ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยมาเลเชีย-สิงคโปร์ 15 วัน โดยไม่นั่งเครืองบิน
ตอนที 6 โกตาบารู มาเลเซีย
วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 06.00 น. เราออกจากที่พักโดยรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขับนอนรออยู่ที่ล็อบบี้ ไปที่ด่านสุไหงโกลก ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟประมาณ 2 กม. ฝนโปรยเล็กน้อย ค่ารถ 80 บาท เดินไปที่ด่าน กรอกแบบฟอร์มเข้าเมือง ออกเมือง ยื่นตม.
แล้วเดินข้ามชายแดนไปยังด่านชายแดนมาเลเซีย ชื่อด่าน Rantau Panjang เช็คอิน แล้วเดินออกจากด่าน ผ่านที่ที่เคยเป็นสถานีรถไฟแต่ตอนนี้เลิกใช้แล้ว
เราได้กลับไปเยือนมาเลเซียอีกครั้งหนึ่ง ครั้งแรกในปี 2538 และได้ไปแบบฉาบฉวยตอนที่เรากลับจากฟิลิปปินส์ และแวะไปโฉบปุตราจายา เมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา
ประเทศมาเลเซียี่มีพื้นที่ 329,847 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 30 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ต่อปี 18,509 ดอลล่าร์สหรัฐ สูงเกือบ 3 เท่าของไทย ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ 243 ตารางกิโลเมตร เป็นครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ มีประชากร 1.7 ล้านคน เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างพื้นที่กับประชากร น้อยกว่ากทม. 2 เท่า ค่าครองชีพในชนบท ต่ำกว่าไทยเล็กน้อย ส่วนในเมืองหลวงดูเหมือนจะสูงกว่าไทยเล็กน้อย
เราเดินไปถามคนขับแท็กซี่ อยากรู้ว่าเราจะไปที่สถานี Tumpat ที่เป็นสถานีเหนือสุด และสถานี Wakuf Bharu ที่เราตั้งใจจะไปขึ้นรถไฟไปตรงที่อยู่ตรงข้ามอ.ตากใบ ได้อย่างไร แต่คนขับแท็กซี่บอกว่า ตอนนี้รถไฟสายเหนือได้ปิดการให้บริการ เพราะรางรถไฟยังอยู่ในระยะซ่อมแซม รวมทั้งสะพานรถไฟที่ขาดมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ก็ยังซ่อมไม่เสร็จ
เราบอกพวกเขาว่า เราจะนั่งรถไฟไปให้ใกล้กับอุทยานแห่งชาติ Taman Negara พวกเขาไม่ได้ตื๊อให้เราต้องนั่งรถพวกเขา แต่แนะนำให้เรานั่งรถบัสสาย 29 ไปสถานีขนส่งที่ Kota Bahru แล้วนั่งรถต่อจากสถานีขนส่งไปที่สถานีรถไป Gua Musang ซึ่งเป็นสถานีแรกของสายเหนือที่เปิดให้บริการอยู่ ค่ารถบัสคนละ 2 ริงกิต ระหว่างที่รอรถบัสอยู่ มีคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เดินข้ามถนนมาคุยด้วย เขาเล่าว่า หลังจากน้ำท่วมใหญ่ จนสะพานรถไฟขาด และรางรถไฟชำรุด เมื่อปลายปี 2557 แล้วเศรษฐกิจของมาเลเซียก็ทรุดลงอย่างหนัก จนรัฐบาลต้องประกาศให้กินและใช้สิ่งที่ผลิตในประเทศ คนมาเลเซียไม่มีเงินที่จะข้ามไปจับจ่ายหรือท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกแล้ว ต้องทนบริโภคข้าวที่ปลูกในประเทศ ที่คุณภาพห่างไกลกับข้าวไทยมาก รวมทั้งอาหารและผลไม้
