วันนี้มีโอกาสที่จะนำนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ไป English Camp โดยทำการทดสอบประมวลความรู้ทั้ง Math Science English เข้าด้วยกัน ให้รู้จักสร้างสรรค์และรู้จักการใช้เงินอย่างพอเพียง โดยมีทีมงานทั้งครูต่างประเทศและครูไทย ผมเรียกเกมส์นี้ว่า Sinking Ship จมเรือโจรสลัด อิอิ
Concept คือ ให้ประดิษฐ์เรือหรือแพที่สามารถบรรทุกเหรียญบาทได้ให้มากที่สุดบวกกับจำนวนเงินเหลือนั่นคือแต้มที่นักเรียนต้องทำให้ได้ กลุ่มนั้นจะชนะ
มาดูกติกาและวิธีการเล่นดีกว่า
ขั้นตอนการเล่นเกมส์ :
1. เราจะแบ่งทีมออกเป็น 10 ทีม ในแต่ละทีมจะมีหัวหน้าและผู้ถือเงิน
2. ในแต่ละทีมจะได้เงิน 300 บาท
“ ท่านจะสร้างของสิ่งหนึ่งที่ลอยน้ำและสามารถบรรจุเหรียญบาทได้มากที่สุด ของที่สร้างขึ้นมาด้วยเงิน 300 บาท และเสร็จสิ้นภายใน 1 ชั่วโมง ทีมไหนสามารถบรรจุเหรียญได้มากที่สุดและเหลือเงินมากที่สุด …..คุณชนะ”
3. ในแต่ละทีมจะวางแผนและจะทำอย่างไรที่สามารถลอยน้ำและบรรจุเหรียญได้ โดยซื้อของที่จะใช้ประดิษฐ์จากคุณครู
4. คณะครูจะเตรียมอุปกรณ์เพื่อขายและแสดงราคาในแต่ละประเภท
5. ในแต่ละทีมสามารถทดสอบการลอยน้ำได้ 1 ครั้ง และทดสอบได้เฉพาะช่วงเวลา นาทีที่ 30 - นาทีที่ 40 ครูจะเตรียมถังน้ำหรืออ่างน้ำให้ทดสอบ
6. เมื่อหมดเวลาการทำ ให้แต่ละทีมนำมาลอยน้ำ ทีละทีม ครูจะใส่เหรียญทีละเหรียญในของที่นักเรียนประดิษฐ์ “เหรียญสุดท้ายที่ใส่แล้วทำให้จมจะไม่นับเหรียญนั้น”
7. จำนวนเงินที่เหลือจากการซื้อ บวกกับ จำนวนเหรียญที่สามารถใส่ลงไปได้ รวมกันคือคะแนน
ตัวอย่างเช่น :
ทีมถาดของคุณครูสามารถบรรจุได้ 56 เหรียญ + เงินเหลือ 78 บาท = 134 คะแนน
มาดูรูปเงินที่จะใช้เลยดีกว่าครับ
คราวนี้มาดูรูปยาวๆเมื่อแต่ละทีมปรึกษารูปแบบการทำแล้วก็จะมีหนึ่งในทีมจะมาซื้อของที่ครูเตรียมไว้เป็นอุปกรณ์ที่มี กระดาษ เชือก ไม้ไอติม ลูกโป่ง ดินน้ำมัน เป็นต้น นักเรียนจะมาสนทนาพูดภาษาอังกฤษกับพ่อค้าก็คือครูเป็นภาษาอังกฤษ
หลังจากที่ประดิษฐ์ก็เปิดโอกาสให้ทดสอบ นาทีที่ 30-40 เพื่อที่จะให้เขาได้แก้ไขส่วนที่บกพร่องแล้วยังเปิดโอกาสให้ใช้เงินเพื่อซ่อมแซมได้อีกเมื่อลอยน้ำแล้วก่อนหมดเวลา 1 ชั่วโมง
แต่รอบนี้ปีนี้ไม่มีใครขอลอง ขอหมดเวลา 1 ชั่วโมงแล้วแข่งขันเลยครับ
และรูปนี้
ชนะเลิศด้วยจำนวนเหรียญ 300 เหรียญและเหลือเงิน 11 บาท
ได้คะแนน 311 คะแนน
ทีมอื่นๆ สมมติใช้ไม้ไอติม อันละ 15 บาท ซื้อไป 8 อัน ก็ 120 บาทแต่บรรทุกได้ 30 กว่าเหรียญก็จม อยู่ที่ปัจจัยการจะสร้างยังไงให้รับน้ำหนักได้มากที่สุดและรักษาสมดุลประคองตัวในน้ำได้
