ช่วงหลังผมเขียนรีวิวสั้น ๆ หลังจากดูหนังและละครญี่ปุ่นเอาไว้ใน FB จำนวนนึง
มีเพื่อนบอกว่า อยากให้รวบรวมมาโพสไว้ในพันทิป เผื่อจะแจกลิงค์ไปให้คนอื่นบ้าง
ก็ขอออกตัวว่าไม่ใช่รีวิวที่ดีอะไรนัก แค่เขียนสั้น ๆ ตามความรู้สึกหลังดูเท่านั้น
หวังเพียงว่าจะเป็นข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้อ่านได้บ้างตามสมควร โดยพร้อมกันนั้น
ได้แนบลิงค์ข้อมูลเรื่องนั้น ๆ รวมทั้งที่มาของซับไทยด้วย (ถ้าเป็นงานแปลแฟนซับ)
Shitamachi Rocket (TBS 2015)
ข้อมูล
http://wiki.d-addicts.com/Shitamachi_Rocket_%28TBS%29
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
Shitamachi Rocket จรวดที่จะสร้างแนวทางใหม่ให้กับละครญี่ปุ่น
ละครในซีซั่นที่จบไป ประทับใจเรื่องนี้มากที่สุด แน่นอนว่าไม่ได้ชอบเพราะเรตติ้งสูง แถมยังเคยมีอคติกับละครที่สร้างจาก
นิยายของ อิเคะโดะ จุน นิด ๆ ด้วยว่าพล็อตซ้ำซาก คือนับจากที่เคยตื่นเต้นกับภาคโอซาก้าของ Hanzawa Naoki หลังจากนั้น
ก็รู้สึกว่า อิเคะโดะ จุน เค้ามีแนวทางประจำที่ค่อนข้างจะ cliche (โดยเฉพาะ Roosevelt Game นี่เป็นเอามาก)
แต่หลังจากช่วงแรกของ Shitamachi Rocket ที่เป็นการดิ้นรนทางการเงินของบริษัท ทสึคุดะ แล้ว ละครก็เดินหน้าต่อไป
ด้วยแนวทางที่สดใหม่ล้วน ๆ เป็นการกรุยเส้นทางสายใหม่ให้กับละครแนวธุรกิจ ว่าไม่จำเป็นต้องดูยากหรือซับซ้อน
และยังทำออกมาได้สนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกอีกด้วย ที่ผ่านมาละครแนวนิยมมักจะทำกันอยู่ไม่กี่แนว แนวรักเน้นโรแมนติค
แนวครอบครัวเน้นอบอุ่น แนวฮิวแมนดราม่าเน้นกินใจ แนวแอคชั่นเน้นตื่นเต้น แนวสืบสวนเน้นความพลิกผัน แต่แนวธุรกิจล่ะ
มันยังไม่สามารถดิ้นอะไรได้มากนัก เพราะคนดูส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ธุรกิจนั้นยังมุ่งเน้นเรื่องการทำกำไร
แต่ Shitamachi Rocket สามารถทำให้ธุรกิจเป็นเรื่องของอุดมการณ์ได้ อุดมการณ์ที่จะให้สังคมดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาชาติ เราจะเห็นตัวเอกฝ่ายดี มุ่งเน้นจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ
ธุรกิจต้องอยู่รอดก็จริง แต่ก็ไม่ลืมที่จะทำเพื่อสังคมเสมอ ในขณะที่ฝ่ายร้าย พยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายทุกอย่าง เพื่อช่วงชิง
ความได้เปรียบทางการค้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น ฝ่ายร้ายก็ดูเหมือนจะชนะและได้ครอบครองทุกอย่าง แต่ก็ต้องแพ้ภัยตัวเองในที่สุด
