ช่วงนี้(ที่จริงทุกช่วงของชีวิตนั่นแหละ) มีข่าวคราวเรื่องพระเรื่องเจ้ามากมาย บ้างก็เป็นไปด้วยความเจริญ บ้างก็เป็นไปด้วยความเสื่อม
เรื่องของภิกษุสงฆ์ จะงดไว้ ในตอนนี้
จะขอกล่าวถึงความเสื่อมของฆาราวาส ที่เขาเรียกว่าอุบาสกอุบาสิกา อันมีมาในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสถึงความเสื่อมแก่อุบาสก(น่าจะรวมอุบาสิกาด้วยนั่นแหละ)
มีวิธีอยู่ ๗ ประการ ใครต้องการความเสื่อมก็สามารถจะทำได้
แต่ถ้าต้องการความเจริญ ก็ขอให้ทำตรงข้ามดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำในพระสูตรนะครับ
ชาวพุทธที่ดี ตราบใดที่ยังไม่ถึงซึ่งอริยสาวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ก็อย่าเพิ่งประมาทละเลยกันนะครับ
หานิสูตร
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ละเลยการฟังธรรม ๑
ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑
ศึกษาในอธิศีล ๑
มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑
กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ฯ
อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล
มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆขึ้นไป ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม
แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้
อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม
ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม
ไม่แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้
อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=622&Z=649&pagebreak=0
การกระทำตนให้เสื่อมของอุบาสก อุบาสิกา
เรื่องของภิกษุสงฆ์ จะงดไว้ ในตอนนี้
จะขอกล่าวถึงความเสื่อมของฆาราวาส ที่เขาเรียกว่าอุบาสกอุบาสิกา อันมีมาในพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าตรัสถึงความเสื่อมแก่อุบาสก(น่าจะรวมอุบาสิกาด้วยนั่นแหละ)
มีวิธีอยู่ ๗ ประการ ใครต้องการความเสื่อมก็สามารถจะทำได้
แต่ถ้าต้องการความเจริญ ก็ขอให้ทำตรงข้ามดังที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำในพระสูตรนะครับ
ชาวพุทธที่ดี ตราบใดที่ยังไม่ถึงซึ่งอริยสาวกมีพระโสดาบันเป็นต้น ก็อย่าเพิ่งประมาทละเลยกันนะครับ
หานิสูตร
[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ละเลยการฟังธรรม ๑
ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก
๗ ประการเป็นไฉน คือ
อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑
ศึกษาในอธิศีล ๑
มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอก ๑
กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล
ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ฯ
อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล
มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆขึ้นไป ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม
แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้
อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม
อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม
ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลาย ไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม
ไม่แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้
อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม ฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=622&Z=649&pagebreak=0