"เสี่ยเจริญ" ต้องเตรียมเงินอีก 8.6 หมื่นลบ. ตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ BIGC หลังได้หุ้นจากกลุ่ม"คาสิโน"แล้ว 58.56% รวมดีลนี้อาจต้องใช้เงินสูงสุดถึง 2.08 แสนลบ. ด้านโบรกฯมอง BJC ได้ประโยชน์มากสุดจากดีลนี้ เพราะมีอำนาจต่อรองขายสินค้ามากขึ้น-ต้นทุนลดลง ดันกำไรกระฉูด แนะนำซื้อ ให้เป้า 44.5 บาท ขณะที่ BIGC ในระยะสั้นยังไม่เห็น Synergy แถมอาจต้องแบกรับส่วนลดการค้าให้บริษัทในเครือ แนะนำขายทำกำไร หรือตอบรับเทนเดอร์ฯ...
BJCตีปีก"เสี่ยเจริญ"ซื้อBIGC
"เสี่ยเจริญ" ต้องเตรียมเงินอีก 8.6 หมื่นลบ. ตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ BIGC หลังได้หุ้นจากกลุ่ม"คาสิโน"แล้ว 58.56% รวมดีลนี้อาจต้องใช้เงินสูงสุดถึง 2.08 แสนลบ. ด้านโบรกฯมอง BJC ได้ประโยชน์มากสุดจากดีลนี้ เพราะมีอำนาจต่อรองขายสินค้ามากขึ้น-ต้นทุนลดลง ดันกำไรกระฉูด แนะนำซื้อ ให้เป้า 44.5 บาท ขณะที่ BIGC ในระยะสั้นยังไม่เห็น Synergy แถมอาจต้องแบกรับส่วนลดการค้าให้บริษัทในเครือ แนะนำขายทำกำไร หรือตอบรับเทนเดอร์ฯ
*** "เสี่ยเจริญ"ทุ่ม 2.08 แสนลบ. เทกโอเวอร์ BIGC
นางสาวรำภา คำหอมรื่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและรองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BIGC เปิดเผยว่า บริษัทได้รับแจ้งจากกลุ่ม "คาสิโน" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทว่าได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด(ธุรกิจในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) ซึ่งเป็นการซื้อและขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทรวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น ซึ่งคิดเป็นหุ้นจำนวน 58.56% ของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท
โดย G?ant International BV จะขายหุ้นในบริษัทจำนวน 264,797,600 หุ้น ให้แก่บริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น ในราคาหุ้นละ 252.88 บาท(อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน 39.77 บาทต่อ 1 ยูโร) หรือคิดเป็น 32.10% ขณะเดียวกัน G?ant International BV จะขายหุ้นทั้งหมดที่ถือผ่านในบริษัท เสาวนีย์โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 218,280,000 หุ้น หรือ 26.46% ในราคาเดียวกัน ทำให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.22 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าธุรกรรมการขายหุ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 31 มี.ค.นี้ ภายหลังการเสร็จสิ้นธุรกรรรม ทางบริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น จะต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์)ทั้งหมดของกิจการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากประเมินจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดของ BIGC ที่ 825 ล้านหุ้น เท่ากับว่าเงินลงทุนที่ทาง "เสี่ยเจริญ" ต้องใช้ครั้งนี้อาจสูงสุดถึง 2.08 แสนล้านบาท