ซึ่งสถานการณ์แต่ละช่วงในเรื่อง ไม่เพียงแต่จะตื่นเต้นเร้าใจลุ้นกันแทบนั่งไม่ติด แต่ยังสมจริง และทำให้คนดูอดฉุกคิดถึงข่าวต่าง ๆ
ที่เคยอ่านมาไม่ได้ว่า ที่แท้มันอาจจะมีเบื้องหลังอย่างในละครเรื่องนี้ก็ได้
ละครแนวนี้แหละที่คิดว่า น่าจะเป็นเส้นทางสายใหม่ให้กับนักเขียนบทต่อไปได้ เพราะดู ๆ แล้ว มันสามารถทำให้ครบรส
และสนุกได้ไม่แพ้แนวนิยมแนวอื่นเลย มีทั้งการต่อสู้เชือดเฉือนกันด้วยสติปัญญา (เทียบเท่าละครแอ็คชั่น) มีความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล ความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะ (เทียบเท่าแนวดราม่า) และยังสอดแทรกเรื่องคุณธรรมความดีได้อีกด้วย
ทุกวันนี้ธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ถ้าหาแง่มุมเหมาะ ๆ ก็สามารถจะทำละครที่สนุกและตื่นเต้นได้ไม่แพ้ละครแนวอื่น ๆ เลย
น่าดีใจที่ญี่ปุ่นมีบทละครที่ทั้งดีและสนุก ออกมาให้พวกเราได้ชื่นชมอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่ละครบ้านเรา ส่วนใหญ่ก็ยังงมงาย
กับการรีเมคละครเก่า ๆ อยู่ร่ำไป
Mother Game (TBS 2015)
ข้อมูล
http://wiki.d-addicts.com/Mother_Game
ซับไทยโดย Otori Fansub
Mother Game เป็นเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยว คิโกะ (ฟูมิโนะ คิมูระ) ที่ปากกัดตีนถีบ
เปิดร้านขายข้าวกล่อง เธอกำลังหาศูนย์รับดูแลเด็กเพื่อฝากลูกชายวัย 5 ขวบ
แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะคิวอันยาวเหยียดและระบบอันล่าช้า คำพูดโวยวายของคิโกะ
ไปสะดุดใจอาจารย์ใหญ่ของ รร.อนุบาลแห่งนึงเข้า ก็เลยเสนอให้ลูกชายเธอ
ได้เข้าไปเรียนในฐานะนักเรียนทุน
แต่พอได้ไปที่โรงเรียนจริง ๆ คิโกะถึงได้รู้ว่านี่คือ อภิมหา รร.อนุบาลระดับเลิศหรู
(เทียบบ้านเราคงประมาณ อนุบาลชนานันท์ อนุบาลเด่นหล้า ล่ะมั้ง) ที่มีแต่ผู้ปกครอง
ระดับไฮโซรวยระยับกันทั้งนั้น...
เอาจริง ๆ ละครเรื่องนี้ไม่ได้บอกว่าวิธีการเลี้ยงลูกของพวกคนรวยนั้นล้มเหลว
เค้าแค่อยากจะบอกว่า ไม่ว่าเราจะยากดีมีจนอย่างไร เราก็สามารถเลี้ยงลูก
ให้เป็นคนดีและคนเก่งได้ ขอแค่เรามองให้ออกว่าสิ่งไหนสำคัญกับเด็กจริง ๆ
แล้วเราก็พยายามให้เต็มที่ตามข้อจำกัดของเรานั่นแหละ บางอย่างที่เราไม่สามารถจริง ๆ
เด็กก็รับรู้และยอมรับได้นะ ไม่ใช่ว่าต้องมีให้เหมือนเพื่อน ๆ แล้วลูกเราถึงจะไม่มีปมด้อย
Risk no Kamisama (Fuji TV 2015)
ข้อมูล
http://wiki.d-addicts.com/Risk_no_Kamisama
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
