คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
- "ถ้าเป็นสิ่งที่ควรช่วยอย่างมากเพราะผู้อื่นเกิดทุกข์เดือดร้อนชัดเจน และสามารถช่วยได้โดยง่าย" แล้วปรากฏว่าคนที่ประสบเหตุการณ์นั้นเจตนาไม่ช่วย,หรือนิ่งดูดาย,ไม่สนใจ,หรือมายึดถือนึกคิดว่าควรปล่อยวางไปตามกรรมของเขา ฯลฯ กรณีแบบนี้ยังไม่ใช่อุเบกขาหรือการมีจิตใจที่บริสุทธิ์ตามหลักพระโอวาทปาฏิโมกข์ครับ และนอกจากจะไม่เป็นการกระทำกุศลที่พึงควรแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปให้เกิดทุกข์ในใจแก่ผู้เกี่ยวข้องตามมาอีก(เช่นเป็นบาปจากโมหะความหลงกรุ้มกริ่มหรือเฉยเมยต่อความทุกข์ของผู้อื่น,บาปจากโทสะความรำคาญต่อเหตุการณ์ของผู้อื่น,บาปจากโมหะความเขลาที่นึกคิดผิดครรลองโดยชอบ ฯลฯ)
และกรณีแบบนี้นั้นถือเป็นบาปกรรมอันหนักได้เพราะครบองค์ประกอบตามข้อเท็จจริงอริยสัจที่เป็นจิตกิเลสสมุทัย,และผลความทุกข์ ที่หนักชัดเจน (และถ้าเกิดความรู้สึกสุขในเหตุการณ์อย่างนี้ด้วย นอกจากจะก่อบาปใหม่แล้ว ยังเป็นการรับผลบุญเก่าแต่ปางใดให้สิ้นสุดไปแล้วระดับหนึ่ง)
- แต่ถ้าชีวิตนั้นไม่เดือดร้อนมากนักแล้วไม่ช่วย ทั้งที่ควรช่วยและช่วยได้โดยง่าย กรณีแบบนี้ก็จะมีความเป็นบาปที่เบาลงตามข้อเท็จจริงของอริยสัจเหตุสมุทัยที่ชัดเจน แต่ผลความทุกข์ยังไม่หนักชัดเจน
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนหนัก แล้วไม่อาจช่วยได้ ต้องปล่อยวางเป็นสำคัญ กรณีแบบนี้ก็จะไม่เป็นการก่อบาป โดยเป็นข้อเท็จจริงตามหลักอริยสัจที่ไม่มีเจตนาอันเป็นกิเลสสมุทัย (แม้จะเกิดผลความทุกข์ที่เกี่ยวข้องอย่างหนัก) และถ้าในใจนั้นตระหนักดีว่าหากช่วยเหลือได้ก็ควรช่วยเหลือ นั้นย่อมเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนในใจซึ่งจะเป็นบุญโดยลหุกรรม และอาจก่อเป็นกายกรรมวจีกรรมที่เป็นบุญอันหนักยิ่งขึ้นได้ในโอกาสอื่น
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนหนัก แล้วไม่อาจช่วยได้ และตัวเองก็เกิดทุกข์หนักในใจตามไปด้วย กรณีแบบนี้ก็จะไม่เป็นการก่อบาป แต่เป็นการรับทุกข์ซึ่งคือการรับผลบาปผลกรรมแต่ปางใดไปแล้วระดับหนึ่ง และถ้าในใจนั้นตระหนักดีว่าหากช่วยเหลือได้ก็ควรช่วยเหลือ นั้นย่อมเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนในใจซึ่งเป็นบุญโดยลหุกรรม และอาจก่อเป็นกายกรรมวจีกรรมที่เป็นบุญอันหนักยิ่งขึ้นได้ในโอกาสอื่น
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนมาก แล้วมีเจตนาช่วยเหลือแต่ช่วยอย่างโง่เขลาหรือไม่ช่วยให้บรรเทาทุกข์ตามที่ควร กรณีแบบนี้ก็จะเป็นการก่อบาปและก่อบุญที่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงอันเป็นจิตสมุทัยความเขลาความหลง,จิตมรรคที่ยังมีกุศลช่วยเหลือ,ผลความทุกข์,ผลการบรรเทาทุกข์
- ถ้ายังไม่มีใครหรือชีวิตใดๆเดือดร้อนเลย แต่ในใจคนนั้นมีทิฏฐิที่ไม่สนใจใยดีจะช่วยใครทั้งนั้น กรณีแบบนี้ก็จะเป็นบาปโดยลหุกรรม เพราะเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนแต่ยังไม่ก่อเกิดผลความทุกข์ขึ้นมา และถ้ามโนกรรมนั้นเกิดอาการสุขทุกข์ในใจของตัวเองด้วยก็เป็นการรับผลบาปผลบุญเพิ่มเติมกันไป อย่างไรก็ตามมโนกรรมที่ไม่ดีไม่งามนั้นสามารถยังผลไปสู่กายกรรมวจีกรรมจนกลายเป็นบาปกรรมที่หนักได้ ไม่ควรประมาทอย่างยิ่งนั่นเอง