*** ผู้บริหารยันเดินตามแผนธุรกิจเดิม
นางสาวรำภา กล่าวต่อว่า บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ ภายใต้งบลงทุน 6-7 พันล้านบาท ซึ่งรวมถึงการขยายสาขาทุกรูปแบบและการปรับปรุงพื้นที่และพื้นที่ขายของไฮเปอร์มาร์เก็ตด้วย โดยในเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ประกาศแผนดำเนินธุรกิจเน้นการขยายสาขาแห่งใหม่ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ขยายไฮเปอร์มาร์เก็ตจํานวน 6 สาขา ขยายบิ๊กซี มาร์เก็ตจํานวน 3 สาขา และขยายร้านมินิบิ๊กซี จํานวน 75 สาขา รวมถึงแผนการปรับปรุงพื้นที่เช่าและพื้นที่ขายของไฮเปอร์มาร์เก็ตให้แล้วเสร็จภายในปี 2559 จํานวน 7 สาขา ในจํานวนนี้รวมสาขาลพบุรีและสาขาบางพลี ซึ่งได้เริ่มดําเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บิ๊กซี มีจำนวนไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา (บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าและบิ๊กซี จัมโบ้) บิ๊กซี มาร์เก็ต 55 สาขา มินิบิ๊กซี 394 สาขา และร้านขายยาเพรียว 146 สาขา
*** ก้าวขึ้นเป็นเบอร์สองธุรกิจค้าปลีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นทางลัดให้ "เสี่ยเจริญ" ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสองในธุรกิจค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยทันที ด้วยจำนวนสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตรวม 125 สาขา (บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าและบิ๊กซี จัมโบ้) บิ๊กซี มาร์เก็ต 55 สาขา มินิบิ๊กซี 394 สาขา และร้านขายยาเพรียว 146 สาขา โดยมีฐานรายได้ปี 57 ที่ 1.35 แสนล้านบาท กำไรมากกว่า 7.23 พันล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนแรกปี 58 มีรายได้ 9.91 หมื่นล้านบาท กำไร 4.76 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ภาพของ BIGC ต่อจากนี้ อาจยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งในด้านราคาหุ้น ซึ่งแพงกว่ามูลค่าเหมาะสมไปแล้ว รวมไปถึงด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจที่น่าจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับบริษัทในเครือ"เสี่ยเจริญ"มากกว่าที่จะสะท้อนมาในงบของ BIGC เอง
*** โบรกฯมอง BJC ได้ประโยชน์มากสุด แนะขาย BIGC ทำกำไร
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า ราคาเสนอซื้อ BIGC ครั้งนี้ ค่อนข้างแพง โดยเทียบเท่า P/E Foward ปี 58 ที่ 29 เท่า ซึ่งแพงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 26 เท่า และประเมินว่า Synergy ที่กลุ่มจะได้รับอยู่ที่บริษัทลูกในเครือที่เป็นผู้ผลิตสินค้า เช่น บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์(BJC) เป็นต้น เพราะจะมีอำนาจต่อรองในการขายสินค้ามากขึ้น
โดยกรณีอิงรายได้ส่วนเพิ่มจากการขายของให้ BIGC เพิ่มทุก 1% ของต้นทุนขายแต่ละปีของ BIGC เราคาดเกิดกำไรส่วนเพิ่มต่อ BJC ราว 20 ล้านบาท (คิดเป็น EPS 0.01 บาท/ หุ้น) หรือคิดเป็นราคาเป้าหมายส่วนเพิ่มราว 0.3 บาท/หุ้น จากปัจจุบันที่ 44.5 บาท ดังนั้นจึงแนะนำ “NEUTRAL” ต่อ BIGC ด้วยราคาเป้าหมาย 200บาท