Risk no Kamisama ลองดูไปตอนนึง ชอบมากกกก เลยจัดต่ออีก 4 ตอนรวด เป็นเรื่องของทีมกู้วิกฤต
ในบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนึง ที่คอยจัดการแก้ไขวิกฤตต่าง ๆ ของทั้งตัวบริษัทหลักและบริษัทลูกในเครือ
ไม่ว่าจะเป็น ความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ไฮเทค การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร อุบัติเหตุที่ทำให้โรงงาน
ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำของชุมชน ไปจนกระทั่ง เรื่องชู้สาวของดาราที่เป็นพรีเซนเตอร์ และเรื่องคาว ๆ
ของนักการเมืองที่หนุนหลังบริษัทอยู่
การจัดการความเสี่ยง หรือทีมกู้วิกฤตในเรื่องนี้ เรียกแบบภาษาบ้าน ๆ ก็คือทีมงานที่คอยตามล้างตามเช็ด
ไอ้พวกที่ทำผิดพลาดนั่นแหละ ของแบบนี้มันต้องอาศัยมือโปรมาจัดการ เพราะร้อยทั้งร้อย เวลาเจอวิกฤตหนัก ๆ
ก็มักจะคุมสติไม่อยู่
ผู้นำทีมกู้วิกฤต หรือ Risk no Kamisama (เทพเจ้าแห่งความเสี่ยง) แสดงโดยเฮีย ซึสึมิ ชินอิจิ อยากบอกว่า
แคสต์ได้เป๊ะจนไม่รู้จะเป๊ะยังไง เพราะเฮียชินอิจิ เค้ามีบุคลิกแบบไม่แคร์สื่อ ไม่สนใจว่า ใครจะใหญ่มาจากไหน
แถมยังหน้าตาย เรามองหน้าแล้วอ่านไม่ออกอีกด้วย บทนี้นึก ๆ ดูแล้ว เล่นได้แค่สองคน คือเฮียชินอิจิหนึ่งล่ะ
อีกคนคือ เฮียอาเบะ ฮิโรชิ แต่อาเบะหน้าตาเค้าจะแบบกวน ๆ หน่อย อาจจะไม่เหมาะกับบทที่ต้องหน้านิ่งขนาดนี้
(เวลาเจ้านายใหญ่ไปสั่งให้ทำอะไรที่ชั่ว ๆ พี่แกจะตอบรับแบบชิลล์มาก ในขณะที่ลูกน้องในทีม สีหน้าเปลี่ยนกันหมด)
ในทีมกู้วิกฤต แต่ละคนเจ๋ง ๆ ทั้งนั้น เรียกว่าแคสต์มาขั้นเทพ ชอบสุดมีสองคน คนแรก ยูกิ (โมริตะ โก) นักแทรกซึม
สปายตัวลงพื้นที่ และอีกคนก็ โทชิโอะ (ฟุระตะ อาระตะ) คนนี้เป็นนักหาข่าว เจาะข่าวลึก ส่วนนางเอกคือ คาโอริ (เอริกะ โทดะ)
ในบทสาวเก่งบ้างาน ที่ร่วงจากเป็นผู้บริหารแล้วต้องมาเริ่มต้นใหม่ในทีมกู้วิกฤต เอริกะก็เล่นได้ดีอยู่หรอก แต่ผมคิดว่าบทนี้
ดาราหญิงฝีมือดีหลายคนเล่นได้สบาย ที่มองไว้คือ คิมุระ ฟูมิโนะ
ชอบคำพูดในเรื่องนี้ ที่บอกว่า "คุณไม่สามารถปกป้องทุกสิ่งทุกอย่างได้พร้อมกันหมดหรอก ถ้าทำอย่างนั้นจริงๆ
คุณจะปกป้องอะไรไม่ได้เลย" อันนี้จริงอย่างที่สุด คนเราต้องยกได้วางได้ จัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ซะ
ไม่มีใครที่จะแพ้ไปหมด และชนะไปหมดซะทุกอย่างหรอก
Soredemo, Ikite Yuku (Fuji TV 2011)
ข้อมูล
http://wiki.d-addicts.com/Soredemo,_Ikite_Yuku
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