ที่คุณภาพสู้ไทยไม่ได้ แต่ก็ต้องอดทน อยู่อย่างพอเพียง และตั้งแต่มีรัฐประหารคนไทยก็ไม่ค่อยข้ามไปเที่ยวในมาเลย์
รถสาย 29 ส่งเราลงที่สถานีขนส่ง โกตาบารู ป้าไปซื้อตั๋วไป Goa Musang ค่าโดยสาร 2 คน รวม 35 ริงกิต รถออกในเวลา 13.00 น. เราดูเวลาตอนนั้น 09.30 น. มีเวลาเหลือหลายชั่วโมง
ก่อนอื่นต้องไปหาข้าวกินก่อน เดินข้ามมุมถนนไปยังมุมตรงข้าม เป็นร้านอาหารที่หลุบอยู่หลังช่องขายตั๋ว ในขณะที่กำลังเลือกอาหารอยู่ ก็ได้ยินเสียงถามเป็นภาษาไทย เราดีใจมาก สาวที่ตักอาหารขาย เป็นลูกครึ่งมาเลย์-ไทย เราสั่งข้าวราดแกงปลา เพราะอย่างอื่นดูว่าอุดมไปด้วยไข ในขณะที่นั่งกิน ก็เห็นมีของห่อใบตองวางบนโต๊ะแต่ละโต๊ะ อยู่ 3 อย่าง น้อง Nuyu Fauzy หยิบมาเปิดให้ดู เป็นข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก กับข้าวเจ้าใส่กะทิมีไข้ ต้ม 1 ฟอง ขมิ้นแห้งทำให้ ุสุก 1 แผ่น แตงกวา 1 ชิ้น ลองชิมข้าวเหนียวหน้ากระฉีก เขาใช้มะพร้าวแก่ขูด คั่วกับน้ำตาลทราย รสชาติหวานนำ มัน ไม่มีการเจือรสเค็ม ข้าวเหนียวก็ไม่เป็นเม็ดขึ้นมัน แต่ติดกันเหมือนหุงข้าวท่อนแฉะๆ ขนม 1 ห่อ ข้าวราดแกงปลาคล้ายๆ แกงเหลืองแต่ไม่ออกรสเปรี้ยว ใส่กะทิ กลิ่นเหมือนแกงหมูเทโพ 2 จาน ราคา 7 ริงกิต ประมาณ 56 บาท ถูกกว่าเมืองไทยค่ะ
และที่นั่นเราได้รู้ว่า วันหยุดราชการของมาเลเซีย มี 2 แบบ คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดะ ที่คนไทยเรียก ไทรบุรี แต่คนมาเลย์ออกเสียงว่า กะเด๊าะ หยุดวันศุกร์ กับ วันเสาร์ ส่วนรัฐอื่นๆ หยุดวันเสาร์ กับ วันอาทิตย์ เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก
จากนั้นเราก็หาที่ซื้อซิมโทรศัพท์ น้องยูชี้ให้เราไปซื้ออีกด้านหนึ่งของสถานีขนส่ง ซึ่งอยู่เยื้องกับร้านของน้องยู การเปลี่ยนซิมยุ่งยากตรงที่ ที่ร้านมีซิมไม่ได้ขนาดกับเครื่องของเรา ต้องไปตัดซิมที่ร้านอื่น ค่าซิม 15 ริงกิต ค่าตัด 5 ริงกิต รวมเป็น 20 ริงกิต พอใส่ซิมเสร็จก็เดินไปที่ร้านของน้องยู ขอแอดเฟส และขอเข้าห้องน้ำพร้อมกับคำแนะนำ การเดินเที่ยวในโกตา บารู
ในขณะที่กำลังแอดกัน คนขายซิมที่อยูตรงมุมร้านของน้องยู ออกอาการโมโห ที่น้องยูแนะนำให้เราไปซื้อซิมที่อื่น แทนที่จะอุดหนุนคนกันเอง เราเองก็ไม่รู้
เพราะร้านของเขาไม่ได้มีสิ่งใดบ่งบอกว่าขายซิม เหมือนกับเขาเป็นคนในร้านคนหนึ่ง ร้านข้าวของน้องยูก็เหมือนกัน การจัดร้านไม่ดึงดูดใจลูกค้า ถ้าไม่ใช่คนที่แสวงหาจริงๆ จะไม่รู้เลยว่า นั่นคือร้านอาหาร เขาบอกเราว่า เขาขายแค่ 5 ริงกิต บริการตัดซิมฟรี โอ้โห…เราจ่ายเกินไปตั้ง 15 ริงกิตแน่ะ!
ออกจากร้านเดินตรงไปจนสุดถนน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเป็นสถานที่ราชการ และเลี้ยวขวาเดินตรงไปเรื่อยๆ จนถึงสี่แยก เลี้ยวซ้ายเป็นทางไปมัสยิดกลาง ขากลับเดินผ่านร้านผลไม้ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นผลไม้ที่รับไปจากเมืองไทย ก็ต้องซื้อเพราะไม่มีทางเลือก ซื้อส้ม 6 ใบ สาลี่ 1 ใบ ในราคา 7 ริงกิต แล้วหาทางเดินกลับไปนั่งเล่นใต้ต้นไม้ใกล้ๆ สถานีขนส่ง
พอเห็นว่าใกล้เวลาก็เดินไปที่ร้านน้องยู กะว่าจะกินข้าวกลางวันก่อนออกเดินทาง พอน้องยูเห็นเราเธอทำหน้าตกใจ ถามว่า ยังไม่ไปอีกหรือ เราบอกว่า ยังเหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมง ขอกินข้าวก่อน น้องยูจับข้อมือป้า พลิกดูนาฬิกา แล้วพูดเสียงดังว่า นี่มันเวลาเมืองไทย อ้าวว! เราเพิ่งนึกได้ว่า เราลืมตั้งนาฬิกาใหม่ มาเลย์เวลาเร็วกว่าเรา 1 ชั่วโมง ถ้าเราไม่กลับไปที่ร้านน้องยู เพื่อจะกินอาหารกลางวันเราตกรถแน่ เพราะเราลืมดูเวลาในไอโฟน ดูแต่นาฬิกาข้อมือที่ยังไม่ได้ตั้งใหม่
น้องยูบอกให้เรารีบวิ่งไปขึ้นรถ แล้วเธอก็วิ่งตามมาเพื่อจะช่วยโบกรถ น้องยูก็บอกว่า จะพาเราขึ้นถ้าเขาไม่ให้ขึ้น น้องยูโบกรถให้จอด คนขับชี้ให้เราไปซื้อตั๋ว พอดีคนขายตั๋วจำเราได้ บอกให้เราขึ้นรถ ซึ่งออกช้ากว่ากำหนดครึ่งชั่วโมง รถบัสไปกัวมูซังออกเวลา 13.30 น.
[CR][SR] ลุงกับป้าแบ็คแพ็ครอบโลก ตะลุยมาเลเซีย-สิงคโปร์ โดยไม่นั่งเครืองบิน ตอนที่ 6 โกตาบารู มาเลเซีย
ตอนที 6 โกตาบารู มาเลเซีย
วันอาทิตย์ ที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 06.00 น. เราออกจากที่พักโดยรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง คนขับนอนรออยู่ที่ล็อบบี้ ไปที่ด่านสุไหงโกลก ซึ่งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟประมาณ 2 กม. ฝนโปรยเล็กน้อย ค่ารถ 80 บาท เดินไปที่ด่าน กรอกแบบฟอร์มเข้าเมือง ออกเมือง ยื่นตม.
แล้วเดินข้ามชายแดนไปยังด่านชายแดนมาเลเซีย ชื่อด่าน Rantau Panjang เช็คอิน แล้วเดินออกจากด่าน ผ่านที่ที่เคยเป็นสถานีรถไฟแต่ตอนนี้เลิกใช้แล้ว
เราได้กลับไปเยือนมาเลเซียอีกครั้งหนึ่ง ครั้งแรกในปี 2538 และได้ไปแบบฉาบฉวยตอนที่เรากลับจากฟิลิปปินส์ และแวะไปโฉบปุตราจายา เมื่อเดือนธันวาคม ที่ผ่านมา
ประเทศมาเลเซียี่มีพื้นที่ 329,847 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 30 ล้านคน มีรายได้เฉลี่ยต่อหัว ต่อปี 18,509 ดอลล่าร์สหรัฐ สูงเกือบ 3 เท่าของไทย ในขณะที่กัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ 243 ตารางกิโลเมตร เป็นครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ มีประชากร 1.7 ล้านคน เมื่อเทียบอัตราส่วนระหว่างพื้นที่กับประชากร น้อยกว่ากทม. 2 เท่า ค่าครองชีพในชนบท ต่ำกว่าไทยเล็กน้อย ส่วนในเมืองหลวงดูเหมือนจะสูงกว่าไทยเล็กน้อย
เราเดินไปถามคนขับแท็กซี่ อยากรู้ว่าเราจะไปที่สถานี Tumpat ที่เป็นสถานีเหนือสุด และสถานี Wakuf Bharu ที่เราตั้งใจจะไปขึ้นรถไฟไปตรงที่อยู่ตรงข้ามอ.ตากใบ ได้อย่างไร แต่คนขับแท็กซี่บอกว่า ตอนนี้รถไฟสายเหนือได้ปิดการให้บริการ เพราะรางรถไฟยังอยู่ในระยะซ่อมแซม รวมทั้งสะพานรถไฟที่ขาดมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ก็ยังซ่อมไม่เสร็จ
เราบอกพวกเขาว่า เราจะนั่งรถไฟไปให้ใกล้กับอุทยานแห่งชาติ Taman Negara พวกเขาไม่ได้ตื๊อให้เราต้องนั่งรถพวกเขา แต่แนะนำให้เรานั่งรถบัสสาย 29 ไปสถานีขนส่งที่ Kota Bahru แล้วนั่งรถต่อจากสถานีขนส่งไปที่สถานีรถไป Gua Musang ซึ่งเป็นสถานีแรกของสายเหนือที่เปิดให้บริการอยู่ ค่ารถบัสคนละ 2 ริงกิต ระหว่างที่รอรถบัสอยู่ มีคนขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง เดินข้ามถนนมาคุยด้วย เขาเล่าว่า หลังจากน้ำท่วมใหญ่ จนสะพานรถไฟขาด และรางรถไฟชำรุด เมื่อปลายปี 2557 แล้วเศรษฐกิจของมาเลเซียก็ทรุดลงอย่างหนัก จนรัฐบาลต้องประกาศให้กินและใช้สิ่งที่ผลิตในประเทศ คนมาเลเซียไม่มีเงินที่จะข้ามไปจับจ่ายหรือท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกแล้ว ต้องทนบริโภคข้าวที่ปลูกในประเทศ ที่คุณภาพห่างไกลกับข้าวไทยมาก รวมทั้งอาหารและผลไม้
ที่คุณภาพสู้ไทยไม่ได้ แต่ก็ต้องอดทน อยู่อย่างพอเพียง และตั้งแต่มีรัฐประหารคนไทยก็ไม่ค่อยข้ามไปเที่ยวในมาเลย์
รถสาย 29 ส่งเราลงที่สถานีขนส่ง โกตาบารู ป้าไปซื้อตั๋วไป Goa Musang ค่าโดยสาร 2 คน รวม 35 ริงกิต รถออกในเวลา 13.00 น. เราดูเวลาตอนนั้น 09.30 น. มีเวลาเหลือหลายชั่วโมง
ก่อนอื่นต้องไปหาข้าวกินก่อน เดินข้ามมุมถนนไปยังมุมตรงข้าม เป็นร้านอาหารที่หลุบอยู่หลังช่องขายตั๋ว ในขณะที่กำลังเลือกอาหารอยู่ ก็ได้ยินเสียงถามเป็นภาษาไทย เราดีใจมาก สาวที่ตักอาหารขาย เป็นลูกครึ่งมาเลย์-ไทย เราสั่งข้าวราดแกงปลา เพราะอย่างอื่นดูว่าอุดมไปด้วยไข ในขณะที่นั่งกิน ก็เห็นมีของห่อใบตองวางบนโต๊ะแต่ละโต๊ะ อยู่ 3 อย่าง น้อง Nuyu Fauzy หยิบมาเปิดให้ดู เป็นข้าวเหนียวปิ้ง ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก กับข้าวเจ้าใส่กะทิมีไข้ ต้ม 1 ฟอง ขมิ้นแห้งทำให้ ุสุก 1 แผ่น แตงกวา 1 ชิ้น ลองชิมข้าวเหนียวหน้ากระฉีก เขาใช้มะพร้าวแก่ขูด คั่วกับน้ำตาลทราย รสชาติหวานนำ มัน ไม่มีการเจือรสเค็ม ข้าวเหนียวก็ไม่เป็นเม็ดขึ้นมัน แต่ติดกันเหมือนหุงข้าวท่อนแฉะๆ ขนม 1 ห่อ ข้าวราดแกงปลาคล้ายๆ แกงเหลืองแต่ไม่ออกรสเปรี้ยว ใส่กะทิ กลิ่นเหมือนแกงหมูเทโพ 2 จาน ราคา 7 ริงกิต ประมาณ 56 บาท ถูกกว่าเมืองไทยค่ะ