ทั้งนี้ หากราคาหุ้น BIGC ปรับตัวเข้าใกล้ราคา 253 บาท เป็นจังหวะขายทำกำไร ส่วน BJC แนะนำ "ซื้อลงทุน" ประเมินเกิดผลบวกระยะยาวด้านอำนาจต่อรองขายสินค้า ให้ราคาเป้าหมาย 44.5 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า ราคาหุ้น BIGC ที่เคลื่อนไหวขณะนี้สูงกว่าราคาพื้นฐาน 220 บาทมากแล้ว ดังนั้นจึงแนะนำหาจังหวะขาย โดยดีลนี้ บริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น ที่เป็นแม่จะได้ประโยชน์ที่สุด เนื่องจากการซื้อหุ้น BIGC ทำให้ธุรกิจในกลุ่มครบวงจรมากขึ้น หรืออาจจะเกิดการ Synergy ระหว่าง BIGC กับ BJC ในรูปแบบเช่น จากแต่เดิม BJC เสียอำนาจต่อรองให้ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ แต่เมื่อมี BIGC อยู่ในเครือเดียวกันก็อาจจะเสียส่วนลดการค้าน้อยผลักภาระให้ BIGC ได้
บล.กสิกรไทย มองว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อกิจการอื่นๆ ราคาซื้อขายที่หุ้นละ 252.88 บาท คิดเป็น 1.61 เท่าของ EV to Sales ในปี 58 ซึ่งต่ำกว่ารายการของ MAKRO เล็กน้อยที่ 1.64 เท่าของ EV to Sales ในปี 56 และราคาซื้อขายนี้ยังคิดเป็น 30 เท่าของ EPS ในปี 58 และ 26 เท่าของ EPS ในปี 59 เทียบกับค่าเฉลี่ย P/E ของ BIGC ที่ 24.6 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีราคาเป้าหมายอยู่ที่ 214 บาท ต่อหุ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงแนะนำผู้ถือหุ้นรายย่อยของ BIGC ขายทำกำไรโดยการยอมรับการเทนเดอร์ฯที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บล.กรุงศรี ระบุว่า แม้ตลาดอาจคาดว่ากลุ่ม ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จะเข้ามาขยายสาขาเพิ่มและเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มเจ้าสัวเจริญมากขึ้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเราคาดว่าผลประกอบของ BIGC ยังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาเทคโอเวอร์ ซื้อขายกันด้วย PE สูงถึง 27 เท่า และหลังเข้าดีลนี้สำเร็จราคาหุ้นจะ Overhang ตามราคาเทนเดอร์ฯ จนกว่าจะเห็นแผนธุรกิจที่ชัดเจน ดังนั้นจึงแนะขาย BIGC ทำกำไรระยะสั้นไปก่อน
*** เปิดโอกาส BIGC ขยายธุรกิจใน CLMV
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่มาเป็นกลุ่ม"เสี่ยเจริญ"นั้น ในส่วนของ BIGC คาดหวัง Synergy ระยะสั้นลำบาก เนื่องจาก ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น ไม่มีประสบการณ์ทำค้าปลีกมาก่อน กอปรกับเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูงและ Tesco Lotus อาจใช้ช่วงที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร รีบทำ Campaign แย่ง Market Share
แต่ BIGC อาจได้ประโยชน์ในด้านของโอกาสขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มทีซีซีฯ และมีสายป่านยาว โดยเฉพาะเวียดนาม ทั้งนี้ประเมินราคาพื้นฐาน BIGC ที่ 225 บาท
"ยังไม่เห็นผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ช่วยเพิ่มโอกาสต่อยอดไปต่างประเทศ และต้องตามดูนโยบายกลุ่มจะให้ BIGC เป็นแกนหลักในธุรกิจค้าปลีกแทน BJC หรือไม่" บล.เอเซีย พลัส ระบุ