เรื่องนี้โหลดมานานแล้ว ตั้งใจว่าว่าง ๆ จะมาดูรวดเดียวจบ เพราะรู้มาก่อนว่า ความรันทดของเรื่องนี้
อยู่ในระดับไม่ธรรมดา ก็เลยผัดผ่อนว่ากำลังเตรียมใจ ไม่หยิบมาดูซักที
สำหรับเนื้อเรื่อง นี่คือคู่กรรมของแท้ "เขา" คือพี่ชายที่สูญเสียน้องสาววัย 7 ขวบในเหตุฆาตกรรม
"เธอ" คือน้องสาวที่พี่ชายเป็นฆาตกรคนนั้น ทั้งสองครอบครัวต่างเป็นผู้สูญเสีย บอบช้ำจนกาลเวลา
ไม่สามารถช่วยอะไร มีเพียงการยอมรับมันตรง ๆ และทำความเข้าใจมันให้ได้เท่านั้น ชีวิตถึงจะเดินหน้าได้
เมื่อคืนดู Soredemo, Ikite Yuku จนจบละ ถือว่าจบได้ดีมาก โดยเมื่อมานึกถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ที่วางไว้
ครอบครัวพระเอกที่เป็นผู้สูญเสีย (น้องสาววัย 7 ขวบถูกฆาตกรรม) แม่แยกทางกับพ่อ พ่อกลายเป็นไอ้ขี้เมา
จนวาระสุดท้าย แม่ยังลืมความเศร้าไม่ได้ ได้แต่ทำเฉไฉกลบเกลื่อนไปวัน ๆ พระเอกจมอยู่กับความรู้สึกผิด
ที่ตัวเองไม่ได้ดูแลน้องในวันนั้น ฝ่ายครอบครัวนางเอก (พี่ชายเป็นฆาตกร) ถูกสังคมรุมประนามสาปแช่ง
ต้องย้ายที่อยู่หนีหัวซุกหัวซุน พ่อตกงานบ่อย ๆ ที่ทำงานพอรู้ประวัติก็ไล่ออก นางเอกกับน้องสาว
โดนแกล้งที่โรงเรียน ส่วนแม่ก็ไม่มีเพื่อนบ้านที่ไหนคบด้วย
แต่ละครกลับจบแบบคลี่คลายสถานการณ์ทั้งหมดนั้นได้อย่างเหมาะสมและไม่โลกสวย
คนเราที่เจอเหตุการณ์แบบนั้นและทนทุกข์มาตลอด 15 ปี มันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่จะสามารถคิดตก
และให้อภัยกันในชั่วข้ามคืน ความรักไม่ใช่ว่าจะเอาชนะทุกสิ่งได้ ตอนจบคือตัวละครทุกตัวมีทางออก
ที่สมเหตุสมผล ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวพี่ชายนางเอกที่เป็นฆาตกร การคลี่คลายของเรื่องนี้
ใช้เวลาสามตอนสุดท้าย ค่อย ๆ จบแต่ละปมปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ผิดกับละครบางเรื่องที่จบแบบเรียนผูกแต่ไม่ยอมเรียนแก้ หลายปมแก้กันแบบดื้อ ๆ บางปมก็
ทอดทิ้งไปเฉย ๆ ชนิดว่าคนเขียนบทอยากให้จบแบบนี้ ก็เลยเขียนสถานการณ์พิเศษมาให้เป็นทางออก
เทียบกับละครไทยก็คือ ตอนจบ ...กลายเป็นบ้า ติดคุก ไปเมืองนอก... นั่นแหละ บอกเลยว่า
ละครเกาหลีนี่แหละตัวดี เสียดายหลายเรื่องที่พล็อตเริ่มต้นมาดี แต่สงสัยตอนเขียนบทจะไม่ได้เขียนตอนจบไว้
หรือไม่ก็เขียนไว้แหละ แต่มาแก้บทเอากลางคัน เพราะดู ๆ แล้วมันส่อเจตนาเลยว่า ต้องการล่อลวงให้คนดู
ติดหนึบเพื่อเอาเรตติ้งเท่านั้น ตอนจบจะห่วยแตกไม่มีเหตุผลยังไง พี่แกคงไม่สนใจหรอก เรตติ้งก่อนหน้านั้น
ดีแล้วก็เป็นพอ ละคร 20 ตอนจบ มาถึงตอน 19 แล้วก็ยังไม่คลี่คลายอะไรเลย มาอัดรวดเดียวในตอนอวสาน
