั้งก็ต้องเจอกับเรื่องแย่ๆ แต่ทุกคนก็ต้องเข้มแข็งแล้วก็สู้กันต่อไป
เรื่องราวแบบนี้เป็นเหมือนกันทั่วโลก เป็นเหตุการณ์ชีวิตที่แทบจะทุกคนต้องเคยผ่านมา
และในซีรีส์เรื่องนี้ ก็เลือกที่จะสะท้อนถึงความเป็นจริงในส่วนนั้น
สังคมในยุคปัจจุบันนั้น แม้แต่ข่าวกลับไม่ค่อยจะสะท้อนปัญหาสังคมสักเท่าไหร่
แต่เรื่องนี้ได้ตั้งคําถามกับสังคมว่า "แบบนี้มันถูกรึเปล่า?" เรื่องนี้ยังได้ถ่ายทอด
มุมของความรักที่มั่นคงซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่น่าสนใจ
ปัญหาสังคมอย่างหนึ่งที่เรื่องนี้ได้สะท้อนออกมา คือปัญหาผู้สูงอายุ ที่นางเอกของเรื่อง
ได้ทํางานในศุนย์ดูแลผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในญี่ปุ่น (อายุ 75 ปีขึ้นไป) ตัวเลขล่าสุด
อยู่ที่ 10 ล้านคน ซึ่งจําเป็นต้องใช้ผู้ดูแลในส่วนนี้จํานวนมากตามขึ้นด้วย และเรื่องนี้
ได้สะท้อนให้เห็นว่าเป็นงานที่ลําบากมากๆ ค่าแรงก็น้อยมาก และหลายครั้งกลับเป็นอาชีพ
ที่ถูกมองว่าหาคนทดแทนใหม่ๆ ได้เสมอ ไม่จําเป็นต้องง้อคนเก่าๆ และยังสะท้อนถึงศูนย์ดูแล
ที่หวังแต่จะทํากําไรจากผู้สูงอายุ เลือกที่จะตัดทิ้งคนที่ไม่สามารถทํากำไรได้แล้วทิ้งไป
อีกฝั่งหนึ่งพระเอกของเรื่อง ที่พยายามจะกอบกู้ไร่ของ โอะจี-จัง ที่โดนหลอกไปคืนมา
เลยออกจากบ้านนอกเข้ามาทํางานหาเงินในโตเกียว ทํางานสุจริตอย่างแข็งขันและตั้งใจ
แต่ก็เป็นแค่งานใช้แรงระดับล่างๆ รายได้ที่ได้นั้นแค่ใช้ยาไส้ไปวันก็เต็มกลืนแล้ว
เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สะท้อนสังคมปัจจุบันมากๆ
คนหนุ่มบางคนเรียนจบสูงๆ ได้เข้าทํางานกับกลุ่มทุนใหญ่ แต่งตัวดีๆ เดินไปเดินมา
ได้เงินปีหนึ่งหลายๆ ล้าน แต่พระเอกของเรื่องที่เป็นคนซื่อ จริงใจ ตั้งใจทํางานหนักเต็มที่
แต่มันกลับไม่ได้เป็นตัววัดผลตอบแทนของเงิน ยกของยิ่งหนักก็ไม่ใช่จะทําให้ได้เงินเยอะขึ้น
แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งกลับได้เงินมากมายอย่างง่ายดาย "แบบนี้มันถูกแล้วหรือ?"
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุทั้งประเทศนั้นมีอยู่ประมาณ 10,000 แห่ง แต่จํานวนผู้ดูแลนั้น มีอยู่แค่
1.5 ล้านคนเท่านั้น เรื่องนี้น่าจะเป็นหนึ่งในไม่กี่เรื่อง ที่บทของนางเอกไม่ได้เน้นเพื่อเรตติ้ง
และโดยที่กลุ่มเป้าหมายหลักของ Getsu9 นั้นคือกลุ่มคนหนุ่มสาว เมื่อเนื้อหาที่หนักเกินไป
และสะท้อนความเป็นจริง เลยทําให้กลุ่มเป้าหมายหลักๆ หนุ่มสาวไม่คิดจะตามเรื่องนี้เท่าไหร่
ส่วนกลุ่มวัยกลางคน วัยทํางานและรุ่นพ่อแม่ทั้งหลาย ที่น่าจะเป็นเป้าหมายใหม่ ก็มักจะติดงาน
และก็ไม่มีเวลามากพอที่จะได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ อีกอย่างหนึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ส่วนใหญ่เคยผ่านชีวิต
แบบที่ว่ามาก่อน ทําให้ไม่รู้สึกสนใจในตัวซีรีส์มากนัก เลยทําให้เรตติ้งเรื่องนี้อยู่ในระดับตํ่า