ด้านบล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า ถือเป็นการเติมเต็มธุรกิจของ TCC Group ซึ่งขาดหน้าร้านค้าปลีกและแสวงหามาโดยตลอด ในส่วนของ BJC จะได้ Synergy จากการขายสินค้าโดยไม่ต้องลงทุนเอง ประหยัดต้นทุน จึงพร้อมมากขึ้นในการแข่งขันในตลาด Hypermarket ซึ่งจะทวีความรุนแรงขึ้น เรายังคงแนะนำซื้อ BJC ราคาพื้นฐาน 39 บาท
ที่มา สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ว่าด้วยเรื่อง BJC กับ BIGC
BJCตีปีก"เสี่ยเจริญ"ซื้อBIGC
"เสี่ยเจริญ" ต้องเตรียมเงินอีก 8.6 หมื่นลบ. ตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดของ BIGC หลังได้หุ้นจากกลุ่ม"คาสิโน"แล้ว 58.56% รวมดีลนี้อาจต้องใช้เงินสูงสุดถึง 2.08 แสนลบ. ด้านโบรกฯมอง BJC ได้ประโยชน์มากสุดจากดีลนี้ เพราะมีอำนาจต่อรองขายสินค้ามากขึ้น-ต้นทุนลดลง ดันกำไรกระฉูด แนะนำซื้อ ให้เป้า 44.5 บาท ขณะที่ BIGC ในระยะสั้นยังไม่เห็น Synergy แถมอาจต้องแบกรับส่วนลดการค้าให้บริษัทในเครือ แนะนำขายทำกำไร หรือตอบรับเทนเดอร์ฯ
*** "เสี่ยเจริญ"ทุ่ม 2.08 แสนลบ. เทกโอเวอร์ BIGC
นางสาวรำภา คำหอมรื่น ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินและรองประธานฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BIGC เปิดเผยว่า บริษัทได้รับแจ้งจากกลุ่ม "คาสิโน" ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทว่าได้เข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นกับบริษัท ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด(ธุรกิจในเครือของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี) ซึ่งเป็นการซื้อและขายหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมในบริษัทรวมทั้งสิ้นจำนวน 483,077,600 หุ้น ซึ่งคิดเป็นหุ้นจำนวน 58.56% ของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท
โดย G?ant International BV จะขายหุ้นในบริษัทจำนวน 264,797,600 หุ้น ให้แก่บริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น ในราคาหุ้นละ 252.88 บาท(อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน 39.77 บาทต่อ 1 ยูโร) หรือคิดเป็น 32.10% ขณะเดียวกัน G?ant International BV จะขายหุ้นทั้งหมดที่ถือผ่านในบริษัท เสาวนีย์โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 218,280,000 หุ้น หรือ 26.46% ในราคาเดียวกัน ทำให้มูลค่าการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้จะอยู่ที่ประมาณ 1.22 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าธุรกรรมการขายหุ้นดังกล่าวจะเกิดขึ้นไม่เกินวันที่ 31 มี.ค.นี้ ภายหลังการเสร็จสิ้นธุรกรรรม ทางบริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น จะต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์(เทนเดอร์ ออฟเฟอร์)ทั้งหมดของกิจการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หากประเมินจากจำนวนหุ้นจดทะเบียนทั้งหมดของ BIGC ที่ 825 ล้านหุ้น เท่ากับว่าเงินลงทุนที่ทาง "เสี่ยเจริญ" ต้องใช้ครั้งนี้อาจสูงสุดถึง 2.08 แสนล้านบาท