แบบยัดทุกสิ่งทุกอย่างมาในตอนสุดท้ายตอนเดียว
++ รวม mini review หนังและละครญี่ปุ่นของผมทั้งเก่าและใหม่ ++
มีเพื่อนบอกว่า อยากให้รวบรวมมาโพสไว้ในพันทิป เผื่อจะแจกลิงค์ไปให้คนอื่นบ้าง
ก็ขอออกตัวว่าไม่ใช่รีวิวที่ดีอะไรนัก แค่เขียนสั้น ๆ ตามความรู้สึกหลังดูเท่านั้น
หวังเพียงว่าจะเป็นข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ผู้อ่านได้บ้างตามสมควร โดยพร้อมกันนั้น
ได้แนบลิงค์ข้อมูลเรื่องนั้น ๆ รวมทั้งที่มาของซับไทยด้วย (ถ้าเป็นงานแปลแฟนซับ)
Shitamachi Rocket (TBS 2015)
ข้อมูล http://wiki.d-addicts.com/Shitamachi_Rocket_%28TBS%29
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
Shitamachi Rocket จรวดที่จะสร้างแนวทางใหม่ให้กับละครญี่ปุ่น
ละครในซีซั่นที่จบไป ประทับใจเรื่องนี้มากที่สุด แน่นอนว่าไม่ได้ชอบเพราะเรตติ้งสูง แถมยังเคยมีอคติกับละครที่สร้างจาก
นิยายของ อิเคะโดะ จุน นิด ๆ ด้วยว่าพล็อตซ้ำซาก คือนับจากที่เคยตื่นเต้นกับภาคโอซาก้าของ Hanzawa Naoki หลังจากนั้น
ก็รู้สึกว่า อิเคะโดะ จุน เค้ามีแนวทางประจำที่ค่อนข้างจะ cliche (โดยเฉพาะ Roosevelt Game นี่เป็นเอามาก)
แต่หลังจากช่วงแรกของ Shitamachi Rocket ที่เป็นการดิ้นรนทางการเงินของบริษัท ทสึคุดะ แล้ว ละครก็เดินหน้าต่อไป
ด้วยแนวทางที่สดใหม่ล้วน ๆ เป็นการกรุยเส้นทางสายใหม่ให้กับละครแนวธุรกิจ ว่าไม่จำเป็นต้องดูยากหรือซับซ้อน
และยังทำออกมาได้สนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกอีกด้วย ที่ผ่านมาละครแนวนิยมมักจะทำกันอยู่ไม่กี่แนว แนวรักเน้นโรแมนติค
แนวครอบครัวเน้นอบอุ่น แนวฮิวแมนดราม่าเน้นกินใจ แนวแอคชั่นเน้นตื่นเต้น แนวสืบสวนเน้นความพลิกผัน แต่แนวธุรกิจล่ะ
มันยังไม่สามารถดิ้นอะไรได้มากนัก เพราะคนดูส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ธุรกิจนั้นยังมุ่งเน้นเรื่องการทำกำไร
แต่ Shitamachi Rocket สามารถทำให้ธุรกิจเป็นเรื่องของอุดมการณ์ได้ อุดมการณ์ที่จะให้สังคมดีขึ้น มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
และเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาชาติ เราจะเห็นตัวเอกฝ่ายดี มุ่งเน้นจะพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรับใช้มวลมนุษยชาติ
ธุรกิจต้องอยู่รอดก็จริง แต่ก็ไม่ลืมที่จะทำเพื่อสังคมเสมอ ในขณะที่ฝ่ายร้าย พยายามใช้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายทุกอย่าง เพื่อช่วงชิง