และกรณีแบบนี้นั้นถือเป็นบาปกรรมอันหนักได้เพราะครบองค์ประกอบตามข้อเท็จจริงอริยสัจที่เป็นจิตกิเลสสมุทัย,และผลความทุกข์ ที่หนักชัดเจน (และถ้าเกิดความรู้สึกสุขในเหตุการณ์อย่างนี้ด้วย นอกจากจะก่อบาปใหม่แล้ว ยังเป็นการรับผลบุญเก่าแต่ปางใดให้สิ้นสุดไปแล้วระดับหนึ่ง)
- แต่ถ้าชีวิตนั้นไม่เดือดร้อนมากนักแล้วไม่ช่วย ทั้งที่ควรช่วยและช่วยได้โดยง่าย กรณีแบบนี้ก็จะมีความเป็นบาปที่เบาลงตามข้อเท็จจริงของอริยสัจเหตุสมุทัยที่ชัดเจน แต่ผลความทุกข์ยังไม่หนักชัดเจน
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนหนัก แล้วไม่อาจช่วยได้ ต้องปล่อยวางเป็นสำคัญ กรณีแบบนี้ก็จะไม่เป็นการก่อบาป โดยเป็นข้อเท็จจริงตามหลักอริยสัจที่ไม่มีเจตนาอันเป็นกิเลสสมุทัย (แม้จะเกิดผลความทุกข์ที่เกี่ยวข้องอย่างหนัก) และถ้าในใจนั้นตระหนักดีว่าหากช่วยเหลือได้ก็ควรช่วยเหลือ นั้นย่อมเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนในใจซึ่งจะเป็นบุญโดยลหุกรรม และอาจก่อเป็นกายกรรมวจีกรรมที่เป็นบุญอันหนักยิ่งขึ้นได้ในโอกาสอื่น
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนหนัก แล้วไม่อาจช่วยได้ และตัวเองก็เกิดทุกข์หนักในใจตามไปด้วย กรณีแบบนี้ก็จะไม่เป็นการก่อบาป แต่เป็นการรับทุกข์ซึ่งคือการรับผลบาปผลกรรมแต่ปางใดไปแล้วระดับหนึ่ง และถ้าในใจนั้นตระหนักดีว่าหากช่วยเหลือได้ก็ควรช่วยเหลือ นั้นย่อมเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนในใจซึ่งเป็นบุญโดยลหุกรรม และอาจก่อเป็นกายกรรมวจีกรรมที่เป็นบุญอันหนักยิ่งขึ้นได้ในโอกาสอื่น
- ถ้าชีวิตอื่นกำลังทุกข์เดือดร้อนมาก แล้วมีเจตนาช่วยเหลือแต่ช่วยอย่างโง่เขลาหรือไม่ช่วยให้บรรเทาทุกข์ตามที่ควร กรณีแบบนี้ก็จะเป็นการก่อบาปและก่อบุญที่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงอันเป็นจิตสมุทัยความเขลาความหลง,จิตมรรคที่ยังมีกุศลช่วยเหลือ,ผลความทุกข์,ผลการบรรเทาทุกข์
- ถ้ายังไม่มีใครหรือชีวิตใดๆเดือดร้อนเลย แต่ในใจคนนั้นมีทิฏฐิที่ไม่สนใจใยดีจะช่วยใครทั้งนั้น กรณีแบบนี้ก็จะเป็นบาปโดยลหุกรรม เพราะเป็นมโนกรรมที่ชัดเจนแต่ยังไม่ก่อเกิดผลความทุกข์ขึ้นมา และถ้ามโนกรรมนั้นเกิดอาการสุขทุกข์ในใจของตัวเองด้วยก็เป็นการรับผลบาปผลบุญเพิ่มเติมกันไป อย่างไรก็ตามมโนกรรมที่ไม่ดีไม่งามนั้นสามารถยังผลไปสู่กายกรรมวจีกรรมจนกลายเป็นบาปกรรมที่หนักได้ ไม่ควรประมาทอย่างยิ่งนั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
การนิ่งดูดายนั้นเป็นแนวคิดที่ถูกต้องตามหลักกฎแห่งกรรมหรือไม่
ทุกท่านในที่นี้คงจะเคยเจอปัญหาที่ว่า พอเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคมแล้วเรียกร้องหาความเป็นธรรม คำตอบที่ได้รับกลับกลายเป็นว่า "ผู้ที่กระทำผิด เดี๋ยวกรรมก็จะตามสนองเขาเองนั่นแหละ"
หากจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายขึ้น สมมติว่าลูกสาวคุณถูกข่มขืน แล้วคุณวิ่งไปแจ้งตำรวจ ตำรวจกลับบอกว่า "ผมไม่ต้องตามจับผู้ร้ายหรอก เดี๋ยวกรรมก็ตามสนองเขาเอง ตัวคุณเองก็ต้องรู้จักปล่อยวางนะครับ ลูกคุณโดนข่มขืนไปแล้วก็ทำให้เขากลับมาเป็นอย่างเดิมไม่ได้ อย่าไปยึดติดอะไรกับมันมาก"
ท่านคิดว่าข้ออ้างแบบนี้ยอมรับได้หรือเปล่าครับ และมันถูกต้องตามหลักกฎแห่งกรรมหรือเปล่า หากไม่ถูกต้องแล้วควรจะแย้งอย่างไรดี