ภาษาบาลี (บาลี: ปาลิ; สันสกฤต: पाऴि); (อังกฤษ: Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้
อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี
ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[1]
นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร
คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง
คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
ภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี[แก้]
ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันยุคกลางที่พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชคือภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี ภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเขียน ภาษานี้ไม่ได้ใหม่ไปกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิกเมื่อพิจารณาในด้านลักษณะทางสัทวิทยาและรากศํพท์ ทั้งสองภาษาไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากภาษาสันสกฤตพระเวทซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาสันสกฤตคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีมีลักษณะที่ใกลเคียงกับภาษาสันสกฤตและมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ และสามารถเปลี่ยนคำในภาษาสันสกฤตไปเป็นคำในภาษาบาลีได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคำในภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาสันสกฤตโบราณหรือยืมคำโดยการแปลงรูปจากภาษาสันสกฤตได้เสมอไป เพราะมีคำภาษาสันสกฤตที่ยืมมาจากภาษาบาลีเช่นกัน
ภาษาบาลีในปัจจุบัน[แก้]
ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย ในยุโรปมีสมาคมบาลีปกรณ์เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สมาคมนี้ตีพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. 2412 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลีเล่มแรก การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 พจนานุกรมสำหรับเด็กตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากที่อังกฤษ ยังมีการศึกษาภาษาบาลีในเยอรมัน เดนมาร์ก และรัสเซีย
เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม
ที่มา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5
ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลี โดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมาย... Pāli
ภาษาบาลี (บาลี: ปาลิ; สันสกฤต: पाऴि); (อังกฤษ: Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้
อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี
ชื่อเรียกภาษานี้ คือ ปาลิ (อักษรโรมัน : Pāli) นั้น ไม่ปรากฏที่มาที่ชัดเจน และเป็นที่ถกเถียงเรื่อยมาโดยไม่มีข้อสรุป สำหรับชาวพุทธโดยทั่วไปเชื่อว่า ภาษาบาลีมีกำเนิดจากแคว้นมคธ ในชมพูทวีป และเรียกว่าภาษามคธ หรือภาษามาคธี หรือมาคธิกโวหาร ซึ่ง "มาคธิกโวหาร" พระพุทธโฆสาจารย์พระอรรถกถาจารย์นามอุโฆษมีชีวิตอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 10 อธิบายว่าเป็น "สกานิรุตติ" คือภาษาที่พระพุทธเจ้าตรัส[1]
นักภาษาศาสตร์บางท่านมีความเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย นักวิชาการชาวเยอรมันสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นนักสันสกฤตคือศาสตราจารย์ไมเคิล วิตเซลแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ถือว่าภาษาบาลีเป็นภาษาทางภาคตะวันตกของอินเดีย และเป็นคนละภาษากับภาษาจารึกของ พระเจ้าอโศกมหาราช
ภาษาบาลีมีพัฒนาการที่ยาวนาน มีการใช้ภาษาบาลีเพื่อบันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา (เถรวาท) เป็นจำนวนมาก วิลเฮล์ม ไกเกอร์ (Wilhem Geiger) นักปราชญ์บาลีชาวเยอรมัน ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงในสมัยศตวรรษที่ 19 คือ Pali Literatur und Sprache โดยวางทฤษฎีที่คนไทยรู้จักกันดีว่าภาษาบาลีในพระไตรปิฎกนั้นสามารถแบ่งวิวัฒนาการการแต่งได้ 4 ยุค ตามรูปลักษณะของภาษาที่ใช้ดังนี้:
ยุคคาถา หรือยุคร้อยกรอง มีลักษณะการใช้คำที่ยังเกี่ยวพันกับภาษาไวทิกะซึ่งใช้บันทึกคัมภีร์พระเวทอยู่มาก
ยุคร้อยแก้ว มีรูปแบบที่เป็นภาษาอินโดอารยันสมัยกลาง แตกต่างจากสันสกฤตแบบพระเวทอย่างเด่นชัด ภาษาในพระไตรปิฎกเขียนในยุคนี้
ยุคร้อยกรองระยะหลัง เป็นช่วงเวลาหลังพระไตรปิฎก ปรากฏในคัมภีร์ย่อย เช่น มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค เป็นต้น
ยุคร้อยกรองประดิษฐ์ เป็นการผสมผสาน ระหว่างภาษายุคเก่า และแบบใหม่ กล่าวคือคนแต่งสร้างคำบาลีใหม่ ๆ ขึ้นใช้เพราะให้ดูสวยงาม
บางทีก็เป็นคำสมาสยาว ๆ ซึ่งไม่ปรากฏในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นชัดเจนว่าแต่งขึ้นหลังจากที่มีการเขียนคัมภีร์แพร่หลายแล้ว
ปัจจุบันมีการศึกษาภาษาบาลีอย่างกว้างขวางในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และอินเดีย แม้กระทั่งในอังกฤษ ก็มีผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาได้พากันจัดตั้ง สมาคมบาลีปกรณ์ (Pali Text Society) ขึ้นในกรุงลอนดอนของประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2424 เพื่อศึกษาภาษาบาลีและวรรณคดีภาษาบาลี รวมถึงการแปลและเผยแพร่ ปัจจุบันนั้น สมาคมบาลีปกรณ์ดังกล่าวนี้มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ตำบลเฮดดิงตัน ในเมืองอ๊อกซฟอร์ดของสหราชอาณาจักร
