มนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์
แต่มักทำกรรมอันส่งผลเป็นทุกข์
นั่นเพราะมนุษย์มี อวิชชา คือ ความไม่รู้
ไม่รู้อะไร? ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ความเป็นธรรมชาติของทุกข์ นั้นเป็นอย่างไร
และไม่รู้ว่าจะดับทุกข์ ได้อย่างไร
ดังนั้น เมื่อมนุษย์รักในความสุข จึงพยายามแสวงหาความสุข
อยู่เสมอ ซึ่งความสุขนั้น มีความเป็นธรรมชาติ คือ ไม่เที่ยง
มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป นั้นคือ ทุกข์
ในเมื่อสิ่งที่ทำแล้วเป็นสุข ไม่สามารถสร้างความสุขให้ได้อีกต่อไป
ก็เริ่มแสวงหาความสุขจากสิ่งอื่น ไม่มีอันจบสิ้น
ทำให้ผลจากการแสวงหาความสุขนั้น ได้ผลเป็นทุกข์ อยู่เสมอ
ส่วน ทุกข์ นั้นถึงแม้ว่า เราจะเกลียด แต่ก็ไม่สามารถจะหลบเลี่ยง
หลีกหนีไปได้ เพราะทุกสิ่งในโลกนั้นมีธรรมชาติ คือ ไม่เที่ยง
มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป นั้นคือ ทุกข์ ซึ่งจะต้องเผชิญอยู่เสมอ
ลองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ทุกสิ่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย และเมื่อถึงเวลาหนึ่งไม่ว่าเร็ว หรือช้า
สิ่งเหล่านั้นก็ต้อง กลายสภาพ หรือสูญสลายไป
แม้แต่ร่างกายเรา ก็เช่นกัน
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราจะมี "ความสุขกับชีวิต" ได้อย่างไร
ลองมาดู ๓ ข้อ ที่จะทำให้เรามี “ความสุขกับชีวิต”
๑. ไม่กระทำอะไรที่ส่งผลเป็นทุกข์
นั่นก็คือการไม่ทำชั่ว แล้วการทำชั่วคืออะไร?
ในเมื่อมนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์ ดังนั้น
การทำให้ผู้อื่น หรือ ตัวเรา ซึ่งเป็นมนุษย์ ได้รับความเดือดร้อน เป็นทุกข์
ไม่ว่าด้วยการกระทำ ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
นี้คือการกระทำชั่ว นี้คือการกระทำซึ่งส่งผลเป็นทุกข์
ทั้งนี้ รวมไปถึงการกระทำต่อสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ เพราะ
สิ่งเหล่านั้นก็ รักสุข เกลียดทุกข์ ด้วยเช่นกัน
๒. แสวงหาความสุขด้วยวิธีที่ถูกต้อง ?
แน่นอนว่าเมื่อมีสุข ย่อมมีทุกข์ เพราะทุกข์เป็นผล จากการที่ไม่สามารถ
รักษาความสุขไว้ได้ เนื่องจากมัน ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป เป็นธรรมดา
ดังนั้น การแสวงหาความสุขด้วยการกระทำในสิ่งที่ทำให้มีความสุขมาก
แต่ส่งผลเป็นทุกข์น้อย จึงเป็นวิธีแสวงหาความสุขที่ถูกต้อง
ซึ่งนั่นก็คือ การทำดี แล้วการทำดีคืออะไร?
ในเมื่อมนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์ ดังนั้น
การทำให้ผู้อื่น หรือ ตัวเรา ซึ่งเป็นมนุษย์ ได้รับความสบาย เป็นสุข
ไม่ว่าด้วยการกระทำ ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
ก็คือการกระทำดี คือการกระทำในสิ่งที่ทำให้มีความสุขมาก แต่ส่งผลเป็นทุกข์น้อย
ทั้งนี้ รวมไปถึงการกระทำต่อสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ เพราะ
สิ่งเหล่านั้นก็ รักสุข เกลียดทุกข์ ด้วยเช่นกัน
๓. ทำจิตใจให้ไม่ก่อความทุกข์ ?
