รอยเตอร์/MGROnline - ญี่ปุ่นสนับสนุนให้บริษัทอิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ “โตชิบา” เข้าไปตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรีลิเธียมในแดนจิงโจ้ โดยหวังซื้อใจรัฐบาลแคนเบอร์ราให้เลือกญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมพัฒนาและผลิตกองเรือดำน้ำรุ่นใหม่ มูลค่ากว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย
แหล่งข่าว 3 คนซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อมวลชน ระบุว่า โตชิบามีแผนจะเข้าไปเปิดโรงงานในแดนจิงโจ้ เพื่อผลิตแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนสำหรับใช้ในเรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่ญี่ปุ่นหวังว่าจะได้สัมปทานผลิตให้กองทัพเรือออสเตรเลีย
เม็ดเงินลงทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจทั้งด้านการค้าและกลาโหมที่โตเกียวสัญญาจะมอบให้ออสเตรเลีย และหวังว่าจะเป็นที่ถูกใจนักการเมืองออสซี่ซึ่งต้องการกระตุ้นการจ้างงานในประเทศ
แหล่งข่าวระบุว่า โรงงานแบตเตอรีของโตชิบาซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์ ยังตั้งเป้าผลิตแบตเตอรีในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกด้วย
การลงทุนลักษณะนี้คงจะเป็นที่น่าพอใจสำหรับออสเตรเลีย ซึ่งกำลังมองหาช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่เผชิญปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ
ผู้ผลิตจาก 3 ชาติต่างหยิบยื่นข้อเสนอมัดใจรัฐบาลออสซี่ โดยหวังที่จะเป็นหุ้นส่วนในโครงการออกแบบและผลิตเรือดำน้ำรุ่นใหม่มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อมาทดแทนฝูงเรือดำน้ำชั้นคอลลินส์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและไฟฟ้า และจวนถึงกำหนดปลดระวางในราวปี 2026
ออสเตรเลียได้ปิดรับซองประมูลแล้ว โดยมีผู้แข่งขันอยู่ทั้งหมด 3 ราย ได้แก่ ดีซีเอ็นเอส กรุ๊ป ของฝรั่งเศส, ทีเคเอ็มเอส จากเยอรมนี และรัฐบาลญี่ปุ่น
นอกจากพิสัยเดินทางและความทนทานที่จะต้องไม่ด้อยไปกว่าเรือดำน้ำชั้นคอลลินส์แล้ว ออสเตรเลียยังคาดหวังให้เรือดำน้ำที่จะผลิตขึ้นใหม่นี้มีระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับที่เหนือกว่า รวมถึงเทคโนโลยีในการพรางตัว
“นายกรัฐมนตรี มัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ แห่งออสเตรเลียสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ และนี่ก็คือสิ่งที่ญี่ปุ่นสามารถทำได้” แหล่งข่าวคนหนึ่งเผย
อุตสาหกรรมเรือดำน้ำของแดนจิงโจ้มีฐานอยู่ที่รัฐเซาท์ออสเตรเลีย แต่แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า โตชิบาเล็งจะสร้างโรงงานขึ้นที่ไหน
โตชิบา ยังคงปฏิเสธว่าไม่ได้มีแผนไปเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรีในออสเตรเลียตามที่เป็นข่าว
“ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง เราไม่เคยมีแผนเช่นนั้น” โฆษกโตชิบา แถลง
ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะจ้างบริษัทใดมาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี หากออสเตรเลียเลือกญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนในโครงการผลิตเรือดำน้ำ
“หากญี่ปุ่นได้รับเลือก รัฐบาลของเราและออสเตรเลียก็จะต้องพิจารณาแผนการดำเนินงานตลอดช่วงหลายปีข้างหน้า ซึ่งการหารือในขั้นต้นก็จะเริ่มจากจุดนั้น” โฆษกกระทรวง ระบุ
มาร์ติน แฮมิลตัน-สมิธ รัฐมนตรีฝ่ายอุตสาหกรรมกลาโหมแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวโตชิบา โดยบอกแต่เพียงว่า ไม่ว่าชาติใดจะได้รับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนในโครงการผลิตเรือดำน้ำของออสเตรเลีย ตนก็หวังว่าโรงงานแบตเตอรีจะถูกสร้างขึ้นที่รัฐแห่งนี้
ด้านกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียก็ยังไม่ตอบรับคำขอสัมภาษณ์ของผู้สื่อข่าวรอยเตอร์
การได้เป็นซัพพลายเออร์ผลิตแบตเตอรีป้อนกองเรือดำน้ำออสเตรเลียจะถือเป็นโอกาสทองสำหรับโตชิบา ซึ่งมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิถึง 710,000 ล้านเยนในปีนี้
แหล่งข่าว 2 รายชี้ว่า เหตุที่รัฐบาลปลาดิบเลือกโตชิบา แทนที่จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง จีเอส ยัวซา คอร์ป ก็เพราะว่าแบตเตอรีของโตชิบาดูแลรักษาง่ายกว่า
