สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
สำหรับเรามันเป็นประโยชน์ต่อตัวเราค่ะ ทำให้ไม่โดนอิจฉา ไม่โดนกลั่นแกล้ง และการไม่ไปรับรู้เงินเดือนคนอื่นเราก็สบายใจ บางทีรู้ไปจิตใจก็ร้อนรุ่มไม่มีความสุข ถ้าเราไม่พอใจ เราควรจะไม่พอใจเงินเดือนของเราเองว่ามันไม่คู่ควรกับความสามารถของตัวเรา ไม่ใช่พอไปเทียบกับคนอื่นค่อยมารู้สึกไม่พอใจ
คงแล้วแต่มุมมองอะเนอะ แต่ที่แน่ๆ เราไม่บอกเงินเดือนใครเลย ต่อให้บริษัทไม่ห้ามเราก็ไม่บอก การที่บริษัทห้ามนี่ช่วยได้เยอะทำให้เรามีข้ออ้างได้ เวลาใครมาถามก็อ้างว่าบอกไม่ได้เพราะมันผิดกฎ
คงแล้วแต่มุมมองอะเนอะ แต่ที่แน่ๆ เราไม่บอกเงินเดือนใครเลย ต่อให้บริษัทไม่ห้ามเราก็ไม่บอก การที่บริษัทห้ามนี่ช่วยได้เยอะทำให้เรามีข้ออ้างได้ เวลาใครมาถามก็อ้างว่าบอกไม่ได้เพราะมันผิดกฎ
ความคิดเห็นที่ 5
สาเหตุที่เงินเดือนไม่เท่ากัน คร่าวๆ มีดังนี้
1. กรณีรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เท่ากัน
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
2. กรณีรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานเท่ากัน
แต่ผู้สมัครอีกคนมีประสบการณ์ตรงสายงานมากกว่า
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
3. กรณีบริษัทอยากได้ผู้สมัครคนนี้มาก อาจเกิดการ
เจรจาต่อรอง
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
4. เงินเดือนขึ้นไม่เท่ากัน จากการประเมินผลงาน
อันนี้ถ้าบริษัทไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมคนนั้น
ได้เท่านี้ คนนี้ได้เท่านั้นธิบาย (ส่วนใหญ่อธิบายไม่ได้
หรือพนักงานไม่เห็นด้วย) อันนี้มีปัญหาแน่ๆ
1. กรณีรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานไม่เท่ากัน
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
2. กรณีรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงานเท่ากัน
แต่ผู้สมัครอีกคนมีประสบการณ์ตรงสายงานมากกว่า
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
3. กรณีบริษัทอยากได้ผู้สมัครคนนี้มาก อาจเกิดการ
เจรจาต่อรอง
บริษัทอาจจะให้เงินเดือนสูงกว่าคนอื่น
4. เงินเดือนขึ้นไม่เท่ากัน จากการประเมินผลงาน
อันนี้ถ้าบริษัทไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมคนนั้น
ได้เท่านี้ คนนี้ได้เท่านั้นธิบาย (ส่วนใหญ่อธิบายไม่ได้
หรือพนักงานไม่เห็นด้วย) อันนี้มีปัญหาแน่ๆ
ความคิดเห็นที่ 15
ไม่มีใครได้ใครเสียหรอกครับ
คนเรารู้ช่วงเงินเดือนตนเองโดย common sense ครับ (มีฐานข้อมูลที่เป็นกลางๆ ให้เช็คในอินเตอร์เน็ต)
สมมุติตำแหน่งนี้ช่วงเงินเดือน 30,000 - 50,000 บาท
แทนที่จะสนใจว่าทำไมคนนั้นถึงได้ 50,000 ก็เปลี่ยนมาเป็นทำยังไงเราจึงจะได้ 50,000 ดีกว่าไหมครับ
สุดท้าย ประโยชน์ของการไม่คุยเรื่องเงินเดือนในบริษัทคือจะได้โฟกัสหน้าที่เขาจ้างเรามาทำ
เราจะพัฒนาตัวเองได้ด้วยการสนใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดครับ
คนเรารู้ช่วงเงินเดือนตนเองโดย common sense ครับ (มีฐานข้อมูลที่เป็นกลางๆ ให้เช็คในอินเตอร์เน็ต)
สมมุติตำแหน่งนี้ช่วงเงินเดือน 30,000 - 50,000 บาท
แทนที่จะสนใจว่าทำไมคนนั้นถึงได้ 50,000 ก็เปลี่ยนมาเป็นทำยังไงเราจึงจะได้ 50,000 ดีกว่าไหมครับ
สุดท้าย ประโยชน์ของการไม่คุยเรื่องเงินเดือนในบริษัทคือจะได้โฟกัสหน้าที่เขาจ้างเรามาทำ
เราจะพัฒนาตัวเองได้ด้วยการสนใจทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดครับ
แสดงความคิดเห็น
การห้ามบอกเงินเดือน ประโยชน์ของตัวคุณหรือประโยชน์ของบริษัท?
ได้ยินมาตลอดทั้งจากคนรอบข้างที่ทำงานออฟฟิศเหมือนกัน หรือ คนในออฟฟิศเดียวกัน รวมทั้ง HR บอกว่าเรื่องเงินเดือนของเราเป็นเรื่องความลับห้ามทำในเผยแพร่ให้ใครฟัง
แต่ก็สงสัยมาตลอดว่าการที่แต่ละคนปกปิดเงินเดือน แท้จริงแล้วคนที่ได้ประโยชน์ คือตัวคุณเองหรือ HR หรือประโยชน์ของบริษัท กันแน่?
เพราะเท่าที่ลองสำรวจมา (คือจริงๆ เค้าบอกว่าห้ามแชร์ แต่ด้วยความสอดรู้สอดเห็น ก็รู้กันจนได้แหละ)
งานในระดับ (ตำแหน่งเดียวกัน) สามารถมี range เงินเดือนต่างกันได้ถึง 30-60% หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ในระดับสูงๆ
ยกตัวอย่างตำแหน่งนึงในวงการที่ผมทำงานอยู่ สำหรับคนมีประสพการณ์ 2-5 ปี สามารถเริ่มตั้งแต่ 38000 บาท ไปจนถึง 60000 บาท
ก็พอเข้าใจว่าประสพการณ์จำนวนปีที่ต่าง อาจจะทำให้ฐานเงินเดือนต่างกันได้ แต่ก็เป็นไปได้ว่า คนที่ประสพการณ์ 3 ปี ก็อาจจะได้เงินเดือนมากกว่าคนประสพการณ์ 5 ปี เพราะทักษะการต่อรองเก่งกว่า และมีข้อมูลเกี่ยวกับฐานเงินเดือนในหัวที่สูงกว่า
แต่ถ้าในกรณีที่ทุกคนทำตามที่ HR บอกจริงๆ ว่าเรื่องฐานเงินเดือนคือความลับที่ไม่ควรจะเปิดเผย
ประโยชน์ที่ HR กล่าวไว้ คือจะได้ไม่รู้สึกแย่ที่รู้ว่าเพื่อนได้เยอะกว่า ไม่มีกำลังใจทำงาน บลา บลา แต่จริงๆแล้ว มันแค่เป็นการปิดหูปิดตาไม่ให้ตัวเองรู้ มากกว่าหรือเปล่าครับ แต่คนที่ได้ประโยชน์จริงๆ คือบริษัท เพื่อที่จะกดราคาค่าแรงหรือเปล่า?
สำหรับประเด็นนี้ เพื่อนๆ คิดว่าการไม่เปิดเผยเงินเดือนกัน ใครได้ประโยชน์ครับ?