ความเดิมจากตอนที่แล้ว
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่นในรัชสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิคิมเมอิ ผ่านมาทางประเทศเกาหลี
โดยที่พระเจ้าโซมาโวได้ส่งราชทูตมายังประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งในเวลานั้นตรงกับปี พ.ศ. 1081 ในสมัยนั้นศาสนาที่เป็นหลักที่ญี่ปุ่น คือ “ชินโต”
ในขณะนั้นมีขุนนางอยู่ 2 ฝ่าย ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการรับพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ
ในครั้งนั้น พระเจ้าจักรพรรดิกิมเมอิได้ตัดสินพระทัยรับพระพุทธศาสนาเข้ามาตามมติของฝ่ายที่เห็นชอบด้วย
แต่หลังจากนั้น ประเทศญี่ปุ่นได้พบภัยพิบัติจากโรคระบาด เป็นเหตุให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
และจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ
นำมาเป็นข้ออ้างในการผลักดันให้นำพระพุทธศาสนาออกไป
โดยการทำลายพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาซบเซาลงไป...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดตามความเดิมได้ที่...
http://ppantip.com/topic/34847721
สำหรับในวันนี้
ก่อนที่เราจะก้าวไปสู่ยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เรามาดูถึง “ความแตกต่าง” ของ “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต” กันก่อน
ด้วยเหตุที่ว่า ในยุคนี้เป็นยุคที่มีการผสมผสานระหว่าง “พุทธ” และ “ชินโต”
ที่เรียกกันว่า “ชินบุทสึชูโก”
神仏習合
แต่ก่อนอื่น
ดูภาพประกอบทั้ง 2 ภาพก่อน แล้วลองตอบดูว่า
ภาพใด คือ “วัดพุทธ” ภาพใด คือ “ศาลเจ้าชินโต”
(อาจใช้ “Verb to เดา” มาช่วยก็ได้นะครับ)
..................................................................................................................
ประตูทางเข้า “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
..................................................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ? สำหรับภาพชุดแรกนี้
หมายเลข 1 คือ ประตูทางเข้า “วัดพุทธ” และหมายเลข 2 คือ ประตูทางเข้า “ศาลเจ้าชินโต”
สำหรับ “วัดพุทธ” มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “ซันมง”
สามารถเขียนได้ 2 แบบ คือ 山門 และ 三門 (เขียนได้ 2 แบบ แต่อ่านว่า “ซันมง” เหมือนกัน T-T)
ซึ่งตัวแรก คือ 山門 มีความหมายว่า “ประตู (ขึ้น) เขา” หรือ “ทางเข้าวัด” นั่นเอง (แปลตรงตัว)
สำหรับตัวที่ 2 คือ 三門 นี้ ไม่ได้แปลตรงๆ ตามตัวอักษรว่า “สามประตู”
แต่ “สาม” นี้หมายเอา “ไตรลักษณ์” คือ “อนิจจัง (ไม่เที่ยง) ทุกขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน)”
เป็นกุศโลบายของคนโบราณที่ว่า...
