ปีที่แล้ว DCNS ประสบความสำเร็จ ในการจัดหาเรือดำน้ำยุคใหม่ ของกองทัพเรือออสเตรเลีย มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ข้อตกลงซื้อและประกอบเองในประเทศ เฉือนเรือดำนน้ำเยอรมัน ญี่ปุ่นและจีน อินโดนีเซียเซ็นเอ็มโอยูกับกลุ่มเทคโนโลยีฝรั่งเศส 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะนำไปสู่การทำสัญญาคล้ายกันนี้ในที่สุด เพื่อต่อเรือดำน้ำสกอร์ปีน (Scorpene) ยุคใหม่ ปฏิบัติการในทะเลน้ำตื้นได้ ไม่เฉพาะในเขตชายฝั่งเท่านั้น. -- ภาพจากอินเตอร์เน็ต.
MGRออนไลน์ -- รัฐวิสากิจอู่ต่อเรือ PT PAL ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ได้เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาวุธยุทโธปกรณ์แห่งฝรั่งเศส DCNS เพื่อร่วมกันพัฒนา เรือดำน้ำสกอร์ปีน (Scorpene) รุ่นใหม่ เพื่อใช่ในกองทัพ และ เพื่อส่งออกในย่านนี้ ซึ่งจะเป็นเรือดำน้ำที่สามารถปฏิบัติการ ในเขตน้ำตื้นกับเขตไหล่ทวีปได้อีกได้ด้วย
ปัจจุบันผู้ผลิตชาติต่างๆ สามารถสร้างเรือดำน้ำให้สามารถดำน้ำ ในความลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 300-400 เมตร หรืออาจจะลึกกว่านั้นอีก ซึ่งช่วยรับประกันความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ในขณะออกปฏิบัติการ การปิดบังซ่อนเร้นตัวเอง ให้พ้นสายตาของอีกฝ่ายหนึ่ง นับเป็นความจำเป็นยิ่งยวดสำหรับเรือดำน้ำโจมตีทั่วไป
แต่เรือดำน้ำจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก ในการป้องกันประเทศ หากประเทศที่จะนำไปใช้ มีน่านน้ำที่ตื้น เรือดำน้ำรุนใหม่ในความร่วมมือระหว่างฝรั่งเศส กับอินโดนีเซีย จะสามารถปฏิบัติการได้ทั้งในเขตน้ำลึกมหาสมุทร หรือ Blue Water และ ในเขตน้ำตื้น หรือ Shallow Water ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของหลายประเทศ รวมทั้งในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางพื้นที่ในเขตน่านน้ำของอินโดนีเซียเอง
การเซ็นเอ็มโอยูมีขึ้นปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดการเยือนอินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายฟรองซัวว์ ออลลองด์ สื่อของอินโดนีเซียรายงาน
การเซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจ ระหว่างสองหน่วยงาน เป็นไปตามความตกลงระหว่างรัฐบาลสองประเทศ ที่จะกระชับความร่วมมือด้านกลาโหม การเจรจาระหว่างสองหน่วยงาน ที่เรียกว่า Indonesian French Defense Dialogue (IFDD) ดำเนินมาตั้งแต่เดือน เม.ย.2559 โดยอินโดนีเซียไม่เพียงต้องการเรือดำน้ำยุคใหม่ หากยังรวมถึงเรือรบพื้นผิวน้ำอีกด้วย และ สองฝ่ายตกลงจะร่วมกัน ดำเนินการร่วมมือในเรื่องนี้ ไปยังระยะยาวไกลข้างหน้า
นโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียก็คือ การจัดหาอาวุธยุโธปกรณ์ทุกชนิด จะต้องนำไปสู่การประกอบ จัดสร้างเองหรือต่อเองในประเทศ โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้เองในประเทศ (Local Contents) ให้มากที่สุด ผลจากนโยบายนี้ได้เกิดดอกผลในระยะยาว จะเห็นได้จากอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซีย ที่ประสบความสำเร็จสามารถส่งออกได้ ในช่วงหลายปีมานี้
กลุ่ม DCNS กับ PT PAL เพิ่งมีความสัมพันธ์ร่วมมือกันมา ในช่วง 2-3 ปีมานี้ "เพื่อมองหาอุตสาหกรรมที่ดีที่สุด สำหรับเป็นทางออก ซึ่งได้นำมาสู่วันนี้ที่มีการเสนอ เรือดำน้ำอเนกประสงค์ยุคใหม่ล่าสุดในครอบครัว (เรือดำน้ำ) สกอร์ปีน (หรือ Scorpian/แมลงป่อง) ที่สามารถปฏิบัติการได้ ทั้งในเขตน้ำตื้น และ ในมหาสมุทร" สำนักข่าวอันตารารายงาน
"จะมีการหารือกันเกี่ยวกับเรือคอร์แว็ตและเรือฟริเกต ในอนาคตอันใกล้นี้" สำนักข่าวของทางการกล่าว
นายแอเว่ กิลโล (Herve Guillou) ประธานและซีอีโอของ DCNS ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการเซ็นเอ็มโอยู ระบุว่าในฐานะผู้นำแห่งสหภาพยุโรป ในการออกแบบเรือรบ และ ระบบการสู้รบทางทะเล ดีซีเอ็นเอสมีพันธกรณีระยะยาว กับหุ้นส่วนอุตสาหกรรมกลาโหมแห่งอินโดนีเซีย ในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมไฮเท็คในประเทศนี้"
.