*** ผู้บริหารยันเดินตามแผนธุรกิจเดิม
นางสาวรำภา กล่าวต่อว่า บริษัทจะยังคงดำเนินธุรกิจตามปกติ ภายใต้งบลงทุน 6-7 พันล้านบาท ซึ่งรวมถึงการขยายสาขาทุกรูปแบบและการปรับปรุงพื้นที่และพื้นที่ขายของไฮเปอร์มาร์เก็ตด้วย โดยในเดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ประกาศแผนดำเนินธุรกิจเน้นการขยายสาขาแห่งใหม่ในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ขยายไฮเปอร์มาร์เก็ตจํานวน 6 สาขา ขยายบิ๊กซี มาร์เก็ตจํานวน 3 สาขา และขยายร้านมินิบิ๊กซี จํานวน 75 สาขา รวมถึงแผนการปรับปรุงพื้นที่เช่าและพื้นที่ขายของไฮเปอร์มาร์เก็ตให้แล้วเสร็จภายในปี 2559 จํานวน 7 สาขา ในจํานวนนี้รวมสาขาลพบุรีและสาขาบางพลี ซึ่งได้เริ่มดําเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 เป็นต้นมา
ทั้งนี้ ปัจจุบัน บิ๊กซี มีจำนวนไฮเปอร์มาร์เก็ต 125 สาขา (บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าและบิ๊กซี จัมโบ้) บิ๊กซี มาร์เก็ต 55 สาขา มินิบิ๊กซี 394 สาขา และร้านขายยาเพรียว 146 สาขา
*** ก้าวขึ้นเป็นเบอร์สองธุรกิจค้าปลีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้าซื้อกิจการครั้งนี้เป็นทางลัดให้ "เสี่ยเจริญ" ก้าวขึ้นมาเป็นอันดับสองในธุรกิจค้าปลีกรูปแบบไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยทันที ด้วยจำนวนสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตรวม 125 สาขา (บิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้าและบิ๊กซี จัมโบ้) บิ๊กซี มาร์เก็ต 55 สาขา มินิบิ๊กซี 394 สาขา และร้านขายยาเพรียว 146 สาขา โดยมีฐานรายได้ปี 57 ที่ 1.35 แสนล้านบาท กำไรมากกว่า 7.23 พันล้านบาท ส่วนงวด 9 เดือนแรกปี 58 มีรายได้ 9.91 หมื่นล้านบาท กำไร 4.76 พันล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ภาพของ BIGC ต่อจากนี้ อาจยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจน ทั้งในด้านราคาหุ้น ซึ่งแพงกว่ามูลค่าเหมาะสมไปแล้ว รวมไปถึงด้านกลยุทธ์ทางธุรกิจที่น่าจะส่งผลดีในระยะยาวให้กับบริษัทในเครือ"เสี่ยเจริญ"มากกว่าที่จะสะท้อนมาในงบของ BIGC เอง
*** โบรกฯมอง BJC ได้ประโยชน์มากสุด แนะขาย BIGC ทำกำไร
บริษัทหลักทรัพย์(บล.)โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า ราคาเสนอซื้อ BIGC ครั้งนี้ ค่อนข้างแพง โดยเทียบเท่า P/E Foward ปี 58 ที่ 29 เท่า ซึ่งแพงกว่าค่าเฉลี่ยกลุ่มที่ 26 เท่า และประเมินว่า Synergy ที่กลุ่มจะได้รับอยู่ที่บริษัทลูกในเครือที่เป็นผู้ผลิตสินค้า เช่น บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์(BJC) เป็นต้น เพราะจะมีอำนาจต่อรองในการขายสินค้ามากขึ้น
โดยกรณีอิงรายได้ส่วนเพิ่มจากการขายของให้ BIGC เพิ่มทุก 1% ของต้นทุนขายแต่ละปีของ BIGC เราคาดเกิดกำไรส่วนเพิ่มต่อ BJC ราว 20 ล้านบาท (คิดเป็น EPS 0.01 บาท/ หุ้น) หรือคิดเป็นราคาเป้าหมายส่วนเพิ่มราว 0.3 บาท/หุ้น จากปัจจุบันที่ 44.5 บาท ดังนั้นจึงแนะนำ “NEUTRAL” ต่อ BIGC ด้วยราคาเป้าหมาย 200บาท
