#ความละอาย...
ความละอาย เป็นจริยธรรมประการหนึ่ง การที่บุคคลหนึ่งละเว้นสิ่งที่น่าตำหนิ หรือสิ่งที่เป็นความผิด หรือไม่เปิดเผยส่วนที่พึงปกปิด ถือว่าเขามีความละอาย ความละอายมีความผูกพันกับอิหม่าน
ท่านเราะซูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
"ความละอายเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา" (บันทึกโดย บุคคอรีย์และมุสลิม)
ขณะเดียวกันท่านเราะซูล (ซ.ล.) ก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศรัทธาว่า
"ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ตระหนัก จากคำพูดแห่งการเป็นนะบี(ศาสนฑูต)ยุคแรกคือ ถ้าหากท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ท่านปราถนาเถิด"
#ผลของการมีความละอาย
1. การมีความละอายจะทำให้การอีหม่านของบุคคลสมบูรณ์ขึ้น จะทำให้ความศรัทธาสูงขึ้น
2. ผู้ใดที่ละอายต่ออัลลอฮ์ เขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ และของท่านเราะซูล (ซ.ล.) จะไม่มีการยกเว้น หรือบิดเบือนในถ้อยคำต่างๆที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ และตามซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล (ซ.ล.) อย่างแท้จริง
3. ความละอายจะทำให้บุคคลนั้น ไม่กล้าทำความชั่วและสิ่งที่น่าตำหนิ และน่ารังเกียจ เพราะความเกรงกลัวต่อพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ที่มีความละอาย จะไม่แม้แต่จะคิดในสิ่งที่ไม่ดี เพราะเขาอายต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทั้งที่เร้นลับและเปิดเผย
4. ด้วยความละอายจะทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเปิดเผยสิ่งที่พึงปกปิดต่อผู้อื่น ธรรมชาติของผู้หญิงปกติจะต้องมีความละอายอยู่ในตัว ไม่กล้าที่จะแสดงกิริยาที่ไม่สมควร ไม่กล้าที่จะโชว์สัดส่วนและเรือนร่างอย่างเปิดเผย ไม่กล้าพูดจาในสิ่งที่ไม่ดี นินทาว่าร้ายผู้อื่น ผู้หญิงที่ไม่มีความละอายมักจะทำสิ่งที่ตรงกันข้ามเสมอ และถ้านางหมดสิ้นความละอายที่อยู่ของนางก็คือนรกนั่นเอง
5. การจำแนกความแตกต่างระหว่างมนุษย์ และสัตว์ ก็คือความละอาย เพราะสัตว์ไม่ปกปิดไม่ว่าจะกิน จะถ่าย จะผสมพันธุ์ หรือจะนอน เราจะเห็นการปฏิบัติของสัตว์ทุกขั้นตอน แต่ผู้ที่เป็นมนุษย์ การกระทำทุกอย่างจะตรงข้ามกับสัตว์เดรัจฉาน การแยกมนุษย์จากสัตว์คือความละอาย มนุษย์มีมารยาทในการกิน มีห้องน้ำให้ขับถ่าย มีห้องนอนที่มิดชิดไว้สืบพันธุ์ มีบ้านเรือนให้อาศัย
6. ท่านเราะซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า "ถ้าท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ปราถนาเถิด" ถ้อยคำนี้บอกถึง ไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่พึงละอาย เพราะถ้าหมดสิ้นความไร้ยางอายก็จะทำได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง
7. ผู้ที่ไม่มีความละอาย เขาย่อมจะกระทำทุกสิ่งโดยไม่คำนึงถึง ว่าการกระทำดังกล่าว ชอบด้วยบัญญัติศาสนา ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและสอดคล้องกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมหรือไม่
แล้วท่านละอายต่อพระองค์หรือไม่ ! หรือละอายต่อตนเองบ้างหรือไม่ !