ความได้เปรียบทางการค้า ซึ่งในช่วงแรกนั้น ฝ่ายร้ายก็ดูเหมือนจะชนะและได้ครอบครองทุกอย่าง แต่ก็ต้องแพ้ภัยตัวเองในที่สุด
ซึ่งสถานการณ์แต่ละช่วงในเรื่อง ไม่เพียงแต่จะตื่นเต้นเร้าใจลุ้นกันแทบนั่งไม่ติด แต่ยังสมจริง และทำให้คนดูอดฉุกคิดถึงข่าวต่าง ๆ
ที่เคยอ่านมาไม่ได้ว่า ที่แท้มันอาจจะมีเบื้องหลังอย่างในละครเรื่องนี้ก็ได้
ละครแนวนี้แหละที่คิดว่า น่าจะเป็นเส้นทางสายใหม่ให้กับนักเขียนบทต่อไปได้ เพราะดู ๆ แล้ว มันสามารถทำให้ครบรส
และสนุกได้ไม่แพ้แนวนิยมแนวอื่นเลย มีทั้งการต่อสู้เชือดเฉือนกันด้วยสติปัญญา (เทียบเท่าละครแอ็คชั่น) มีความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล ความร่วมมือร่วมใจในหมู่คณะ (เทียบเท่าแนวดราม่า) และยังสอดแทรกเรื่องคุณธรรมความดีได้อีกด้วย
ทุกวันนี้ธุรกิจเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ถ้าหาแง่มุมเหมาะ ๆ ก็สามารถจะทำละครที่สนุกและตื่นเต้นได้ไม่แพ้ละครแนวอื่น ๆ เลย
น่าดีใจที่ญี่ปุ่นมีบทละครที่ทั้งดีและสนุก ออกมาให้พวกเราได้ชื่นชมอยู่เรื่อย ๆ ในขณะที่ละครบ้านเรา ส่วนใหญ่ก็ยังงมงาย
กับการรีเมคละครเก่า ๆ อยู่ร่ำไป
Mother Game (TBS 2015)
ข้อมูล http://wiki.d-addicts.com/Mother_Game
ซับไทยโดย Otori Fansub
Mother Game เป็นเรื่องของแม่เลี้ยงเดี่ยว คิโกะ (ฟูมิโนะ คิมูระ) ที่ปากกัดตีนถีบ
เปิดร้านขายข้าวกล่อง เธอกำลังหาศูนย์รับดูแลเด็กเพื่อฝากลูกชายวัย 5 ขวบ
แต่ก็ต้องผิดหวังเพราะคิวอันยาวเหยียดและระบบอันล่าช้า คำพูดโวยวายของคิโกะ
ไปสะดุดใจอาจารย์ใหญ่ของ รร.อนุบาลแห่งนึงเข้า ก็เลยเสนอให้ลูกชายเธอ
ได้เข้าไปเรียนในฐานะนักเรียนทุน
แต่พอได้ไปที่โรงเรียนจริง ๆ คิโกะถึงได้รู้ว่านี่คือ อภิมหา รร.อนุบาลระดับเลิศหรู
(เทียบบ้านเราคงประมาณ อนุบาลชนานันท์ อนุบาลเด่นหล้า ล่ะมั้ง) ที่มีแต่ผู้ปกครอง
ระดับไฮโซรวยระยับกันทั้งนั้น...
เอาจริง ๆ ละครเรื่องนี้ไม่ได้บอกว่าวิธีการเลี้ยงลูกของพวกคนรวยนั้นล้มเหลว
เค้าแค่อยากจะบอกว่า ไม่ว่าเราจะยากดีมีจนอย่างไร เราก็สามารถเลี้ยงลูก
ให้เป็นคนดีและคนเก่งได้ ขอแค่เรามองให้ออกว่าสิ่งไหนสำคัญกับเด็กจริง ๆ
แล้วเราก็พยายามให้เต็มที่ตามข้อจำกัดของเรานั่นแหละ บางอย่างที่เราไม่สามารถจริง ๆ
เด็กก็รับรู้และยอมรับได้นะ ไม่ใช่ว่าต้องมีให้เหมือนเพื่อน ๆ แล้วลูกเราถึงจะไม่มีปมด้อย
Risk no Kamisama (Fuji TV 2015)
ข้อมูล http://wiki.d-addicts.com/Risk_no_Kamisama
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