คำว่า"บาลี" เองนั้นแปลว่าเส้นหรือหนังสือ และชื่อของภาษานี้น่ามาจากคำว่า ปาฬี (Pāḷi) อย่างไรก็ตาม ชื่อภาษานี้มีความขัดแย้งกันในการเรียก ไม่ว่าจะเป็นสระอะหรือสระอา และเสียง “ล” หรือ “ฬ” ภาษาบาลีเป็นภาษาเขียนของกลุ่มภาษาปรากฤต ซึ่งเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในศรีลังกาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 5 ภาษาบาลีจัดเป็นภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลาง แตกต่างจากภาษาสันสกฤตไม่มากนัก ภาษาบาลีไม่ได้สืบทอดโดยตรงจากภาษาสันสกฤตพระเวทในฤคเวท แต่อาจะพัฒนามาจากภาษาลูกหลานภาษาใดภาษาหนึ่ง
คาดว่าภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับภาษามคธโบราณหรืออาจจะสืบทอดมาจากภาษานี้ เอกสารในศาสนาพุทธเถรวาทเรียกภาษาบาลีว่าภาษามคธ ซึ่งอาจจะเป็นความพยายามของชาวพุทธที่จะโยงตนเองให้ใกล้ชิดกับราชวงศ์เมาริยะ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอนที่มคธ แต่ก็มีสังเวชนียสถาน 4 แห่งที่อยู่นอกมคธ จึงเป็นไปได้ที่จะใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางหลายสำเนียงในการสอน ซึ่งอาจจะเป็นภาษาที่เข้าใจกันได้ ไม่มีภาษากลุ่มอินโด-อารยันยุคกลางใดๆมีลักษณะเช่นเดียวกับภาษาบาลี แต่มีลักษณะบางประการที่ใกล้เคียงกับจารึกพระเจ้าอโศกมหาราชที่คิร์นาร์ทางตะวันตกของอินเดีย และหถิคุมผะทางตะวันออก
นักวิชาการเห็นว่าภาษาบาลีเป็นภาษาลูกผสม ซึ่งแสดงลักษณะของภาษาปรากฤตหลายสำเนียง ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 2 และได้ผ่านกระบวนการทำให้เป็นภาษาสันสกฤต พระธรรมคำสอนทั้งหมดของพระพุทธศาสนาถูกแปลเป็นภาษาบาลีเพื่อเก็บรักษาไว้ และในศรีลังกายังมีการแปลเป็นภาษาสิงหลเพื่อเก็บรักษาในรูปภาษาท้องถิ่นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีได้เกิดขึ้นที่อินเดียในฐานะภาษาทางการเขียนและศาสนา ภาษาบาลีได้แพร่ไปถึงศรีลังกาในพุทธศตวรรษที่ 9-10 และยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน
ภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี[แก้]
ภาษาที่เก่าแก่ที่สุดของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันยุคกลางที่พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชคือภาษาบาลีและภาษาอรธามคธี ภาษาทั้งสองนี้เป็นภาษาเขียน ภาษานี้ไม่ได้ใหม่ไปกว่าภาษาสันสกฤตคลาสสิกเมื่อพิจารณาในด้านลักษณะทางสัทวิทยาและรากศํพท์ ทั้งสองภาษาไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องมาจากภาษาสันสกฤตพระเวทซึ่งเป็นพื้นฐานของภาษาสันสกฤตคลาสสิก อย่างไรก็ตาม ภาษาบาลีมีลักษณะที่ใกลเคียงกับภาษาสันสกฤตและมีความแตกต่างอย่างเป็นระบบ และสามารถเปลี่ยนคำในภาษาสันสกฤตไปเป็นคำในภาษาบาลีได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคำในภาษาบาลีเป็นส่วนหนึ่งของภาษาสันสกฤตโบราณหรือยืมคำโดยการแปลงรูปจากภาษาสันสกฤตได้เสมอไป เพราะมีคำภาษาสันสกฤตที่ยืมมาจากภาษาบาลีเช่นกัน
ภาษาบาลีในปัจจุบัน[แก้]
ปัจจุบัน การศึกษาบาลีเป็นไปเพื่อความเข้าใจคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีที่สำคัญคือประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเถรวาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ พม่า ลาว ไทย กัมพูชา รวมทั้งศรีลังกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 25 มีการศึกษาภาษาบาลีในอินเดีย ในยุโรปมีสมาคมบาลีปกรณ์เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมการเรียนภาษาบาลีโดยนักวิชาการชาวตะวันตกที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2424 ตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สมาคมนี้ตีพิมพ์ภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน และแปลเป็นภาษาอังกฤษ ใน พ.ศ. 2412 ได้ตีพิมพ์พจนานุกรมภาษาบาลีเล่มแรก การแปลภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2415 พจนานุกรมสำหรับเด็กตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2419 นอกจากที่อังกฤษ ยังมีการศึกษาภาษาบาลีในเยอรมัน เดนมาร์ก และรัสเซีย
เฉพาะในประเทศไทยนั้น มีการศึกษาภาษาบาลีในวัดมาช้านาน และยังมีเปิดสอนในลักษณะหลักสูตรเร่งรัดที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งกล่าวคือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยเฉพาะที่มหามกุฏราชวิทยาลัยนั้น ได้ดำเนินการเรียนการสอนภาษาบาลีให้บรรดาแม่ชี ซึ่งแบ่งเป็น ๙ ชั้นเรียกว่า บ.ศ. 1-9 มาเป็นเวลาช้านาน และปัจจุบันนี้ ก็มีแม่ชีสำเร็จการศึกษาเปรียญ ๙ ตามระบบนี้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มีโรงเรียนสอนภาษาบาลี ให้กับภิกษุสามเณรทั่วประเทศไทย เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม
ที่มา
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5