ดีไซน์ออกมาไม่ค่อยสวยเท่าไหร่ อาจจะปรับปรุงให้ดีขึ้นมากกว่านี้ แต่ที่ผมอยากเสนอคือ
- ดัดแปลงรูปร่างจากอักษรเทวนาครีและอักษรไทย (บางตัวแต่งขึ้นใหม่)
- วิธีการเขียนและการใช้สัญลักษณ์ จะทำให้การเขียนภาษาบาลีเร็วขึ้น เพราะสัญลักษณ์ที่ใช้ทำให้จำนวน
ตัวอักษรที่ใช้เขียนลดน้อยลง (แต่ดีไซน์ของผมอาจจะเขียนช้านะครับ มันเขียนยุ่งๆนิดนึง)
- รูปแบบอักษร ภาษาบาลีมีการออกเสียงอย่างเป็นระบบครับ มีกฎการเขียนตัวสะกดและตัวตาม
ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า พยัญชนะแบ่งออกเป็น 5 แถวแนวตั้ง ดังนี้
1.ไม่ก้อง เบา
2.ไม่ก้อง หนัก
3.ก้อง เบา
4.ก้อง หนัก
5.นาสิก (ขึ้นจมูก)
กฎการเขียนตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นระบบครับ
*ตัวสะกดจะมีแค่แถว 1,3 และ 5 เท่านั้น
*ตัวสะกดกับตัวตามสามารถเขียนซ้ำตัวเดิมได้ (เช่น สจฺจ อตฺต)
*ตัวตาม(เขียนต่อจากตัวสะกด)
แถว 1 จะตามด้วยแถว 2 (เช่น ทุกฺข)
แถว 3 จะตามด้วยแถว 4 (เช่น สิทฺธิ)
แถว 5 จะตามด้วยแถวไหนก็ได้ (เช่น องฺค สมฺป)
และจะไม่มีการเขียนกระโดดข้ามวรรคครับ (แถวแนวนอนคือวรรคหนึ่ง) ผมก็เลยใช้สัญลักษณ์เขียนกำกับเอาไว้แทน
ทำให้ไม่ต้องเขียนตัวซ้ำๆหรือตัวที่เป็นตัวสะกดตัวตามอยู่แล้ว ประหยัดแรงมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผมออกแบบให้
แต่ละวรรคมีรูปร่างคล้ายกันเฉพาะวรรคๆนั้น (ยกเว้นเสียงนาสิก)
ส่วน
อักษรที่เป็นเสียงหนักจะมีจุดทึบอยู่ภายใน
ปล. ภาษาบาลีเป็นภาษาโบราณ ที่จัดว่าใกล้ตายแล้วล่ะ เพราะไม่มีใครพูดในชีวิตประจำวันแล้ว ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
และภาษานี้ก็ยังไม่มีอักษรใดเป็นอักษรทางการ ที่นิยมเขียนก็คืออักษรละตินหรืออักษรไทยหรือขอม เพราะฉะนั้น ผมเองก็สามารถประดิษฐ์
อักษรนี้ขึ้นมาใหม่ได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับ
ผมเพิ่งประดิษฐ์อักษรใหม่สำหรับภาษาบาลีครับ ใช่ชื่อว่า Palayakkhara
- ดัดแปลงรูปร่างจากอักษรเทวนาครีและอักษรไทย (บางตัวแต่งขึ้นใหม่)
- วิธีการเขียนและการใช้สัญลักษณ์ จะทำให้การเขียนภาษาบาลีเร็วขึ้น เพราะสัญลักษณ์ที่ใช้ทำให้จำนวน
ตัวอักษรที่ใช้เขียนลดน้อยลง (แต่ดีไซน์ของผมอาจจะเขียนช้านะครับ มันเขียนยุ่งๆนิดนึง)
- รูปแบบอักษร ภาษาบาลีมีการออกเสียงอย่างเป็นระบบครับ มีกฎการเขียนตัวสะกดและตัวตาม
ถ้าดูจากภาพจะเห็นว่า พยัญชนะแบ่งออกเป็น 5 แถวแนวตั้ง ดังนี้
1.ไม่ก้อง เบา
2.ไม่ก้อง หนัก
3.ก้อง เบา
4.ก้อง หนัก
5.นาสิก (ขึ้นจมูก)
กฎการเขียนตัวสะกดและตัวตามในภาษาบาลีจะเป็นระบบครับ
*ตัวสะกดจะมีแค่แถว 1,3 และ 5 เท่านั้น
*ตัวสะกดกับตัวตามสามารถเขียนซ้ำตัวเดิมได้ (เช่น สจฺจ อตฺต)
*ตัวตาม(เขียนต่อจากตัวสะกด)
แถว 1 จะตามด้วยแถว 2 (เช่น ทุกฺข)
แถว 3 จะตามด้วยแถว 4 (เช่น สิทฺธิ)
แถว 5 จะตามด้วยแถวไหนก็ได้ (เช่น องฺค สมฺป)
และจะไม่มีการเขียนกระโดดข้ามวรรคครับ (แถวแนวนอนคือวรรคหนึ่ง) ผมก็เลยใช้สัญลักษณ์เขียนกำกับเอาไว้แทน
ทำให้ไม่ต้องเขียนตัวซ้ำๆหรือตัวที่เป็นตัวสะกดตัวตามอยู่แล้ว ประหยัดแรงมากขึ้น
ยิ่งไปกว่านั้น ผมออกแบบให้แต่ละวรรคมีรูปร่างคล้ายกันเฉพาะวรรคๆนั้น (ยกเว้นเสียงนาสิก)
ส่วนอักษรที่เป็นเสียงหนักจะมีจุดทึบอยู่ภายใน
ปล. ภาษาบาลีเป็นภาษาโบราณ ที่จัดว่าใกล้ตายแล้วล่ะ เพราะไม่มีใครพูดในชีวิตประจำวันแล้ว ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา
และภาษานี้ก็ยังไม่มีอักษรใดเป็นอักษรทางการ ที่นิยมเขียนก็คืออักษรละตินหรืออักษรไทยหรือขอม เพราะฉะนั้น ผมเองก็สามารถประดิษฐ์
อักษรนี้ขึ้นมาใหม่ได้ ไม่มีปัญหาอะไรครับ