เรือตนกูอับดุลเราะมาน (KD Tunku Abdul Rahman) เป็นเรือสกอร์ปีน ขนาด 1,577 ตัน ของราชนาวีมาเลเซีย อีกลำคือเรือ KD Tuku Abdul Razak ติดตอร์ปิโดขนาดใหญ่ "ฉลามดำ" ติดจรวดเอ็กซ์โซเซ บรรจุประจำการปี 2552 ทำให้เรือดำน้ำของ DCNS เป็นที่รู้จักดี ไม่ไกลออกไป อินเดียเป็นลูกค้าอีกราย สั่งซื้อถึง 6 ลำ. -- En.Wikipedia.Org
2
ความร่วมมือกับ PT PAL ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย นับเป็นเครื่องบ่งชี้อันสมบูรณ์ยิ่ง สำหรับความทะเยอทะยานดังกล่าว และ จะมีการนำความเชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีอันแข็งแกร่ง ถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกองกองทัพเรือประเทศนี้ ผู้บริหารสูงสุดของ DCNS กล่าว
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ขยายตัว 5% เมื่อปีที่แล้ว นับว่าสูงที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ หลังจากถูกสหรัฐคว่ำบาตรในช่วงปี 2534-2548 เนื่องจากการแทรกแซงในกรณีติมอร์ตะวันออก ทำให้ประเทศที่มีเกาะ 7,000 เกาะ มีความต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการป้องกันประเทศอย่างยิ่งยวด
อินโดนีเซียตั้งเป้าจะเพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ ขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในสิ้นทศวรรษนี้ และ ตามตัวเลขขององค์การ SIRI ในสวีเดน ระหว่างปี 2549-2518 งบประมาณด้านการกลาโหมของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นถึง 150%
อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดอาวุธใหญ่ ที่ยั่วยวนผู้ผลิตกับเจ้าของเทคโนโลนีกลาโหม ในยุโรปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัทเน็กซ์เตอร์ (Nexter) เพิ่งเซ็นสัญญาจำหน่าย ระบบปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์ (Caesar) ให้อินโดนีเซีย 18 ระบบ ซึ่งได้รับความยบอมรับเป็นระบบปืนใหญ่ยิงไกล ที่ทันสมัยที่สุดอีกรุ่นหนึ่งในตลาด
ไม่กี่ปีมานี้อินโดนีเซียซื้ออากาศยานจากค่ายยุโรปจำนวนมาก ทั้งสำหรับอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ และ เครื่องบินรบ และ เมื่อไม่กี่วันมานี้ รัฐบาลประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ได้ประกาศความตั้งใจ ที่จะซื้อเครื่องบินขนส่งทหาร A400M ของแอร์บัสมิลิทารี อีกจำนวนหนึ่ง
สำหรับเรือดำน้ำ "แมลงป่อง" ของ DCNS เป็นที่รู้จักในภูมิภาคนี้มานาน ปัจจุบันมีประจำการในราชนาวีมาเลเซีย
เมื่อปีที่แล้วดีซีเอ็นเอสได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคา สนองการจัดหากองเรือดำน้ำรุ่นใหม่ มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ ให้แก่กองทัพเรือออสเตรเลีย เฉือนเรือดำน้ำของเยอรมนี ญี่ปุ่นและจีน.
