บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ปรับสัญญาคอนแทร็คฟาร์มใหม่อิงหลักมาตรฐานสากลและส่งมอบสัญญาให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯทั้งหมด 5,960 คู่สัญญา โดยยึดหลักความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วม พร้อมเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพให้กับเกษตรกร
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับยกระดับมาตรฐานสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่งให้เป็นระบบที่มีความธรรมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บริษัทได้ปรับปรุงสัญญาโดยใช้หลักการสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวม 63 ประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินโครงการคอนแทร็คฟาร์มที่ดี ในเรื่อง บทบาทและความรับผิดชอบของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อและเลิกสัญญา การจัดการในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ในกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและโปร่งใส
“การปรับสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง เพื่อให้สัญญาและแนวทางการดำเนินธุรกิจมีความทันสมัยและเป็นระบบมากขึ้น สามารถเทียบเคียงได้ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยมุ่งมั่นการสร้างความเป็นธรรมและมาตรฐานสากลในการดำเนินงานระหว่างบริษัทกับเกษตรกรที่ทำธุรกิจร่วมกัน” นายณรงค์กล่าว
นายณรงค์กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟได้มีโอกาสนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่นี้ในการประชุมกลุ่มลุ่มน้ำโขงในหัวข้อ “แผนงานและแนวทางปฏิบัติคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง” เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการนำมาปรับปรุงสัญญาที่สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกให้มากที่สุด
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่ เป็นการเน้นย้ำเรื่องของความชัดเจนในการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานร่วมกันในบทบาทของ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้กับเกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
“นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯสามารถติดต่อตรงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้เกษตรกรได้สอบถาม แจ้งเรื่องราว ขอความช่วยเหลือ หรือเสนอคำแนะนำด้านต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกันจะทำให้การช่วยเหลือเกษตรกรและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายณรงค์กล่าว
ซีพีเอฟ ส่งมอบสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่งมาตรฐานอิงหลักสากล ย้ำเกษตรกร คือ “พันธมิตรธุรกิจ” ต้องเติบโตคู่กันอย่างยั่งยืน
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ปรับสัญญาคอนแทร็คฟาร์มใหม่อิงหลักมาตรฐานสากลและส่งมอบสัญญาให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯทั้งหมด 5,960 คู่สัญญา โดยยึดหลักความเป็นธรรมและการมีส่วนร่วม พร้อมเปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากเกษตรกร เพื่อรับฟังปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพให้กับเกษตรกร
นายณรงค์ เจียมใจบรรจง รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับยกระดับมาตรฐานสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่งให้เป็นระบบที่มีความธรรมกับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บริษัทได้ปรับปรุงสัญญาโดยใช้หลักการสากลของ UNIDROIT (The International Institute for the Unification of Private Law) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก ซึ่งมีประเทศสมาชิกรวม 63 ประเทศ เพื่อสร้างมาตรฐานในการดำเนินโครงการคอนแทร็คฟาร์มที่ดี ในเรื่อง บทบาทและความรับผิดชอบของคู่สัญญา ระยะเวลาของสัญญา การต่อและเลิกสัญญา การจัดการในกรณีที่ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ในกรณีที่มีข้อพิพาท หรือการละเมิดสัญญาซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรมและโปร่งใส
“การปรับสัญญาคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง เพื่อให้สัญญาและแนวทางการดำเนินธุรกิจมีความทันสมัยและเป็นระบบมากขึ้น สามารถเทียบเคียงได้ตามมาตรฐานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยมุ่งมั่นการสร้างความเป็นธรรมและมาตรฐานสากลในการดำเนินงานระหว่างบริษัทกับเกษตรกรที่ทำธุรกิจร่วมกัน” นายณรงค์กล่าว
นายณรงค์กล่าวต่อว่า ซีพีเอฟได้มีโอกาสนำเสนอตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาฉบับปรับปรุงใหม่นี้ในการประชุมกลุ่มลุ่มน้ำโขงในหัวข้อ “แผนงานและแนวทางปฏิบัติคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง” เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการนำมาปรับปรุงสัญญาที่สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรที่เป็นสมาชิกให้มากที่สุด
สาระสำคัญในสัญญาปรับปรุงใหม่ เป็นการเน้นย้ำเรื่องของความชัดเจนในการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการดำเนินงานร่วมกันในบทบาทของ “พันธมิตรธุรกิจ” ที่เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจร่วมกันโดยเฉพาะในกรณีมีความเสี่ยง การระบุรายละเอียดการจ่ายผลตอบแทนอย่างชัดเจน และยังได้จัดทำป้ายฟาร์มใหม่ ที่มีการระบุชื่อฟาร์ม ที่อยู่ ประเภทของสัตว์ที่เลี้ยง เพื่อแสดงข้อมูลฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการกับบริษัทฯ แก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งขณะนี้ บริษัทฯได้ส่งมอบสัญญาใหม่ให้กับเกษตรกรครบทั้ง 5,960 คู่สัญญาแล้ว
“นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียน ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการฯสามารถติดต่อตรงผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ เพื่อให้เกษตรกรได้สอบถาม แจ้งเรื่องราว ขอความช่วยเหลือ หรือเสนอคำแนะนำด้านต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว ขณะเดียวกันจะทำให้การช่วยเหลือเกษตรกรและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายณรงค์กล่าว