เอายังงี้ กรณีมีผู้เสียชีวิต 6 ศพในวัดปทุมเมื่อ 19 พ.ค. 2553 นี่ เป็นอำนาจการสอบสวนของใคร และจะเอาผิดกับใคร ?

กระทู้คำถาม
6 สิงหาคม 2556  
ศาลอาญากรุงเทพใต้   ได้อ่านคำสั่งในคดีหมายเลขดำที่ ช.5/2555  
ที่อัยการได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลทำการไต่สวนการตาย 6 ศพในวัดปทุม  จากเหตุการณ์ 19 พ.ค. 2553

สรุป  ว่า

1. เกิดจากการกระทำของเจ้าพนักงานทหาร
2. ผู้ตายทั้ง 6 ไม่มีคราบเขม่าดินปืนที่มือทั้งสองข้าง แสดงว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธปืนมาก่อน
3. การตรวจยึดอาวุธในวัดปทุมวนาราม ไม่น่าเชื่อว่า มีการตรวจยึดจริง
4. กรณีชายชุดดำ ไม่ปรากฏว่ามีชายชุดดำ อยู่ในบริเวณดังกล่าว

โดยศาลมีคำสั่งให้นำคำสั่งนี้ ส่งต่อให้พนักงานอัยการ เพื่อดำเนินการต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้


มาตรา 150  บอกว่า
"เมื่อศาลได้มีคำสั่งแล้ว ให้ส่งสำนวนการไต่สวนของศาลไปยังพนักงานอัยการเพื่อส่งแก่พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป"



ที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ   พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่    

จะเห็นว่า  นี่คือ  การฆาตกรรม   ไม่ใช่การสลายการชุมนุม  ไม่ใช่การยิงป้องกันตัว  ไม่ใช่การยิงต่อสู้คนร้าย

เมื่อเป็นเรื่องฆาตกรรม   ย่อมเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
พนักงานสอบสวนมีความเห็นว่า  พนักงานทหารได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 70
คือปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ศอฉ.  จึงไม่แจ้งข้อกล่าวหา   และตั้งข้อกล่าวหากับผู้สั่งการ

เหตุการณ์ในวัดปทุมนี่  ชัดครับ   มีพยานนับพันที่อยู่ในเหตุการณ์



เมื่อศาลไม่รับฟ้อง  ให้ส่งเรื่องไปยัง ป.ป.ช.
ซึ่ง ป.ป.ช. ได้ชี้มูลแล้วว่า  ผู้สั่งการไม่ผิด   เป็นความผิดเฉพาะตัวของทหาร

อย่างนี้  ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บนรางรถไฟฟ้าในวันนั้น
ก็ต้องโดนข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา

มีประเด็นที่ต้องพิจารณาอีกคือ   ทหารที่ยิงคนตายนั้น  ทำตามคำสั่ง  หรือทำไปเองโดยพลการ

หากทำตามคำสั่ง   ทหารที่ยิงก็ต้องหาหลักฐานคำสั่งมายืนยันเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด
หากไม่มีคำสั่งมายืนยัน  ก็ถือว่าทำเป็นโดยพลการ   ต้องรับผิดชอบการกระทำ  เจตนาฆ่าคนตาย

(น่าคิดนะครับ  หากไม่โดนสั่ง  ทหารจะยิงคนในวัดปทุมทำไม  
  และไม่ใช่ยิงนัดสองนัด  ยิงเป็นชั่วโมง ๆ  ยิงตั้งแต่เย็นจนดึก)


เหตุการณ์ในวัดปทุม  ถือเป็นเหตุการณ์ปิดท้าย

ก่อนถึงวันที่ 19 พ.ค. 53   มีเหตุการณ์แบบวัดปทุมเกิดขึ้นก่อนมากมายหลายศพ  
แต่ไม่มีการระงับยับยั้ง

แล้วแบบนี้  ป.ป.ช. เห็นว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบของผู้สั่งการได้อย่างไร ?

แล้วแบบนี้   การเจตนาให้มีการบาดเจ็บล้มตาย  จะเป็นเรื่องในอำนาจหน้าที่ได้อย่างไร ?



ก็ลอง ๆ พิจารณาถึงความเป็นธรรมดูครับ
และพิจารณาดูว่า   คดีนี้   พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนหรือไม่  ทำไมศาลอาญาไม่รับฟ้อง




เทียบกับการชี้มูลเอาผิดนายกฯสมชาย  กรณีสลายการชุมนุมพันธมิตร 7 ต.ค. 51
ที่ ป.ป.ช.  บอกว่าผิด  ด้วยข้อหา  ว่า

"ไม่ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชายุติการกระทำ กลับปล่อยให้มีการกระทำที่รุนแรงขึ้นตามลำดับตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต"




เหตุเกิดหนึ่งวัน   ตายสองศพ  ที่ไม่ได้ตายเพราะการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
โดน ป.ป.ช. ชี้มูลว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ    ทำเรื่องส่งอัยการเพื่อสั่งฟ้อง
อัยการเห็นควรไม่สั่งฟ้อง  เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ    ป.ป.ช. ก็จ้างทนายความฟ้องเอง
ตอนนี้  คดีอยู่ในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาฯ

ขณะที่เกิดเหตุกว่าเดือน  ตายเกือบร้อยศพ
ป.ป.ช. บอกว่าอภิสิทธิ์-สุเทพ  ไม่ผิด  สั่งการโดยชอบทุกประการ





เชื่อไหมครับ    การเอาผิดนายกฯสมชาย  นั้น
ป.ป.ช. ไม่เคยเรียกนายกฯสมชายเข้าชี้แจงเลย

ถีบขาคู่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่