เมื่อจะก้าวเท้าเข้าสู่วัด...ให้ละ “โลกิยะ” ที่มีความไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วก้าวเข้าสู่ความเป็น “โลกุตระ”
สำหรับหมายเลข 2 คือ ประตูทางเข้า “ศาลเจ้าชินโต” มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “โทริอิ” 鳥居
เป็นจุดแบ่งเขตระหว่าง “มนุษยโลก” และ “เทวโลก”
ในบางครั้ง “โทริอิ” นี้ อาจอยู่ห่างจาก “ศาลเจ้าชินโต” ไปเป็นกิโลกิโลก็ได้
ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ใกล้ๆ เสมอไป ซึ่งในกรณีนั้นเราเรียกจุดตรงนั้นว่า
“โอโมเตะซันโด” 表参道
หมายถึง “ทางเดินไปสู่การสักการะ”
(ใครเคยไปที่โตเกียวตรงบริเวณใกล้ๆ ศาลเจ้าเมจิ จะมีเขตที่ชอบไปช้อปกันที่ชื่อว่า “โอโมเตะซันโด” อยู่
ด้วยเหตุที่เป็นจุดที่นำไปสู่ "ศาลเจ้าเมจิ" จึงเรียกว่า "โอโมเตะซันโด" นี่คือที่มาของชื่อนี้)
สรุปว่า...ประตูทางเข้า “วัดพุทธ” เรียกว่า “ซันมง”
และประตูทางเข้า “ศาลเจ้า” เรียกว่า “โทริอิ”
แต่...ก็มีกรณียกเว้นบ้างนะครับ
อย่างที่ “วัดชิเทนโนจิ” 四天王寺 (รูปซ้าย) แห่งโอซาก้า ซึ่งถือว่าเป็นวัดพุทธแห่งแรกในญี่ปุ่น
กลับมีรูปลักษณ์ของประตูทางเข้าเป็น “โทริอิ”
หรืออย่าง “ศาลเจ้ายะสะกะ” 八坂神社 (รูปขวา) ถนนชิโจ ตัดกับ ฮิงาชิยามะ เขตกิอง เกียวโต
กลับมีรูปลักษณ์ของประตูทางเข้าเป็น “ซันมง”
นั่นเป็นเพราะ...ในยุคหนึ่งมีการผสมผสานระหว่าง “พุทธ” และ “ชินโต”
ที่เรียกกันว่า “ชินบุทสึชูโก” 神仏習合 ดังที่กล่าวไว้ในตอนต้นนั่นเอง
..................................................................................................................
บุคลากรภายใน “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
..................................................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้ง่ายใช่ไหมครับ ? ค่อนข้างชัดเจน
หมายเลข 1 คือ “พระภิกษุ” และหมายเลข 2 คือ “ผู้ประกอบพิธีกรรม”
มีจุดที่สังเกตง่ายๆ คือ ชุดของ “พระภิกษุ” จะสีออกดำและมีแถบคาดตามแนว
สำหรับ “ผู้ประกอบพิธีกรรม” ใน “ศาลเจ้าชินโต” จะเป็นชุดขาวและนุ่งทับท่อนล่างด้วยสีฟ้าหรือสีแดง
ในบางกรณีที่มีการประกอบ “พิธีกรรมพิเศษ”
ชุดของ “พระภิกษุ” และ “ผู้ประกอบพิธีกรรม” จะเป็นดังที่ปรากฏในรูปทางขวาและทางซ้าย
.......................................................................................
วิหาร “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
.......................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้ก็ไม่ยากใช่ไหมครับ ?
หมายเลข 1 คือ วิหาร “ศาลเจ้าชินโต” และหมายเลข 2 คือ วิหาร “วัดพุทธ”
ดูจากลักษณะภายนอกแล้ว ต่างก็มีลักษณะเฉพาะของตนที่สังเกตได้ไม่ยากนักใช่ไหมครับ
แต่...ที่ต่างกันอยู่ภายในวิหารครับ
ภายในวิหาร “วัดพุทธ” แน่นอนครับต้องมี “พระประธาน” หรือ “พระพุทธรูป”
รวมถึง “พระโพธิสัตว์” ต่างๆ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร (หรือที่เราคุ้นกันชื่อเรียกที่ว่า “เจ้าแม่กวนอิม”) ด้วย
สำหรับภายในวิหาร “ศาลเจ้าชินโต” เราจะไม่พบรูปเคารพ อย่าง “พระพุทธรูป” หรือ “พระโพธิสัตว์” เลย
แต่เราจะพบ “ดาบ” หรือ “กระจก” แทน
(อีหยังหว่า ???)