Risk no Kamisama ลองดูไปตอนนึง ชอบมากกกก เลยจัดต่ออีก 4 ตอนรวด เป็นเรื่องของทีมกู้วิกฤต
ในบริษัทยักษ์ใหญ่แห่งนึง ที่คอยจัดการแก้ไขวิกฤตต่าง ๆ ของทั้งตัวบริษัทหลักและบริษัทลูกในเครือ
ไม่ว่าจะเป็น ความบกพร่องของผลิตภัณฑ์ไฮเทค การปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร อุบัติเหตุที่ทำให้โรงงาน
ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำของชุมชน ไปจนกระทั่ง เรื่องชู้สาวของดาราที่เป็นพรีเซนเตอร์ และเรื่องคาว ๆ
ของนักการเมืองที่หนุนหลังบริษัทอยู่
การจัดการความเสี่ยง หรือทีมกู้วิกฤตในเรื่องนี้ เรียกแบบภาษาบ้าน ๆ ก็คือทีมงานที่คอยตามล้างตามเช็ด
ไอ้พวกที่ทำผิดพลาดนั่นแหละ ของแบบนี้มันต้องอาศัยมือโปรมาจัดการ เพราะร้อยทั้งร้อย เวลาเจอวิกฤตหนัก ๆ
ก็มักจะคุมสติไม่อยู่
ผู้นำทีมกู้วิกฤต หรือ Risk no Kamisama (เทพเจ้าแห่งความเสี่ยง) แสดงโดยเฮีย ซึสึมิ ชินอิจิ อยากบอกว่า
แคสต์ได้เป๊ะจนไม่รู้จะเป๊ะยังไง เพราะเฮียชินอิจิ เค้ามีบุคลิกแบบไม่แคร์สื่อ ไม่สนใจว่า ใครจะใหญ่มาจากไหน
แถมยังหน้าตาย เรามองหน้าแล้วอ่านไม่ออกอีกด้วย บทนี้นึก ๆ ดูแล้ว เล่นได้แค่สองคน คือเฮียชินอิจิหนึ่งล่ะ
อีกคนคือ เฮียอาเบะ ฮิโรชิ แต่อาเบะหน้าตาเค้าจะแบบกวน ๆ หน่อย อาจจะไม่เหมาะกับบทที่ต้องหน้านิ่งขนาดนี้
(เวลาเจ้านายใหญ่ไปสั่งให้ทำอะไรที่ชั่ว ๆ พี่แกจะตอบรับแบบชิลล์มาก ในขณะที่ลูกน้องในทีม สีหน้าเปลี่ยนกันหมด)
ในทีมกู้วิกฤต แต่ละคนเจ๋ง ๆ ทั้งนั้น เรียกว่าแคสต์มาขั้นเทพ ชอบสุดมีสองคน คนแรก ยูกิ (โมริตะ โก) นักแทรกซึม
สปายตัวลงพื้นที่ และอีกคนก็ โทชิโอะ (ฟุระตะ อาระตะ) คนนี้เป็นนักหาข่าว เจาะข่าวลึก ส่วนนางเอกคือ คาโอริ (เอริกะ โทดะ)
ในบทสาวเก่งบ้างาน ที่ร่วงจากเป็นผู้บริหารแล้วต้องมาเริ่มต้นใหม่ในทีมกู้วิกฤต เอริกะก็เล่นได้ดีอยู่หรอก แต่ผมคิดว่าบทนี้
ดาราหญิงฝีมือดีหลายคนเล่นได้สบาย ที่มองไว้คือ คิมุระ ฟูมิโนะ
ชอบคำพูดในเรื่องนี้ ที่บอกว่า "คุณไม่สามารถปกป้องทุกสิ่งทุกอย่างได้พร้อมกันหมดหรอก ถ้าทำอย่างนั้นจริงๆ
คุณจะปกป้องอะไรไม่ได้เลย" อันนี้จริงอย่างที่สุด คนเราต้องยกได้วางได้ จัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ซะ
ไม่มีใครที่จะแพ้ไปหมด และชนะไปหมดซะทุกอย่างหรอก
Soredemo, Ikite Yuku (Fuji TV 2011)
ข้อมูล http://wiki.d-addicts.com/Soredemo,_Ikite_Yuku
ซับไทยโดย Pondloso Fansub
เรื่องนี้โหลดมานานแล้ว ตั้งใจว่าว่าง ๆ จะมาดูรวดเดียวจบ เพราะรู้มาก่อนว่า ความรันทดของเรื่องนี้
อยู่ในระดับไม่ธรรมดา ก็เลยผัดผ่อนว่ากำลังเตรียมใจ ไม่หยิบมาดูซักที
สำหรับเนื้อเรื่อง นี่คือคู่กรรมของแท้ "เขา" คือพี่ชายที่สูญเสียน้องสาววัย 7 ขวบในเหตุฆาตกรรม
"เธอ" คือน้องสาวที่พี่ชายเป็นฆาตกรคนนั้น ทั้งสองครอบครัวต่างเป็นผู้สูญเสีย บอบช้ำจนกาลเวลา
ไม่สามารถช่วยอะไร มีเพียงการยอมรับมันตรง ๆ และทำความเข้าใจมันให้ได้เท่านั้น ชีวิตถึงจะเดินหน้าได้
เมื่อคืนดู Soredemo, Ikite Yuku จนจบละ ถือว่าจบได้ดีมาก โดยเมื่อมานึกถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ที่วางไว้
ครอบครัวพระเอกที่เป็นผู้สูญเสีย (น้องสาววัย 7 ขวบถูกฆาตกรรม) แม่แยกทางกับพ่อ พ่อกลายเป็นไอ้ขี้เมา
จนวาระสุดท้าย แม่ยังลืมความเศร้าไม่ได้ ได้แต่ทำเฉไฉกลบเกลื่อนไปวัน ๆ พระเอกจมอยู่กับความรู้สึกผิด
ที่ตัวเองไม่ได้ดูแลน้องในวันนั้น ฝ่ายครอบครัวนางเอก (พี่ชายเป็นฆาตกร) ถูกสังคมรุมประนามสาปแช่ง
ต้องย้ายที่อยู่หนีหัวซุกหัวซุน พ่อตกงานบ่อย ๆ ที่ทำงานพอรู้ประวัติก็ไล่ออก นางเอกกับน้องสาว
โดนแกล้งที่โรงเรียน ส่วนแม่ก็ไม่มีเพื่อนบ้านที่ไหนคบด้วย
แต่ละครกลับจบแบบคลี่คลายสถานการณ์ทั้งหมดนั้นได้อย่างเหมาะสมและไม่โลกสวย
คนเราที่เจอเหตุการณ์แบบนั้นและทนทุกข์มาตลอด 15 ปี มันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่จะสามารถคิดตก
และให้อภัยกันในชั่วข้ามคืน ความรักไม่ใช่ว่าจะเอาชนะทุกสิ่งได้ ตอนจบคือตัวละครทุกตัวมีทางออก
ที่สมเหตุสมผล ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวพี่ชายนางเอกที่เป็นฆาตกร การคลี่คลายของเรื่องนี้
ใช้เวลาสามตอนสุดท้าย ค่อย ๆ จบแต่ละปมปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน
ผิดกับละครบางเรื่องที่จบแบบเรียนผูกแต่ไม่ยอมเรียนแก้ หลายปมแก้กันแบบดื้อ ๆ บางปมก็
ทอดทิ้งไปเฉย ๆ ชนิดว่าคนเขียนบทอยากให้จบแบบนี้ ก็เลยเขียนสถานการณ์พิเศษมาให้เป็นทางออก
เทียบกับละครไทยก็คือ ตอนจบ ...กลายเป็นบ้า ติดคุก ไปเมืองนอก... นั่นแหละ บอกเลยว่า
ละครเกาหลีนี่แหละตัวดี เสียดายหลายเรื่องที่พล็อตเริ่มต้นมาดี แต่สงสัยตอนเขียนบทจะไม่ได้เขียนตอนจบไว้
หรือไม่ก็เขียนไว้แหละ แต่มาแก้บทเอากลางคัน เพราะดู ๆ แล้วมันส่อเจตนาเลยว่า ต้องการล่อลวงให้คนดู
ติดหนึบเพื่อเอาเรตติ้งเท่านั้น ตอนจบจะห่วยแตกไม่มีเหตุผลยังไง พี่แกคงไม่สนใจหรอก เรตติ้งก่อนหน้านั้น
ดีแล้วก็เป็นพอ ละคร 20 ตอนจบ มาถึงตอน 19 แล้วก็ยังไม่คลี่คลายอะไรเลย มาอัดรวดเดียวในตอนอวสาน
แบบยัดทุกสิ่งทุกอย่างมาในตอนสุดท้ายตอนเดียว