อยากให้ครูที่อ่านทดลองนำไปใช้กับการเรียนการสอนคิดว่าเกิดผลที่ดีครับ นักเรียนสนุกด้วย เมื่อใช้กิจกรรมนอกห้องเรียน
การสอนแบบบูรณาการ Math Science English โดยใช้การแข่งขันสร้างสรรค์อิงกับเศษฐกิจพอเพียง
Concept คือ ให้ประดิษฐ์เรือหรือแพที่สามารถบรรทุกเหรียญบาทได้ให้มากที่สุดบวกกับจำนวนเงินเหลือนั่นคือแต้มที่นักเรียนต้องทำให้ได้ กลุ่มนั้นจะชนะ
มาดูกติกาและวิธีการเล่นดีกว่า
ขั้นตอนการเล่นเกมส์ :
1. เราจะแบ่งทีมออกเป็น 10 ทีม ในแต่ละทีมจะมีหัวหน้าและผู้ถือเงิน
2. ในแต่ละทีมจะได้เงิน 300 บาท
“ ท่านจะสร้างของสิ่งหนึ่งที่ลอยน้ำและสามารถบรรจุเหรียญบาทได้มากที่สุด ของที่สร้างขึ้นมาด้วยเงิน 300 บาท และเสร็จสิ้นภายใน 1 ชั่วโมง ทีมไหนสามารถบรรจุเหรียญได้มากที่สุดและเหลือเงินมากที่สุด …..คุณชนะ”
3. ในแต่ละทีมจะวางแผนและจะทำอย่างไรที่สามารถลอยน้ำและบรรจุเหรียญได้ โดยซื้อของที่จะใช้ประดิษฐ์จากคุณครู
4. คณะครูจะเตรียมอุปกรณ์เพื่อขายและแสดงราคาในแต่ละประเภท
5. ในแต่ละทีมสามารถทดสอบการลอยน้ำได้ 1 ครั้ง และทดสอบได้เฉพาะช่วงเวลา นาทีที่ 30 - นาทีที่ 40 ครูจะเตรียมถังน้ำหรืออ่างน้ำให้ทดสอบ
6. เมื่อหมดเวลาการทำ ให้แต่ละทีมนำมาลอยน้ำ ทีละทีม ครูจะใส่เหรียญทีละเหรียญในของที่นักเรียนประดิษฐ์ “เหรียญสุดท้ายที่ใส่แล้วทำให้จมจะไม่นับเหรียญนั้น”
7. จำนวนเงินที่เหลือจากการซื้อ บวกกับ จำนวนเหรียญที่สามารถใส่ลงไปได้ รวมกันคือคะแนน
ตัวอย่างเช่น :
ทีมถาดของคุณครูสามารถบรรจุได้ 56 เหรียญ + เงินเหลือ 78 บาท = 134 คะแนน
มาดูรูปเงินที่จะใช้เลยดีกว่าครับ
คราวนี้มาดูรูปยาวๆเมื่อแต่ละทีมปรึกษารูปแบบการทำแล้วก็จะมีหนึ่งในทีมจะมาซื้อของที่ครูเตรียมไว้เป็นอุปกรณ์ที่มี กระดาษ เชือก ไม้ไอติม ลูกโป่ง ดินน้ำมัน เป็นต้น นักเรียนจะมาสนทนาพูดภาษาอังกฤษกับพ่อค้าก็คือครูเป็นภาษาอังกฤษ
หลังจากที่ประดิษฐ์ก็เปิดโอกาสให้ทดสอบ นาทีที่ 30-40 เพื่อที่จะให้เขาได้แก้ไขส่วนที่บกพร่องแล้วยังเปิดโอกาสให้ใช้เงินเพื่อซ่อมแซมได้อีกเมื่อลอยน้ำแล้วก่อนหมดเวลา 1 ชั่วโมง
แต่รอบนี้ปีนี้ไม่มีใครขอลอง ขอหมดเวลา 1 ชั่วโมงแล้วแข่งขันเลยครับ
และรูปนี้
ชนะเลิศด้วยจำนวนเหรียญ 300 เหรียญและเหลือเงิน 11 บาท
ได้คะแนน 311 คะแนน
ทีมอื่นๆ สมมติใช้ไม้ไอติม อันละ 15 บาท ซื้อไป 8 อัน ก็ 120 บาทแต่บรรทุกได้ 30 กว่าเหรียญก็จม อยู่ที่ปัจจัยการจะสร้างยังไงให้รับน้ำหนักได้มากที่สุดและรักษาสมดุลประคองตัวในน้ำได้
อยากให้ครูที่อ่านทดลองนำไปใช้กับการเรียนการสอนคิดว่าเกิดผลที่ดีครับ นักเรียนสนุกด้วย เมื่อใช้กิจกรรมนอกห้องเรียน