โดย"ชมรมผู้บริหารมัสยิดหนองจอก"
เรียบเรียงโดย Islammore
ความละอาย
ความละอาย เป็นจริยธรรมประการหนึ่ง การที่บุคคลหนึ่งละเว้นสิ่งที่น่าตำหนิ หรือสิ่งที่เป็นความผิด หรือไม่เปิดเผยส่วนที่พึงปกปิด ถือว่าเขามีความละอาย ความละอายมีความผูกพันกับอิหม่าน
ท่านเราะซูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
"ความละอายเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา" (บันทึกโดย บุคคอรีย์และมุสลิม)
ขณะเดียวกันท่านเราะซูล (ซ.ล.) ก็ได้กล่าวถึงความสำคัญของการศรัทธาว่า
"ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ตระหนัก จากคำพูดแห่งการเป็นนะบี(ศาสนฑูต)ยุคแรกคือ ถ้าหากท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ท่านปราถนาเถิด"
#ผลของการมีความละอาย
1. การมีความละอายจะทำให้การอีหม่านของบุคคลสมบูรณ์ขึ้น จะทำให้ความศรัทธาสูงขึ้น
2. ผู้ใดที่ละอายต่ออัลลอฮ์ เขาจะปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์ และของท่านเราะซูล (ซ.ล.) จะไม่มีการยกเว้น หรือบิดเบือนในถ้อยคำต่างๆที่อัลลอฮ์ได้บัญญัติไว้ และตามซุนนะฮ์ของท่านเราะซูล (ซ.ล.) อย่างแท้จริง
3. ความละอายจะทำให้บุคคลนั้น ไม่กล้าทำความชั่วและสิ่งที่น่าตำหนิ และน่ารังเกียจ เพราะความเกรงกลัวต่อพระองค์อัลลอฮ์ ผู้ที่มีความละอาย จะไม่แม้แต่จะคิดในสิ่งที่ไม่ดี เพราะเขาอายต่อพระองค์ เพราะพระองค์ทรงรู้ทุกสิ่งทั้งที่เร้นลับและเปิดเผย
4. ด้วยความละอายจะทำให้ผู้หญิงไม่กล้าเปิดเผยสิ่งที่พึงปกปิดต่อผู้อื่น ธรรมชาติของผู้หญิงปกติจะต้องมีความละอายอยู่ในตัว ไม่กล้าที่จะแสดงกิริยาที่ไม่สมควร ไม่กล้าที่จะโชว์สัดส่วนและเรือนร่างอย่างเปิดเผย ไม่กล้าพูดจาในสิ่งที่ไม่ดี นินทาว่าร้ายผู้อื่น ผู้หญิงที่ไม่มีความละอายมักจะทำสิ่งที่ตรงกันข้ามเสมอ และถ้านางหมดสิ้นความละอายที่อยู่ของนางก็คือนรกนั่นเอง
5. การจำแนกความแตกต่างระหว่างมนุษย์ และสัตว์ ก็คือความละอาย เพราะสัตว์ไม่ปกปิดไม่ว่าจะกิน จะถ่าย จะผสมพันธุ์ หรือจะนอน เราจะเห็นการปฏิบัติของสัตว์ทุกขั้นตอน แต่ผู้ที่เป็นมนุษย์ การกระทำทุกอย่างจะตรงข้ามกับสัตว์เดรัจฉาน การแยกมนุษย์จากสัตว์คือความละอาย มนุษย์มีมารยาทในการกิน มีห้องน้ำให้ขับถ่าย มีห้องนอนที่มิดชิดไว้สืบพันธุ์ มีบ้านเรือนให้อาศัย
6. ท่านเราะซูล (ซ.ล.) กล่าวว่า "ถ้าท่านไม่ละอายก็จงทำตามที่ปราถนาเถิด" ถ้อยคำนี้บอกถึง ไม่ให้ปฏิบัติในสิ่งที่พึงละอาย เพราะถ้าหมดสิ้นความไร้ยางอายก็จะทำได้ทุกสิ่งทุกอย่างนั่นเอง
7. ผู้ที่ไม่มีความละอาย เขาย่อมจะกระทำทุกสิ่งโดยไม่คำนึงถึง ว่าการกระทำดังกล่าว ชอบด้วยบัญญัติศาสนา ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมและสอดคล้องกับหลักคุณธรรมและจริยธรรมหรือไม่
แล้วท่านละอายต่อพระองค์หรือไม่ ! หรือละอายต่อตนเองบ้างหรือไม่ !
โดย"ชมรมผู้บริหารมัสยิดหนองจอก"
เรียบเรียงโดย Islammore