ทั้งนี้ หากราคาหุ้น BIGC ปรับตัวเข้าใกล้ราคา 253 บาท เป็นจังหวะขายทำกำไร ส่วน BJC แนะนำ "ซื้อลงทุน" ประเมินเกิดผลบวกระยะยาวด้านอำนาจต่อรองขายสินค้า ให้ราคาเป้าหมาย 44.5 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) วิเคราะห์ว่า ราคาหุ้น BIGC ที่เคลื่อนไหวขณะนี้สูงกว่าราคาพื้นฐาน 220 บาทมากแล้ว ดังนั้นจึงแนะนำหาจังหวะขาย โดยดีลนี้ บริษัททีซีซี คอร์ปอเรชั่น ที่เป็นแม่จะได้ประโยชน์ที่สุด เนื่องจากการซื้อหุ้น BIGC ทำให้ธุรกิจในกลุ่มครบวงจรมากขึ้น หรืออาจจะเกิดการ Synergy ระหว่าง BIGC กับ BJC ในรูปแบบเช่น จากแต่เดิม BJC เสียอำนาจต่อรองให้ห้างไฮเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ แต่เมื่อมี BIGC อยู่ในเครือเดียวกันก็อาจจะเสียส่วนลดการค้าน้อยผลักภาระให้ BIGC ได้
บล.กสิกรไทย มองว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการซื้อกิจการอื่นๆ ราคาซื้อขายที่หุ้นละ 252.88 บาท คิดเป็น 1.61 เท่าของ EV to Sales ในปี 58 ซึ่งต่ำกว่ารายการของ MAKRO เล็กน้อยที่ 1.64 เท่าของ EV to Sales ในปี 56 และราคาซื้อขายนี้ยังคิดเป็น 30 เท่าของ EPS ในปี 58 และ 26 เท่าของ EPS ในปี 59 เทียบกับค่าเฉลี่ย P/E ของ BIGC ที่ 24.6 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีราคาเป้าหมายอยู่ที่ 214 บาท ต่อหุ้นเท่านั้น ดังนั้นจึงแนะนำผู้ถือหุ้นรายย่อยของ BIGC ขายทำกำไรโดยการยอมรับการเทนเดอร์ฯที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
บล.กรุงศรี ระบุว่า แม้ตลาดอาจคาดว่ากลุ่ม ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น จะเข้ามาขยายสาขาเพิ่มและเปิดช่องทางการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มเจ้าสัวเจริญมากขึ้นก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามเราคาดว่าผลประกอบของ BIGC ยังคงอ่อนแอตามภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาเทคโอเวอร์ ซื้อขายกันด้วย PE สูงถึง 27 เท่า และหลังเข้าดีลนี้สำเร็จราคาหุ้นจะ Overhang ตามราคาเทนเดอร์ฯ จนกว่าจะเห็นแผนธุรกิจที่ชัดเจน ดังนั้นจึงแนะขาย BIGC ทำกำไรระยะสั้นไปก่อน
*** เปิดโอกาส BIGC ขยายธุรกิจใน CLMV
บล.เอเซีย พลัส ระบุว่าการเปลี่ยนมือผู้ถือหุ้นใหญ่มาเป็นกลุ่ม"เสี่ยเจริญ"นั้น ในส่วนของ BIGC คาดหวัง Synergy ระยะสั้นลำบาก เนื่องจาก ทีซีซี คอร์ปอเรชั่น ไม่มีประสบการณ์ทำค้าปลีกมาก่อน กอปรกับเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งขันสูงและ Tesco Lotus อาจใช้ช่วงที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหาร รีบทำ Campaign แย่ง Market Share
แต่ BIGC อาจได้ประโยชน์ในด้านของโอกาสขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของกลุ่มทีซีซีฯ และมีสายป่านยาว โดยเฉพาะเวียดนาม ทั้งนี้ประเมินราคาพื้นฐาน BIGC ที่ 225 บาท
"ยังไม่เห็นผลประโยชน์ระยะสั้น แต่ช่วยเพิ่มโอกาสต่อยอดไปต่างประเทศ และต้องตามดูนโยบายกลุ่มจะให้ BIGC เป็นแกนหลักในธุรกิจค้าปลีกแทน BJC หรือไม่" บล.เอเซีย พลัส ระบุ
ด้านบล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า ถือเป็นการเติมเต็มธุรกิจของ TCC Group ซึ่งขาดหน้าร้านค้าปลีกและแสวงหามาโดยตลอด ในส่วนของ BJC จะได้ Synergy จากการขายสินค้าโดยไม่ต้องลงทุนเอง ประหยัดต้นทุน จึงพร้อมมากขึ้นในการแข่งขันในตลาด Hypermarket ซึ่งจะทวีความรุนแรงขึ้น เรายังคงแนะนำซื้อ BJC ราคาพื้นฐาน 39 บาท
ที่มา สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย