==เราอยู่ในโลกความจริง ความฝัน หรือในเมตริกซ์? มารู้จักและตอบปัญหานี้ด้วย หลักการของออคแคม(Occam's razor)กันดีกว่า==

==เราอยู่ในโลกความจริง ความฝัน หรือในเมตริกซ์? มารู้จักและตอบปัญหานี้ด้วย หลักการของออคแคม(Occam's razor)กันดีกว่า==







คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


ในคลิปน้องเดวิดไปหาหมอฟันมา คงโดนฤทธิ์ยาเข้าทำให้เกิดอาการแปลกๆ
ผมชอบคลิปนี้มากเพราะมันตลก ฮาและก็น่าสงสารน้องเขาจริงๆ
น้องเดวิดถามคำถามที่สำคัญว่า นี่เป็นชีวิตจริงหรือเปล่า (Is This Real Life?)


แต่ลองไปดูให้ดี คำถามนี้ Is This Real Life? เป็นคำถามสำคัญ
ที่นักปรัชญาหรือแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์ก็สนใจประเด็นนี้มาก


เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าตอนนี้เราไม่ได้กำลังฝันอยู่ มันอาจจะเป็นฝันที่เหมือนจริงมากก็ได้?



แนวคิดนี้เป็นแรงบัลดาลใจให้กับ สื่อต่างๆเช่น นวนิยายหรือหนังได้นำไปใช้เป็นพลอต


ที่ดังๆรู้จักกันดีก็เช่น



Inception


หรือ



The Matrix


ในวันนี้เราจะพยายามลงลึกถึงปัญหานี้และมารู้จักและตอบปัญหานี้ด้วย หลักการของออคแคม(Occam's razor)



----------------------------------------------







ลองมาดูคลิปนี้กันก่อน


มอเฟียสถามนีโอว่า

"อะไรคือความจริง ?"

"เราจะนิยามความจริงว่าอย่างไร?"

"เมื่อพูดถึงเกี่ยวกับสิ่งที่เรารู้สึก ได้กลิ่น ได้รส ได้เห็น
นั้นความจริงก็เป็นแค่ สัญญาณไฟฟ้าที่แปลความหมายโดยสมอง"


มอเฟียสพูดได้ถูกต้องเลย


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ที่นี้ ต่อไปผมจะลองยกตัวอย่างเพื่อง่ายแก่การอธิบายปัญหานี้


มีหนุ่มหล่อมากคนนึง ชื่อนาย ก ชอบเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ เขาชอบเล่นเกมซี่รี่ Assassin's Creed มาก

เรียกว่าเล่นครบทุกภาค ทำภารกิจSync 100%  ปืนตึกเปิดหมอกในแผนที่ครบ ตะเวนเก็บธงและสมบัติครบ
ทำภารกิจย่อยต่างๆหมดจดครบครัน





นาย ก เป็นคนที่ติดเกมมากจริงๆ





ซึ่งบางทีก็สร้างปัญหา








        เมื่อพูดถึงเรื่องวิดีโอเกมเราก็ต้องมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Virtual reality กันก่อน ภาษาไทยก็คือ ความเป็นจริงเสมือน หมายถึงสภาวะเสมือนจริงที่จำลองโดยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์ ความเป็นจริงเสมือนส่วนมากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งที่เกี่ยวกับการมองเห็น แสดงทั้งบนจอภาพหรืออุปกรณ์แสดงผลสามมิติ แต่การจำลองบางอย่างยังรวมไปถึงข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสด้วย เช่น เสียงจากลำโพงหรือหูฟัง ระบบสำหรับทำการทดลองขั้นสูงยังรวมถึงการสัมผัสเช่นการตอบสนองต่อแรงป้อนกลับ โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมเสมือนได้ทั้งการใช้อุปกรณ์นำเข้ามาตรฐานเช่น แป้นพิมพ์ หรือ เมาส์ หรือใช้อุปกรณ์หลายภาวะ เช่น ถุงมือโครงลวด แขนควบคุม หรือคันบังคับหลายทิศทาง เป็นต้น



ความเป็นจริงเสมือน (Virtual reality)



Oculus Rift อุปกรณ์Virtual reality แบบสวมที่ศีรษะ สำหรับชาวเกมเมอร์ จะออกปลายมีนา 2016


แน่นอนตอนที่นาย ก เล่นเกม เขากำลังอยู่ในสิ่งแวดล้อมเสมือน มีวัตถุเสมือนต่างๆมากมาย ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาได้เห็น
เป็นโลกเสมือนจริงที่จริงๆแล้วสร้างมาจากคอมพิวเตอร์




โลกเสมือนจริงในเกม Assassin's Creed Unity ที่นาย ก เล่น


ที่นี้ต่อไป

นาย ก อยากให้สนุกสมจริงเข้าไปอีกเขาจึงประดิษฐ์หมวกเสมือนจริง แขนเสมือนจริง และขาเสมือนจริงขึ้นมา
ไว้เล่นเกม โดยเขาไม่ต้องนั่งเก้าอี้เล่นเกมผ่านจอคอมอีกต่อไปแล้ว พอใส่หมวกเสมือนจริงหันไปทางไหน ในเกมก็จะหันไปตาม
ที่แขนเสมือนริง และขาเสมือนจริงก็มีเซนเซอร์ติดเอาไว้ เขาเดินไปไหนในเกมก็เดินแบบเขา เวลาเขาทำท่าควงดาบ ในเกมก็เป็นเขา
ถือดาบไล่ฟาดฟันทหารในเกมอย่างสนุกสมจริง นาย ก ชอบ ประสพการณ์นี้มาก




ทีนี้ต่อไป

นาย ก ข้ามไปอีกขั้น อยากสร้างตาจำลองขึ้นมา ตาจริงๆนั้นเวลาคนมองเห็นสิ่งของ แสงจะสะท้อนไปยังดวงตา เลนส์ที่ด้านหน้าของตาจะโฟกัสให้แสงนั้นตกไปบริเวณด้านหลังของตา ซึ่งมีlight-sensitive cell อยู่จำนวนมาก และเมื่อแสงตกกระทบลงไปบริเวณนี้จะไปสร้างกระแสประสาททางไฟฟ้า ซึ่งรูปแบบของมันเกิดจากสิ่งที่เราเห็น และส่งต่อไปยัง optic nerve จากดวงตาไปสู่สมอง และกลายเป็นรูปที่เราเห็นในที่สุด นั้นถ้าเรามีเทคโนโลยีที่สามารถทำได้ เรารู้วิธีการแล้ว เราก็อาจสร้างตาจำลองเลียนแบบตาจริง ส่งสัญญาณภาพไปยังสมองก็ได้ !



การทำงานของดวงตามนุษย์


ทีนี้ต่อไป

ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราจริงๆแล้วก็เป็นการแปลความหมายของสมองจากการส่ง electrical impulse เข้าไปหลักการก็คล้ายๆกับตามนุษย์ เช่นหู เราอาจจะสร้างไมค์ซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทที่เชื่อมต่อหูปกติของเราไปยังสมอง ทีนี้มีเสียงอะไรมา เราก็จะได้ยินเหมือนปกติ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์นั้นเป็นเพียงแค่การรับ electrical impulse แล้วมีการตีความหมายออกมาเป็น ภาพ เสียง กลิ่น รส และการสัมผัส



ถ้าเรามีเทคโนโลยีมากพอ อนาคต เราอาจจะทำเลียนแบบธรรมชาติได้ แม้แต่การเอาหัวสมองของมนุษย์ออกมาจากร่างกาย แล้วเอาไปใส่ในหุ่นยนต์แทน ไม่ต้องกลัวไปถ้าเรามีการส่ง electrical impulse ไปยังสมองคุณก็ยังมีประสาทสัมผัสทั้ง 5 ครบถ้วนเหมือนที่เคยมี และถ้าพัฒนาให้มีทั้งแบบการรับและส่ง electrical impulse เราก็ยังอาจสามารถเดินเหิน ทำงาน อะไรได้เหมือนในร่างกายมนุษย์จริงๆ แนวคิดนี้อาจดูเหลือเชื่อ แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเราจริงๆแล้วก็เป็นการแปลความหมายของสมองจากการส่ง electrical impulse เข้าไป และการควบคุมการเดิน หยิบจับต่างๆก็เป็นการสั่งงานด้วยกระแสไฟฟ้าในสมองหลักการก็มีแค่นั้นเอง ถ้าเรามีอุปกรณ์ที่ทำคล้ายๆแบบนี้ส่งข้อมูลติดต่อกับสมองได้ นั้นเราจะเอาสมองมาไว้ในหุ่นยนต์ก็น่าจะทำได้

บางทีเราอาจจะเพิ่มให้ตามองเห็นแบบ x-ray หรือทำให้วิ่งเร็วขึ้น มีพลังอำนาจต่างๆมากขึ้นจากเครื่องจักร อุปกรณ์ในหุ่นยนต์ เมื่อไม่มีเลือดเนื้อร่างกาย เราก็อาจจะเป็นอมตะ!




แล้วเราก็มาร้องเพลง Forever Young ของ Alphaville  ฉลองการเป็นอมตะกันเถอะ

...Forever young,
I want to be forever young.
Do you really want to live forever,
Forever, and ever?...


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



แล้วสมมุติถ้ามีคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งแรงมาก ตั้งไว้ แล้วเราเอาสายมาเสียบที่คอ คอมนี้แรงมาก และสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าต่างๆแบบที่สัมผัสทั้ง 5 ของเรา หรือแม้แต่รับกระแสไฟฟ้าจากสมอง เช่น นาย ก อาจจะนอนอยู่บนเตียงแล้วต่อเครื่องนี้ไว้ พอคิดจะขยับมือ สมองส่งคำสั่งไป แล้วก็ไปที่คอมพิวเตอร์ ทีนี้มือของนาย ก จะอยู่เฉยๆ แต่มือในโลกเสมือนจริงกำลังขยับตามคำสั่งที่สมองป้อนสู่คอมพิวเตอร์ วันที่นาย กเหนื่อย ก็อาจมาต่อเครื่องนี้ แล้วเข้าสู่โลกเสมือนจริง โลกแห่งจินตนาการ ที่สวยงาม คุณจะได้ยินเสียงดนตรีไพเราะ ได้กลิ่นหอมของดอกลาเวนเดอร์ ได้กินหูฉลามรสเด็ด ได้เห็นนางฟ้าจำแลงอยู่หลายนาง แน่นอนทั้งหมดเป็นโลกเสมือนจริง จริงๆแล้วคุณกำลังนอนอยู่ที่บนเตียง







นาย ก มัวเล่นแต่เกม ไม่สนใจสาว ทำให้สาวโกรธมาก เธอเป็นสาวสติเฟื่อง ผู้มีไอคิว 180 บอกว่า
"ฮึฮึ ในเมื่อเธอไม่สนใจฉัน สนใจ แต่เกมAssassin's creed ฉันจะให้เธอเข้าไปอยู่ในเกมซะเลย"

คืนนั้นนาย ก นอนอยู่ สาวสวยก็ย่องเข้ามา ฉีดยาสลบ เปิดกระโหลกศีรษะแล้วเอาสมองออกมาไปต่อกับคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ที่
สาวสวยพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ มันกลายเป็น สมองในถังน้ำ (Brain in a vat)



สมองในถังน้ำ (Brain in a vat)









นาย ก ฟื้นสติขึ้นมา ตอนนี้เขาเริ่มแปลกใจกับภาพที่เห็น

"นี่มันฝรั่งเศส นี่มันคือเมืองปารีส เอแต่นี่มันในเกมนี่หน่า"
ใช่แล้ว เขากำลังอยู่ในเกม Assassin's creed unity
นาย ก รู้สึกตกใจมาก เขาเข้ามาอยู่ในเกมได้อย่างไร
ทุกอย่างรอบตัวดูสมจริง เสียงที่เค้าคุ้นเคย
ระหว่างที่เค้าเดินอยู่ก็มีทหารเริ่มมองมาทางเขา
แล้วก็วิ่งไล่ตาม นาย ก ตกใจมาก
ถ้าเป็นเมื่อก่อนนาย ก คงเข้าไปสู้นัวสังหารทหารอย่างง่ายดาย
แค่ปีนตึก ย่องไปด้านหลัง กระโดดลงมา ดับเบิลคิล!
แต่เขาตกใจ เหงื่อออก ทำอะไรไม่ถูก
และออกวิ่ง แต่ไม่ทันทหารวิ่งเข้ามาแล้ว สิ่งสุดท้ายที่เขารู้สึกก็คือ
ดาบเย็นยะเยือกเสียบผ่านลำตัวของเขา และภาพต่างๆก็หายไป...


จบ

--------------------------------


เราเป็นสมองในถังน้ำ (Brain in a vat) หรือเปล่า ?



ที่นี้ก็มาสู่ประเด็นสำคัญ สมองในถังน้ำ (Brain in a vat) เป็นคำถามสำคัญในวงการปรัชญา ถ้าคอมพิวเตอร์นั้นมีพลังมาก
มากจนโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกเสมือนกันเหมือนกันเป๊ะ ทุกสิ่งที่เราเห็นในโลกความเป็นจริงไม่ต่างจากโลกเสมือนเลย
คำถามสำคัญต่อมาคือ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณไม่ได้เป็น สมองในถังน้ำ (Brain in a vat) สมมติถ้าไม่มีเหตุการณ์สาวแสนสวย
เอาสมองนาย ก ไปใส่ในถังน้ำ แต่จริงๆแล้วชีวิตทั้งหมดที่นาย ก เคยประสพมา เป็นแค่โลกเสมือนหล่ะ

สมมติว่าชีวิตเราอาจจะเป็นสมองในถังน้ำ (Brain in a vat) อยู่เสมอมาตั้งแต่แรกแล้วหล่ะ ?




คำถามที่ว่า  คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณไม่ได้เป็น สมองในถังน้ำ ในความฝัน หรือในเมตริกซ์?
คำตอบดูเหมือนว่าคือ ไม่ เราไม่รู้แน่ชัดนัก

คุณอาจจะเถียงว่า อะไร โลกที่เราอยู่นี้มันคือโลกแห่งความเป็นจริง จะเป็นโลกเสมือนได้อย่างไร
นี่มันเรื่อง สามัญสำนึกพื้นฐาน (common sense)

แต่อย่าลืม


สามัญสำนึกก็อาจจะผิดได้

สามัญสำนึกบอกเราชัดๆว่าโลกแบน แต่ความจริงมันก็กลม


ในอดีตคนเชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล สามัญสำนึกก็บอกว่าดวงอาทิตย์โคจรรอบโลก
แต่มันก็ผิด จริงๆแล้วโลกไม่ใช่ศุนย์กลางจักรวาล และโลกต่างหากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์




สามัญสำนึกบอกว่ากระดาษต้องมีสองด้านใช่ไหม

กระดาษA4 ก็มีสองด้าน กระดาษอะไรก็มีสองด้าน

มีไหมกระดาษที่มีด้านเดียว?

แน่นอนสามัญสำนึกบอกเราว่า ไม่มีหรอก กระดาษอะไรจะมีด้านเดียว



แต่



มีครับ กระดาษที่มีด้านเดียว เราเรียกมันว่า Möbius strip




-----------------------


ยังไม่จบ โปรดอ่านต่อที่ คห.14 ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 14
พอดีตั้งกระทู้ผิดเป็นกท คำถาม แทนที่จะเป็น กท สนทนา
อ่าน คห หลักในกระทู้แล้ว มาอ่าน อันนี้ คห 14 ต่อนะครับ
-------------------------------------------



จากที่แล้วมา จะเห็นว่าสามัญสำนึกบางครั้งก็เชื่อถือไม่ได้ และจากเรื่องของ นาย ก เรื่องของการรับรู้สั่งการของร่างกาย
การทำงานของดวงตา ผัสสะทั้ง 5 และสมองก็ทำให้รู้ว่า มันก็เป็นไปได้ที่ตอนนี้เราอาจจะอยู่ในโลกเสมือนอยู่


นั้นทำอย่างไรดี ปัญหานี้จะอธิบายอย่างไร?




มารู้จักและตอบปัญหานี้ด้วย หลักการของออคแคม(Occam's razor)กันดีกว่า





มีดโกนอ็อกคัม คืออะไร ผมไปไล่อ่านจากที่ต่างๆแล้ว วิกิพีเดียไทยก็อธิบายชัดเจนพอสมควร ขอคัดมาดังนี้


หลักการของออคแคม (อังกฤษ: Ockham's Razor หรือ Occam's Razor) ถูกเสนอโดยวิลเลียมแห่งออคแคม เป็นหลักการหนึ่งในปรัชญาวิทยาศาสตร์ในการเลือกทฤษฎีที่เหมาะสมและตรงกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการทดลอง

หลักการของออคแคมนี้ถูกนำไปตีความในหลายรูปแบบ โดยนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์หลายท่าน อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวถึงหลักการของออคแคมในรูปแบบที่ง่ายที่สุดได้ว่า: "เราไม่ควรสร้างข้อสมมุติฐานเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น" หรือ "ทฤษฎีไม่ควรซับซ้อนเกินความจำเป็น" นั่นคือในกรณีที่ทฤษฎี หรือคำอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ มากกว่าหนึ่งรูปแบบ สามารถอธิบาย และทำนาย สิ่งที่ได้จากการสังเกตทดลอง ได้เท่าเทียมกัน หรือไม่ต่างกันมาก เราควรจะเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุด หรือซับซ้อนน้อยที่สุดนั่นเอง

หลักการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างหนักแน่น จากนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็นอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หรือกาลิเลโอ กาลิเลอี ที่มองธรรมชาติเป็นสิ่งที่สวยงามดั่งศิลปะ




สมมติฐานว่าเราอยู่ในโลกจริงก็เป็นไปได้ สมมติฐานว่าเราอยู่ในโลกเสมือนก็เป็นไปได้ ตามความรู้สึกแล้วมันเป็นไปได้พอๆกัน นี่จึงต้องเอาหลักการของออคแคมมาใช้ มันเป็นหลักการทางปรัชญาที่มีชื่อเสียง ดังนั้น ถ้าเราแสดง 2 สมมติฐาน ซึ่งทั้งสองนั้นมีหลักฐานสนับสนุนพอๆกัน มันเป็นเหตุเป็นผลที่ควรจะเชื่อสมมติฐานที่ง่ายกว่า







ตัวอย่างเช่น เรามีกล่องสี่เหลี่ยมมีสวิตอยู่ข้างกล่องและมีหลอดไฟอยู่บนกล่อง สมมติฐานที่ 1 ของมันก็คือมีแบตเตอรรี่อยู่ข้างใน ต่อสายไฟมาที่สวิต เมื่อเรากดสวิตไฟก็ติดสว่าง ส่วนสมมติฐานอันที่ 2 ก็คือ ข้างในมีหลอดไฟอีกอันและมีเซนเซอร์แสงและก็มีแบตเตอรี่ เมื่อกดสวิทหลอดช้างในก็ติด แสงข้างในไปถูกเซนเซอร์เมื่อเซนเซอร์ตรวจจับได้ก็เปิดสวิทอีกอัน ทำให้ไฟข้างบนสว่าง


จะเห็นว่าคำอธิบายทั้งสองเป็นเหตุเป็นผลเหมือนกัน แต่ตามหลักการของออคแคม สมมติฐานที่ 1 มีคำอธิบายที่ง่ายกว่า นั้นเราควรจะเชื่อตามสมมติฐานแบบที่ 1



สมมติฐานเรื่องโลกเสมือน ต้องมีโลก 2 โลก อันหนึ่งคือโลกจริงและอีกอันคือโลกเสมือน ขั้นตอนการทำโลกเสมือนให้สมจริงก็ยากมากและซับซ้อน ขณะที่สมมติฐานเรื่องว่าโลกนี้เป็นโลกจริง ต้องการเพียงแค่ 1 โลก นั้นคำอธิบายแบบหลังนั้นง่ายกว่า ตามหลักการของออคแคม สมมติฐานที่ 2 มีคำอธิบายที่ง่ายกว่า นั้นเราควรจะเชื่อตามสมมติฐานแบบที่ 2



โลกจริง



ตอนนี้คุณเริ่มอุ่นใจขึ้นแล้วใช่ไหมครับ แต่เดี๋ยวก่อน นักปรัชญาบางท่านก็ยังเห็นไม่ตรงกันในเรื่องนี้
การตีความว่าสมมติฐานไหนง่ายกว่า คือ สมมติฐานเรื่องเราอยู่ในโลกจริงง่ายกว่า
เพราะมี วัตถุทางกายภาพน้อยกว่า ส่วนนักปรัชญาบางท่านมองว่า สมมติฐานว่าเราอยู่ในโลกเสมือน
เป็นคำอธิบายที่ง่ายกว่าเพราะ มีจิตใจน้อยกว่า อธิบายคือพ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ผู้คนเป็นแค่แบบจำลอง
ทางคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องมี จิตใจจริงๆ นั้นจึงง่ายกว่า

แน่นอนคำถามนี้ยังคงถามต่อไป เราอาจจะตอบคำถามนี้ได้โดยใช้หลักการของออคแคม แต่เรื่องนี้ก็ยังคง
เป็นที่ถกเถียงต่อไป เราอาจจะต้องรออนาคตให้มีความรู้มากขึ้น ให้เครื่องมือ เทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ปริศนานี้อาจถูก
ไขในอนาคตก็ได้



แต่ตอนนี้คุณคิดอย่างไร ? เราอยู่ในโลกความจริง ความฝัน หรือในเมตริกซ์?  ยินดีสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันต่อนะครับ






ช่วงนี้เรียนปอโท ฟิสิกส์อยู่ อาจจะไม่ค่อยว่างมาเขียนมากนัก
แต่ถ้ามีโอกาสก็จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลกันใหม่
ขอขอบคุณที่มาอ่านกันครับ แล้วไว้โอกาสหน้าค่อยมาเจอกันใหม่
สำหรับกระทู้นี้ก็ขอจบเพียงแค่นี้



ก่อนจากกันขอฝากคำคมจากท่านอัลเบิต ไอนสไตน์ ฉลองการทำนาย Gravitational wave ที่พึ่งยืนยันการค้นพบไป



"ทุกๆวันข้าพเจ้าเตือนตัวเองนับล้านครั้งว่า
ชีวิตทั้งภายในและภายนอกของข้าพเจ้านี้
ขึ้นอยู่กับแรงงานของผู้อื่น
ทั้งผู้ยังมีชีวิตและผู้ซึ่งสิ้นชีวิตไปแล้ว
ข้าพเจ้าต้องใช้แรงงานตนเอง
มอบคืนในสัดส่วนที่เท่ากัน
ขณะที่ข้าพเจ้าเป็นผู้รับ
และยังคงเป็นผู้รับตลอดเวลา..."
-Albert Einstein









สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ


--------------
อ้างอิง

เนื้อหาหลักจาก The Philosophy Files โดย Stephen Law, Daniel Postgate

-https://en.wikipedia.org/wiki/Simulation_hypothesis
-https://en.wikipedia.org/wiki/Occam%27s_razor
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brain_in_a_vat
-https://en.wikipedia.org/wiki/Oculus_Rift
-ejournals.swu.ac.th/index.php/jfofa/article/download/1813/1873
-https://th.wikipedia.org
-http://www.iep.utm.edu/brainvat/
-พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย ปรัชญา = English-Thai dictionary of philosophy (Ancient - medieval - modern) -เจษฎา ทองรุ่งโรจน์
-http://www.simulation-argument.com/faq.html



จบแล้วครับ ^_^
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่