ที่มา
http://www.manager.co.th/Indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9600000034202
อิเหนาจับมือฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำ "แมลงป่อง" รุ่นใหม่ขายเอเชีย ดำน้ำตื้นอ่าวไทยได้ด้วย
ปีที่แล้ว DCNS ประสบความสำเร็จ ในการจัดหาเรือดำน้ำยุคใหม่ ของกองทัพเรือออสเตรเลีย มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ข้อตกลงซื้อและประกอบเองในประเทศ เฉือนเรือดำนน้ำเยอรมัน ญี่ปุ่นและจีน อินโดนีเซียเซ็นเอ็มโอยูกับกลุ่มเทคโนโลยีฝรั่งเศส 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจะนำไปสู่การทำสัญญาคล้ายกันนี้ในที่สุด เพื่อต่อเรือดำน้ำสกอร์ปีน (Scorpene) ยุคใหม่ ปฏิบัติการในทะเลน้ำตื้นได้ ไม่เฉพาะในเขตชายฝั่งเท่านั้น. -- ภาพจากอินเตอร์เน็ต.
MGRออนไลน์ -- รัฐวิสากิจอู่ต่อเรือ PT PAL ของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย ได้เซ็นบันทึกความเข้าใจกับ กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาวุธยุทโธปกรณ์แห่งฝรั่งเศส DCNS เพื่อร่วมกันพัฒนา เรือดำน้ำสกอร์ปีน (Scorpene) รุ่นใหม่ เพื่อใช่ในกองทัพ และ เพื่อส่งออกในย่านนี้ ซึ่งจะเป็นเรือดำน้ำที่สามารถปฏิบัติการ ในเขตน้ำตื้นกับเขตไหล่ทวีปได้อีกได้ด้วย
ปัจจุบันผู้ผลิตชาติต่างๆ สามารถสร้างเรือดำน้ำให้สามารถดำน้ำ ในความลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ 300-400 เมตร หรืออาจจะลึกกว่านั้นอีก ซึ่งช่วยรับประกันความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน ในขณะออกปฏิบัติการ การปิดบังซ่อนเร้นตัวเอง ให้พ้นสายตาของอีกฝ่ายหนึ่ง นับเป็นความจำเป็นยิ่งยวดสำหรับเรือดำน้ำโจมตีทั่วไป
แต่เรือดำน้ำจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก ในการป้องกันประเทศ หากประเทศที่จะนำไปใช้ มีน่านน้ำที่ตื้น เรือดำน้ำรุนใหม่ในความร่วมมือระหว่างฝรั่งเศส กับอินโดนีเซีย จะสามารถปฏิบัติการได้ทั้งในเขตน้ำลึกมหาสมุทร หรือ Blue Water และ ในเขตน้ำตื้น หรือ Shallow Water ซึ่งมักจะเป็นปัญหาของหลายประเทศ รวมทั้งในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ บางพื้นที่ในเขตน่านน้ำของอินโดนีเซียเอง
การเซ็นเอ็มโอยูมีขึ้นปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสิ้นสุดการเยือนอินโดนีเซีย โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส นายฟรองซัวว์ ออลลองด์ สื่อของอินโดนีเซียรายงาน
การเซ็นบันทึกช่วยความจำเพื่อความเข้าใจ ระหว่างสองหน่วยงาน เป็นไปตามความตกลงระหว่างรัฐบาลสองประเทศ ที่จะกระชับความร่วมมือด้านกลาโหม การเจรจาระหว่างสองหน่วยงาน ที่เรียกว่า Indonesian French Defense Dialogue (IFDD) ดำเนินมาตั้งแต่เดือน เม.ย.2559 โดยอินโดนีเซียไม่เพียงต้องการเรือดำน้ำยุคใหม่ หากยังรวมถึงเรือรบพื้นผิวน้ำอีกด้วย และ สองฝ่ายตกลงจะร่วมกัน ดำเนินการร่วมมือในเรื่องนี้ ไปยังระยะยาวไกลข้างหน้า
นโยบายของรัฐบาลอินโดนีเซียก็คือ การจัดหาอาวุธยุโธปกรณ์ทุกชนิด จะต้องนำไปสู่การประกอบ จัดสร้างเองหรือต่อเองในประเทศ โดยใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้เองในประเทศ (Local Contents) ให้มากที่สุด ผลจากนโยบายนี้ได้เกิดดอกผลในระยะยาว จะเห็นได้จากอุตสาหกรรมอากาศยานของอินโดนีเซีย ที่ประสบความสำเร็จสามารถส่งออกได้ ในช่วงหลายปีมานี้
กลุ่ม DCNS กับ PT PAL เพิ่งมีความสัมพันธ์ร่วมมือกันมา ในช่วง 2-3 ปีมานี้ "เพื่อมองหาอุตสาหกรรมที่ดีที่สุด สำหรับเป็นทางออก ซึ่งได้นำมาสู่วันนี้ที่มีการเสนอ เรือดำน้ำอเนกประสงค์ยุคใหม่ล่าสุดในครอบครัว (เรือดำน้ำ) สกอร์ปีน (หรือ Scorpian/แมลงป่อง) ที่สามารถปฏิบัติการได้ ทั้งในเขตน้ำตื้น และ ในมหาสมุทร" สำนักข่าวอันตารารายงาน
"จะมีการหารือกันเกี่ยวกับเรือคอร์แว็ตและเรือฟริเกต ในอนาคตอันใกล้นี้" สำนักข่าวของทางการกล่าว
นายแอเว่ กิลโล (Herve Guillou) ประธานและซีอีโอของ DCNS ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการเซ็นเอ็มโอยู ระบุว่าในฐานะผู้นำแห่งสหภาพยุโรป ในการออกแบบเรือรบ และ ระบบการสู้รบทางทะเล ดีซีเอ็นเอสมีพันธกรณีระยะยาว กับหุ้นส่วนอุตสาหกรรมกลาโหมแห่งอินโดนีเซีย ในการเสริมสร้างอุตสาหกรรมไฮเท็คในประเทศนี้"
.