เคยไหมที่เรามีเรื่องที่ทุกข์ ซึ่งมักจะเป็นการสูญเสีย
คนที่เรารัก หรือของที่เรารัก
เมื่อในเวลาที่สูญเสีย เราก็ทุกข์ เมื่อเวลาผ่านมาเรานึกถึงอีกเราก็ทุกข์
เมื่อนึกถึงเวลาที่เคยมีความสุขด้วยกัน เราก็สุข แต่แล้ว มันก็กลับเป็นทุกข์
เพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้อีก
ความทุกข์เหล่านี้ เกิดขึ้น เพราะเราไม่ได้ชำระจิตของเราให้บริสุทธิ์
ไม่ฝึกจิตของเราให้รู้จักสลัดความทุกข์ที่ผ่านเข้ามา ให้หมดไป ให้สิ้นไป
ไม่ฝึกจิตของเราให้มีปรกติ คิดในเรื่องที่จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์
ไม่ฝึกจิตของเราให้มองเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง
ซึ่งการฝึกนั้น ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน แต่จำเป็นต้องตั้งมั่น อดทน
และฝึกด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อการเจริญสติ และสมาธิ
ถ้าการเจริญสติ และสมาธิ นั้นยังรู้สึกว่าเข้าใจยาก ไม่พร้อม
หรือไม่รู้ว่าคืออะไร เริ่มอย่างไร ฝึกที่ไหน หรือวิธีไหนที่ถูกต้อง
ก็เพียงหมั่นฝึกทำข้อ ๑.ละชั่ว และฝึกทำข้อ ๒.ทำดี ให้สม่ำเสมอ
อย่างตั้งมั่น และอดทน ไปก่อน
เมื่อทำไปนานพอ มากพอ ถึงจุดหนึ่ง คุณจะพบว่า
มีเรื่องดี ๆ ผ่านมาในชีวิตมากขึ้น
มีสิ่งดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
มีคนดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
มีโอกาสดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
และมี “ความสุขกับชีวิต” มากขึ้น มากขึ้น ตลอดเวลา
มนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์ แต่มักทำกรรมอันส่งผลเป็นทุกข์
แต่มักทำกรรมอันส่งผลเป็นทุกข์
นั่นเพราะมนุษย์มี อวิชชา คือ ความไม่รู้
ไม่รู้อะไร? ไม่รู้ ไม่เข้าใจว่า ความเป็นธรรมชาติของทุกข์ นั้นเป็นอย่างไร
และไม่รู้ว่าจะดับทุกข์ ได้อย่างไร
ดังนั้น เมื่อมนุษย์รักในความสุข จึงพยายามแสวงหาความสุข
อยู่เสมอ ซึ่งความสุขนั้น มีความเป็นธรรมชาติ คือ ไม่เที่ยง
มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป นั้นคือ ทุกข์
ในเมื่อสิ่งที่ทำแล้วเป็นสุข ไม่สามารถสร้างความสุขให้ได้อีกต่อไป
ก็เริ่มแสวงหาความสุขจากสิ่งอื่น ไม่มีอันจบสิ้น
ทำให้ผลจากการแสวงหาความสุขนั้น ได้ผลเป็นทุกข์ อยู่เสมอ
ส่วน ทุกข์ นั้นถึงแม้ว่า เราจะเกลียด แต่ก็ไม่สามารถจะหลบเลี่ยง
หลีกหนีไปได้ เพราะทุกสิ่งในโลกนั้นมีธรรมชาติ คือ ไม่เที่ยง
มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป นั้นคือ ทุกข์ ซึ่งจะต้องเผชิญอยู่เสมอ
ลองดูสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา ทุกสิ่งนั้น มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
ไม่ว่าจะมาก หรือน้อย และเมื่อถึงเวลาหนึ่งไม่ว่าเร็ว หรือช้า
สิ่งเหล่านั้นก็ต้อง กลายสภาพ หรือสูญสลายไป
แม้แต่ร่างกายเรา ก็เช่นกัน
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว เราจะมี "ความสุขกับชีวิต" ได้อย่างไร
ลองมาดู ๓ ข้อ ที่จะทำให้เรามี “ความสุขกับชีวิต”
๑. ไม่กระทำอะไรที่ส่งผลเป็นทุกข์
นั่นก็คือการไม่ทำชั่ว แล้วการทำชั่วคืออะไร?