ไม่ได้หมายความว่า “ดาบ” หรือ “กระจก” นั่นเป็น “เทพเจ้า”
แต่เป็น “สถานที่สิงสถิตย์ของเทพเจ้า”
(อ้อ...เป็นจะอี้นี่เอง)
(พูดเอง...เออเอง...สงสัยใกล้ละ T-T)
แรกเริ่มเดิมที... “พระพุทธรูป” ก็ยังไม่มีปรากฏ มีเพียงสัญลักษณ์
เช่น ธรรมจักร ต้นโพธิ์ ฯลฯ แทนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครั้นมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษที่ 5 (คริสต์ศตวรรษที่ 1)
“พระพุทธรูป” ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกที่ “คันธาระ”
สำหรับการแสดงความเคารพ...ก็แตกต่างกัน
สำหรับการนมัสการ “พระประธาน” หรือ “พระพุทธรูป” อาศัย “ประนมมือแล้วก้มศีรษะลงเล็กน้อย”
ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า “กัชโช...ไรไฮ”
合掌・礼拝
แต่สำหรับการสักการะ “เทพเจ้า” อาศัย “ยืนคำนับ 2 ครั้ง ตามด้วยปรบมือ 2 ครั้ง และจบด้วยคำนับอีก 1 ครั้ง”
ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า “นิเร...นิฮะขุฉุ...อิจิเร”
二礼・二拍手・一礼
วันนี้คงพอได้อะไรติดขาติดแข้งกันไปบ้างนะครับ
คราวนี้ไป “วัดพุทธ” หรือ “ศาลเจ้า” ก็สามารถยืดอกบอกคนข้างตัวได้อย่างไม่ลังเล
พร้อมๆ กับสามารถบอก “วิธีแสดงความเคารพ” ที่ถูกธรรมเนียมได้ด้วย
แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปนะครับ
また会いましょう!
ติดตามตอนต่อไปได้ที่...
↓↓↓↓↓↓↓↓↓↓
http://ppantip.com/topic/34872335
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ตอนที่ 3 : การตั้งมั่นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ตอน ความแตกต่างของ “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
ความเดิมจากตอนที่แล้ว
พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่ประเทศญี่ปุ่นในรัชสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิคิมเมอิ ผ่านมาทางประเทศเกาหลี
โดยที่พระเจ้าโซมาโวได้ส่งราชทูตมายังประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งในเวลานั้นตรงกับปี พ.ศ. 1081 ในสมัยนั้นศาสนาที่เป็นหลักที่ญี่ปุ่น คือ “ชินโต”
ในขณะนั้นมีขุนนางอยู่ 2 ฝ่าย ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการรับพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ
ในครั้งนั้น พระเจ้าจักรพรรดิกิมเมอิได้ตัดสินพระทัยรับพระพุทธศาสนาเข้ามาตามมติของฝ่ายที่เห็นชอบด้วย
แต่หลังจากนั้น ประเทศญี่ปุ่นได้พบภัยพิบัติจากโรคระบาด เป็นเหตุให้ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
และจากเหตุการณ์นี้ ทำให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในประเทศ
นำมาเป็นข้ออ้างในการผลักดันให้นำพระพุทธศาสนาออกไป
โดยการทำลายพระพุทธรูปและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาซบเซาลงไป...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สำหรับในวันนี้
ก่อนที่เราจะก้าวไปสู่ยุคที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
เรามาดูถึง “ความแตกต่าง” ของ “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต” กันก่อน
ด้วยเหตุที่ว่า ในยุคนี้เป็นยุคที่มีการผสมผสานระหว่าง “พุทธ” และ “ชินโต”
ที่เรียกกันว่า “ชินบุทสึชูโก”
神仏習合
แต่ก่อนอื่น
ดูภาพประกอบทั้ง 2 ภาพก่อน แล้วลองตอบดูว่า
ภาพใด คือ “วัดพุทธ” ภาพใด คือ “ศาลเจ้าชินโต”
(อาจใช้ “Verb to เดา” มาช่วยก็ได้นะครับ)
..................................................................................................................
ประตูทางเข้า “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
..................................................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
..................................................................................................................
บุคลากรภายใน “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
..................................................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
.......................................................................................
วิหาร “วัดพุทธ” และ “ศาลเจ้าชินโต”
.......................................................................................
เฉลย & คำอธิบาย
↓↓↓↓↓↓
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วันนี้คงพอได้อะไรติดขาติดแข้งกันไปบ้างนะครับ
คราวนี้ไป “วัดพุทธ” หรือ “ศาลเจ้า” ก็สามารถยืดอกบอกคนข้างตัวได้อย่างไม่ลังเล
พร้อมๆ กับสามารถบอก “วิธีแสดงความเคารพ” ที่ถูกธรรมเนียมได้ด้วย
แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปนะครับ
また会いましょう!
ติดตามตอนต่อไปได้ที่...
↓↓↓↓↓↓↓↓↓↓
http://ppantip.com/topic/34872335
พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ตอนที่ 3 : การตั้งมั่นของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น