เรือตนกูอับดุลเราะมาน (KD Tunku Abdul Rahman) เป็นเรือสกอร์ปีน ขนาด 1,577 ตัน ของราชนาวีมาเลเซีย อีกลำคือเรือ KD Tuku Abdul Razak ติดตอร์ปิโดขนาดใหญ่ "ฉลามดำ" ติดจรวดเอ็กซ์โซเซ บรรจุประจำการปี 2552 ทำให้เรือดำน้ำของ DCNS เป็นที่รู้จักดี ไม่ไกลออกไป อินเดียเป็นลูกค้าอีกราย สั่งซื้อถึง 6 ลำ. -- En.Wikipedia.Org
2
ความร่วมมือกับ PT PAL ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย นับเป็นเครื่องบ่งชี้อันสมบูรณ์ยิ่ง สำหรับความทะเยอทะยานดังกล่าว และ จะมีการนำความเชี่ยวชาญกับเทคโนโลยีอันแข็งแกร่ง ถ่ายทอดสู่อุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกองกองทัพเรือประเทศนี้ ผู้บริหารสูงสุดของ DCNS กล่าว
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ขยายตัว 5% เมื่อปีที่แล้ว นับว่าสูงที่สุดอีกแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ หลังจากถูกสหรัฐคว่ำบาตรในช่วงปี 2534-2548 เนื่องจากการแทรกแซงในกรณีติมอร์ตะวันออก ทำให้ประเทศที่มีเกาะ 7,000 เกาะ มีความต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับการป้องกันประเทศอย่างยิ่งยวด
อินโดนีเซียตั้งเป้าจะเพิ่มงบประมาณการป้องกันประเทศ ขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในสิ้นทศวรรษนี้ และ ตามตัวเลขขององค์การ SIRI ในสวีเดน ระหว่างปี 2549-2518 งบประมาณด้านการกลาโหมของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นถึง 150%
อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดอาวุธใหญ่ ที่ยั่วยวนผู้ผลิตกับเจ้าของเทคโนโลนีกลาโหม ในยุโรปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ฝรั่งเศส ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัทเน็กซ์เตอร์ (Nexter) เพิ่งเซ็นสัญญาจำหน่าย ระบบปืนใหญ่อัตตาจรซีซาร์ (Caesar) ให้อินโดนีเซีย 18 ระบบ ซึ่งได้รับความยบอมรับเป็นระบบปืนใหญ่ยิงไกล ที่ทันสมัยที่สุดอีกรุ่นหนึ่งในตลาด
ไม่กี่ปีมานี้อินโดนีเซียซื้ออากาศยานจากค่ายยุโรปจำนวนมาก ทั้งสำหรับอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ และ เครื่องบินรบ และ เมื่อไม่กี่วันมานี้ รัฐบาลประธานาธิบดีโจโก วิโดโด ได้ประกาศความตั้งใจ ที่จะซื้อเครื่องบินขนส่งทหาร A400M ของแอร์บัสมิลิทารี อีกจำนวนหนึ่ง
สำหรับเรือดำน้ำ "แมลงป่อง" ของ DCNS เป็นที่รู้จักในภูมิภาคนี้มานาน ปัจจุบันมีประจำการในราชนาวีมาเลเซีย
เมื่อปีที่แล้วดีซีเอ็นเอสได้เป็นผู้ชนะการประกวดราคา สนองการจัดหากองเรือดำน้ำรุ่นใหม่ มูลค่า 50,000 ล้านดอลลาร์ ให้แก่กองทัพเรือออสเตรเลีย เฉือนเรือดำน้ำของเยอรมนี ญี่ปุ่นและจีน.
ที่มา http://www.manager.co.th/Indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9600000034202