ในเมื่อมนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์ ดังนั้น
การทำให้ผู้อื่น หรือ ตัวเรา ซึ่งเป็นมนุษย์ ได้รับความเดือดร้อน เป็นทุกข์
ไม่ว่าด้วยการกระทำ ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
นี้คือการกระทำชั่ว นี้คือการกระทำซึ่งส่งผลเป็นทุกข์
ทั้งนี้ รวมไปถึงการกระทำต่อสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ เพราะ
สิ่งเหล่านั้นก็ รักสุข เกลียดทุกข์ ด้วยเช่นกัน
๒. แสวงหาความสุขด้วยวิธีที่ถูกต้อง ?
แน่นอนว่าเมื่อมีสุข ย่อมมีทุกข์ เพราะทุกข์เป็นผล จากการที่ไม่สามารถ
รักษาความสุขไว้ได้ เนื่องจากมัน ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลง มีดับไป เป็นธรรมดา
ดังนั้น การแสวงหาความสุขด้วยการกระทำในสิ่งที่ทำให้มีความสุขมาก
แต่ส่งผลเป็นทุกข์น้อย จึงเป็นวิธีแสวงหาความสุขที่ถูกต้อง
ซึ่งนั่นก็คือ การทำดี แล้วการทำดีคืออะไร?
ในเมื่อมนุษย์มีปรกติ รักสุข เกลียดทุกข์ ดังนั้น
การทำให้ผู้อื่น หรือ ตัวเรา ซึ่งเป็นมนุษย์ ได้รับความสบาย เป็นสุข
ไม่ว่าด้วยการกระทำ ทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ
ก็คือการกระทำดี คือการกระทำในสิ่งที่ทำให้มีความสุขมาก แต่ส่งผลเป็นทุกข์น้อย
ทั้งนี้ รวมไปถึงการกระทำต่อสิ่งที่ไม่ใช่ มนุษย์ เพราะ
สิ่งเหล่านั้นก็ รักสุข เกลียดทุกข์ ด้วยเช่นกัน
๓. ทำจิตใจให้ไม่ก่อความทุกข์ ?
เคยไหมที่เรามีเรื่องที่ทุกข์ ซึ่งมักจะเป็นการสูญเสีย
คนที่เรารัก หรือของที่เรารัก
เมื่อในเวลาที่สูญเสีย เราก็ทุกข์ เมื่อเวลาผ่านมาเรานึกถึงอีกเราก็ทุกข์
เมื่อนึกถึงเวลาที่เคยมีความสุขด้วยกัน เราก็สุข แต่แล้ว มันก็กลับเป็นทุกข์
เพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นไม่สามารถหวนกลับคืนมาได้อีก
ความทุกข์เหล่านี้ เกิดขึ้น เพราะเราไม่ได้ชำระจิตของเราให้บริสุทธิ์
ไม่ฝึกจิตของเราให้รู้จักสลัดความทุกข์ที่ผ่านเข้ามา ให้หมดไป ให้สิ้นไป
ไม่ฝึกจิตของเราให้มีปรกติ คิดในเรื่องที่จะไม่ก่อให้เกิดทุกข์
ไม่ฝึกจิตของเราให้มองเห็นตัวเราตามที่เป็นจริง
ซึ่งการฝึกนั้น ไม่ยาก ไม่ซับซ้อน แต่จำเป็นต้องตั้งมั่น อดทน
และฝึกด้วยวิธีที่ถูกต้อง เพื่อการเจริญสติ และสมาธิ
ถ้าการเจริญสติ และสมาธิ นั้นยังรู้สึกว่าเข้าใจยาก ไม่พร้อม
หรือไม่รู้ว่าคืออะไร เริ่มอย่างไร ฝึกที่ไหน หรือวิธีไหนที่ถูกต้อง
ก็เพียงหมั่นฝึกทำข้อ ๑.ละชั่ว และฝึกทำข้อ ๒.ทำดี ให้สม่ำเสมอ
อย่างตั้งมั่น และอดทน ไปก่อน
เมื่อทำไปนานพอ มากพอ ถึงจุดหนึ่ง คุณจะพบว่า
มีเรื่องดี ๆ ผ่านมาในชีวิตมากขึ้น
มีสิ่งดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
มีคนดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
มีโอกาสดี ๆ ผ่านเข้ามาในชีวิตมากขึ้น
และมี “ความสุขกับชีวิต” มากขึ้น มากขึ้น ตลอดเวลา