เรือดำน้ำชั้นโซริวของญี่ปุ่นถูกมองว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุดในเรือดำน้ำประเภทเดียวกัน แต่หากออสเตรเลียตัดสินใจยกสัมปทานผลิตเรือดำน้ำให้ญี่ปุ่น ก็อาจจะต้องผิดใจกับปักกิ่งซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022061
รบ.ญี่ปุ่นหนุน “โตชิบา” ตั้งโรงงานแบตเตอรีลิเธียมในออสเตรเลีย หวังฟันสัมปทานเรือดำน้ำ Aus$50,000 ล้าน
แหล่งข่าว 3 คนซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อมวลชน ระบุว่า โตชิบามีแผนจะเข้าไปเปิดโรงงานในแดนจิงโจ้ เพื่อผลิตแบตเตอรีลิเธียม-ไอออนสำหรับใช้ในเรือดำน้ำรุ่นใหม่ที่ญี่ปุ่นหวังว่าจะได้สัมปทานผลิตให้กองทัพเรือออสเตรเลีย
เม็ดเงินลงทุนนี้เป็นส่วนหนึ่งของแรงจูงใจทั้งด้านการค้าและกลาโหมที่โตเกียวสัญญาจะมอบให้ออสเตรเลีย และหวังว่าจะเป็นที่ถูกใจนักการเมืองออสซี่ซึ่งต้องการกระตุ้นการจ้างงานในประเทศ
แหล่งข่าวระบุว่า โรงงานแบตเตอรีของโตชิบาซึ่งคาดว่าจะใช้เงินลงทุนหลายร้อยล้านดอลลาร์ ยังตั้งเป้าผลิตแบตเตอรีในระดับอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลกด้วย
การลงทุนลักษณะนี้คงจะเป็นที่น่าพอใจสำหรับออสเตรเลีย ซึ่งกำลังมองหาช่องทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่เผชิญปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ
ผู้ผลิตจาก 3 ชาติต่างหยิบยื่นข้อเสนอมัดใจรัฐบาลออสซี่ โดยหวังที่จะเป็นหุ้นส่วนในโครงการออกแบบและผลิตเรือดำน้ำรุ่นใหม่มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อมาทดแทนฝูงเรือดำน้ำชั้นคอลลินส์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและไฟฟ้า และจวนถึงกำหนดปลดระวางในราวปี 2026
ออสเตรเลียได้ปิดรับซองประมูลแล้ว โดยมีผู้แข่งขันอยู่ทั้งหมด 3 ราย ได้แก่ ดีซีเอ็นเอส กรุ๊ป ของฝรั่งเศส, ทีเคเอ็มเอส จากเยอรมนี และรัฐบาลญี่ปุ่น
นอกจากพิสัยเดินทางและความทนทานที่จะต้องไม่ด้อยไปกว่าเรือดำน้ำชั้นคอลลินส์แล้ว ออสเตรเลียยังคาดหวังให้เรือดำน้ำที่จะผลิตขึ้นใหม่นี้มีระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับที่เหนือกว่า รวมถึงเทคโนโลยีในการพรางตัว
“นายกรัฐมนตรี มัลคอล์ม เทิร์นบูลล์ แห่งออสเตรเลียสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ๆ และนี่ก็คือสิ่งที่ญี่ปุ่นสามารถทำได้” แหล่งข่าวคนหนึ่งเผย
อุตสาหกรรมเรือดำน้ำของแดนจิงโจ้มีฐานอยู่ที่รัฐเซาท์ออสเตรเลีย แต่แหล่งข่าวไม่ได้บอกว่า โตชิบาเล็งจะสร้างโรงงานขึ้นที่ไหน
โตชิบา ยังคงปฏิเสธว่าไม่ได้มีแผนไปเปิดโรงงานผลิตแบตเตอรีในออสเตรเลียตามที่เป็นข่าว
“ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง เราไม่เคยมีแผนเช่นนั้น” โฆษกโตชิบา แถลง
ด้านโฆษกกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะจ้างบริษัทใดมาเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี หากออสเตรเลียเลือกญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนในโครงการผลิตเรือดำน้ำ
“หากญี่ปุ่นได้รับเลือก รัฐบาลของเราและออสเตรเลียก็จะต้องพิจารณาแผนการดำเนินงานตลอดช่วงหลายปีข้างหน้า ซึ่งการหารือในขั้นต้นก็จะเริ่มจากจุดนั้น” โฆษกกระทรวง ระบุ
มาร์ติน แฮมิลตัน-สมิธ รัฐมนตรีฝ่ายอุตสาหกรรมกลาโหมแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวโตชิบา โดยบอกแต่เพียงว่า ไม่ว่าชาติใดจะได้รับเลือกให้เป็นหุ้นส่วนในโครงการผลิตเรือดำน้ำของออสเตรเลีย ตนก็หวังว่าโรงงานแบตเตอรีจะถูกสร้างขึ้นที่รัฐแห่งนี้
ด้านกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียก็ยังไม่ตอบรับคำขอสัมภาษณ์ของผู้สื่อข่าวรอยเตอร์
การได้เป็นซัพพลายเออร์ผลิตแบตเตอรีป้อนกองเรือดำน้ำออสเตรเลียจะถือเป็นโอกาสทองสำหรับโตชิบา ซึ่งมีผลประกอบการขาดทุนสุทธิถึง 710,000 ล้านเยนในปีนี้
แหล่งข่าว 2 รายชี้ว่า เหตุที่รัฐบาลปลาดิบเลือกโตชิบา แทนที่จะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อย่าง จีเอส ยัวซา คอร์ป ก็เพราะว่าแบตเตอรีของโตชิบาดูแลรักษาง่ายกว่า
เรือดำน้ำชั้นโซริวของญี่ปุ่นถูกมองว่ามีประสิทธิภาพสูงที่สุดในเรือดำน้ำประเภทเดียวกัน แต่หากออสเตรเลียตัดสินใจยกสัมปทานผลิตเรือดำน้ำให้ญี่ปุ่น ก็อาจจะต้องผิดใจกับปักกิ่งซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่ง
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000022061