ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกมาชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์รับหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนเข้าซื้อขายในกระดาน SET และ mai
สาระสำคัญของหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ
ส่วนแรกคือทุนจดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียนที่จะสามารถระดมทุนได้
โดยในกระดาน SET มีการเปลี่ยนแปลงส่วนทุนเป็น 500 ล้านบาท จากเดิม 300 ล้านบาท โดยคงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไว้ 300 ล้านบาทตามเดิม ส่วนในกระดาน mai เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำ กว่า 20 ล้านบาท และจะต้องมีส่วนทุนเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
ส่วนที่สอง เกณฑ์มาร์เก็ตแคป ในส่วนนี้ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่จะเข้า SET ตามเกณฑ์นี้ ต้องมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปไม่ต่ำ กว่า 7,500 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ในขณะที่กระดาน mai จะต้องมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาททุกประเภทธุรกิจ แต่หากใช้เกณฑ์กำไรก็จะต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิมกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าศูนย์
ส่วนที่สาม มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) กำหนดให้หลักทรัพย์ที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ จะต้องมีราคาพาร์ไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทต่อหุ้น และจะต้องดำรงพาร์ไม่ให้ต่ำกว่า 0.50 บาท ตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งจะไม่มีผลกับบริษัทจดทะเบียนเดิมที่มีพาร์ต่ำกว่า 0.50 บาทอยู่แล้ว
คุณ เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า เกณฑ์การรับหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนเข้าซื้อขายทั้งในกระดาน SET และ mai ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วง 2-3 ปีหลังสุด บริษัทที่เข้าจดทะเบียนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลง และมีผลประกอบการผ่านเกณฑ์ขั่นต่ำไม่สูงนัก ทำให้หลายบริษัทมีผล ขาดทุนหลังเข้าจดทะเบียนได้ไม่นาน
ส่วนราคาพาร์ ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทนั้น ประเมินแล้วว่าเป็นระดับที่เหมาะสม ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป และเป็นระดับผู้ ลงทุนซื้อขายได้คล่องตัวกว่า
ด้านความเห็นหนึ่งในคณะกรรมการชมรมวาณิชธนกิจ คุณมนตรี ศรไพศาล ซีอีโอ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมบอร์ดวาณิชธนกิจในช่วงปลายเดือน ก.พ.นี้ เพื่อหาข้อสรุปกลับมาเสนอให้บอร์ดตลาด และ ก.ล.ต.เป็นขั้นตอนต่อไป ส่วนตัวเล็งเห็นว่า มาตรการดูแลความร้อนแรงของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันเพียงพออยู่แล้ว และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ก่อนหน้านี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยกำหนดพาร์ขั่นต่ำไว้ที่ 10 บาท แต่ได้ยกเลิกไปเมื่อปี 2543 และไม่มีการกำหนดพาร์ขั้นต่ำไว้ เนื่องจากต้องการเพิ่มสถาพคล่องในการซื้อขายและกระจายการถือหุ้นในวงกว้าง แต่ปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนบางแห่ง ที่มีสภาพคล่องสูง แต่ใช้วิธีการแตกพาร์ไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้ลงทุนสับสน นำไปสู่การเก็งกำไรได้ง่าย โดยเฉพาะพาร์ไม่เกิน 0.50 บาท ที่มีชื่อติด cash balance เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน มีบริษัทจดทะเบียนที่มีพาร์ไม่เกิน 0.50 บาท อยู่ 18% หรือประมาณ 130 บริษัท
http://goo.gl/xjm4BM
.....................