และที่นั่นเราได้รู้ว่า วันหยุดราชการของมาเลเซีย มี 2 แบบ คือ รัฐกลันตัน ตรังกานู และ เคดะ ที่คนไทยเรียก ไทรบุรี แต่คนมาเลย์ออกเสียงว่า กะเด๊าะ หยุดวันศุกร์ กับ วันเสาร์ ส่วนรัฐอื่นๆ หยุดวันเสาร์ กับ วันอาทิตย์ เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในโลก
จากนั้นเราก็หาที่ซื้อซิมโทรศัพท์ น้องยูชี้ให้เราไปซื้ออีกด้านหนึ่งของสถานีขนส่ง ซึ่งอยู่เยื้องกับร้านของน้องยู การเปลี่ยนซิมยุ่งยากตรงที่ ที่ร้านมีซิมไม่ได้ขนาดกับเครื่องของเรา ต้องไปตัดซิมที่ร้านอื่น ค่าซิม 15 ริงกิต ค่าตัด 5 ริงกิต รวมเป็น 20 ริงกิต พอใส่ซิมเสร็จก็เดินไปที่ร้านของน้องยู ขอแอดเฟส และขอเข้าห้องน้ำพร้อมกับคำแนะนำ การเดินเที่ยวในโกตา บารู
ในขณะที่กำลังแอดกัน คนขายซิมที่อยูตรงมุมร้านของน้องยู ออกอาการโมโห ที่น้องยูแนะนำให้เราไปซื้อซิมที่อื่น แทนที่จะอุดหนุนคนกันเอง เราเองก็ไม่รู้
เพราะร้านของเขาไม่ได้มีสิ่งใดบ่งบอกว่าขายซิม เหมือนกับเขาเป็นคนในร้านคนหนึ่ง ร้านข้าวของน้องยูก็เหมือนกัน การจัดร้านไม่ดึงดูดใจลูกค้า ถ้าไม่ใช่คนที่แสวงหาจริงๆ จะไม่รู้เลยว่า นั่นคือร้านอาหาร เขาบอกเราว่า เขาขายแค่ 5 ริงกิต บริการตัดซิมฟรี โอ้โห…เราจ่ายเกินไปตั้ง 15 ริงกิตแน่ะ!
ออกจากร้านเดินตรงไปจนสุดถนน ทั้งด้านซ้ายและด้านขวาเป็นสถานที่ราชการ และเลี้ยวขวาเดินตรงไปเรื่อยๆ จนถึงสี่แยก เลี้ยวซ้ายเป็นทางไปมัสยิดกลาง ขากลับเดินผ่านร้านผลไม้ ทั้งๆ ที่รู้ว่า เป็นผลไม้ที่รับไปจากเมืองไทย ก็ต้องซื้อเพราะไม่มีทางเลือก ซื้อส้ม 6 ใบ สาลี่ 1 ใบ ในราคา 7 ริงกิต แล้วหาทางเดินกลับไปนั่งเล่นใต้ต้นไม้ใกล้ๆ สถานีขนส่ง
พอเห็นว่าใกล้เวลาก็เดินไปที่ร้านน้องยู กะว่าจะกินข้าวกลางวันก่อนออกเดินทาง พอน้องยูเห็นเราเธอทำหน้าตกใจ ถามว่า ยังไม่ไปอีกหรือ เราบอกว่า ยังเหลือเวลาอีกครึ่งชั่วโมง ขอกินข้าวก่อน น้องยูจับข้อมือป้า พลิกดูนาฬิกา แล้วพูดเสียงดังว่า นี่มันเวลาเมืองไทย อ้าวว! เราเพิ่งนึกได้ว่า เราลืมตั้งนาฬิกาใหม่ มาเลย์เวลาเร็วกว่าเรา 1 ชั่วโมง ถ้าเราไม่กลับไปที่ร้านน้องยู เพื่อจะกินอาหารกลางวันเราตกรถแน่ เพราะเราลืมดูเวลาในไอโฟน ดูแต่นาฬิกาข้อมือที่ยังไม่ได้ตั้งใหม่
น้องยูบอกให้เรารีบวิ่งไปขึ้นรถ แล้วเธอก็วิ่งตามมาเพื่อจะช่วยโบกรถ น้องยูก็บอกว่า จะพาเราขึ้นถ้าเขาไม่ให้ขึ้น น้องยูโบกรถให้จอด คนขับชี้ให้เราไปซื้อตั๋ว พอดีคนขายตั๋วจำเราได้ บอกให้เราขึ้นรถ ซึ่งออกช้ากว่ากำหนดครึ่งชั่วโมง รถบัสไปกัวมูซังออกเวลา 13.30 น.
**SR - Sponsored Review : ผู้เขียนรีวิวนี้ไม่ได้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง แต่มีผู้สนับสนุนสินค้าหรือบริการนี้ให้แก่ผู้เขียนรีวิว โดยที่ผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนอื่นใดในการเขียนรีวิว
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น