จักรยาน Custom ScorPixed Gear ( ProJect‬ )

สวัดดีคับ
กระทู้นี้ ตั้งคืนมาเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นในมุมมองด้านต่างๆของตัวโปรดักส์ เพื่อนำไปแก้ไข้หรือปรับปรุบในครั้งต่อไป
โดยโปรดักส์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรเจคจบ ป ตรี ของตัวกระผมเอง โดยทางมหาลัยให้มีการออกแบบ โปรดักส์ ส่งหนึ่งชิ้น โดยตัวผมได้เลือกที่จะออกแบบโครงสร้างรถจักรยาน หนึ่งคัน โดยมีโครงการชื่อว่า : การออกแบบและพัฒนาโครงรถจักรยาน จากทฤษฎีความงามของรูปทรงและแนวทางการออกแบบ ฟิวเจอร์ริสม์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากรูปทรงแมงป่อง
ในส่วนชิ้นงานนี้ ตัวผมได้ออกแบบโครงสร้างอย่างเดียว ในส่วน ล้อ แฮนด์จักรยาน หรือเบาะ นั้นผมหาซื้อจากท้องตลาดทั่วไป ในการขึ้นโครงสร้างหรือกระบวนการผลิต ผมได้ให้ช่างผู้มีฝีมือ ชื่อ อาจารย์ วันเฉลิม จันทร์ช่วงโชติ เป็นผู้ นำเนินในการผลิตในส่วนชิ้นงาน
ในตัวชิ้นงานนี้ผมให้ชื่อว่า  Scorpion + Fixed gear = Scorpixed Gear
โดยส่วนตัวนั้น ประโยชน์ที่จะได้รับเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์จักรยานทางเลือกแก่ผู้ที่ชื่นชอบในงานออกแบบและงานศิลปะ
เพื่อเป็นการไม่ให้เสียเวลานั้น ผมขอช่วยทุกคนไปดูกระบวนการผลิต จักรยานของผมเลยล่ะกันนะคับ



ขั้นตอนที่ 1
จัดหาข้อมูลและค้นคว้าหาข้อมูล และ  ทฤษฎีและแนวทางการออกแบบ
ในส่วนนี้ บอกได้เลยคำเดียว หาทางเอาชีวิตให้รอด โดยคณะอาจารย์ จามีคำถามมากมาย บลาๆ เพื่อให้มีเหตุสมควรและความเป็นไปได้มากที่สุด


ขั้นตอนที่ 2
เมื่อรอดจากคำถามต่างๆนาๆเป็นเวลา 1 เดือนที่เสียไปกับ ทฤษฎี ก็เริ่ม สเก็ตแบบ ในส่วนนี้ผมสเก็ตไว้เยอะมากๆ โดยต้องหาจุดเด่นของตัวแมงป่องมาออกแบบในตัวโครงสร้าง

มีตัวป่วนบ้างเล็กน้อย


ขั้นตอนที่ 3
เมื่อสเก็ตได้แบบตามจำนวนที่ต้องการ จากนั้น คัดเลือก มา 4 แบบเพื่อทำแบบสอบถาม


ขั้นตอนที่ 4
เมื่อได้แบบสรุปจากการทำแบบสอบถาม ก็นำไปสแกนลงคอมเพื่อนำเข้าสู่โปรแกรมออโต้แคด




ขั้นตอนที่ 5
ลงแบบเข้าสู่โรงงาน ในตัวชิ้นงานนี้ใช้เหล็กแผ่น หนา 2 มม ตัดด้วยเลเซอร์ เป็นชิ้นๆตามส่วนต่างๆ



ขั้นตอนที่ 6
เมื่อได้ ชิ้นส่วนต่างๆ นำมา เชื่อมในส่วนต่างๆแต่ล่ะชิ้นโดยการ เชื่อมชิ้นงานนี้ใช้ระบบขึ้นโคตรงสร้างที่ชื่อว่า ประกอบเป็นระบบ โมโนค็อก กล่องที่ประกอบจากโลหะแผ่น งานแผ่นประกอบขึ้นรูปเป็นโครงสร้าง





ขั้นตอนที่ 7
เมื่อได้ชิ้นส่วนสำคัญในส่วนต่างๆ ก็นำมาขึ้นเครื่อง เพื่อ ปรับองศา และ เชื่อมในส่วนต่างๆ ของโคตรงหลัก ในตัวโครงสร้างนี้จะแบ่งไปด้วย โครงหลัก ตะเกียบหน้า ตะเกียบหลัง


ขั้นตอนที่ 8
เมื่อตัวโครงสร้างหลักเสร็จ นำเหล็กท่อเหลี่ยม มาเชื่อมทำเป็นตะเกียบหลัง โดยตัวตะเกียบหลังนั้นถูกออกแบบให้ถอดได้โดยยึด น๊อตในส่วนบน และ ล่าง
โดยส่วนบนจะยึดด้วยน๊อต 2 ตัว ส่วนล่างยึดน๊อต 6 ตัว



จากนั้นประกอบเข้ากับโครงสร้างหลัก


ขั้นตอนที่ 9
เมื่อทุกส่วนเสร็จ นำมาประกอบเข้าด้วยกันทั้งหมดเพื่อทดสอบระบบต่างๆ




ขั้นตอนที่ 10
เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์ ตัวโปรดักส์ ก็ถูกส่งมาให้ผมรับช่วงต่อ



ขั้นตอนที่ 11
เมื่อผมได้รับตัวโปรดักส์ ผมก็นำมาแยกในส่วนต่างๆเพื่อนำไปทำสี ในส่วนตัวโครงสร้างนั้นจะแบ่งเป็นสอง สองชุด ชุดหนึ่ง เป็น ตะเกียบหน้ากับโครงสร้างหลักในส่วนนี้ผมนำไปทำสีเพาเดอร์โค้ด สีดำ เปรียบเสมือนผิวของแมงป่อง (ต้องขออภัยไม่มีรูปให้ชม) ใสส่วนที่สองตะเกียบหลังกับแฮนด์จักรยาน นั้นผมได้ทำสีเหลืองสะท้อนแสง เปรียบเสมือนสารแบล็คไลท์ที่อยู่ในตัวของแมงป่อง




ขั้นตอนสุดท้าย ฟิวชั่น
นำมาประกอบทุกส่วนเข้าด้วยกัน ในส่วน เสร็จ ประมาณ 90% ยังมีรายละเอียดอีกเล็กๆน้อยไว้ 100% เต็มผมจะถ่ายมาอัพเดทอีกทีนะคับ อมยิ้ม06อมยิ้ม07


























ในการทำโปรเจคในครั้งนี้ ผมเจออุปสรรคมากมาย และทำให้ท้อบ้างในบ้างครั้ง แต่ก็อยากให้เพื่อนๆที่กำลังทำโปรเจคอยู่อย่าท้อกับงานให้เวลามันเยอะๆ เพื่อนผมหลายคนท้อทำให้ไม่อยากสานโปรเจคต่อทำให้จบไม่ทันเพื่อน เพื่อนคนไหนที่กำลังสู้นะคับ อมยิ้ม04
ยังไงผมขอฝากงานฝีมือคนไทยชิ้นนี้ด้วยนะคับ ติชมและแนะนำ ได้คับผม เพื่อผมจะนำไปแก้ไข้ตอนปิดเล่มโปรเจค อมยิ้ม17

ยังไงก็ขอขอบพระคุณ pantip

ขอขอบคุณทีมช่างฝีมือดีจาก FB : ‪‎เอ้าลอว์‬ อินดัสทรี  

Product Design 55 Phuket Rajabhat University
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่