กฏราคาพาร์ ห้ามต่ำกว่า 0.50 นี้น่าจะบังคับใช้กับหุ้นที่อยู่ในตลาดเดิมด้วยนะ
เห็นทุกวันนี้ หุ้นบางตัว เหลือพาร์แค่ 0.10 เอง จะว่าเพิ่มสภาพคล่องก็ไม่น่าจะใช่เพราะราคา ในตลาดมันแค่หลักหน่วยหลักสิบเอง
ไม่ใช่หลัก ร้อย หลักพัน ซักหน่อย
ตลท.รื้อใหญ่ ปรับเกณฑ์รับหุ้น IPO ทั้ง SET และ mai
ผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ออกมาชี้แจงต่อสื่อมวลชน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับปรุงเกณฑ์รับหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนเข้าซื้อขายในกระดาน SET และ mai
สาระสำคัญของหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ
ส่วนแรกคือทุนจดทะเบียนของบริษัทจดทะเบียนที่จะสามารถระดมทุนได้
โดยในกระดาน SET มีการเปลี่ยนแปลงส่วนทุนเป็น 500 ล้านบาท จากเดิม 300 ล้านบาท โดยคงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไว้ 300 ล้านบาทตามเดิม ส่วนในกระดาน mai เปลี่ยนแปลงทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว ต้องไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำ กว่า 20 ล้านบาท และจะต้องมีส่วนทุนเพิ่มเป็นไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาท
ส่วนที่สอง เกณฑ์มาร์เก็ตแคป ในส่วนนี้ กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนที่จะเข้า SET ตามเกณฑ์นี้ ต้องมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปไม่ต่ำ กว่า 7,500 ล้านบาท จากเดิมไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท ในขณะที่กระดาน mai จะต้องมีมูลค่ามาร์เก็ตแคปไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาททุกประเภทธุรกิจ แต่หากใช้เกณฑ์กำไรก็จะต้องมีกำไรไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิมกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าศูนย์
ส่วนที่สาม มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) กำหนดให้หลักทรัพย์ที่จะเข้าจดทะเบียนใหม่ จะต้องมีราคาพาร์ไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทต่อหุ้น และจะต้องดำรงพาร์ไม่ให้ต่ำกว่า 0.50 บาท ตลอดเวลาที่เป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย ซึ่งจะไม่มีผลกับบริษัทจดทะเบียนเดิมที่มีพาร์ต่ำกว่า 0.50 บาทอยู่แล้ว
คุณ เกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า เกณฑ์การรับหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนเข้าซื้อขายทั้งในกระดาน SET และ mai ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอด 17 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับในช่วง 2-3 ปีหลังสุด บริษัทที่เข้าจดทะเบียนส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลง และมีผลประกอบการผ่านเกณฑ์ขั่นต่ำไม่สูงนัก ทำให้หลายบริษัทมีผล ขาดทุนหลังเข้าจดทะเบียนได้ไม่นาน
ส่วนราคาพาร์ ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทนั้น ประเมินแล้วว่าเป็นระดับที่เหมาะสม ไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป และเป็นระดับผู้ ลงทุนซื้อขายได้คล่องตัวกว่า
ด้านความเห็นหนึ่งในคณะกรรมการชมรมวาณิชธนกิจ คุณมนตรี ศรไพศาล ซีอีโอ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมบอร์ดวาณิชธนกิจในช่วงปลายเดือน ก.พ.นี้ เพื่อหาข้อสรุปกลับมาเสนอให้บอร์ดตลาด และ ก.ล.ต.เป็นขั้นตอนต่อไป ส่วนตัวเล็งเห็นว่า มาตรการดูแลความร้อนแรงของตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบันเพียงพออยู่แล้ว และยังไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุง
ก่อนหน้านี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยกำหนดพาร์ขั่นต่ำไว้ที่ 10 บาท แต่ได้ยกเลิกไปเมื่อปี 2543 และไม่มีการกำหนดพาร์ขั้นต่ำไว้ เนื่องจากต้องการเพิ่มสถาพคล่องในการซื้อขายและกระจายการถือหุ้นในวงกว้าง แต่ปัจจุบัน บริษัทจดทะเบียนบางแห่ง ที่มีสภาพคล่องสูง แต่ใช้วิธีการแตกพาร์ไม่เหมาะกับวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้ลงทุนสับสน นำไปสู่การเก็งกำไรได้ง่าย โดยเฉพาะพาร์ไม่เกิน 0.50 บาท ที่มีชื่อติด cash balance เป็นจำนวนมาก
ปัจจุบัน มีบริษัทจดทะเบียนที่มีพาร์ไม่เกิน 0.50 บาท อยู่ 18% หรือประมาณ 130 บริษัท
http://goo.gl/xjm4BM
.....................
กฏราคาพาร์ ห้ามต่ำกว่า 0.50 นี้น่าจะบังคับใช้กับหุ้นที่อยู่ในตลาดเดิมด้วยนะ
เห็นทุกวันนี้ หุ้นบางตัว เหลือพาร์แค่ 0.10 เอง จะว่าเพิ่มสภาพคล่องก็ไม่น่าจะใช่เพราะราคา ในตลาดมันแค่หลักหน่วยหลักสิบเอง
ไม่ใช่หลัก ร้อย หลักพัน ซักหน่อย