Mera peak, Nepal

เมื่อช่วงปลายปีที่แล้วได้มีโอกาสไปซัมมิตยอด Mera peak ที่มีความสูง 6461 m ซึ่งเป็นยอดสูงระดับ 6 พันเมตรอีกยอดในเปาลมาครับ
โดย Mera peak จัดเป็น Trekking peak ที่เป็นที่นิยมมากสุดใน 3 อันดับแรกของเนปาลเลย (มี Island peak, Mera peak, Lobuche east) และจากที่ผมเคยไปมาซัมมิตยอดในเนปาล 3 ยอด (Larkya 6010 m, Island 6135 m, Mera 6461 m) ก็ได้เจอคนมาซัมมิตยอดนี้เยอะที่สุดแล้ว

ไฮไลท์ของยอดนี้ก็คือการได้เห็นวิวพาโนรามาเทือกเขาหิมาลัยจากบนซัมมิต แต่ที่พิเศษมากกว่ายอดอื่นก็คือการได้เห็น ยอด 8 พันเมตรพร้อมกันในวิวเดียว 5 ยอด โดย 5 ยอดนั้น ก็คือ Mt.Everest – อันดับ 1 ของโลก, Mt.Kanchenjunga –อันดับ 3, Mt.Lhotse – อันดับ 4, Mt.Makalu – อันดับ 5, Mt.Cho Oyu – อันดับ 6 เพราะฉะนั้นถ้าไม่นับ K2 ที่อยู่ปากีสถาน ไกลเกินแล้ว จะเท่ากับเราเห็นยอดเขาสูงสุด 5 ใน 6 อันดับแรกของโลกพร้อมกันในครั้งเดียว



โปรแกรมการเดินนะครับ

Day 1 BKK-Kathmandu
Day 2 Fly to Lukla 2800 m, and trek to Chutanga 3300 m
Day 3 Crossing Zatrwa la 4600 m to Thuli Kharka 4300 m
Day 4 Trek to Kothe 3600 m
Day 5 Trek to Thaknak 4350 m
Day 6 Trek to Khare 5045 m
Day 7 Acclimatised day, trek to 5300 m
Day 8 Trek to High camp 5800 m
Day 9 Mera Peak 6461 m summit day, and walk down to Khare
Day 10 Trek to Kothe
Day 11 Trek to Thuli Kharka 4300 m
Day 12 Trek to Lukla -- Finished trekking
Day 13 Fly back to KTM
Day 14 Kathmandu

หมายเหตุ
1) โปรแกรมที่ผมใช้จะค่อนข้างมีความเสี่ยงเรื่องการปรับตัว โดยเฉพาะการเดินข้ามพาส Zatrwa La ในวันที่ 2 เป็นการไต่ระดับจาก 3300 m ไปข้ามพาส 4600 m แล้วลงมานอนที่ 4300 m ภายในวันเดียว มีความเสี่ยงเรื่องการเกิด AMS ได้ค่อนข้างสูงทีเดียว ซึ่งโดยปกติกลุ่มต่างชาติอื่นๆ ที่เดินสวนกัน แทบไม่มีใครเลือกมาทางนี้กันเลย ส่วนใหญ่จะเลือกเดินอ้อมภูเขาไป เพื่อป้องกันการเกิด AMS แต่แลกกับการเพิ่มเวลาอีก 2-3 วัน

เพราะถ้าเกิดป่วย AMS ตั้งแต่วันที่ 2 ก็เป็นอันจบทริป เตรียมบินกลับบ้านได้เลย เสียเงินฟรีๆ ตั้งแต่วันที่ 2 เพราะฉะนั้นถ้าใครจะเลือกเส้นทางนี้ก็ต้องรับความเสี่ยงกันเองนะครับ

2) โดยปกติการขึ้นยอด 6 พัน ควรเผื่อวันสารองไว้ 1-2 วันในกรณีที่อากาศปิดในวันที่เราแพลนจะขึ้นซัมมิต ในกรณีที่สภาพอากาศไม่ดี ก็ยังมีโอกาสที่จะขึ้นในวันถัดไปได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการซัมมิตมากขึ้น

3) โปรแกรม โดยทั่วไปที่เอเจนซี่จัดให้จะจัดให้นอน Base camp 1 คืน แล้วค่อยไป High camp แต่จากคำแนะนำของไกด์จะให้ตรงจาก Khare ไป High camp เลย ด้วยเหตุผลว่าไม่อยากให้นอนเต็นท์หลายคืน อากาศหนาวเกิน นอนไม่หลับ จะทำให้เราเสียพลังงานไปเปล่าๆ ถามกลุ่มสวิสที่เจอกันระหว่างทางก็ไม่ได้นอนที่ base camp แต่ไปนอนที่ High camp เลยเหมือนกัน




ข้อมูลเพิ่มเติมของเส้นทาง

ช่วง Trekking ทางเดินต่อวันจะไกลแค่วันที่ข้ามพาส หลังจากนั้นจะเดินไม่ยาก เดินไปเรื่อยๆ จนถึงไปขึ้นชัน และยาวอีกทีคือวันที่ขึ้นจาก Khare ไป High camp เลย

ช่วงขึ้น Summit จาก High camp กลุ่มผมใช้เวลาเดินไป 5 ชม. เป็นซัมมิตที่ใช้ Technical ค่อนข้างน้อย ใช้ Fixed rope แค่ช่วงสุดท้าย 15 เมตรก่อนถึงยอดเท่านั้น ช่วงอื่นเป็นการเดินบนหิมะ โดยใส่ mountaineering boots กับ crampons อย่างเดียว ความยากเลยน่าจะอยู่ที่เรื่อง Altitude ที่สูง 6400 เมตร มากกว่าที่จะทาให้เหนื่อยง่ายขึ้น ง่ายกว่าขึ้นซัมมิตยอด Island peak แน่ๆ

โดยส่วนตัวคิดว่ายอดนี้เหมาะกับเป็นยอด Trekking peak ยอดแรก สาหรับผู้ที่อยากลองประสบการณ์ขึ้นซัมมิต 6 พันที่เนปาลดูซักครั้ง Technical ไม่มาก เดินไม่ลาบาก นอนเต๊นท์แค่คืนเดียว วิวบนซัมมิตก็สวยไม่แพ้ที่อื่น

ปล.ยืมล็อกอินมานะครับ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่